มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068
คณบดี ม.แม่โจ้-ชุมพร ต้อนรับนักกีฬา ผู้ฝึกสอน และเจ้าหน้า ส่งกำลังใจลุยศึกฟุตบอลมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2
วันที่ 11 สิงหาคม 2567 ณ สนทรายรีสอร์ท อำเภอละแม จังหวัดชุมพร อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วย นายอุดมศักดิ์ เฉลิมพนาพันธ์ ประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ จังหวัดชุมพร และตัวแทนศิษย์เก่าแม่โจ้ ร่วมต้อนรับนักกีฬา (ฟุตบอล) ผู้ฝึกสอน และเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการแข่งขันรายการฟุตบอลมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 ชิงถ้วยรางวัลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระหว่างวันที่ 10-22 สิงหาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา จังหวัดสงขลา ตามที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้เชิญสถาบันอุดมศึกษาจัดส่งทีมฟุตบอลเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาฟุตบอลชิงชนะเลิศมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 ชิงถ้วยรางวัลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาศาสตร์ วิจัยและนวัดกรรม โดยมีการแข่งขันในรอบคัดเลือกเขตภูมิภาค ระหว่างวันที่ 10-23 มิถุนายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ไปแล้วนั้น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เป็นตัวแทนทีมฟุตบอลจากเขตภาคเหนือ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาฟุตบอลชิงชนะเลิศมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 (รอบชิงชนะเลิศ) ระหว่างวันที่ 10-22 สิงหาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา จังหวัดสงขลา
15 สิงหาคม 2567     |      86
คณบดี ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมประชุมกับคณะกรรมการชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ ภาคใต้
วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม 2567 เวลา 13.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ ภาคใต้ โดยมีนายกิตติภณ ถึงศรี ประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ ภาคใต้ เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วย ดร.ขุนศรี ทองย้อย นายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ประธานและกรรมการชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ 14 จังหวัด เข้าร่วมประชุม ณ บ้านสวนช่องเขารีสอร์ท อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราชที่ประชุม ได้รายงานและสรุปกิจกรรมที่ทางชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ภาคใต้ และศิษย์เก่าแต่ละจังหวัดได้ดำเนินการที่ผ่านมา พร้อมกับรายงานความก้าวหน้าในการเตรียมจัดงานรวมพลคนแม่โจ้ภาคใต้ ครั้งที่ 28  ประจำปี 2568 ที่จังหวัดสงขลาเป็นเจ้าภาพ  รวมทั้งหารือแนวทางความร่วมมือในการพัฒนากิจกรรมร่วมมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรในอนาคต ตลอดจนความร่วมมือในการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทั้ง 3 วิทยาเขตต่อไปภาพ:ชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ จังหวัดนครศรีธรรมราช
7 สิงหาคม 2567     |      186
ผศ.ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู เข้าร่วมประชุมโครงการการพัฒนาระบบกลไกของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคเพื่อพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ 4 ภาค
วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู เข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศภายใต้โครงการการพัฒนาระบบกลไกของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เพื่อการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค (NEC, NeEC, CWEC และ SEC) โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ประธานคณะที่ปรึกษา รมว.กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ด้านวิทยาศาสตร์ เป็นประธานเปิดงานปฐมนิเทศ ณ โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร การประชุมดังกล่าว จัดขึ้นโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาระบบวิจัยและนวัตกรรม รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากร เพื่อเป็นข้อมูลและแนวทางการดำเนินการยกระดับและพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ ร่วม กับกลุ่มผู้ส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญจากภาคชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา ในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภูมิภาค ประกอบด้วย ภาคเหนือ (NEC) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC) ภาคกลางตะวันตก (CWEC) และภาคใต้ (SEC
1 สิงหาคม 2567     |      448
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-ม.แม่โจ้-ชุมพร บรรยาย “กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนขับเคลื่อนสวนพฤกษศาสตร์ในสถานศึกษา”
