มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ต้อนรับอาจารย์และนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
      วันที่ 22 เมษายน 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยอาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น รองคณบดีฯ ฝ่ายพัฒนานักศึกษาและเครือข่ายสัมพันธ์ อาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร ผู้ช่วยคณบดีฯ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ร่วมต้อนรับอาจารย์และนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ตามโครงการฝึกปฏิบัติและเสริมประสบการณ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ระหว่างวันที่ 22-30 เมษายน 2567      ทั้งนี้ กิจกรรมฝึกปฏิบัติและเสริมประสบการณ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ดังกล่าว มีนักศึกษาหลักสูตร 4 ปี รหัส 65 และหลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง รหัส 66 สาขาการประมงและนวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำ เข้าร่วม จำนวน 90 คน โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จอมสุดา ดวงวงษา รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ และอาจารย์ ดร.ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม รองคณบดีฝ่ายวิชาการและบริการวิชาการ เข้าร่วมตลอดจนควบคุมดูแลการดำเนินกิจกรรมในโครงการ      อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าว นักศึกษาจะได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง อาทิธนาคารปูม้า การทำเค้กปูม้า การเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น การเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านทางการประมง การเลี้ยงหอยแมลงภู่ เรียนรู้ระบบนิเวศน์ชายฝั่ง สปาทราย สตาฟสัตว์น้ำ เรียนรู้ระบบการเลี้ยงกุ้ง ระบบการอนุบาล การเพาะเลี้ยงอาร์ทีเมีย และการเพาะเลี้ยงเพรียงทราย จากคณาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ปราชญ์ประมงพื้นบ้าน นักวิชาการจากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด มหาชน (ฟาร์มทดลองละแม) และนักวิชาการจากเพียงทรายฟาร์ม
23 เมษายน 2567     |      179
ดร.วีรภรณ์ โตคีรี ศึกษาดูงานและร่วมกิจกรรมกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว สาธารณรัฐประชาชนลาวและมูลนิธิศิลาธัมภ์
      วันที่ 3- 5 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา อาจารย์ ดร.วีรภรณ์ โตคีรี อาจารย์ประจำสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าศึกษาดูงานและร่วมกิจกรรมกับคณะวิทยาศาสตร์และป่าไม้ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว สาธารณรัฐประชาชนลาวและมูนิธิศิลาธัมภ์     โดยการศึกษาดูงานในครั้งนี้ ได้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการและพัฒนาโจทย์วิจัยอาหารเป็นยาและพัฒนาการผลิตกับคณะวิทยาศาสตร์และป่าไม้ ตลอดจนร่วมหารือแลกเปลี่ยนศึกษาดูงานด้านการศึกษาและการพัฒนาเครือข่ายสาขาการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ป่า อันจะนำไปสู่ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวต่อไป       อย่างไรก็ตาม ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น จากคณบดี ผู้บริหาร คณาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวอย่างดียิ่ง
7 เมษายน 2567     |      485
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมต้อนรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และร่วมพิธีมอบเครื่องลำเลียงกล้วยหอมทองแก่กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด
      วันที่ 6 เมษายน 2567 เวลา 11.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร พร้อมด้วยอาจารย์ปณิดา กันถาด อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชศาสตร์ นางสาวสายทอง สุจริยาพงศ์พร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา ตัวแทนนักศึกษาสาขาวิชานวัตนกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และสาขาพืชวิชาพืชศาสตร์ ร่วมต้อนรับนางสาวพิมพ์ภัทธา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และร่วมพิธีมอบเครื่องลำเลียงกล้วยหอมทอง แก่กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด ตำบลทุ่งคาวัด อำเภอละแม จังหวัดชุมพร       ทั้งนี้ ในการมอบเครื่องลำเลียงกล้วยหอมทอง แก่กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด ดังกล่าวนั้น ได้รับเกียรติจากนางสาวพิมพ์ภัทธา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีมอบ พร้อมด้วยนายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวรัตน์ มาประณีต รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร นายวิชัย สุดสวาสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพรเขต 1 นายสันต์ แซ่ตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพรเขต 2 นายสุพล จุลใส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพรเขต 3 นายนพพร อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร และตัวแทนหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดชุมพรเข้าร่วม      พร้อมกันนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยอาจารย์ปณิดา กันถาด อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชศาสตร์และตัวแทนนักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งและสาขาพืชศาสตร์ ได้จัดนิทรรศการบริการวิชาการเกี่ยวกับปลูกกล้วยหอมทองส่งออกญี่ปุ่น การดูแล การใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆของกล้วยหอมทอง และผลิตภัณฑ์จากกล้วยหอมทอง ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก
9 เมษายน 2567     |      475
ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการทุเรียนจังหวัดชุมพร (Chumphon Durian Board) ครั้งที่ 1/2567
      วันที่ 3 เมษายน 2567 เวลา 13.30-16.00 น. อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์  ประธานอาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์ เป็นผู้แทนคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการทุเรียนจังหวัดชุมพร (Chumphon Durian Board) ครั้งที่ 1/2567 เพื่อติดตามสถานการณ์ทุเรียน ขับเคลื่อนการพัฒนาสินค้าทุเรียน ตลอดจนร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาการสวมสิทธิ์ใบรับรอง GAP พืช และการควบคุมแผงจำหน่ายทุเรียนริมทาง โดยมีนายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมเกาะทองหลาง ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดชุมพร      ทั้งนี้ จังหวัดชุมพร ได้แต่งตั้งคณะกรรมการทุเรียนจังหวัดชุมพร เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาทุเรียนจังหวัดชุมพรแบบครบวงจร ทั้งเรื่องการผลิตและคุณภาพทุเรียน กำหนดช่วงวันเก็บเกี่ยวทุเรียนหมอนทอง ในวันที่ 20 มิถุนายน 2567 พร้อมวางมาตรการป้องกันทุเรียนอ่อน และการออกใบรับรองมาตรฐาน GAP ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน
5 เมษายน 2567     |      224
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมคาดการอนาคต (Foresight) ทิศทางและฉากทัศน์การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ สุราษฎร์ธานี
      วันที่ 4 เมษายน 2567 เวลา 08.30-16.30 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล ประธานหลักสูตรสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ และอาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ประธานหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์  เข้าร่วมประชุมคาดการอนาคต (Foresight) ทิศทางและฉากทัศน์การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ จัดโดยหน่วย บริหารและจัดการทุน ด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับสำนักงานสภานโยบายอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี  ณ ห้องบรรจงแกรนด์บอลรูม 2 โรงแรมบรรจงบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
5 เมษายน 2567     |      162
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร “ปลูกโทะ” สนองพระราชดำริ โครงการ อพ.สธ. เรารักพระเทพฯ “เจ้าฟ้านักอนุรักษ์”
      วันที่ 2 เมษายน 2567 เวลา 09.30 ณ แปลงโครงการไผ่เพื่อน้อง อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บุคลากรและนักศึกษา ร่วมปลูกโทะ (ต้นโทะ) พันธุกรรมพืชท้องถิ่นของชุมพร สนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)      พร้อมกันนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมปลูกโทะ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ เรารักพระเทพฯ “เจ้าฟ้านักอนุรักษ์” เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 2 เมษายน      อย่างไรก็ตาม “ต้นโทะ” (Rhodomyrtus tomentosa) พืชในวงศ์ชมพู่ ผลของลูกโทะ มีสีม่วง อันเป็นสีประจำพระชนมวารของพระองค์ โทะดอกสวย เนื้อไม้แข็งแรง ผล สามารถกินสด หรือแปรรูป เช่น ทำวุ้น ทำแยม ย้อมผ้า เป็นต้น
2 เมษายน 2567     |      219
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมงาน " เปิดเมืองกินฟรี Dance on Lamae beach ครั้งที่ 2"
