มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068
ต้อนรับคุณพฤหัส วงษ์ดำรงศักดิ์ และสมาชิกวิสาหกิจชุมชนผึ้งโพรงป่าเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน อ.ปะทิว จ.ชุมพร
ว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตร งานบริการวิชาการและวิจัย เป็นตัวแทนคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ต้อนรับคุณพฤหัส วงษ์ดำรงศักดิ์ และสมาชิกวิสาหกิจชุมชนผึ้งโพรงป่าเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืนอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เข้าเยี่ยมชมฐานเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งชันโรง และมอบผึ้งชันโรงชนิดขนเงิน จำนวน 2 รัง แหล่งพันธุกรรมจาก อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการอนุรักษ์ผึ้งชันโรง ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) สนองพระราชดำริโดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ทั้งนี้ทางวิสาหกิจชุมชนฯ จะได้ร่วมขับเคลื่อนโครงการอนุรักษ์ผึ้งโพรงไทย ร่วมกับงานบริการวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ในโอกาศต่อไป
14 พฤษภาคม 2568     |      4
คณบดี ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมประชุมคณะทำงานด้านการตลาดระดับจังหวัด และหารือแนวทางส่งเสริมการส่งออกทุเรียน มังคุด และสินค้าอื่น ๆ จังหวัดชุมพร สู่ตลาดต่างประเทศ
วันที่ 13 พฤษภาคม 2568 เวลา 10.00 น. อาจารย์ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมคณะทำงานด้านการตลาดระดับจังหวัด ครั้งที่ 3/2568 และประชุมเจรจาธุรกิจการค้าทุเรียน มังคุด และสินค้าอื่นๆ กับผู้ส่งออกสินค้าจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ณ ห้องประชุมเกาะพิทักษ์ ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดชุมพร การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันหารือแนวทางการส่งเสริมการส่งออกทุเรียน มังคุด และสินค้าอื่นๆ จังหวัดชุมพรสู่ตลาดสากล รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการตลาด และแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการส่งออก อาทิ ปัญหาด้านมาตรฐานการส่งออก ปัญหาด้านราคา และความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและโลจิสติกส์ของผลผลิตทางการเกษตร  ในการประชุมมีคณะทำงานด้านการตลาดระดับจังหวัด ตัวแทนจากภาคการศึกษา ผู้ประกอบการ ตัวแทนเกษตรกร ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุผลไม้จังหวัดชุมพร และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งหวังที่จะพัฒนาศักยภาพของสินค้าเกษตรหลักของจังหวัด โดยเฉพาะ "ทุเรียนจังหวัดชุมพร" ซึ่งเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูง เพื่อขยายโอกาสทางการตลาด เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร และยกระดับคุณภาพการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรให้สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติร่วมกับองค์กรภาครัฐและเอกชน  โดยมีนางสาวยุพาพร สวัสดี พาณิชย์จังหวัดชุมพร เป็นประธานในการประชุมในส่วนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านวิชาการ ทั้งการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าส่งออก โดยเน้นกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัย การบริการวิชาการ เพื่อเน้นพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานที่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคและการเพิ่มมูลค่าทางสินค้าการเกษตร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่ ถือเป็นหมายหนึ่งของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตามนโยบาย “เกษตรสุขภาวะ” โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน และส่งเสริมให้เกษตรกรทำผลผลิตที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน มีความปลอดภัย เพื่อส่งต่อสู่ผู้ผลิตทั้งภายในและต่างประเทศต่อไป
14 พฤษภาคม 2568     |      6
ม.แม่โจ้-ชุมพร ฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน รุ่นที่ 1/2568 หลักสูตร " 5 องค์ประกอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน"
