มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068
ตรวจสอบความพร้อมโรงเรือนต้นแบบฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเศรษฐกิจระบบปิดด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ รองรับการเรียนการสอน งานวิจัย และบริการวิชาการ
คณาจารย์หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ๆเกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจรับ และตรวจสอบความเรียบร้อยของโรงเรือนต้นแบบฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเศรษฐกิจระบบปิดด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับใช้สนับสนุนการเรียนการสอน งานวิจัย และบริการวิชาการ ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2/2567 ต่อไป
13 พฤศจิกายน 2567     |      49
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมจัดเสวนาทางวิชาการ ในงานมหกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ณ เวทีลานไทร สวนสาธารณะอาภากรเกียรติติวงศ์ จังหวัดชุมพร
วันที่ 3 พฤษภาคม 2567  สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมจัดเสวนาทางวิชาการ ในงานมหกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ณ เวทีลานไทร สวนสาธารณะอาภากรเกียรติติวงศ์ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพรหัวข้อเสวนา “ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยสู่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะ" ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสง ผู้ร่วมเสวนา นายไสว  แสงสว่าง  ประธานสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดชุมพรนายนิพนธ์  ฤทธิ์ชัย  เครือข่ายข้าวไร่   จังหวัดชุมพรและ นางสาว วันลี ชื่นเกาะสมุย  ลานธรรมไม้ /ธนาคารต้นไม้   ผลิตผ้าย้อมสีธรรมชาติ  และผ้าพิมพ์สีธรรมชาติ
12 พฤศจิกายน 2567     |      50
ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมกิจกรรมการรวบรวมข้อมูลบริบทของพื้นที่วิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ปัจจุบันของกลุ่มธุรกิจร่วมในพื้นที่ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจชายฝั่งภาคใต้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมกับเครือข่ายสถาบันการศึกษา ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี  วิทยาลัยชุมชนระนอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์จังหวัดชุมพร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ ร่วมกิจกรรมการรวบรวมข้อมูลบริบทของพื้นที่วิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ปัจจุบันของกลุ่มธุรกิจร่วมในพื้นที่ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจชายฝั่งภาคใต้ โครงการวิจัยเรื่อง"การพัฒนาและยกระดับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้อย่างยั่งยืนด้วยกลไกการ ขับเคลื่อนเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน" ระหว่างวันที่ 18 - 19 กันยายน 2567 ณ ศูนย์การศึกษาจังหวัดระนอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และรูปแบบออนไลน์ พร้อมทั้งลงพื้นที่สำรวจ
12 พฤศจิกายน 2567     |      39
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมวางแผนรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่ม Sober Tourism
วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 สาขาวิชาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และแกนนำสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้ เตรียมการวางแผนรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่ม Sober Tourism ซึ่งเป็นเทรนด์การท่องเที่ยว ที่สามารถท่องเที่ยวได้โดยปราศจากการดื่มแอลกอฮอล์และการใช้สารเสพติด ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนียลและ Gen Z ในอเมริกัน ซึ่งดื่มน้อยกว่ารุ่นก่อนๆ ซึ่งการท่องเที่ยวรูปแบบนี้กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นสำหรับผู้ที่ต้องการท่องเที่ยวที่ได้สัมผัสกับวัฒนธรรมและธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ ปราศจากผลข้างเคียงของแอลกอฮอล์  ณ ห้องประชุมโรงแรมมรกต อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
12 พฤศจิกายน 2567     |      34
สาขาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมจัดงานมหกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2567
สาขาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาแม่โจ้-ชุมพร เป็นหนึ่งในองค์กรร่วมจัดงานมหกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 1-4 พฤษภาคม 2567  โดยในวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เวลา 17.00 น. ณ สวนสาธารณะอาภากรเกียรติติวงศ์ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพรนายนพพร อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร เป็นประธานเปิดโครงการฯ พร้อมด้วย นายธราธิป ทองเจิม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงาน คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร สมาชิกสถาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร พ.อ.สิทธิชัย โกศล รองเสธ.มทบ.44 พ.ต.อ.ธงชัย นุ้ยเจริญ รอง ผบก.ภ.จว.ชุมพร หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดชุมพร ว่าที่ร้อยตรี ธีรยุทธ ธีระโสพิศ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ผู้อำนวยการกอง ภาคีเครือข่ายการท่องเที่ยวจังหวัดชุมพรและจังหวัดพังงา เข้าร่วมในครั้งนี้ โดยมี นายอำพล ธานีครุฑ นายกสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ทั้ง 8 อำเภอ ได้นำเสนอสินค้าทางการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน เชื่อมโยงภาคีเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนในจังหวัดชุมพร ภาคใต้ และทั่วประเทศ
