มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068
นักศึกษาสาขาวิชาพืชศาสตร์ ลงพื้นที่เก็บข้อมูลวิจัย ณ แปลงโครงการไผ่เพื่อน้อง ม.แม่โจ้-ชุมพร
เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2568 อาจารย์ ดร. จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์ และที่ปรึกษาโครงการวิจัย นำนักศึกษาสาขาวิชาพืชศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ลงแปลงปลูกไผ่ ณ แปลงโครงการไผ่เพื่อน้อง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร เพื่อฝึกเก็บข้อมูลงานวิจัยเรื่อง ผลของสารอาหารพืชที่มีส่วนประกอบของน้ำมันปลาทะเลต่อการเจริญเติบโตของไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้งเบอร์ 9 โดยมีว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตร สังกัดงานบริการวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร เป็นผู้รับผิดชอบโครงการวิจัยทั้งนี้ งานวิจัยดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนจากจากบริษัทอุตสาหกรรม เทคโนโลยีชีวภาพ (ประเทศไทย) จำกัด สนับสนุนระบบการให้น้ำโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์
30 มกราคม 2568     |      129
ประมงแม่โจ้-ชุมพร “เรียนจริง ปฎิบัติจริง” ฝึกทักษะการเลี้ยงกุ้ง พัฒนาต่อยอดสายงานเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มุ่งสร้างความร่วมมือกับ ซีพี
วันที่ 28 มกราคม 2568 เวลา 13.00-16.00 น. อาจารย์วีรชัย เพชรสุทธิ์ สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะสัตว์น้ำชายฝั่ง จัดกิจกรรม “ฝึกปฏิบัติทักษะการขนย้ายลูกกุ้งขาวแวนนาไม” ภายใต้โครงการเสริมสร้างความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ณ โครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้กับบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน) โดยมีนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 ที่ลงทะเบียนเรียน วิชา พช323 และวิชา 11302323 การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล จำนวน 19 คน เข้าร่วมทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากวิทยากร บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ฟาร์มละแม นายจรัส สมจิตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ นายประวิทย์ พุทธิรักษ์ ผู้จัดการฝ่ายผลิตกุ้ง และนายอภินันท์ อุ่นมณีรัตน์ ผู้จัดการฝ่ายผลิตกุ้ง บรรยายและฝึกปฏิบัติการขนย้ายลูกกุ้งขาวแวนนาไม จาก Green House pond สู่ Grow out pondอย่างไรก็ตาม การจัดกิจกรรมครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการบูรณาการการเรียนการสอนเข้ากับการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษา ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับบริษัทเอกชน ได้รับความสนใจจากนักศึกษาเป็นอย่างมาก พร้อมกันนี้นักศึกษายังได้ฝึกทักษะและประสบการณ์ รวมทั้งแรงบันดาลใจในการต่อยอดความรู้สู่การปฏิบัติจริง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา และพัฒนาทักษะในสายงานเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งในอนาคตต่อไป
30 มกราคม 2568     |      101
คณบดีร่วมประชุมคณะกรรมการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการ ประจำจังหวัดชุมพร ครั้งที่ 1/2568
วันที่ 27 มกราคม 2568 เวลา 10.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี ร่วมประชุมคณะกรรมการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการ ประจำจังหวัดชุมพร ครั้งที่ 1/2568 โดยมีนายเธียรชัย ชูกิตติวิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานการประชุมฯ เพื่อมอบนโยบายและข้อสั่งการปฏิบัติราชการ รวมทั้งติดตามผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานต่าง ๆ โดยมี หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ นายอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรภาคเอกชนร่วมประชุม ณ ห้องประชุมเกาะเสม็ด ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดชุมพร ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ได้เน้นย้ำในประเด็นสำคัญ อาทิ การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยเฉพาะการดูแลผู้ที่มีอาการทางจิตเวช และการจัดการเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ของประชาชนและในช่วงบ่ายวันเดียวกัน คณบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เข้าสวัสดีปีใหม่ นายจีรศักดิ์ แสงหอย นายอำเภอหลังสวน และนายจรัส สมจิตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ อาหาร จำกัด (มหาชน) ฟาร์มทดลอง ละแม
28 มกราคม 2568     |      93
ม.แม่โจ้-ชุมพร ให้การต้อนรับ อาจารย์กชพรรณ นุ่นสังข์ ในการนิเทศติดตามผลการฝึกประสบการณ์นักศึกษาฝึกงาน ณ ห้องสมุด
