มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068
คณาจารย์ ม.แม่โจ้-ชุมพร จัดกิจกรรมค่าย portfolio 5 ด้าน เตรียมความพร้อมเข้ามหาวิทยาลัยแก่นักเรียน รร.ท่าชนะ
วันที่ 11  กันยายน 2567 เวลา 13.00 น. ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ อาจารย์ประสาทพร กออวยชัย อาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี และอาจารย์พัชรินทร์ วิริยะสุขสวัสดิ์ จัดกิจกรรมพร้อมบรรยายเตรียมความพร้อมเข้ามหาวิทยาลัย ค่าย portfolio  5 ด้าน ให้แก่นักเรียน โรงเรียนท่าชนะ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อให้นักเรียนสามารถเตรียมข้อมูลและจัดทำ portfolio แต่ละด้านได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน สามารถใช้ประกอบการสมัครเข้ามหาวิทยาลัยได้ทั้งนี้ portfolio  5 ด้าน ประกอบด้วยด้านภาวะผู้นำด้านคุณธรรม จริยธรรมด้านจิตอาสาด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้านต่อต้านยาเสพติดพร้อมกันนี้ คณาจารย์และนักศึกษาได้ประชาสัมพันธ์หลักสูตรการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และแนะแนวการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2568 ให้แก่นักเรียนอีกด้วย
14 กันยายน 2567     |      22
ผศ.ชลดรงค์ ทองสง ร่วมเป็นกรรมการตรวจประเมินมาตรฐานการท่องเที่ยวชุมชนอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
วันที่ 12 กันยายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสง อาจารย์สาขาวิชาการทองเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมเป็นคณะกรรมการตรวจประเมินมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ซึ่งจัดขึ้นโดยกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาทั้งนี้ การตรวจประเมินมาตรฐานการท่องเที่ยวชุมชนอำเภอพะโต๊ะ ดังกล่าว เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนรองรับการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพต่อไป
13 กันยายน 2567     |      51
พิธีมอบสิ่งของพระราชทานสำหรับนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
วันที่ 12 กันยายน 2567 ณ ห้องประชุมอาคารแม่โจ้ 80 ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดพิธีมอบสิ่งของพระราชทานสำหรับนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีการศึกษา 2567 ให้แก่นางสาวธิติมา ม่วงทอง สาขาวิชาพืชศาสตร์ โดยมี โดยอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี  พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.จักกฤช ณ นคร ผู้ช่วยคณบดี และ ดร.ณรงค์ โยธิน หัวหน้างานนโยบาย แผน และประกันคุณภาพ เข้าร่วมพิธีมอบ
12 กันยายน 2567     |      47
พิธีทำบุญหอพัก ประจำปีการศึกษา 2567 ม.แม่โจ้-ชุมพร
วันที่ 11 กันยายน 2567เวลา 09.00 น. งานหอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดพิธีทำบุญหอพัก ประจำปีการศึกษา 2567 ทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ จำนวน 5 รูป  เพื่อความเป็นสิริมงคลสำหรับนักศึกษาที่พักหอในของมหาวิทยาลัย โดยมีอาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น รองคณบดีฯฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.ภาวิดา รังษี รองคณบดีฯฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ บุคลากร และนักศึกษาเข้าร่วม ณ อาคารศิริชัยพัฒนา พร้อมกันนี้นักศึกษายังได้ร่วมกันพัฒนาหอพัก เพื่อความสะอาด น่าอยู่และปลอดภัย งานหอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของนักศึกษา โดยถือว่าหอพักเป็นสถานพักอาศัยที่สำคัญยิ่ง มีความปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ  เป็นแหล่งพัฒนานักศึกษาในด้านต่างๆ นอกเหนือจากการเรียน ตลอดจนการปรับตัว  อันจะนำไปสู่การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขต่อไป
12 กันยายน 2567     |      69
ผศ.ชลดรงค์ ทองสง ร่วมเป็นกรรมการตรวจประเมินมาตรฐานการท่องเที่ยวชุมชน อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร
วันที่ 11 กันยายน 2567  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสง อาจารย์ประจำสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมเป็นกรรมการในการตรวจประเมินมาตรฐานการท่องเที่ยวชุมชน เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอทุ่งตะโก  จังหวัดชุมพร ซึ่งจัดโดยกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยมีหน่วยงานในระดับจังหวัดร่วมเป็นกรรมการในการประเมิน ทั้งนี้ การตรวจประเมินมาตรฐานการท่องเที่ยวชุมชน ดังกล่าว เพื่อสร้างมาตรฐานและยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนชนของจังหวัดชุมพรต่อไป
12 กันยายน 2567     |      65
คณาจารย์วิทยาลัยการอาชีพหลังสวน เข้าปรึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “ไซรัปส้มจี๊ด” ต่อยอดความร่วมมือ MOA กับ ม.แม่โจ้-ชุมพร
วันที่ 11 กันยายน 2567 นายวีระศักดิ์ เชิงดี พร้อมด้วยนางสาวภัททิรา พรมมี นางสาวจีรวรรณ แต่งเลี่ยน และนางสาวปรีดาภรณ์ จันทร์วิไล คณาจารย์จากวิทยาลัยการอาชีพหลังสวน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เข้าหารือและปรึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “ไซรัปส้มจี๊ด” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯฝ่ายวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการ อาจารย์ ดร.จักกฤช ณ นคร ผู้ช่วยคณบดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัลลิกาจินดาซิงห์ ให้คำปรึกษาและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้อย่างไรดี การร่วมแลกเปลี่ยนและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “ไซรัปส้มจี๊ด” ดังกล่าว นั้น เป็นหนึ่งในความร่วมมือทางวิชาการ หลังจากที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้ลงนาม MOA กับวิทยาลัยการอาชีพหลังสวน โดยจะร่วมกันผลักดันความร่วมมือทางการศึกษา งานวิจัย และการพัฒนาบุคลากร ตลอดจนกิจกรรมอื่นๆของทั้งสองสถาบัน
12 กันยายน 2567     |      17
ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมงาน “วัน Kick-Off สร้างมูลค่าเปลือกทุเรียนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม”
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2567 อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ร่วมเวทีเสวนา หัวข้อ “การจัดการเปลือกทุเรียนในพื้นที่จังหวัดชุมพร” ว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตร งานบริการวิชาการและวิจัย บรรยายในหัวข้อ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเปลือกทุเรียนโดยไม่พลิกกลับกองด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 และนายวันชัย ล่องอำไพ นักวิชาการศึกษา ประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษาเพื่อศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ในงาน “วัน Kick-Off สร้างมูลค่าเปลือกทุเรียนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม”โครงการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการวัสดุเหลือใช้จากการผลิตทุเรียน จัดโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร ณ วิสาหกิจชุมชนหลังสวนพัฒนายั่งยืน ตำบลนาขา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพรทั้งนี้ งานบริการวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ได้เป็นที่ปรึกษาให้กับวิสาหกิจชุมชนหลังสวนพัฒนายั่งยืน ในการนำเปลือกทุเรียนที่เหลือจากอุตสาหกรรมแปรรูปทุเรียนส่งออก ของบริษัทหนงไทย อินเตอร์เนชั่นแนล สาขาหลังสวน ซึ่งในแต่ละปีมีเปลือกทุเรียนราว 3 ล้านกิโลกรัม นำมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพต่อยอดเป็นดินปลูกคุณภาพดี มีปุ๋ยอินทรีย์ช่วยลดต้นทุนการผลิตทุเรียนเพื่อการส่งออก นับว่าเป็นการประกอบธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด Zero Waste ลดขยะให้เหลือศูนย์ และยังสอดคล้องกับ BCG โมเดล เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เป็นต้นแบบของการจัดการเปลือกทุเรียนระดับประเทศต่อไป
10 กันยายน 2567     |      30
รับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี TCAS2568 Portfolio รอบที่ 1 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร รับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี TCAS2568 Portfolio รอบที่ 1 ระหว่างวันที่ 5-25 กันยายน 2567หลักสูตร 4 ปี GPAX 4 เทอมสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสาขาวิชาพืชศาสตร์สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการสาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการสาขาวิชารัฐศาสตร์ หลักสูตร 4 ปี (เทียบเรียน 2 ปี) GPAX 2 เทอมสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสาขาวิชาพืชศาสตร์สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการสาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ (ออนไลน์เสาร์ - อาทิตย์)สาขาวิชารัฐศาสตร์ (ออนไลน์เสาร์-อาทิตย์)สมัครออนไลน์ :www.admissions.mju.ac.thสอบถามเพิ่มเติม : 080 535 9909คู่มือการสมัคร :https://admissions.mju.ac.th/www/ApplyManual.aspx?fbclid=IwY2xjawFLXmFleHRuA2FlbQIxMAABHceocanDNCf42TmmirxXbqomsEv8fzJlSJKMkt98bIIL-xdp2puBSMGuRQ_aem_Yb4nr-e-JQJfWgYAEZ7r4g
9 กันยายน 2567     |      41
อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปลูกต้นไม้พระราชทาน
      สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานต้นพลองใหญ่ ให้แก่จังหวัดชุมพร ภายใต้โครงการ “พระราชทานต้นพลองใหญ่คืนสู่ถิ่นกำเนิด” เพื่อเป็นการ สืบสาน รักษา และต่อยอด จากต้นพลองใหญ่ ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงปลูก ณ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2535 (ต้นไม้ทรงโปรด)      วันที่ 6 กันยายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดี และรองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร พร้อมด้วยบุคลากร ร่วมปลูกต้นพลองใหญ่ ณ แปลงปลูกอนุรักษ์พันธุกรรมพืช มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร โดยปลูกต้นพลองใหญ่ในบริเวณเดียวกับการปลูกต้นรวงผึ้ง เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 และในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2567 อีกทั้งยังเป็นงานสนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)      อย่างไรก็ดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะได้มีการศึกษาการใช้ประโยชน์จากต้นพลองใหญ่ต่อไป
6 กันยายน 2567     |      38
ขอเชิญร่วมส่งกำลังใจให้ผู้เข้าประกวด ดาว เดือน 2024 ม.แม่โจ้-ชุุมพร และโหวดรางวัล Social Awards
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ขอเชิญทุกท่าน ร่วมส่งกำลังใจให้ผู้เข้าประกวดทั้ง 12 หมายเลข ที่จะคว้ารางวัล Social Awards และจะเป็นหนึ่งบนเวที การประกวดค้นหาดาวและเดือน 2024 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ในวันเสาร์ ที่ 14 กันยายน 2567 ณ ลานใต้ตึก80 ปี สามารถโหวตแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 13 กันยายน 2567 เวลา 12.00 น. (การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด)กติกาการโหวต      * กดลิงค์ https://www.facebook.com/profile.php?id=61565122224159      * กด Like ใต้ภาพของผู้เข้าประกวดที่ชื่นชอบ      ( 1 การกด Like = 1 คะแนน )      ( 1 การกดแชร์ = 2 คะแนน )รายชื่อผู้เข้าประกวดทั้ง 12 หมายเลข    G01 นางสาวกนกกาญจน์ บุญนุ่ม (ฟองเบียร์)    G02 นางสาวมัณฑนา พุ่มขจร (กาตอง)    G03 นางสาวณัฐชยา อุดมรัตน์ (เฟียส)    G04 นางสาวจุทารัตน์ ทองวัง (แพรว)    G05 นางสาวรัชนาภร ประทีป ณ กลาง (ใบมิ้นท์)    G06 นางสาวมรรัตน์ บูและ (โอวันติน)    M01 นายชุติภาส เครื่องแตง (สล็อต)    M02 นายวรพล พวงจันทร์ (ต้าวหยอย)    M03 นายวีรวัฒน์ จุลถาวร (กาย)    M04 นายยุทธิพงศ์ บางยับยิ่ว (ต้นน้ำ)    M05 นายรวยถาวร ครุชสินธุ์ (โอ๊บ)    M06 นายสุรนัย รอดเพชร (อิง)
8 กันยายน 2567     |      42
กรรมการผู้จัดการบริษัท วีไอพี อินเตอร์ กรุ๊ป เข้าพบอธิการบดี สร้างความร่วมมือผลิตเห็ดคุณภาพสูงเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาวิจัย และบริการวิชาการ
