มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068
ม.แม่โจ้-ชุมพร ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOA กับ วษท.ระนอง ผลักดันความร่วมมือทางวิชาการ งานวิจัยและพัฒนาบุคลากร
วันที่ 22 มกราคม 2568 เวลา 13.00 น. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดย อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯ ฝ่ายวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการ อาจารย์ ดร.จักกฤช ณ นคร รองคณบดีฯ ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีระนอง โดย อาจารย์ศิริพงศ์ เมียนเชร์  ผู้อำนวยการ อาจารย์สิทธิชัย เชนทร รองผู้อำนวยการ และอาจารย์เปรมวดี ศศิสุวรรณพงศ์ รองผู้อำนวยการ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงทำความร่วมมือ (MOA) ว่าด้วยความร่วมมือทางด้านการพัฒนาการศึกษาการพัฒนาบุคลากรและพัฒนางานวิจัย ณ ห้องประชุมวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีระนอง อำเภอระนอง จังหวัดชุมพรการลงนามบันทึกข้อตกลงทำความร่วมมือ (MOA) ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือทางด้านวิชาการ การจัดการศึกษา อาทิ ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมและสนับสนุนนักศึกษา เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตลอดจนแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านงานวิจัย การพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร ตลอดจนพัฒนาหลักสูตรและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับทั้ง 2 สถาบันต่อไปอย่างไรก็ตาม การลงนามบันทึกข้อตกลงทำความร่วมมือ MOA ดังกล่าว สืบเนื่องมาจาก มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ  MOU  เพื่อสร้างความร่วมมือทางการศึกษา วิจัย และพัฒนาบุคลากร ระหว่างสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 1 สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 2 สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 3 และสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมาพร้อมกันนี้ หลังเสร็จสิ้นพิธีลงนาม MOA ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู อาจารย์ ดร. จักรกฤช ณ นคร อาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ ดร.ณรงค์ โยธิน และนางสาวสายทอง สุจริยาพงศ์พร ได้ประชาสัมพันธ์หลักสูตรการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และแนะแนวการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2568 แก่นักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีระนอง ได้รับความสนใจจากนักศึกษาเป็นอย่างดี
23 มกราคม 2568     |      118
ขอแสดงความยินดีกับบุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ที่ได้รับทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund:FF)
ขอแสดงความยินดีกับบุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ที่ได้รับทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund:FF) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.)1. ผศ.ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู “ผลการเสริมก๊าซออกซิเจนบริสุทธิ์ในระบบให้อากาศต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต ต้นทุน การปนเปื้อนแบคทีเรีย และคุณภาพน้ำภายในระบบเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลด้วยไบโอฟลอคในโรงเรือนควบคุมอุณหภูมิ”2. ผศ.ยุทธนา สว่างอารมย์ “การพัฒนาระบบการเลี้ยงหอยแครงแบบแนวตั้งในโรงเรือนควบคุมอุณหภูมิ:กรณีศึกษาอาหารคุณภาพสูงที่เหมาะสมสำหรับหอยแครงแต่ละขนาด”3. อาจารย์ ดร.จุฑามาส เพ็งโคนา “การสร้างสรรค์สำรับอาหารเพื่อสุขภาพคาร์บอนต่ำเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร”
6 มกราคม 2568     |      183
ขอแสดงความยินดีกับบุคลากร ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการบริการวิชาการ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ขอแสดงความยินดีกับบุคลากร ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการบริการวิชาการ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ1.ประสิทธิภาพของกระบวนการสกัดสารจากสมุนไพรเสม็ดที่มีมีผลต่อฤทธิ์ทางชีวภาพเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ ผู้รับผิดชอบ อาจารย์พัชรินทร์ วิริยะสุขสวัสดิ์2.อนุรักษ์และพัฒนาโทะอย่างยั่งยืน ผู้รับผิดชอบ ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์3.โครงการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารแทนนินจากใบ และเปลือกของกล้วยหอมทองต่อการลดปริมาณแอมโมเนียจากบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ผู้รับผิดชอบ ผศ.ดร.พรพิมล พิมลรัตน์4.ชันโรงสู่ผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพรและบรรจุภัณฑ์เพื่อการตลาดสมัยใหม่ ผู้รับผิดชอบ อาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี5.หน่วยงานประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร (โครงการฝึกอบรม) ผู้รับผิดชอบ นายสุวินัย เลาวิลาศ
2 ธันวาคม 2567     |      270
กิจกรรมดีๆ จากผ้าอนามัย “โซฟี” ที่ผู้หญิงอย่างเรา ไม่ควรพลาด!!
เนื่องด้วย บริษัทยูนิชาร์ม (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าอนามัย “โซฟี” มอบหมายให้บริษัทโต๊ะกลม จำกัด” เป็นตัวแทนประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ของผ้าอนามัยโซฟี ให้กับนักศึกษา บุคลากรและผู้ที่สนใจโอกาสนี้ จึงขอเชิญชวน นักศึกษาและบุคลากร เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ในวันศุกร์ ที่ 6 ธันวาคม 2567 เวลา 07.00-10.00 น.ใต้อาคารแม่โจ้ 80 ปี โดยพบกับบูธผลิตภัณฑ์ผ้าอนามัย “โซฟี” พร้อมการให้ความรู้และแนะนำผลิตภัณฑ์เกมสนุกลุ้นรางวัล และรับสินค้าตัวอย่างฟรี!!!
28 พฤศจิกายน 2567     |      238
สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง แต่ละชั้นปีเรียนอะไรบ้าง?
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร แต่ละชั้นปีเรียนอะไรบ้าง? ปี 1 : สามารถอธิบายการใช้เครื่องมือทางด้านวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ทางทะเลและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเรียนปรับพื้นฐานรายวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ อธิบายความรู้ด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมสุขภาวะ ความเป็นพลเมืองดิจิทัล การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์เรียนรู้หลักการพื้นฐานของการปฎิบัติงานฟาร์มประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งปี 2 :สามารถอธิบายความรู้และเข้าใจทักษะทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเรียนรู้หลักการวิเคราะห์คุณภาพน้ำเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เข้าใจนิเวศวิทยาทางทะเล และสมุทรศาสตร์เพื่อการประมงรู้จักกับปลาและสัตว์น้ำชนิดต่างๆ ผ่านรายวิชามีนวิทยาร่วมด้วยวิชาชีววิทยาของกุ้ง ปู และหอยทะเลเพื่อให้สามารถเข้าใจหลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเบื้องต้นปี 3 : สามารถวิเคราะห์ แก้ปัญหาและถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสัตว์น้ำชายฝั่งอย่างมีประสิทธิภาพเรียนรู้หลักการเพาะเลี้ยงแพลงก์ตอน เพื่อการเพาะเลี้ยงและการอนุบาลลูกสัตว์น้ำชายฝั่งเข้าใจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล การคำนวณสูตรและการผลิตอาหารและโภชนาการสัตว์น้ำหลักและวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคในสัตว์น้ำเข้าใจระเบียบวิธีวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อนำไปสู่การทำวิจัยพื้นฐานปี 4 : สามารถเลือกแนวทางในการเป็นผู้ประกอบการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งยังมีจริยธรรมปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในสถานประกอบการจริงทั้งในและต่างประเทศเรียนรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากทรัพยากรทางทะเลและนวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าทรัพยากรประมงเพื่อเศรษฐกิจ BCGเรียนรู้นวัตกรรมระบบน้ำหมุนเวียนเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำ กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการประมง รวมถึงการจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
27 พฤศจิกายน 2567     |      262
ทั้งหมด 13 หน้า