มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร รับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 หลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (ต่อเนื่อง 2 ปี)
      มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 หลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (ต่อเนื่อง 2 ปี)  4 สาขาวิชา สมัครออนไลน์ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 หลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (ต่อเนื่อง 2 ปี) เรียนปกติ   1.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตนกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง       •รับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ปวส. หรือเทียบเท่า       •GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.00       •ประเภทวิชาประมง เกษตรกรรม สัตวศาสตร์ สัตวรักษ์ เท่านั้น   2.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์     •รับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ปวส. หรือเทียบเท่า     •GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.00     •ประเภทวิชาเกษตรกรรม พืชศาสตร์ เกษตรศาสตร์ เท่านั้นหลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (ต่อเนื่อง 2 ปี ) เรียนปกติ /เรียนออนไลน์ เสาร์ -อาทิตย์    1.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ เรียนปกติ หรือเรียนออนไลน์ เสาร์ -อาทิตย์      •รับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ปวส. หรือเทียบเท่า หรือจบปริญญาตรีมาแล้ว      •GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.00      •ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว บริหารธุรกิจ คหกรรม หรือสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง    2.หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ เรียนออนไลน์ เสาร์-อาทิตย์      •รับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ปวส. หรือเทียบเท่า หรือจบปริญญาตรีมาแล้ว      •GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.00      •ประเภทวิชาบริหาร การจัดการ หรือสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง    สมัครออนไลน์ : www.admissions.mju.ac.th    สอบถามเพิ่มเติม งานบริการการศึกษา : 080 535 9909
19 เมษายน 2567     |      86
สวัสดีปีใหม่ไทย ๒๕๖๗
      มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ก่อเจดีย์ทราย และเล่นน้ำสงกรานต์ตามประเพณี      สงกรานต์สุขใจ “ดื่มไม่ขับ ง่วงจอดพัก เล่นสาดน้ำด้วยความระวัง”      ประวัติวันสงกรานต์ หรือ วันมหาสงกรานต์ ได้รับอิทธิพลมาจาก “เทศกาลโฮลี” ของประเทศอินเดีย แต่วันสงกรานต์ของไทยเปลี่ยนจากการสาดสี เป็นการสาดน้ำ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพอากาศที่ร้อนในเดือนเมษายน และในอีกแง่หนึ่งมีความเชื่อว่าเป็นการปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกไป ดังนั้น การเล่นสาดน้ำและประแป้งกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จะไม่ถือโทษโกรธกัน       คำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤต ที่มีความหมายว่า “การเคลื่อนย้าย” โดยเชื่อว่าในวันสงกรานต์ เป็นช่วงเวลาการเคลื่อนย้ายของจักรราศี อีกนัยหนึ่งก็คือการเคลื่อนสู่ปีใหม่ คนไทยจึงยึดถือวันสงกรานต์เป็น “วันขึ้นปีใหม่ไทย” มาตั้งแต่สมัยโบราณ จนกระทั่ง พ.ศ. 2483 ก่อนจะปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามแบบแผนสากลนิยม ซึ่งก็คือวันที่ 1 มกราคมของทุกปี ทั้งนี้ การละเล่นสงกรานต์ไม่ได้มีแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า กัมพูชา ลาว รวมถึงบางพื้นที่ของเวียดนาม จีน ศรีลังกา และอินเดีย       กิจกรรมช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ นิยมทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ เล่นสาดน้ำ ประแป้ง รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ คนทำงานต่างจังหวัดหรือไกลครอบครัว ก็จะเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อฉลองวันปีใหม่ไทย รวมถึงกล่าวคำอวยพร “สุขสันต์วันสงกรานต์” และ “สวัสดีวันสงกรานต์” ให้แก่กัน นอกจากนี้ แหล่งท่องเที่ยวสำหรับจัดงานเทศกาลสงกรานต์ ก็สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทำให้วันสงกรานต์ของไทยมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก       อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้ “สงกรานต์ในประเทศไทย” เป็นรายการในบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) ในการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 18 ณ เมืองคาเซเน สาธารณรัฐบอตสวานา      ทั้งนี้ “สงกรานต์ในประเทศไทย” (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) ถือเป็นรายการในบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ลำดับที่ 4 ของประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้ UNESCO ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้แก่ “โขน” (Khon, masked dance drama in Thailand) ในปี 2561, “นวดไทย” (Nuad Thai, Traditional Thai Massage) ในปี 2562 และ “โนรา” ของภาคใต้ (Nora, Dance Drama in Southern Thailand) ในปี 2564
