มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068
ขอเชิญเข้าร่วมเสวนาวิชาการ " Duriam Academy การพัฒนาองค์ความรู้สู่การยกระดับทุเรียนไทย"
คุณภาพยืนหนึ่ง ทำถึง  ต้องทุเรียนไทย !! ขอเชิญชาวสวนทุเรียน  เกษตรกร และผู้ที่สนใจ เข้าร่วมเสวนาวิชาการ " Duriam Academy การพัฒนาองค์ความรู้สู่การยกระดับทุเรียนไทย"วันพุธ ที่ 5 มิถุนายน 2567 ห้องคอมพิวเตอร์ ชั้น 2 อาคารแม่โจ้ 80 ปี เวลา 08.00-16.00 น.ออนไลน์ผ่านโปรแกรม ZOOM ( ลิ้งเข้าร่วมเสวนา จะได้รับหลังจากที่ลงทะเบียนเท่านั้น)ลงทะเบียนเข้าร่วมเสวนา :https://forms.gle/wd5iS8er6HwpQEyV8โดย 6 Keynote Speaker กูรูด้านทุเรียนโดยเฉพาะ ตั้งแต่ขั้นวางแผนเตรียมแปลงปลูก การเลือกพันธุ์ทุเรียน การจัดการสวน เทคนิคการผลิตทุเรียนให้ได้คุณภาพ ตลอดจนช่องทางตลาดและการส่งออกทั้งในและต่างประเทศรองศาสตราจารย์ ดร.สมพร ณ นคร ดร.วัชรวิชญ์ กีรติดุสิตโรจน์ นายดำรงศักดิ์ สินทรัพย์ ดร.ฉัตรกมล มุ่งพยาบาล นายวีรวัฒน์ วีรวงส์คุณพิเชฏฐ เทศรัตน์  ดำเนินการเสวนาโดย อาจารย์ ดร.ระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ และ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ    สอบถามเพิ่มเติม (คุณทราย) 080 032 4056
29 พฤษภาคม 2567     |      250
ขอแสดงความยินดีกับพนักงานมหาวิทยาลัยที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น ประเภทอำนวยการ
      ตามมติคณะกรรมการบริหารงานบุคคลมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครั้งที่ 7/2567 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2567 จำนวน 4 ราย ดังนี้ ระดับหัวหน้างาน/หัวหน้าฝ่าย : สังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร       1) นางสาวจิรภรณ์ ใจอ่อน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานบริหารและธุรการ สังกัดสำนักงานคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป       2) นางสาวศิริมาศ เจี้ยมกลิ่น ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานคลังและพัสดุ สังกัดสำนักงานคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป       3) นายณรงค์ โยธิน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานนโยบาย แผน และประกันคุณภาพ สังกัดสำนักงานคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป       4) นายชัยวิชิต เพชรศิลา ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานบริการวิชาการและวิจัย สังกัดสำนักงานคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป      กองบริหารทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 เมษายน 2567     |      426
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร รับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 หลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (ต่อเนื่อง 2 ปี)
      มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 หลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (ต่อเนื่อง 2 ปี)  4 สาขาวิชา สมัครออนไลน์ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 หลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (ต่อเนื่อง 2 ปี) เรียนปกติ   1.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตนกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง       •รับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ปวส. หรือเทียบเท่า       •GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.00       •ประเภทวิชาประมง เกษตรกรรม สัตวศาสตร์ สัตวรักษ์ เท่านั้น   2.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์     •รับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ปวส. หรือเทียบเท่า     •GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.00     •ประเภทวิชาเกษตรกรรม พืชศาสตร์ เกษตรศาสตร์ เท่านั้นหลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (ต่อเนื่อง 2 ปี ) เรียนปกติ /เรียนออนไลน์ เสาร์ -อาทิตย์    1.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ เรียนปกติ หรือเรียนออนไลน์ เสาร์ -อาทิตย์      •รับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ปวส. หรือเทียบเท่า หรือจบปริญญาตรีมาแล้ว      •GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.00      •ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว บริหารธุรกิจ คหกรรม หรือสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง    2.หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ เรียนออนไลน์ เสาร์-อาทิตย์      •รับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ปวส. หรือเทียบเท่า หรือจบปริญญาตรีมาแล้ว      •GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.00      •ประเภทวิชาบริหาร การจัดการ หรือสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง    สมัครออนไลน์ : www.admissions.mju.ac.th    สอบถามเพิ่มเติม งานบริการการศึกษา : 080 535 9909
19 เมษายน 2567     |      941
สวัสดีปีใหม่ไทย ๒๕๖๗
      มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ก่อเจดีย์ทราย และเล่นน้ำสงกรานต์ตามประเพณี      สงกรานต์สุขใจ “ดื่มไม่ขับ ง่วงจอดพัก เล่นสาดน้ำด้วยความระวัง”      ประวัติวันสงกรานต์ หรือ วันมหาสงกรานต์ ได้รับอิทธิพลมาจาก “เทศกาลโฮลี” ของประเทศอินเดีย แต่วันสงกรานต์ของไทยเปลี่ยนจากการสาดสี เป็นการสาดน้ำ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพอากาศที่ร้อนในเดือนเมษายน และในอีกแง่หนึ่งมีความเชื่อว่าเป็นการปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกไป ดังนั้น การเล่นสาดน้ำและประแป้งกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จะไม่ถือโทษโกรธกัน       คำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤต ที่มีความหมายว่า “การเคลื่อนย้าย” โดยเชื่อว่าในวันสงกรานต์ เป็นช่วงเวลาการเคลื่อนย้ายของจักรราศี อีกนัยหนึ่งก็คือการเคลื่อนสู่ปีใหม่ คนไทยจึงยึดถือวันสงกรานต์เป็น “วันขึ้นปีใหม่ไทย” มาตั้งแต่สมัยโบราณ จนกระทั่ง พ.ศ. 2483 ก่อนจะปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามแบบแผนสากลนิยม ซึ่งก็คือวันที่ 1 มกราคมของทุกปี ทั้งนี้ การละเล่นสงกรานต์ไม่ได้มีแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า กัมพูชา ลาว รวมถึงบางพื้นที่ของเวียดนาม จีน ศรีลังกา และอินเดีย       กิจกรรมช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ นิยมทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ เล่นสาดน้ำ ประแป้ง รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ คนทำงานต่างจังหวัดหรือไกลครอบครัว ก็จะเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อฉลองวันปีใหม่ไทย รวมถึงกล่าวคำอวยพร “สุขสันต์วันสงกรานต์” และ “สวัสดีวันสงกรานต์” ให้แก่กัน นอกจากนี้ แหล่งท่องเที่ยวสำหรับจัดงานเทศกาลสงกรานต์ ก็สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทำให้วันสงกรานต์ของไทยมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก       อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้ “สงกรานต์ในประเทศไทย” เป็นรายการในบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) ในการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 18 ณ เมืองคาเซเน สาธารณรัฐบอตสวานา      ทั้งนี้ “สงกรานต์ในประเทศไทย” (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) ถือเป็นรายการในบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ลำดับที่ 4 ของประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้ UNESCO ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้แก่ “โขน” (Khon, masked dance drama in Thailand) ในปี 2561, “นวดไทย” (Nuad Thai, Traditional Thai Massage) ในปี 2562 และ “โนรา” ของภาคใต้ (Nora, Dance Drama in Southern Thailand) ในปี 2564
13 เมษายน 2567     |      726
ประชาสัมพันธ์ รับสมัครนักศึกษา TCAS2567 รอบ 3 (หลักสูตร 4 ปีเทียบเรียน หรือต่อเนื่อง 2 ปี )
ใกล้สงกรานต์ เล่นสาดน้ำกันเพลิน อย่าลืมสมัครเรียนนะคะTCAS67 รอบ 3 (หลักสูตร 4 ปีเทียบเรียน หรือต่อเนื่อง 2 ปี )หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เรียนปกติ)      1.สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง      2.สาขาวิชาพืชศาสตร์หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (เรียนปกติ/ออนไลน์เสาร์-อาทิตย์)      1.สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (เรียนออนไลน์เสาร์-อาทิตย์)      1.สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ      เปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 5-30 เมษายน 2567      สอบถามเพิ่มเติม โทรศัพท์ 080 535 9909      หรือสอบถามเพิ่ม inbox แฟนเพจมหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร)      สมัครออนไลน์ :https://admissions.mju.ac.th
11 เมษายน 2567     |      612
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร รับสมัครนักศึกษาใหม่ 2 วันสุดท้าย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เปิดรับสมัครนักศึกษาปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2567 (TCAS67 รอบ 2 ) 2 วันสุดท้ายหลักสูตร 4 ปี      1.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง      2.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์      3.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการหลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (เรียนปกติ)      1.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง      2.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์      3.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการหลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (เรียนออนไลน์)      1.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ      เปิดรับสมัคร : วันนี้ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2567      สอบถามเพิ่มเติม : 080 535 9909      สมัครออนไลน์ :www.admissions.mju.ac.th
14 มีนาคม 2567     |      344
โครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ประจำปีการศึกษา 2566 “อำลาสถาบัน กราบครู กอดเพื่อน”
      มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กำหนดจัดโครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ประจำปีการศึกษา 2566 “อำลาสถาบัน กราบครู กอดเพื่อน” วันพฤหัสบดี ที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 08.30-17.00 น. ณ อาคารคาวบอย 3       1.พิธีแสดงความกตัญญูกตเวทีแด่อาจารย์ “อำลาสถาบัน กราบครู กอดเพื่อน” บรรยาย “ความพร้อมสู่ตลาดแรงงาน” โดยอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร      2.บรรยาย “การเขียน Resume อย่างไรให้ได้งาน เทคนิคการแต่งกายและสัมภาษณ์งาน” โดยอจาจารย์ ดร.จุฑามาศ เพ็งโคนา       3.เสวนา “พร้อมไหม จบไปต้องทำงานหรือศึกษาต่อ” โดยผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู ,อาจารย์ ดร.ภาวิดา รังษี,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์,อาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น,อาจารย์ ดร.ฐิติมา ศรีพร       4. ชี้แจงทำความเข้าใจ “ว่าที่บัณฑิตใหม่ เตรียมตัวอย่างไรก่อนเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร” โดยดร.ณรงค์ โยธิน
13 มีนาคม 2567     |      207
ทั้งหมด 10 หน้า