หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

Bachelor of Science Program in Innovative Coastal Aquaculture

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรบัณฑิต (นวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง)

วท.บ. (นวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง)

Bachelor of Science (Innovative Coastal Aquaculture)

B.S. (Innovative Coastal Aquaculture)

ระยะเวลาเรียน

หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี  และ หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปีเทียบเข้าเรียน ( เรียน 2 ปี)

จำนวนหน่วยกิต

120 หน่วยกิต  และ 72 หน่วยกิต

ค่าเทอม

ไม่เกิน 12,000 บาทต่อภาคการศึกษา

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1. นักวิชาการ หรือผู้ช่วยนักวิจัย ในภาครัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

2. นักอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำและชายฝั่ง

3. เป็นผู้ประกอบการในธุรกิจส่วนตัว

4. นักส่งเสริมการตลาดในภาครัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

5. เจ้าหน้าที่ควบคุมการผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำ

รายวิชาที่น่าสนใจใน

สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

รายวิชาการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล

รายวิชาคุณภาพน้ำเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

รายวิชาอาหารและโภชนาการสัตว์น้ำ

รายวิชาโรคและการวินิจฉัยโรคสัตว์น้ำ

รายวิชาการเพาะเลี้ยงหอยเศรษฐกิจ

รายวิชาการเพาะเลี้ยงปูม้าและการอนุรักษ์

รายวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ

รายวิชานวัตกรรมระบบน้ำหมุนเวียนเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำ

รายวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำระบบปิด

รายวิชานวัตกรรมการผลิตอาหารธรรมชาติสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

รายวิชานวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าทรัพยากรประมงเพื่อเศรษฐกิจ BCG

รายวิชาการดำน้ำโดยใช้อุปกรณ์

จุดเด่นของสาขาวิชา

-เป็นที่แรกของประเทศไทยที่เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

-บริบทมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลจึงได้เปรียบและความเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งที่เน้นการเรียนรู้และทักษะจากการปฏิบัติ

-มีความร่วมมือทางวิชาการเกี่ยวกับการศึกษา ค้นคว้า วิจัยในเชิงธุรกิจ เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง โดยเฉพาะการเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนากับบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ฟาร์มละแม

-คณาจารย์เพิ่มความเชี่ยวชาญด้วยการผลิตงานวิจัยที่มีความหลากหลายโดยเฉพาะด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งพร้อมตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติอย่างต่อเนื่อง

-หลักสูตรมีความทันสมัยและเหมาะสมต่อการผลิตบัณฑิตให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ที่มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งตั้งแต่ต้นน้ำ (ทักษะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมได้ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม) กลางน้ำ (ทักษะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการประมง) และปลายน้ำ (ทักษะการเป็นผู้ประกอบการและการตลาดทั้งในและต่างประเทศ) เพื่อใช้ประกอบอาชีพและตอบสนองตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศแล้วมีรายได้อย่างมั่นคงยั่งยืนที่มีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นที่ยอมรับของสังคม

-ไม่ได้เรียนรู้เฉพาะในห้องเรียนแต่ยังมีการจัดเป็นทริปออกไปเรียนรู้การทำงานจริงในฟาร์มปลา ฟาร์มเพรียงทราย ฟาร์มปูทะเล ฟาร์มกุ้ง

-มีความร่วมมือและแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ งานวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่สังคมด้านเทคโนโลยีการเกษตร การพัฒนาคุณภาพนักศึกษา และการประกันคุณภาพการศึกษากับ 9 มหาวิทยาลัย ในนามของโครงการการประชุมวิชาการระดับปริญญาบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรแห่งชาติ (NUCA)

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)

PLO1 ใช้ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตในการดำรงชีวิตในยุตดิจิทัลได้

PLO2 อธิบายการใช้เครื่องมือทางด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทางทะเล และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งได้

PLO3 ใช้ความรู้ทางวิชาชีพทางด้านการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

PLO4 ทำวิจัยพื้นฐาน ถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิตอล เกี่ยวกับ  IoT ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

PLO5 นำเสนอการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร เพื่อการเป็นผู้ประกอบการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งได้

PLO6 มีจริยธรรมการใช้สัตว์ทดลองทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

PLO7 มีภาวะการเป็นผู้นำ อดทน สู้งาน ซื่อสัตย์ มีสัมมาคารวะ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

ปรัชญาของหลักสูตร

มุ่งผลิตบัณฑิต ให้มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะที่ดีในวิชาชีพของตน โดยบัณฑิตต้องมีความใฝ่รู้ สู้งาน มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม

และสิ่งแวดล้อม

SDGs

เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน

เป้าหมายที่ 3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-being)

เป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนที่สามารถวางแผนการผลิตและจำหน่าย อีกทั้งผลผลิตยังมีความโดดเด่นด้านคุณภาพที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action)

เป้าหมายที่ 14 การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน

ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามชั้นปีการศึกษา (Yearly Learning Outcomes : YLOs)

YLO 1 สามารถอธิบายการใช้เครื่องมือทางด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทางทะเล และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

YLO 2 สามารถอธิบายความรู้ และเข้าใจทักษะทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

YLO 3 สามารถวิเคราะห์ แก้ปัญหา และถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสัตว์น้ำชายฝั่งอย่างมีประสิทธิภาพ

YLO 4 สามารถเลือกแนวทางในการเป็นผู้ประกอบการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งอย่างมีจริยธรรม


ปรับปรุงข้อมูล 21/6/2566 10:59:04
, จำนวนการเข้าดู 0