13 เมษายน 2567     |      291
ประชาสัมพันธ์ รับสมัครนักศึกษา TCAS2567 รอบ 3 (หลักสูตร 4 ปีเทียบเรียน หรือต่อเนื่อง 2 ปี )
ใกล้สงกรานต์ เล่นสาดน้ำกันเพลิน อย่าลืมสมัครเรียนนะคะTCAS67 รอบ 3 (หลักสูตร 4 ปีเทียบเรียน หรือต่อเนื่อง 2 ปี )หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เรียนปกติ)      1.สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง      2.สาขาวิชาพืชศาสตร์หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (เรียนปกติ/ออนไลน์เสาร์-อาทิตย์)      1.สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (เรียนออนไลน์เสาร์-อาทิตย์)      1.สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ      เปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 5-30 เมษายน 2567      สอบถามเพิ่มเติม โทรศัพท์ 080 535 9909      หรือสอบถามเพิ่ม inbox แฟนเพจมหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร)      สมัครออนไลน์ :https://admissions.mju.ac.th
11 เมษายน 2567     |      453
ดร.วีรภรณ์ โตคีรี ศึกษาดูงานและร่วมกิจกรรมกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว สาธารณรัฐประชาชนลาวและมูลนิธิศิลาธัมภ์
      วันที่ 3- 5 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา อาจารย์ ดร.วีรภรณ์ โตคีรี อาจารย์ประจำสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าศึกษาดูงานและร่วมกิจกรรมกับคณะวิทยาศาสตร์และป่าไม้ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว สาธารณรัฐประชาชนลาวและมูนิธิศิลาธัมภ์     โดยการศึกษาดูงานในครั้งนี้ ได้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการและพัฒนาโจทย์วิจัยอาหารเป็นยาและพัฒนาการผลิตกับคณะวิทยาศาสตร์และป่าไม้ ตลอดจนร่วมหารือแลกเปลี่ยนศึกษาดูงานด้านการศึกษาและการพัฒนาเครือข่ายสาขาการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ป่า อันจะนำไปสู่ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวต่อไป       อย่างไรก็ตาม ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น จากคณบดี ผู้บริหาร คณาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวอย่างดียิ่ง
7 เมษายน 2567     |      477
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมต้อนรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และร่วมพิธีมอบเครื่องลำเลียงกล้วยหอมทองแก่กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด
      วันที่ 6 เมษายน 2567 เวลา 11.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร พร้อมด้วยอาจารย์ปณิดา กันถาด อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชศาสตร์ นางสาวสายทอง สุจริยาพงศ์พร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา ตัวแทนนักศึกษาสาขาวิชานวัตนกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และสาขาพืชวิชาพืชศาสตร์ ร่วมต้อนรับนางสาวพิมพ์ภัทธา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และร่วมพิธีมอบเครื่องลำเลียงกล้วยหอมทอง แก่กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด ตำบลทุ่งคาวัด อำเภอละแม จังหวัดชุมพร       ทั้งนี้ ในการมอบเครื่องลำเลียงกล้วยหอมทอง แก่กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด ดังกล่าวนั้น ได้รับเกียรติจากนางสาวพิมพ์ภัทธา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีมอบ พร้อมด้วยนายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวรัตน์ มาประณีต รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร นายวิชัย สุดสวาสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพรเขต 1 นายสันต์ แซ่ตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพรเขต 2 นายสุพล จุลใส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพรเขต 3 นายนพพร อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร และตัวแทนหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดชุมพรเข้าร่วม      พร้อมกันนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยอาจารย์ปณิดา กันถาด อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชศาสตร์และตัวแทนนักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งและสาขาพืชศาสตร์ ได้จัดนิทรรศการบริการวิชาการเกี่ยวกับปลูกกล้วยหอมทองส่งออกญี่ปุ่น การดูแล การใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆของกล้วยหอมทอง และผลิตภัณฑ์จากกล้วยหอมทอง ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก
9 เมษายน 2567     |      465
ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการทุเรียนจังหวัดชุมพร (Chumphon Durian Board) ครั้งที่ 1/2567