วันที่ 6 กันยายน  2567  นายสุเมศวร์  เสนชู  กรรมการผู้จัดการบริษัท วีไอพี  อินเตอร์ กรุ๊ป  และผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร.สุนทร พิพิธแสงจันทร์ ที่ปรึกษาบริษัทฯ  เข้าพบรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา  อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้  รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์  ศรีเงินยวง รองอธิการบดี ดร.ขุนศรี ทองย้อย นายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในการทำความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการพัฒนาการเกษตรอัจฉริยะร่วมกัน  โดยจะเริ่มต้นที่การผลิตเห็ดคุณภาพสูงในระบบเกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFORM)  ในพื้นที่เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร  เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้  ศึกษาวิจัย และบริการวิชาการแก่ทั้ง 2 องค์กรต่อไป
6 กันยายน 2567     |      31
อธิการบดี พบปะบุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
วันที่ 5 กันยายน 2567 เวลา 13.00 น. ที่ห้องประชุมอาคารแม่โจ้  80 ปี รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดี และรองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี พบปะบุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยมีอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี กล่าวต้อนรับพร้อมรายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2567ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี ได้นำเสนอผลการดำเนินงานภาพรวมและถ่ายทอดนโยบายทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัย พร้อมกับพูดคุยแลกเปลี่ยน รับฟังปัญหาการปฎิบัติงานของบุคลากร ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยเน้นย้ำให้บุคลากรปฎิบัติงานเชิงรุกให้มากขึ้น ทั้งพัฒนาหลักสูตรให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง ตรงตามความต้องการของผู้เรียน และการเพิ่มจำนวนนักศึกษา  ทั้งนี้ บุคลากรต้องขับเคลื่อนการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไปพร้อมกันนี้ นายธนภัทร ปัญญาวงค์ ผู้อำนวยการกองบริหารทรัพยากรบุคคล พร้อมด้วยนายสุชาติ จันทร์แก้ว นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ รักษาการหัวหน้างานสวัสดิการ นายรัตติกาล ณวิชัย นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ และนายคธาวุฒิ ทิพจร นักทรัพยากรบุคคล ได้ชี้แจงแนวทางการปฎิบัติที่เกี่ยวข้องกับบุคลากร อาทิ การขอกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้น สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ ตลอดจนรับฟังปัญหาการบริหารบุคคล พร้อมกับให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการวิเคราะห์ภาระงานของแต่ละฝ่าย เพื่อให้สอดคล้องกับการวางแผนขอกรอบอัตรากำลังของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรต่อไป
6 กันยายน 2567     |      39
ผศ.ดร.กมลวรรณ ศุวิญญู และผศ.ยุทธนา สว่างอารมย์ เข้าร่วมประชุมครือข่ายความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ครั้งที่ 4 (Laboratory Safety Network Annual Symposium 2024)
วันที่ 5 กันยายน 2567 เวลา 08.30 น. ณ ห้องราชเทวี แกรนด์ บอลรูม โรงแรมเอเชีย ราชเทวี กรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯ ฝ่ายวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุทธนา สว่างอารมณ์ เข้าร่วมประชุมประจำปีเครือข่ายมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ปี 2567 (ครั้งที่)  4 (Laboratory Safety Network Annual Symposium 2024) ภายใต้แนวคิด “Digital Transformation for National Laboratory Safety Management: Possibility and How?” โดยมีศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชรผู้รักษาการอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวต้อนรับ นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติกล่าวรายงานดร.วิภารัตน์ ดีอ่องผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติกล่าวเปิดการประชุมมีอาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการ ทุกภูมิภาคทั่วประเทศเข้าร่วม เพื่อเผยแพร่ผลงานการดำเนินงานด้านมาตรฐานความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ ตลอดจนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสร้างแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนมาตรฐานความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการอย่างยั่งยืน จัดโดยศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6 กันยายน 2567     |      42