วันที่ 27 มกราคม 2568 เวลา 09.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มอบหมายให้อาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร รองคณบดีฯ ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ พร้อมด้วย อาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี รองคณบดีฯ ฝ่ายกิจการพิเศษ และนายประภัย สุขอิน บรรณารักษ์ ให้การต้อนรับอาจารย์กชพรรณ นุ่นสังข์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ ซึ่งได้มานิเทศติดตามผลการฝึกประสบการณ์ ของนักศึกษาฝึกงาน พร้อมทั้งสอบถามสภาพปัญหา และข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากการฝึกประสบการณ์ของนักศึกษาซึ่งเข้ารับการฝึกงาน ณ ห้องสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
28 มกราคม 2568     |      96
สาขาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมขับเคลื่อนเกาะสีเขียว (Green Island)
สาขาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมขับเคลื่อนเกาะสีเขียว (Green Island) ผ่านกิจกรรมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามหลัก BCG Model สอดคล้องกับมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนโฮมสเตย์บ้านเกาะพิทักษ์ ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร โดยมี หน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนคือ สำนักงานเกษตรอำเภอหลังสวน เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2568 ณ ชุมชนเกาะพิทักษ์ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพรในการนี้ทุกฝ่ายร่วมกันพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะพิทักษ์ภายใต้แนวคิด BCG Model โดยการมุ่งการจัดการดังนี้1) การจัดการขยะ ทั้งขยะอินทรีย์ที่เกิดขึ้นในครัวเรือนและกิจกรรมการท่องเที่ยว ด้วยกระบวนการจัดการอย่างเป็นระบบ เช่น การนำอินทรีย์วัตถุไปทำปุ๋ยน้ำหมัก ปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่กลับกองตามสูตรวิศวกรรมแม่โจ้ 12) การจัดการขยะพลาสติกที่เกิดจากกิจกรรมการท่องเที่ยวและขยะพัดพา ด้วยการแยก จำหน่าย นำขึันฝั่ง หรือ แจ้งผุ้ประกอบการรายย่อยที่ขายขยะรรีไซเคิลมาขนย้ายและดำเนินการต่อไป 3) ระบบการบริการจัดการน้ำและน้ำเสียโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อคุณภาพน้ำ ด้วยการวางระบบปั๊มน้ำอัตโนมัติเพื่อพักน้ำ จัดเก็บ และใช้ประโยชน์ภายในสวนและด้านการเกษตรอื่นๆ 4) การสร้างพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกผักพื้นบ้าน/ผักป่าอายุยืน ผนวกกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากขยะอินทรีย์
28 มกราคม 2568     |      81
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการร่วมสำสวจข้อมูลเพื่อพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านคู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร โดยงบประมาณปี 2568
วันที่ 16 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมสำสวจข้อมูลเพื่อพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านคู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร โดยงบประมาณปี 2568 มุ่งส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนนำร่องอำเภอละแม พร้อมกับอำเภออื่นๆ ในจังหวัดชุมพร ร่วมกับองการบริหารส่วนจังหวัดชุมพร (อบจ.ชุมพร) สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดชุมพร และเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอละแม ดังกำหนดการ ดังนี้08.30 น. : บ้านสวนภูวรินทร์ (เดินชมสวน บ้านพักโฮมสเตย์และการจัดการพื้นที่ความั่นคงทางด้านอาหาร-อาหารปลอดภัย)09.30 น. : ตลาดใต้เคี่ยม (ชุมชนบ้านปากน้ำและธนาคารปู เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวพระธาตุเขาน้อย)10.30 น. : บ้านสวนนางฟ้ากลางป่าไผ่ (สวนไผ่และโคกหนองนาโมเดล เชื่อมโยงผักปลอดสารพิษบ้านอุทัยบุญเลี้ยง วัดเขาหลาง)11.30 น. บ้านสวนจุฑาวดี (การสร้างคุณค่าใหม่ให้กับผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัยและใส่ใจสุขภาวะ)12.00 น. : ครัวหิ้วชั้น (พร้อมรับประทานอาหารเที่ยงและโมเดลครัวหิ้วชั้น14.00 น. : เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
24 มกราคม 2568     |      137
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมขับเคลื่อน กลไกการบริหารจัดการและจัดตั้งธนาคารข้าวอำเภอละแม