วันอังคาร ที่ 6 พฤษภาคม 2568 อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร และรองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ดำเนินการจัดฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน รุ่นที่ 1/2568 หลักสูตร " 5 องค์ประกอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน" ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ณ อาคารบุญรอดศุภอุดมฤกษ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร โดยได้รับเกียรติจากผู้ตรวจราชการศึกษาธิการภาค 5 และศึกษาธิการจังหวัดชุมพร มอบหมายภารกิจแก่ คุณสรวีย์ แสงเงิน รองศึกษาธิการจังหวัดชุมพร เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมดังกล่าว และมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กล่าวให้กำลังใจแก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้แก่ ดร.อนุสิทธิ์ นามโยธา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชุมพร เขต 1 ,คุณเบญดาญาภา ฉัตรชัยพันธ์ ปฏิบัติหน้าที่แทน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชุมพร เขต 2 และนางมะลิวรรณ พรหมวิเศษ ปลัดอำเภอละแม ปฏิบัติหน้าที่แทนนายอำเภอ ทั้งนี้ มีผู้เข้าฝึกอบรมตัวแทนจากสถานศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร จำนวน 25 ท่าน 20 หน่วยงาน เพื่อสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ทางศูนย์ประสานงานได้เชิญ คุณมรกต วัชรมุสิก วิทยากรจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) พระราชวังสวนจิตรดา และ ได้รับความกรุณาจาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยดำเนินการฝึกอบรมตั้งแต่วันที่ 6 - 9 พฤษภาคม 2568
7 พฤษภาคม 2568     |      136
อาจารย์ปณิดา กันถาด นำทีมนักวิจัยเข้าสำรวจเพื่อหาแนวทางพัฒนางานวิจัยในจังหวัดชุมพร
วันที่ 2-3 พฤษภาคม 2568 ที่ผ่านมา อาจารย์ปณิดา กันถาด  อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชศาสตร์ นำทีมนักวิจัย ประกอบด้วย ผศ.ดร.ศักดินันท์ นันตัง สาขาวิชานวัตกรรมเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ดร.สุทธิชัย บุญประสพ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ดร. ศิริวรรณ ณะวงษ์ หัวหน้าส่วนวิจัยด้านอาหารและการเกษตร และ ดร. นิชาดา เจียรนัยกูร นักวิทยาศาสตร์ ส่วนวิจัยด้านอาหารและการเกษตร ฝ่ายวิจัยและประยุกต์ใช้แสงซินโครตรอน สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) เข้าสำรวจเพื่อหาแนวทางในการพัฒนางานวิจัย ในพื้นที่จังหวัดชุมพร ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์ ตำบลถ้ำสิงห์ อำเภอเมืองกลุ่มทุเรียนแปลงใหญ่ตำบลถ้ำสิงห์ ตำบลถ้ำสิงห์ อำเภอเมืองกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด ผู้ผลิต "กล้วยหอมทองละแม" อำเภอละแม  และ P.COA Cafe' คาเฟ่โกโก้ พีโก้ ชุมพร ตลาดชุมชนหลังสวน ตำบลวังตะกอ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
7 พฤษภาคม 2568     |      44
คณบดี ม.แม่โจ้-ชุมพร ประชุมหารือการจัดทำโครงการสร้างห้องปฏิบัติการตรวจสารตกค้าง ในผลผลิตทางการเกษตรจังหวัดชุมพร
วันที่ 2 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.30-16.30 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ผศ.ดร.สุทธิรักษ์ ผลเจริญ และผศ.ดร.มัลลิกา จินดาซิงห์ ร่วมประชุมปรึกษาหารือการจัดทำโครงการเพื่อสร้างห้องปฏิบัติการตรวจสารตกค้าง ในผลผลิตทางการเกษตรจังหวัดชุมพร ร่วมกับเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชุมพร ตัวแทนกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ตัวแทนสถาบันการศึกษาจังหวัดชุมพร ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพรในการนี้ ผศ.ดร.สุทธิรักษ์ ผลเจริญ และผศ.ดร.มัลลิกา จินดาซิงห์ ได้นำเสนอความพร้อมของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในการจัดตั้งห้องปฏิบัติการตรวจสอบสารตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรและการรับรองมาตรฐานเพื่อการส่งออกทุเรียนและผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ ของจังหวัดชุมพรและใกล้เคียงอย่างไรก็ตาม โครงการสร้างห้องปฏิบัติการตรวจสารตกค้าง ในผลผลิตทางการเกษตรจังหวัดชุมพร เป็นโครงการเร่งด่วนตามนโยบายของรัฐบาลที่มีเป้าหมายเพื่อเร่งแก้ปัญหาสารตกค้างในผลผลิตทางเกษตรที่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าการส่งออกผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะทุเรียน เพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับการส่งออกผลผลิตทางเกษตรสู่ประเทศปลายทางต่อไป
5 พฤษภาคม 2568     |      30
ม.แม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมงาน Regional innovation Roadshow ภาคใต้ตอนบน ครั้งที่ 2/2568
วันที่ 28 เมษายน 2568 อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยนายชาญวิทย์ ขุนทองจันทร์ นักวิชาการศึกษา ร่วมประชุมหารือกับ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สำนักงานนวัตรกรรมแห่งชาติ (NIA) พร้อมทั้ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน มีการพบผู้เชี่ยวชาญ การเตรียมความพร้อมในการขอทุนพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม โดยมีการพัฒนากลไกการสนับสนุนการพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ ณ โรงแรมลอฟมาเนีย บูทีค โฮเทล จังหวัดชุมพร
30 เมษายน 2568     |      41