      วันที่ 3 เมษายน 2567 เวลา 13.30-16.00 น. อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์  ประธานอาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์ เป็นผู้แทนคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการทุเรียนจังหวัดชุมพร (Chumphon Durian Board) ครั้งที่ 1/2567 เพื่อติดตามสถานการณ์ทุเรียน ขับเคลื่อนการพัฒนาสินค้าทุเรียน ตลอดจนร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาการสวมสิทธิ์ใบรับรอง GAP พืช และการควบคุมแผงจำหน่ายทุเรียนริมทาง โดยมีนายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมเกาะทองหลาง ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดชุมพร      ทั้งนี้ จังหวัดชุมพร ได้แต่งตั้งคณะกรรมการทุเรียนจังหวัดชุมพร เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาทุเรียนจังหวัดชุมพรแบบครบวงจร ทั้งเรื่องการผลิตและคุณภาพทุเรียน กำหนดช่วงวันเก็บเกี่ยวทุเรียนหมอนทอง ในวันที่ 20 มิถุนายน 2567 พร้อมวางมาตรการป้องกันทุเรียนอ่อน และการออกใบรับรองมาตรฐาน GAP ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน
5 เมษายน 2567     |      214
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมคาดการอนาคต (Foresight) ทิศทางและฉากทัศน์การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ สุราษฎร์ธานี
      วันที่ 4 เมษายน 2567 เวลา 08.30-16.30 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล ประธานหลักสูตรสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ และอาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ประธานหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์  เข้าร่วมประชุมคาดการอนาคต (Foresight) ทิศทางและฉากทัศน์การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ จัดโดยหน่วย บริหารและจัดการทุน ด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับสำนักงานสภานโยบายอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี  ณ ห้องบรรจงแกรนด์บอลรูม 2 โรงแรมบรรจงบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
5 เมษายน 2567     |      158
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร “ปลูกโทะ” สนองพระราชดำริ โครงการ อพ.สธ. เรารักพระเทพฯ “เจ้าฟ้านักอนุรักษ์”
      วันที่ 2 เมษายน 2567 เวลา 09.30 ณ แปลงโครงการไผ่เพื่อน้อง อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บุคลากรและนักศึกษา ร่วมปลูกโทะ (ต้นโทะ) พันธุกรรมพืชท้องถิ่นของชุมพร สนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)      พร้อมกันนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมปลูกโทะ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ เรารักพระเทพฯ “เจ้าฟ้านักอนุรักษ์” เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 2 เมษายน      อย่างไรก็ตาม “ต้นโทะ” (Rhodomyrtus tomentosa) พืชในวงศ์ชมพู่ ผลของลูกโทะ มีสีม่วง อันเป็นสีประจำพระชนมวารของพระองค์ โทะดอกสวย เนื้อไม้แข็งแรง ผล สามารถกินสด หรือแปรรูป เช่น ทำวุ้น ทำแยม ย้อมผ้า เป็นต้น
2 เมษายน 2567     |      205
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมงาน " เปิดเมืองกินฟรี Dance on Lamae beach ครั้งที่ 2"
      วันที่ 31 มีนาคม 2567 เวลา 17.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน และผู้แทนนักศึกษาสาขาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ สาขาวิชาการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ร่วมพิธีเปิดโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอละแม จังหวัดชุมพร "Dance on Lamae beach ครั้งที่ 2" ณ บริเวณชายทะเลหน้ามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยมีนายนพพร อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร เป็นประธานในพิธีเปิด >      พร้อมกันนี้ ได้นำลูกชิ้นทอด ตือคาโค น้ำโกโก้ น้ำเก็กฮวย และน้ำดื่ม บริการผู้เข้าร่วมกิจกรรมเปิดเมืองกินฟรีอีกด้วย      อย่างไรก็ตาม งาน "Dance on Lamae beach ครั้งที่ 2" จัดขึ้นโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ร่วมกับอำเภอละแมและชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอละแม
2 เมษายน 2567     |      155
หน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น ครั้งที่ 1/2567 หลักสูตร การบริหารและการจัดการ ,งานที่ 1,งานที่ 2และงานที่ 3
      วันที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ หน่วยประสานงาน อพ.สธ.มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น ครั้งที่ 1/2567 หลักสูตร การบริหารและการจัดการ ,งานที่ 1,งานที่ 2และงานที่ 3 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสง หัวหน้าโครงการ กล่าวรายงานต่อผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองผู้อำนวยการหน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ประธานในพิธีเปิด พร้อมกันนี้ได้รับเกียรติจากนายนิรัช โอบอ้อม ปลัดอาวุโสอำเภอละแม กล่าวให้กำลังใจแก่ผู้เข้าร่วมประชุม  และได้รับเกียรติจากนายมรกต วัชรมุสิก วิทยากร อพ.สธ.สวนจิตรลดา และคณะวิทยากรโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช      ทั้งนี้มีหน่วยงานองค์การปกครองท้องถิ่นจำนวน 12 แห่ง ได้ส่งบุคลากรเข้าอบรมจำนวนทั้งสิ้น 68 คน