วันที่ 15 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมขับเคลื่อน กลไกการบริหารจัดการและจัดตั้งธนาคารข้าวอำเภอละแม โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้1) เพื่ออนุรักษ์พันธุ์ข้าวท้องถิ่น2) เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารให้เกษตรกรสมาชิกรายคน ครัวเรือนและชุมชน3) เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นเกษตรกรปลูกข้าวควบคู่กับการขยายพื้นที่และแนวคิดเกษตรสุขภาวะโดยใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด4) เพื่อส่งเสริมชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์และยกระดับผลผลิตทางด้านการเกษตรสู่การเป็นผู้ประการชุมชน5) เพื่อสร้างการรับรู้ด้านการบริโภคนิยมใหม่ที่ใส่ใจสุขภาวะ สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนท้องถิ่น  ทั้งนี้พร้อมเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน การท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ และการยกระดับผลผลิต-ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรโดยร่วมกับสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืน  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เครือข่ายรักษ์ละแม เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอละแม กลุ่มเกตรกรทุ่งหลวง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร ณ สวนนางฟ้ากลางป่าไผ่ ตำบลทุ่งหลวง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
24 มกราคม 2568     |      97
ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วนและผศ.ดร.ชุมพล อังคณานนท์ เป็นวิทยากรจัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการสู่ยุค 4.0 ณ โรงแรมกระบี่รอยัล อำเภอเมืองกระบี่
วันที่ 22-23 มกราคม 2568 อาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ และผศ.ดร.ชุมพล อังคณานนท์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้รับเชิญจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกระบี่ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการสู่ยุค 4.0 รุ่นที่2 ระหว่างวันที่ 22-23 มกราคม 2568 ณ โรงแรมกระบี่รอยัล อำเภอเมืองกระบี่ โดยมีผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP รวมถึงผลิตภัณฑ์จากวิทยาลัยเทคนิคกระบี่ นำผลิตภัณฑ์เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 25 กลุ่ม/ราย      การประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ให้มีความสามารถและมีทักษะในการ นำสินค้าจำหน่ายในตลาดออนไลน์ เพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า OTOP ผ่านระบบออนไลน์ ส่งเสริมให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP มีธรรมาภิบาล และสร้างความรู้ ความเข้าใจ    การประกอบกิจการรูปแบบเศรษฐกิจสีเขียวพร้อมกันนี้ได้ประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2568 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในคราวเดียวกัน
24 มกราคม 2568     |      98
“เยือนถิ่นอีสาน...เสริมสร้างประสบการณ์ ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ” ตามเส้นทาง ปราสาทหินพิมาย - ปราสาทพนมรุ้ง - ปราสาทเมืองต่ำ - เขาค้อ ภูทับเบิก – ภูลมโล- อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร จัดโครงการ : ส่งเสริมการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพด้านการท่องเที่ยวและบริการตามหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learning) ประจำปีการศึกษา 2567 โดยบูรณาการร่วมกับโครงการศึกษาเรียนรู้ตามเส้นทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) กำหนด ระหว่างวันที่ 17-20 มกราคม 2568 ตามเส้นทาง ดังนี้  วันที่ 17 มกราคม 2568 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มุ่งสู่จังหวัดนครราชสีมา โดยแวะชมฟาร์มโชคชัย เขื่อนลำตะคอง และเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์พิพายวันที่ 18 มกราคม 2568 ออกเดินทางสู่จังหวัดบุรีรัมย์ เข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ปราสาทหินเมืองต่ำเข้าชมอุทยานไม้ดอก เพลาเพลิน ที่ถูกขนานนามว่าเป็นดินแดนแห่งความรัก และออกเดินสู่อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ วันที่ 19 มกราคม 2568 สัมผัสอากาศหนาวกับทะเลหมอยามเช้า ณ จุดชมวิวทะเลหมอกเขาค้อ เข้าสักการะและชมวัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว ออกเดินทางสู่อำเภอภูทับเบิก จังหวัดเพชรบูรณ์วันที่ 20 มกราคม 2568 ชมวิวไร่กะหล่ำปลี ขุนเขา และทะเลหมอก ณ จุดชมวิวภูทับเบิกที่มีความสูง 1,667 เมตรจากระดับน้ำทะเล ชมตลาดยามเช้าภูทับเบิก-ตลาดม้ง ชมวิวภูทับเบิกผาหัวสิงห์/ทุ่งดอกพญาเสือโคร่ง ภูลมโล และเดินทางกลับมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยสวัสดิภาพโครงการดังล่าว สร้างความรอยยิ้ม สร้างความสุข และสามารถสร้างประสบการณ์แก่นักศึกษา ตลอดจนพัฒนาทักษะและศักยภาพตน พร้อมเผชิญโลกกว้างในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการต่อไป
23 มกราคม 2568     |      130
ทั้งหมด 225 หน้า