คณบดี ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมประชุมเพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการส่งออกทุเรียนไปจีนของเกษตรกรและผู้ค้าส่งออกทุเรียนในพื้นที่จังหวัดชุมพร ครั้งที่ 2/2568
วันที่ 29 เมษายน 2568 เวลา 13.00 - 16.30 น.อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วย ผศ.ดร.สุทธิรักษ์ ผลเจริญ ตัวแทนอาจารย์อาจารย์สาขาวิชาพืชศาสตร์ เข้าร่วมประชุมเพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการส่งออกทุเรียนไปจีนของเกษตรกรและผู้ค้าส่งออกทุเรียนในพื้นที่จังหวัดชุมพร ครั้งที่ 2/2568โดยการประชุมดังกล่าว เพื่อผลักดันและแก้ปัญหาสารตกค้างในทุเรียน รวมทั้งการเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการ ห้องปฏิบัติการตรวจสารตกค้างในทุเรียน (Durian Lab) ในสถาบันการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชุมพร มีการรายงานความก้าวหน้าการจัดทำรายละเอียดโครงการเพื่อสร้างห้องปฏิบัติการตรวจสารตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรในจังหวัดชุมพร ซึ่งมีแผนจะมีการดำเนินการในสถาบันการศึกษาจำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย 1) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังวิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ 2) มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร 3) วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร โดยได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญกรมวิทยาศาสตร์บริการ ผ่านระบบZoom Meeting เพื่อขับเคลื่อนการสร้างห้องปฏิบัติการฯให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่อไป นอกจากนี้ได้มีการรายงานความก้าวหน้าเกี่ยวกับการดำเนินการตามมาตรการ/แนวทางการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการส่งออกทุเรียนไปจีนของเกษตรกรและผู้ค้าส่งออกทุเรียนในพื้นที่จังหวัดชุมพรของหน่วยงานเกี่ยวข้อง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชุมพร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุราษฎร์ธานี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรที่ เขตที่ 7 และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องได้ร่วมแลกเปลี่ยนในประเด็นต่างๆสำหรับสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร ได้นำเสนอประเด็นความก้าวหน้า ประกอบด้วย  มาตรการระยะสั้น1.การเตรียมจัดกิจกรรมวันเปิดฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียน 2.การจัดงานวิชาการเพื่อการผลิตทุเรียนคุณภาพ มาตรการระยะยาว1.การพัฒนาสินค้าทุเรียนอย่างเป็นระบบครบวงจรผ่านกลไกคณะกรรมการทุเรียนจังหวัดชุมพร2.การจัดอบรมให้ความรู้เกษตรกรเกี่ยวกับการใช้สารเคมีนอกจากนี้ได้ร่วมแลกเปลี่ยนในประเด็นการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพออกสู่ตลาด จังหวัดชุมพร เพื่อรองรับการผลิตของทุเรียนในปี 2568
30 เมษายน 2568     |      39
ม.แม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางความร่วมมือ หัวข้อ "พลังแห่งนวัตรกรรมสู่การเจริญเติบโตอย่างไร้ขอบเขต : เชื่อมงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์"
วันที่ 28 เมษายน 2568 อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วยอาจารย์ วิชชุดา เอื้ออารี รองคณบดีฯ ฝ่ายกิจการพิเศษ อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ประธานอาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์ และนายชาญวิทย์ ขุนทองจันทร์ นักวิชาการศึกษา ร่วมประชุมหารือกับ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พร้อมทั้ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาคใต้ตอนบน เพื่อการพัฒนาการขยายผลทางธุรกิจ ความคุ้มค่า เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันผลิตภัณฑ์นวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ ณ โรงแรมลอฟมาเนีย บูทีค โฮเทล จังหวัดชุมพร
28 เมษายน 2568     |      434
นายประภัย สุขอิน เป็นวิทยากรในกิจกรรม Show & Share : Behind the Library Shelf ครั้งที่ 2
นายประภัย สุขอิน บรรณารักษ์ ห้องสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นวิทยากรในกิจกรรม Show & Share : Behind the Library Shelf กับเรื่องเล่า "One Day with Me" เป็นการเล่าเรื่องห้องสมุดเกี่ยวกับการสร้างสรรค์กิจกรรมหรือบริการต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนมุมมอง การประยุกต์ใช้ และต่อยอดยังประโยชน์ต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ การจัดกิจรรมครั้งนี้โดยความร่วมมือระหว่างชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา (ชบอ) ซึ่งเป็นชมรมภายใต้สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2568 เวลา 10.00-11.00 น.