พิธีไหว้ครู “ศิษย์น้อมวันทา บูชาครู” มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ประจำปีการศึกษา 2567
วันพฤหัสบดี ที่ 5 กันยายน 2567 เวลา 09.00 น. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2567 โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี ดร.ขุนศรี ทองย้อย นายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี คณะผู้บริหาร บุคลากร นักศึกษา ประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ จังหวัดชุมพร และตัวแทนศิษย์เก่า เข้าร่วมพิธี ณ ห้องประชุม อาคารแม่โจ้ 80 ปีในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี ได้มอบเหรียญเรียนดีประจำปีการศึกษา 2566 แก่นักศึกษา จำนวน 12 คน มอบเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติแก่อาจารย์ดีเด่นด้านต่างๆ จำนวน 13 คน มอบเกียรติบัตรแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ให้มหาวิทยาลัย จำนวน 1 คน มอบเกียรติบัตรแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แต่ละสาขา จำนวน 5 คน มอบเกียรติบัตรแก่ศิษย์เก่าดีเด่นแต่ละสาขา จำนวน 5 คน และมอบเกียรติบัตรแก่นักศึกษาที่ได้รับรางวัล CCE Children & Youth เกณฑ์มาตรฐานระดับ “ทอง” ในการประเมินโครงการเครือข่ายเด็กและเยาวชน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2567 จำนวน 17 คนรองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี มอบทุนการศึกษา แก่นักศึกษาที่ได้รับทุน ประจำปีการศึกษา 2567 จำนวน 13 คนดร.ขุนศรี ทองย้อย มอบรางวัลขวัญใจเพื่อนร่วมงานแก่บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จำนวน 3 คนพร้อมกันนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี ได้พบปะและให้โอวาทแก่นักศึกษา ใจความว่า “ความกตัญญูกตเวทีต่อครูบาอาจารย์  นับว่าเป็นการสร้างสิริมงคลที่ดีแก่ชีวิต เราทุกคนเกิดมาล้วนมีครู ไม่ว่าจะเป็นครูคนแรกที่ให้ชีวิต อบรม เลี้ยงดู หรือครูที่ให้วิชาความรู้ ทุกความทุ่มเทเสียสละของครู เพื่อให้ศิษย์ทุกคนประสบความสำเร็จ  เป็นคนดี คนเก่ง มีความรับผิดชอบ เรียนรู้จากการอ่าน การฟัง การมองเห็น และนำมาต่อยอดฝึกฝนตนเองอย่างสม่ำเสมอ  มีพลังปัญญาที่เข้มแข็ง ก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลง และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข” ตลอดจนให้ข้อคิดที่ว่า  “อุ้มไม่หนัก รักไม่ลวง ห่วงไม่เลิก เบิกไม่หมด โกรธไม่นาน” นักศึกษาสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป
6 กันยายน 2567     |      26
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ลงพื้นที่ติดตามและตรวจรับต้นพันธุ์พืชโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 4 กันยายน 2567  รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดี ดร.ขุนศรี ทองย้อย นายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร และว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงาน การปลูกผัก พืชไร่ และไม้ผลแบบปราณีต พื้นที่ 10.5 ในพื้นที่โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้สนองงาน  พร้อมกับร่วมหารือและวางแผนขยายพื้นที่รับผิดชอบ  อาทิ เลี้ยงผึ้งชันโรง เป็นต้น
5 กันยายน 2567     |      23
คณาจารย์ ม.แม่โจ้-ชุมพร จัดกิจกรรมค่าย portfolio 5 ด้าน เตรียมความพร้อมเข้ามหาวิทยาลัยแก่นักเรียน รร.สวีวิทยา