12 พฤศจิกายน 2567     |      28
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมจัดเสวนาทางวิชาการ งานมหกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ณ เวทีลานไทร สวนสาธารณะอาภากรเกียรติติวงศ์ จังหวัดชุมพร
สาขาการท่องเที่ยวและบริการร่วมจัดเสวนาทางวิชาการ ระหว่างวันที่วันที่ 1-2 พฤษภาคม 2567 ภายในงานมหกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ณ เวทีลานไทร สวนสาธารณะอาภากรเกียรติติวงศ์ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพรโดยมีนายนพพร อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร พร้อมด้วย นายธราธิป ทองเจิม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงาน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดชุมพร ร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนภายใต้หัวข้อเสวนา : การท่องเที่ยวโดยชุมชน "ทางรอดหรือแค่ทางเลือก หรือ การท่องเที่ยวโดยชุมชน "ทางรอด"ซึ่งผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย ประธานเครือข่าย 8 อำเภอ ขึ้นเสวนา ให้เห็นภาพร่วมกันในการใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ/สิ่งแวดล้อม สังคม-วัฒนธรรม พัฒนาคน-ชุมชน ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก-สร้างสรรค์-หมุนเวียน-พอเพียงผู้ร่วมรับฟังและร่วมแชร์ : นำโดย นายกอบจ. ผอ.ททท. ทกจ. พช. พณ. นายกกทท.ดชช.ชพ และภาคีเครือข่าย (ระดับตัดสินใจ) รวมทั้งผู้สนใจเปิดฟลอ : ไม่ชี้เป้าให้พูดใครก่อนก็ได้ หรือไม่ใช้สิทธ์ ก็ได้ 1) เห็นทางรอดจริงมาร่วมด้วยช่วยกันเรื่อง 2) ไม่เห็นทางรอด แต่ต้อง...วันที่สอง : หรือการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นแค่ทางเลือกหมายเหตุ : กระบวนการดังกล่าวเป็นกลไกในการสร้างพื้นที่ปฏิบัติร่วมระหว่างภาคประชาชนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องโดยการให้ความสำคัญกับประชาชน (ศูนย์กลางจักรวาล) ด้วยการรับฟัง และร่วมแชร์แนวทางการทำงานร่วมกัน
12 พฤศจิกายน 2567     |      24
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมจัดเสวนาทางวิชาการ งานมหกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ณ เวทีลานไทร สวนสาธารณะอาภากรเกียรติติวงศ์ จังหวัดชุมพร
วันที่ 4 พฤษภาคม 2567 สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมจัดเสวนาทางวิชาการ ภายในงานมหกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ณ เวทีลานไทร สวนสาธารณะอาภากรเกียรติติวงศ์ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพรหัวข้อเสวนา :การท่องเที่ยวโดยชุมชนมุ่งสู่การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ดำเนินรายการโดย อาจารย์ ดร.จุฑามาศ เพ็งโคนา ประเด็นการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral Tourism)กรณีศึกษา : เส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์จังหวัดชุมพรกรณีศึกษา : งานอีเว้นท์คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ “ทุ่งตะโกแคมป์ปิ้ง ครั้งที่ 1”มากไปกว่า “คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์” ด้วย “Net Zero” เริ่มต้นด้วยตนเอง
12 พฤศจิกายน 2567     |      20
ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมพิธีทอดกฐินสามัคคี ณ วัดโสมสิริวัฒนาราม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2567 เวลา 18.00 น. อาจารย์ ดร. ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯ ฝ่ายวิชาการ วิจัย และบริการวิชาการ และอาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี ผู้ช่วยคณบดี ร่วมพิธีทอดกฐินสามัคคี ณ วัดโสมสิริวัฒนาราม ตำบลทุ่งหลวง อำเภอละแม จังหวัดชุมพรโดยมีพระครูวิเชียรปัญญาภรณ์ เจ้าคณะตำบลทุ่งหลวง เจ้าอาวาสวัดโสมสิริวัฒนาราม นายสมบูรณ์ หนูนวลสมาชิกวุฒิสภา เป็นประธานองค์กฐิน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการอำเภอละแม ผู้นำท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษา และประชาชนเข้าร่วมทั้งนี้ วัดโสมสิริวัฒนาราม หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งหลวง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร ได้สร้างอุโบสถเมื่อประมาณปี พ.ศ 2519  ยังไม่ได้ผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต ประกอบกับปัจจุบันอุโบสถมีสภาพหลังคารั่ว ฝ้าเพดานชำรุด จึงต้องบูรณะปรับปรุงเพื่อให้สามารถใช้งานได้ การทอดกฐินในครั้งนี้เพื่อระดมทุน ปัจจัย บูรณะอุโบสถให้แล้วเสร็จ เพื่อจัดงานผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตต่อไป
11 พฤศจิกายน 2567     |      46
ผศ.อำนาจ รักษาพล ร่วมโครงการ “การพัฒนาและยกระดับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้อย่างยั่งยืนด้วยกลไกการขับเคลื่อนเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล ประธานอาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมโครงการ “การพัฒนาและยกระดับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้อย่างยั่งยืนด้วยกลไกการขับเคลื่อนเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน” โดยมี ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หัวหน้าโครงการฯ ด้วยการจัดกิจกรรมการรวบรวมข้อมูลบริบทของพื้นที วิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ปัจจุบัน พร้อมประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจร่วมในพื้นที่ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจชายฝั่งภาคใต้ ระหว่างวันที่ 6 - 7 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ ชั้น 2 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
10 พฤศจิกายน 2567     |      52
ทั้งหมด 213 หน้า