มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068 , 077-544258
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จังหวัดชุมพร รับสมัครบุคคลเพื่อเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2566 : รอบที่ 4 Direct Admission
รอบสุดท้ายแล้วจ้า : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จังหวัดชุมพร รับสมัครบุคคลเพื่อเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2566 : รอบที่ 4 Direct Admission •หลักสูตร 4 ปี •จำนวนจำนวน 5 สาขาวิชา สาขาวิชาละ 40 ที่นั่ง •รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ม.6 ปวช. กศน. GED หรือเทียบเท่า ทุกแผนการเรียน •ไม่ระบุ GPAX •ไม่ใช้ TGAT / TPAT / A-Levelรับสมัครที่ www.admissions.mju.ac.th สมัครออนไลน์ : วันที่ 25-31 พฤษภาคม 2566 ประกาศผล : วันที่ 9 มิถุนายน 2566ชำระเงินค่าเทอม : วันที่ 9-13 มิถุนายน 2566รายงานตัวขึ้นทะเบียนนศ.ออนไลน์ : วันที่ 10-14 มิถุนายน 2566 (ออกรหัสนศ.วันที่ 15 มิถุนายน 2566)รายงานตัวเข้าหอพัก : วันที่ 23 มิถุนายน 2566 (ร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย วันที่ 23-30 มิถุนายน 2566) เปิดภาคการศึกษา : วันที่ 3 กรกฎาคม 2566
24 พฤษภาคม 2566     |      67
สภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ พบประบุคลากรและติดตามการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
      วันที่ 20 พฤษภาคม 2566 เวลา 10.30 น. ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ดร.สมศักดิ์ ปณีตัธยาศัยดร.องอาจ กิตติคุณชัย รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยยศ สันติวงษ์ นายวัยวุฒิ หล่อตระกูล ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรินทร์ พงศ์ศุภสมิทธิ์ ร้อยตรี ดร.วิจิตร อยู่สุภาพ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีและคณะ พบปะบุคลากรและติดตามการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในการประชุมสภามหาวิทยาลัย-สัญจร โดยมีอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี กล่าวต้อนรับพร้อมรายงานผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรคการบริหารงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร       ทั้งนี้ ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้กล่าวให้โอวาทแก่บุคลากร ความว่า “ผู้บริหารต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน บุคลากรปฎิบัติขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน และไม่ทิ้งความเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเกษตร” พร้อมกันนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมเสนอแนะแนวทางการจัดการแก้ไข โดยมีตัวแทนจากกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ นายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และตัวแทนศิษย์เก่าแม่โจ้ ร่วมเสนอความคิดเห็น อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพรต่อไป      ในการนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้จัดนิทรรศการนำเสนอต่อคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยภายใต้แนวคิด “ความสัมพันธ์ของ 5 หลักสูตร ในรูปแบบของ BCG Model” โดยเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม 3 มิติ ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ( Bioeconomy) มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ซึ่งทั้งสองเศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) คือพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล      และในช่วงบ่าย เวลา 14.00 น. ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้และคณะ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร บริเวณฟาร์มประมงของสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ศูนย์เกษตรสุขภาวะและโครงการความร่วมมือทางวิชาการเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้ง ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร กับบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัดมหาชน      อย่างไรก็ตาม ในการพบประบุคลากร ของนายกสภามหาวิทยาลัยและคณะในครั้งนี้ นับว่าเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจที่ดี ในการที่จะร่วมกันพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ต่อไป
20 พฤษภาคม 2566     |      48
ม.แม่โจ้-ชุมพร จัดพิธีสักการะ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เนื่องในวันอาภากร 19 พฤษภาคม 2566