26 เมษายน 2568     |      32
ม.แม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมการดำเนินงานขับเคลื่อนงานด้าน อววน. ในพื้นที่จังหวัดสงขลา (เสริมทัพ/พัฒนาศักยภาพ ครูของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ (ครู สกร.) ด้วย ววน. พื้นที่ภาคใต้)
วันที่ 22-23 เมษายน 2568 อาจารย์ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร รองคณบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ และนายชัยวิชิต เพชรศิลา หัวหน้างานบริการวิชาการและวิจัย ร่วมต้อนรับนายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) พร้อมคณะลงพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อนงานด้าน อววน. ร่วมชมผลงานนิทรรศการในพื้นที่จังหวัดสงขลา โดยในส่วนของคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมดำเนินงานขับเคลื่อนงานด้าน อววน. ในพื้นที่จังหวัดสงขลา (เสริมทัพ/พัฒนาศักยภาพ ครูของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ (ครู สกร.) ด้วย ววน. พื้นที่ภาคใต้)พร้อมทั้ง ได้เยี่ยมชมผลงานนิทรรศการ และรับฟังการนำเสนอการใช้ประโยชน์นวัตกรรม ผลงานวิจัยจากผู้แทนชุมชน เยี่ยมชมนิทรรศการ และรับฟังการนำเสนอการใช้ประโยชน์นวัตกรรม ผลงานวิจัยจากผู้แทนชุมชน โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายวิทยา จันทน์เสนะ ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมชูพันธ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย สงขลาอย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้เข้าร่วมจัดนิทรรศการ แสดงผลงานเพื่อเป็นเวทีระดับภูมิภาคในการนำเสนอความก้าวหน้า ทางผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีศักยภาพพร้อมใช้ประโยชน์ สำหรับการพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ เป็นการหนุนเสริมให้เกิดกลไกสนับสนุนการพัฒนาผลงานวิจัย ให้เข้มแข็ง และสามารถส่งต่อ/ขยายผลหรือต่อยอดให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน สังคม โดยการบูรณาการ เชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างองค์กรและเครือข่ายทั่วประเทศ และเป็นการสร้างความตระหนัก และปลูกจิตสำนึกให้กับนักวิจัยในการขับเคลื่อนนโยบายต่อไป
26 เมษายน 2568     |      25
คณบดี ม.แม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการ พ.ศ. 2570
วันที่ 2 - 3 เมษยน 2568 อาจารย์ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วย ผศ.ชลดรงค์ ทองสง อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ประธานหลักสูตรเทคโนโลยีการผลิตพืช อาจารย์วิระชัย เพชรสุทธิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการ พ.ศ. 2570  โดยมี นายอภิชาติ สาราบรรณ์  รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานเปิดการประชุมฯพร้อมมอบนโยบายให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมโดยการประชุมฯดังกล่าว มีผู้แทนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมการประชุม และได้เชิญ ดร.วัชรวิชญ์ กีรติดุสิตโรจน์ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์เป็นพิเศษ เป็นวิทยากรในการประชุม ณ ห้องพุทธรักษา โรงแรมมรกตทวิน อำเภอเมือง จังหวัดชุมพรโดยการจัดประชุมดังกล่าว ตัวแทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้พยายามที่จะผลักดันโครงการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าสู่แผนยุทธศาสตร์ของจังหวัด จำนวน 4 โครงการเพื่อขับเคลื่อนและตอบสนองนโยบายของจังหวัดชุมพร และของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ต่อไป
8 เมษายน 2568     |      154
ทั้งหมด 63 หน้า