26 มีนาคม 2567     |      267
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดกิจกรรมปัจฉิมนิเทศนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 “อำลาสถาบัน กราบครู กอดเพื่อน”
      วันที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมปัจฉิมนิเทศนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 อำลาสถาบัน กราบครู กอดเพื่อน ณ อาคารคาวบอย 3 พร้อมกับให้โอวาทแก่นักศึกษา และขับร้องเพลง “เธอผู้เป็นดั่งเช่นความหวัง” สร้างขวัญและกำลังใจให้นักศึกษาในการก้าวออกไปสู่โลกของการทำงาน พร้อมกันนี้ คณาจารย์และบุคลากรได้ร่วมกันผูกข้อมือแสดงความยินดีแก่นักศึกษา และอวยพรให้นักศึกษาทุกคนประสบความสำเร็จในชีวิต ไม่ว่าจะทำงานหรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น      นอกจากนี้ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี ยังได้บรรยายพิเศษในหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงาน”      ส่วนในช่วงบ่ายวันเดียวกัน มีการบรรยายในหัวข้อ “การเขียน Resume อย่างไรให้ได้งาน เทคนิคการแต่งกายและการสัมภาษณ์งาน โดยอาจารย์ ดร.จุฑามาส เพ็งโคนา      ต่อด้วยการเสวนา “พร้อมไหม จบไปแล้วทำงาน หรือศึกษาต่อ” โดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ที่มาถ่ายทอดประสบการณ์การใช้ชีวิต จัดการการทางด้านการเงิน การวางแผนชีวิต ทั้งด้านการทำงาน และศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศ      และปิดท้ายกิจกรรม ด้วยการชี้แจงทำความเข้าใจ “ว่าที่บัณฑิตใหม่ เตรียมตัวอย่างไรก่อนเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร โดยดร.ณรงค์ โยธิน      กิจกรรมปัจฉิมนิเทศนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ประจำปีการศึกษา 2567 จัดขึ้นโดยงานกิจการนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้เตรียมความพร้อมก่อนที่จะจบการศึกษา ได้รับทราบแนวทาง การปฎิบัติ การวางแผนชีวิต เพื่อก้าวไปสู่โลกการทำงานได้อย่างมั่นใจ รวมทั้งให้นักศึกษาได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อครูอาจารย์ ความรัก ความผูกพันระหว่างเพื่อนและสถาบัน
26 มีนาคม 2567     |      493
หน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดประชุมกลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ครั้งที่ 1/2567
      วันที่ 19 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ รองผู้อำนวยการหน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร (คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมกลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ครั้งที่ 1/2567 หลักสูตร “การบริหารและการจัดการ องค์ประกอบที่ 1 และองค์ประกอบที่ 2” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสง หัวหน้าโครงการหน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กล่าววัตถุประสงค์การจัดประชุม มีผู้บริหาร คณะครู โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดชุมพรเข้าร่วมกว่า 120 คน      พร้อมกันนี้ นายชาญณรงค์ ปานเลิศ รองศึกษาธิการจังหวัดชุมพร นายเสรี พรหมฤทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชุมพร เขต 1 และนางศรีแพ ไกยเทียม รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชุมพร เขต 2 ได้กล่าวต้อนรับและให้กำลังใจผู้เข้าร่วมประชุม      โดยช่วงเช้า ผู้เข้าประชุม รับฟังการบรรยาย “การบริหารและการจัดการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” โดยนายมรกต วัชระมุสิก เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) สำนักพระราชวัง สวนจิตรลดา และรับฟังการบรรยาย “ภาพรวมงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน องค์ประกอบที่ 1 และองค์ประกอบที่ 2 วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงาน” โดยทีมวิทยากรโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราชและในช่วงบ่าย ผู้เข้าประชุมได้แบ่งกลุ่มและปฎิบัติการกลุ่ม 4 ฐานการเรียนรู้ ดังนี้ฐานการเรียนรู้ที่ 1 :การบริหารและการจัดการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนฐานการเรียนรู้ที่ 2 : องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ฐานการเรียนรู้ที่ 3 : องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ฐานการเรียนรู้ที่ 4 : องค์ประกอบที่ 2 การรวบรวมพันธุ์ไม้เข้าปลูกในโรงเรียน      อย่างไรก็ตาม การจัดกิจกรรมประชุมกลุ่มในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อร่วมสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อร่วมส่งเสริมสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร ตลอดจนเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ตรงตามปรัชญาการสร้างนักอนุรักษ์ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ นำไปสู่การพัฒนาตน องค์กร สังคม ประเทศชาติต่อไป
20 มีนาคม 2567     |      679
ทั้งหมด 198 หน้า