      วันที่ 19 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.30 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยบุคลากร ร่วมสักการะพระรูปปั้น เนื่องในวันอาภากร หรือวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของ พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ณ บริเวณห้องโถงอาคารบูญรอด ศุภอุดมฤกษ์      ทั้งนี้ พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 3 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2423 เมื่อทรงมีพระชนมายุ 13 พรรษา ได้เสด็จไปทรงศึกษาวิชาการทหารเรือ ณ ประเทศอังกฤษ และเมื่อสำเร็จการศึกษาเสด็จกลับประเทศไทย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รับราชการในกองทัพเรือ พระองค์ทรงปรับปรุงการศึกษาวิชาการทหารเรือให้ทันสมัยเป็นรากฐานของกองทัพเรือไทยมาจนถึงปัจจุบัน กองทัพเรือจึงถวายนามพระองค์ท่านว่า “องค์บิดาของทหารเรือไทย”      นอกจากนี้ พระองค์ทรงสนพระทัยในการแพทย์ ทรงมุ่งศึกษาเกี่ยวกับตำราแพทย์แผนไทย จนสามารถช่วยเหลือประชาชนผู้เจ็บป่วยได้มากมาย โดยมิทรงรับสิ่งตอบแทน พระเกียรติคุณในนามหมอพรได้ขจรขจายไปในประชาชนทุกเหล่าชั้น รวมทั้งในการด้านดนตรี พระองค์มีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่ง ทรงนิพนธ์เพลงที่มีเนื้อหาปลุกใจให้มีความรักชาติ กล้าหาญ ยอมเสียสละชีวิตเพื่อชาติ พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงทุ่มเทพระวรกายและพระสติปัญญา ตรากตรำในการทรงงาน เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ทำให้ทรงประชวรด้วยโรคภายใน จึงทรงลาออกจากราชการและต่อมาเสด็จไปประทับรักษา ณ ชายทะเลปากน้ำ จังหวัดชุมพร และทรงสิ้นพระชนม์ ณ หาดทรายรี เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2466 ขณะที่มีพระชันษา 44 ปี
19 พฤษภาคม 2566     |      56
ม.แม่โจ้-ชุมพร จัดกิจกรรม “Big Cleaning Day” มุ่งสู่ Well being มหาวิทยาลัยสุขภาวะ
      วันที่ 10 พฤษภาคม 2566 เวลา 14.00 น. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร นำโดยอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร อาจารย์ ดร.ภาวิดา รังษี รองคณบดี ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ นางสาวตรีชฎา สุวรรณโนผู้อำนวยการสำนักงานคณบดี ร่วมกิจกรรม “Big Cleaning Day” โดยเก็บขยะ กวาดถนน พื้นที่หน้ามหาวิทยาลัยและรอบอาคารสำนักงาน      ทั้งนี้ กิจกรรม “Big Cleaning Day” จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนและผลักดันให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นสำนักงานสีเขียวอย่างเป็นรูปธรรม โดยมุ่งเน้นให้บุคลากรตระหนักถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในสำนักงาน ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า อาทิ ลดปริมาณขยะโดยการใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ ปิดไฟดวงที่ไม่ได้ใช้ กำหนดเวลาในการเปิด-ปิด เครื่องปรับอากาศ มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขอนามัย อันจะนำไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสุขภาวะ “Well being” โดยคนในองค์กรมีพลังชีวิต รับรู้ถึงคุณค่าในงานที่ตนเองทำ มีความมั่นคงในรายได้ เพื่อนร่วมงานมีทัศนคติที่ดี พื้นที่ทำงานปลอดโปร่ง ปลอดภัย มีการส่งเสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ     อย่างไรก็ตาม อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อความต่อเนื่องของกิจกรรมและเกิดผลสำเร็จ ในเดือนพฤษภาคม 2566 ทางมหาวิทยาลัยกำหนดจัดกิจกรรม “Big Cleaning Day” ครั้งต่อไป ในวันศุกร์ ที่ 12 ,วันจันทร์ ที่ 15 ,วันอังคาร ที่ 16 และวันพฤหัสบดี ที่ 18 ตั้งแต่เวลา 14.00 น. เป็นไป จึงขอเชิญชวนบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมโดยพร้อมเพรียงกัน “บ้านหลังนี้คือของทุกคน และทุกคนคือเจ้าของบ้าน ถ้าอยากให้บ้านดี ต้องช่วยกันดูแลรักษาให้น่าอยู่ตลอดไป”
11 พฤษภาคม 2566     |      39
ม.แม่โจ้-ชุมพร จัดพิธีทำบุญเนื่องในเทศกาลปีใหม่ไทย 2566 เสริมสิริมงคล สร้างความรักความสามัคคีในองค์กร