      วันที่ 31 มีนาคม 2567 เวลา 17.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน และผู้แทนนักศึกษาสาขาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ สาขาวิชาการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ร่วมพิธีเปิดโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอละแม จังหวัดชุมพร "Dance on Lamae beach ครั้งที่ 2" ณ บริเวณชายทะเลหน้ามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยมีนายนพพร อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร เป็นประธานในพิธีเปิด >      พร้อมกันนี้ ได้นำลูกชิ้นทอด ตือคาโค น้ำโกโก้ น้ำเก็กฮวย และน้ำดื่ม บริการผู้เข้าร่วมกิจกรรมเปิดเมืองกินฟรีอีกด้วย      อย่างไรก็ตาม งาน "Dance on Lamae beach ครั้งที่ 2" จัดขึ้นโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ร่วมกับอำเภอละแมและชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอละแม
2 เมษายน 2567     |      160
หน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น ครั้งที่ 1/2567 หลักสูตร การบริหารและการจัดการ ,งานที่ 1,งานที่ 2และงานที่ 3
      วันที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ หน่วยประสานงาน อพ.สธ.มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น ครั้งที่ 1/2567 หลักสูตร การบริหารและการจัดการ ,งานที่ 1,งานที่ 2และงานที่ 3 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสง หัวหน้าโครงการ กล่าวรายงานต่อผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองผู้อำนวยการหน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ประธานในพิธีเปิด พร้อมกันนี้ได้รับเกียรติจากนายนิรัช โอบอ้อม ปลัดอาวุโสอำเภอละแม กล่าวให้กำลังใจแก่ผู้เข้าร่วมประชุม  และได้รับเกียรติจากนายมรกต วัชรมุสิก วิทยากร อพ.สธ.สวนจิตรลดา และคณะวิทยากรโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช      ทั้งนี้มีหน่วยงานองค์การปกครองท้องถิ่นจำนวน 12 แห่ง ได้ส่งบุคลากรเข้าอบรมจำนวนทั้งสิ้น 68 คน
26 มีนาคม 2567     |      277
หน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดประชุมกลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ครั้งที่ 1/2567
      วันที่ 19 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ รองผู้อำนวยการหน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร (คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมกลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ครั้งที่ 1/2567 หลักสูตร “การบริหารและการจัดการ องค์ประกอบที่ 1 และองค์ประกอบที่ 2” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสง หัวหน้าโครงการหน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กล่าววัตถุประสงค์การจัดประชุม มีผู้บริหาร คณะครู โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดชุมพรเข้าร่วมกว่า 120 คน      พร้อมกันนี้ นายชาญณรงค์ ปานเลิศ รองศึกษาธิการจังหวัดชุมพร นายเสรี พรหมฤทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชุมพร เขต 1 และนางศรีแพ ไกยเทียม รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชุมพร เขต 2 ได้กล่าวต้อนรับและให้กำลังใจผู้เข้าร่วมประชุม      โดยช่วงเช้า ผู้เข้าประชุม รับฟังการบรรยาย “การบริหารและการจัดการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” โดยนายมรกต วัชระมุสิก เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) สำนักพระราชวัง สวนจิตรลดา และรับฟังการบรรยาย “ภาพรวมงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน องค์ประกอบที่ 1 และองค์ประกอบที่ 2 วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงาน” โดยทีมวิทยากรโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราชและในช่วงบ่าย ผู้เข้าประชุมได้แบ่งกลุ่มและปฎิบัติการกลุ่ม 4 ฐานการเรียนรู้ ดังนี้ฐานการเรียนรู้ที่ 1 :การบริหารและการจัดการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนฐานการเรียนรู้ที่ 2 : องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ฐานการเรียนรู้ที่ 3 : องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ฐานการเรียนรู้ที่ 4 : องค์ประกอบที่ 2 การรวบรวมพันธุ์ไม้เข้าปลูกในโรงเรียน      อย่างไรก็ตาม การจัดกิจกรรมประชุมกลุ่มในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อร่วมสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อร่วมส่งเสริมสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร ตลอดจนเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ตรงตามปรัชญาการสร้างนักอนุรักษ์ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ นำไปสู่การพัฒนาตน องค์กร สังคม ประเทศชาติต่อไป
20 มีนาคม 2567     |      680
ทั้งหมด 41 หน้า