วันที่ 3  กันยายน 2567 เวลา 13.30 น. อาจารย์ ดร.ณัชพัฒน์ สุขใส พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.ภาวิดา รังษี อาจารย์ ดร.จุฑามาส เพ็งโคนา อาจารย์ประสาทพร กออวยชัย อาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี และนายชัยวิชิต เพชรศิลา จัดกิจกรรมพร้อมบรรยายเตรียมความพร้อมเข้ามหาวิทยาลัย ค่าย portfolio  5 ด้าน ให้แก่นักเรียน โรงเรียนสวีวิทยา ตำบลนาโพธิ์ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร เพื่อให้นักเรียนสามารถเตรียมข้อมูลและจัดทำ portfolio แต่ละด้านได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน สามารถใช้ประกอบการสมัครเข้ามหาวิทยาลัยได้ ทั้งนี้ portfolio  5 ด้าน ประกอบด้วยด้านภาวะผู้นำด้านคุณธรรม จริยธรรมด้านจิตอาสาด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้านต่อต้านยาเสพติดพร้อมกันนี้ คณาจารย์และนักศึกษาได้ประชาสัมพันธ์หลักสูตรการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และแนะแนวการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2568 ให้แก่นักเรียนอีกด้วย
5 กันยายน 2567     |      31
บรรยากาศการออกไปปฏิบัติ "สหกิจศึกษา" สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
การออกไปปฏิบัติ "สหกิจศึกษา" ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มีสหกิจศึกษานาน 4 เดือน เพื่อให้มั่นใจได้ว่า เมื่อจบการศึกษาออกไปนักศึกษาจะสามารถทำงานจริง และปรับตัวในสังคมได้ดี (มีภาวะการเป็นผู้นำ อดทน สู้งาน ซื่อสัตย์ มีสัมมาคารวะ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้)ได้ความรู้ - ได้ทำงาน - ได้เที่ยว - ได้รู้จักผู้คน - และบางคนได้เบี้ยเลี้ยง
30 สิงหาคม 2567     |      336
. คณบดี ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมงานเลี้ยงฉลอง โอกาสครบรอบ 79 ปี การประกาศเอกราชของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ณ โรงแรม ลากูนา แกรนด์ แอนด์ สปา สงขลา
วันที่ 29 สิงหาคม 2567 อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี ได้รับเชิญร่วมงานเลี้ยงฉลอง เนื่องในโอกาสครบรอบ 79  ปี การประกาศเอกราชของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ภายใต้ธีม "นูซันตาราใหม่ อินโดนีเซียก้าวหน้า" ณ โรงแรม ลากูนา แกรนด์ แอนด์ สปา สงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยมี Mr. Suarganana Pringganu ดำรงตำแหน่งท่านกงสุลใหญ่ สถานกงสุลอินโดนีเซีย จังหวัดสงขลา ให้การต้อนรับและพูดคุยแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรพร้อมกันนี้ นายสมนึก พรหมเขียว ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในการเปิดงาน และมีนายอำนวย พิณสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายมาหะมะพีสกรี วาแม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นางอู๋ ตงเหมย กงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำจังหวัดสงขลา พลโทศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4 พ.ต.ท. วรรณพงษ์ คชรักษ์ เลขาธิการ ศอ.บต. หน่วยงานระหว่างประเทศ หัวหน้าส่วนราชการ ตัวแทนสถาบันการศึกษาในพื้นที่ภาคใต้  นักการเมือง นักธุรกิจและผู้ประกอบการ ทั้งประเทศไทยและอินโดนีเซีย เข้าร่วมทั้งนี้ งานเลี้ยงฉลอง "นูซันตาราใหม่ อินโดนีเซียก้าวหน้า" มีการจัดนิทรรศการส่งเสริมการลงทุน โครงการเมืองนูซันตารา เมืองหลวงใหม่ของอินโดนีเซีย (IKN), การส่งเสริมความมั่งคั่งทางวัฒนธรรม และผลิตภัณฑ์ของอินโดนีเซีย โดยอาศัยอำนาจสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการย้ายเมืองหลวง จากมหานครจาการ์ต้าไปยังเมืองนูซันตารา  และวิสัยทัศน์ “อินโดนีเซียรุ่งเรือง ปี ค.ศ.2045 ผู้ร่วมงานสามารถชมนิทรรศการส่งเสริมวัฒนธรรม ประกอบด้วย ผ้าบาติก, ผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เช่น รูปปั้นและหุ่นเชิด, ผลิตภัณฑ์อาหารอินโดนีเซียและการแสดงนาฎศิลป์พื้นเมือง และเครื่องดนตรีอังกะลุงจากสถาบันศิลปะ Sanggar Wansendari, Batam และ Pelita MICE, Surabaya.อย่างไรก็ดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มีความร่วมมือที่ดีกับสถาบันการศึกษาของสาธารณรัฐ อินโดนีเซีย ทั้งการทำความร่วมมือทางวิชาการ ประชุม สัมมนา การแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรตลอดจนกิจกรรมอื่นๆ
30 สิงหาคม 2567     |      345