      วันที่ 25 เมษายน 2566 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดพิธีทำบุญเนื่องในเทศกาลปีใหม่ไทย 2566 เสริมสิริมงคลต้อนรับปีใหม่ไทย ตลอดจนเสริมสร้างความรัก ความสามัคคีภายในองค์กรและเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย โดยในช่วงเช้า เวลา 08.30 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรพร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิจัย และบริการวิชาการ,นายกิตติภณ ถึงศรี ประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ ภาคใต้,นายอุดมศักดิ์ เฉลิมพนาพันธ์ ประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ จังหวัดชุมพร คณาจารย์ บุคลากร ตัวแทนนักศึกษา เครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน ร่วมสักการะพระพิรุณทรงนาค ณ บริเวณลานพระพิรุณ ต่อด้วยสักการะพระรูปปั้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ บริเวณห้องโถง อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์      และเวลา 09.09 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นประธานในพิธีจุดธูป-เทียน บูชาพระรัตนตรัย อาราธนาพระสงฆ์จำนวน 9 รูป เจริญพระพุทธมนต์ โดยมีพระมุนีสารโสภณ (พระอาจารย์ตุด) วัดธรรมถาวร เกจิดังจังหวัดชุมพร เป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์ ตัวแทนผู้เข้าร่วมพิธี ถวายภัตตาหารเพล ถวายจตุปัจจัยเครื่องไทยธรรม กรวดน้ำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล และรับการประพรมน้ำมนต์จากพระมุนีสารโสภณ (พระอาจารย์ตุด) วัดธรรมถาวร เกจิดังจังหวัดชุมพร ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์      อย่างไรก็ตาม พิธีทำบุญเนื่องในเทศกาลปีใหม่ไทย 2566 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในครั้งนี้ มีผู้บริหาร บุคลากร ตัวแทนนักศึกษา และเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเข้าร่วม อาทิ ชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ ภาคใต้ ชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ จังหวัดชุมพร บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด มหาชน ฟาร์มทดลองละแม นับว่าเป็นการสร้างขวัญกำลังใจที่ดีแก่บุคลากร ตลอดจนช่วยเสริมสร้างสิริมงคลในการทำงาน ร่วมกันพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร แห่งนี้ ให้เจริญก้าวหน้าต่อไปภาพ : ขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์
25 เมษายน 2566     |      59
ม.แม่โจ้-ชุมพร จัดเวทีเสวนาพิเศษ “โอกาสและความท้าทายในการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร” ร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม
      วันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08.30-12.00 น. นายสมพร ปัจฉิมเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานในการเสวนาพิเศษ “โอกาสและความท้าทายในการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร” ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ โดยได้เชิญนักวิชาการและนักปฏิบัติที่มีความเชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในด้านต่างๆ ดังนี้      1.ดร.ดรุณศิริ แพน้อย ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด      2.นายนพพร อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร      3.นายนรินทร์ พันธ์เจริญ ประธานชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อำเภอละแม จังหวัดชุมพร      4.อาจารยไอศูรย์ ภาษยะวรรณ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร      5.ดร.มีศักดิ์ ภักดีคง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตอธิบดีกรมประมง      6.นายวิโรจน์ แสงบางกา ประธานธนาคารอาคารสมองจังหวัดชุมพร      7.นายวีระเดช ฤทธิชัย นายกสมาคมวิชาชีพเรือสำราญ      8.นายทวีวัตร เครือสาย นายกสมาคมประชาสังคมชุมพร      9.ดร.ศุภชัย สุระชิต อดีตประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ จังหวัดชุมพร      10.นายจรัส สมจิตร ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)      11.นายวชิระวิชญ์ จารุพัฒนวาณิช ประธานกรรมการ บริษัท อุตสาหกรรม เทคโนโลยีชีวภาพ (ประเทศไทย) จำกัด      พร้อมกันนี้ มีตัวแทนจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อาทิ  รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี,รองศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎีรองอธิการบดีอาจารย์ ดร.บุญศิลป์ จิตตะประพันธ์ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และตัวแทนบุคลากร เข้าร่วมเสวนา โดยมีประเด็นเสวนา ดังนี้      1.มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กับการพัฒนาจังหวัดชุมพร      2.การพลิกโฉมมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โอกาสและความท้าทาย      3.บทบาทของมหาวิทยาลัยแม่โจ้กับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชุมพร      4.การพัฒนาการเรียนการสอนบนฐานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง      5.การปรับตัว โอกาส และความพร้อม หลังโควิด-19 ของจังหวัดชุมพร โมเดลเศรษฐกิจ BCG      6.การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย ก้าวสู่ความเปลี่ยนแปลงด้วยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน      7.บทบาทของศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้และองค์กรเครือข่ายกับการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร        อย่างไรก็ตาม ภายหลังเสร็จสิ้นการเสวนาพิเศษดังกล่าว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา และศูนย์ฝึกอบรมเพื่อทำงานเรือสำราญและงานโรงแรม HOH House of Hospitality) โดย นายวีระเดช ฤทธิชัย ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพนักศึกษาด้านการโรงแรม การบริการ และการท่องเที่ยว ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับศูนย์ฝึกอบรมเพื่อทำงานเรือสำราญและงานโรงแรม HOH House of Hospitality)  ซึ่งบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพสำหรับการทำงานบนเรือสำราญที่ตกลงร่วมกัน ตามกระบวนการที่ได้กำหนดไว้ โดยมีขอบเขตการดำเนินงาน ดังนี้             1.เพื่อร่วมกันพัฒนาและส่งเสริมควาร่วมมือทางวิชาการต่อกัน เพื่อประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาสคุณวุฒิวิชาชีพสำหรับการทำงานบนเรือสำราญ            2.เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพและพัฒนาบุคลากรในองค์กร ทั้งในด้านการศึกษา วิจัย การเรียนการสอน การฝึกอบรม และสัมมนา และพัฒนาทรัพยากรบุคคล
19 เมษายน 2566     |      72
โครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษา “อำลาสถาบัน กราบครู กอดเพื่อน” ประจำปีการศึกษา 2565
      วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม 2566 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดโครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษา “อำลาสถาบัน กราบครู กอดเพื่อน” ประจำปีการศึกษา 2565  ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ โดยมีอาจารย์ ดร.บุญศิลป์ จิตตะประพันธ์ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กล่าวเปิดโครงการพร้อมกับให้โอวาทแก่นักศึกษา       อย่างไรก็ตาม โครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษาในครั้งนี้ มีการบรรยายให้ความรู้แก่นักศึกษาในหัวข้อต่างๆ ดังนี้      1.การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยอาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน รองคณบดี ฝ่ายบริหารและพัฒนาวิชาการ      2.เส้นทางสายอาชีพ โดยนางสาวประภัสสร ไพศาล ผู้บริหารบริษัทกรุงเทพประกันชีวิต ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 74      3.พร้อมไหม จบไปต้องทำงานหรือศึกษาต่อ โดยอาจารย์ ดร.จุฑามาส เพ็งโคนา      4.ว่าที่บัณฑิตใหม่ เตรียมตัวอย่างไรก่อนเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร โดย ดร.ณรงค์ โยธิน
21 มีนาคม 2566     |      124
“ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี” รองอธิการบดี ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการบริหารงาน ม.แม่โจ้-ชุมพร เร่งผลักดันความร่วมมือกับภาคเอกชน
      วันที่ 17 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ลงพื้นที่ปฎิบัติงานติดตามความก้าวหน้าการบริหารงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยมีอาจารย์ ดร.บุญศิลป์ จิตตะประพันธ์ คณบดี คณะผู้บริหารและบุคลากรต้อนรับและเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมใหญ่อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์      โดยการลงพื้นที่ปฎิบัติงานในครั้งนี้ รองอธิการบดีได้ติดตามความก้าวหน้าพร้อมให้ข้อเสนอแนะการบริหารงานโดยภาพรวมของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร อาทิ  “สถานะด้านการเงินและงบประมาณ 2566 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร” ,“แผนพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร SPO มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มิติที่ 1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี ความสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการ Well-being@chumphon“การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน การพัฒนาห้องปฏิบัติของนักศึกษา” “โครงการครัวอิ่มอุ่นพี่เพื่อน้อง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร” “โครงการเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมัน” และร่วมเป็นพยานพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และ บริษัท อุตสาหกรรม เทคโนโลยีชีวภาพ (ประเทศไทย) จำกัด       พร้อมกันนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี รองอธิการบดีและคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้ลงพื้นที่หารือขยายความร่วมมือกับบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด(มหาชน) ฟาร์มทดลองละแม ในด้านการพัฒนาหลักสูตรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ติดตามความก้าวหน้าการจัดทำ MOU โครงการผลิตมะพร้าวคุณภาพร่วมกับศิษย์เก่าแม่โจ้ และเยี่ยมชมการบริหารจัดการ “Farm to Table Cafe” บริเวณบ้านดิน ริมน้ำ       อย่างไรก็ตาม การลงพื้นที่ปฎิบัติงานของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี รองอธิการบดี ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในครั้งนี้ นับว่าเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจที่ดีให้แก่บุคลากร ศิษย์เก่าแม่โจ้ ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นให้กับเครือข่าย และเป็นนิมิตหมายอันดีในการร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อพัฒนาพื้นที่สร้างรายได้ให้มหาวิทยาลัยในอนาคตต่อไป
19 มีนาคม 2566     |      79
บ.โอท๊อป-มาดเท่ จำกัด มอบตู้เย็นเพื่อใช้ในโครงการ “ครัวอิ่มอุ่น พี่เพื่อน้อง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร”
      วันศุกร์ ที่ 17 มีนาคม 2566 นายถาวร สงคราม ผู้จัดการบริษัท โอท๊อป-มาดเท่ จำกัด ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 54 มอบตู้เย็นจำนวน 1 หลัง เพื่อใช้ในโครงการ “ครัวอิ่มอุ่น พี่เพื่อน้อง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี รองอธิการบดี อาจารย์ ดร.บุญศิลป์ จิตตะประพันธ์ คณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสง รองคณบดี ฝ่ายยุทธศาสตร์ บริการวิชาการและวิจัย และตัวแทนบุคลากรรับมอบ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร      ทั้งนี้ ศิษย์เก่าแม่โจ้ ศิษย์ปัจจุบันหรือผู้ที่มีความประสงค์จะสนับสนุน “ครัวอิ่มอุ่น พี่เพื่อน้อง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร” สามารถบริจาคเป็นเงินสด โดยโอนเข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ เลขที่บัญชี 596-2-03491-7 ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และแจ้งหลักฐานการโอนเงิน ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ เพื่อจัดส่งใบเสร็จรับเงิน ใบเสร็จรับเงินบริจาค ทางแฟนเพจ ครัวอิ่มอุ่น พี่เพื่อน้อง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร      นอกจากนี้ สามารถสนับสนุนเป็นข้าวสาร อาหารแห้ง อาหารสด น้ำดื่ม หรืออื่นๆตามสะดวก นำส่งได้ที่นางสาวศุจินธร รัตนิพนธ์ อาคารบุญรอดศุภอุดมฤกษ์ ชั้น 1 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร  99 หมู่ 5 ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170  หมายเลขโทรศัพท์ 061-173 5669
22 มีนาคม 2566     |      80
รองอธิการบดีและคณะผู้บริหาร ม.แม่โจ้-ชุมพร เข้าหารือและเยี่ยมชมการบริหารจัดการฟาร์ม สจล. วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
      วันพฤหัสบดี ที่ 16 มีนาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี รองอธิการบดี พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.บุญศิลป์ จิตตะประพันธ์ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสงรองคณบดี ฝ่ายยุทธศาสตร์ บริการวิชาการและวิจัย อาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน รองคณบดี ฝ่ายบริหารและพัฒนาวิชาการ นางสาวตรีชฎา สุวรรณโน ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดี ดร.ฐิระ ทองเหลือ นายชัยวิชิต เพชรศิลา นักวิชาการเกษตร (รักษาการ หัวหน้างานบริการวิชาการและวิจัย) และดร.ณรงค์ โยธิน นักแนะแนวการศึกษาและอาชีพ ชำนาญการ (รักษาการหัวหน้างานงานนโยบาย แผน และประกันคุณภาพ) เข้าหารือและศึกษาดูงานด้านการจัดการฟาร์มและส่วนธุรกิจ ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.คำรณวิทย์ ทิพย์มณี รักษาการแทนรองอธิการบดี และผู้บริหารให้การต้อนรับ พร้อมกับหารือแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบัน  อาทิ ร่วมสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ สร้างโอกาสทางการศึกษา โดยเน้นให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์สูงสุด เป็นต้น      และในช่วงบ่ายวันเดียวกัน รองอธิการบดีและคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านการจัดการฟาร์มและส่วนธุรกิจของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เพื่อนำองค์ความรู้ เทคนิค วิธีการ ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการฟาร์มของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรต่อไป
22 มีนาคม 2566     |      71
ทั้งหมด 182 หน้า