วันที่ 30 กรกฎาคม 2567 คณะวิทยากรศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสง พร้อมด้วยนายสุวินัย เลาวิลาศ นักวิชาการศึกษา และนายชาญวิทย์ ขุนทองจันทร์ นักวิชาการศึกษา เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ “กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนขับเคลื่อนสวนพฤกษศาสตร์ในสถานศึกษา”  ณ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.) ระดับอำเภอเมืองชุมพร ตำบลวังไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพรกิจกรรมดังกล่าว มีนางสาวประไพศรี  คงตระกูล  ผู้อำนวยการสำนักงาน สกร.ระดับจังหวัดชุมพร  เป็นประธานในพิธี  และนายประยงค์  ขันทอง ผู้อำนวยการ สกร.อำเภอระดับอำเภอเมืองชุมพร กล่าวรายงาน
31 กรกฎาคม 2567     |      119
สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะสัตว์น้ำชายฝั่ง ร่วมรณรงค์กิจกรรมทำประมงปูม้าอย่างถูกกฎหมายและการกำจัดปลาหมอสีคางดำ
วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.00 น. ดร.ณัชพัฒน์ สุขใส นำนักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะสัตว์น้ำชายฝั่ง ร่วมรณรงค์กิจกรรมทำประมงปูม้าอย่างถูกกฎหมายและการกำจัดปลาหมอสีคางดำ ณ บริเวณหน้าหาดแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ไปยังธนาคารปูม้า (บ้านปู) กิจกรรมดังกล่าว จัดโดย สำนักงานประมงจังหวัดชุมพร ร่วมกับสำนักงานประมงอำเภอละแม มีหน่วยงานราชการและจิตอาสาเข้าร่วม ดังนี้ สถานีตำรวจภูธรละแม มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โรงเรียนบ้านแหลมสันติ โรงเรียนบ้านดอนแค หน่วยพิทักษ์ป่าละแม หน่วยป้องกันและรักษาป่า(ชพ.8)ละแม และผู้นำท้องถิ่นในอำเภอละแม
31 กรกฎาคม 2567     |      75
ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมพิธีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฏาคม 2567
วันอาทิตย์ ที่ 28 กรกฎาคม 2567 ณ ที่ว่าการอำเภอละแม อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วยผู้บริหาร บุคลากร ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567เวลา 07.00 น. ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 จากนั้นเวลา 08.00 น. ร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน โดยนายสุนทร จอมเมือง นายอำเภอละแม เป็นประธานในพิธี  มีหัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม นักเรียน และพสกนิกรอำเภอละแมเข้าร่วมพิธีและในช่วงเย็น เวลา 17.30 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี เข้าร่วมพิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยนายธนนท์ พรรพีภาส รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานในพิธี และมีข้าราชการพลเรือน ศาล ตุลาการ ทหาร ตำรวจ หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักเรียน นักศึกษา และพสกนิกรจังหวัดชุมพรเข้าร่วมพิธี เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย ณ บริเวณลานหน้าเทศบาลเมืองชุมพร จังหวัดชุมพรพร้อมกันนี้ในเวลาเดียว บุคลากรและนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมพิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ ศาลาประชาคมอำเภอละแม โดยนายสุนทร จอมเมือง นายอำเภอละแม เป็นประธานในพิธี หัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม นักเรียน และพสกนิกรอำเภอละแมเข้าร่วมพิธีโดยพร้อมเพรียงกัน
29 กรกฎาคม 2567     |      190
ม.แม่โจ้-ชุมพร ฝึกอบรม “อนุรักษ์พันธุกรรมไผ่ภาคใต้” สนองงานตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
วันที่ 24 กรกฎาคม 2567  เวลา 13.00 น. บริเวณโครงการไผ่เพื่อน้อง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมฝึกอบรม “อนุรักษ์พันธุกรรมไผ่ภาคใต้” ว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การฝึกอบรม มีนักศึกษาใหม่ แม่โจ้รุ่น 89 ผู้นำนักศึกษา และเจ้าหน้าที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดชุมพร เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 100 คน นายกิตติภณ ถึงศรี ประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ภาคใต้ ได้มอบหมายให้ นายอุดมศักดิ์ เฉลิมพนาพันธ์ รองประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ภาคใต้ และประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ จังหวัดชุมพร เข้าร่วมกิจกรรมและกล่าวต้อนรับนักศึกษาใหม่ ใจความว่า  “ต้นไผ่ในแปลงแห่งนี้  เป็นไผ่ที่รุ่นพี่ของพวกเราได้ร่วมกันปลูก เพื่อให้รุ่นน้องและมหาวิทยาลัยได้ใช้ประโยชน์ทางการศึกษา เป็นแหล่งเรียนรู้ ตลอดจนการใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ อาทิ นำไปทำอาหาร ไปฝากโรงเรียนต่างๆในชุมชน วันนี้เป็นโอกาสดี  ที่เราได้ร่วมกันปลูกไผ่ ใส่ปุ๋ย  สืบสานเจตนารมณ์ของรุ่นพี่  ช่วยกันดูแลให้เป็นไผ่รวมกอ เติบโต เปรียบเสมือนความรักความสามัคคีของลูกแม่โจ้ ขอให้น้องๆช่วยกันสานต่อสิ่งดีๆเหล่านี้ไว้ครับ”  พร้อมกันนี้ นางสาวยุพาพร สวัสดี พาณิชย์จังหวัดชุมพร ได้พบปะผู้เข้าอบรมและประชาสัมพันธ์กิจกรรม "แจกกล่องบรรจุภัณฑ์ผลไม้พร้อมสติกเกอร์ยกเว้นค่าขนส่งกับไปรษณีย์ไทย" ประจำปี 2567 โดยเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการตลาดออนไลน์ ช่วยกระจายผลผลิตผลไม้ในช่วงฤดูกาล และสนับสนุนผู้ค้าผลไม้ออนไลน์ ทั้งนี้ กิจกรรมฝึกอบรม “อนุรักษ์พันธุกรรมไผ่ภาคใต้”  ได้สร้างสรรค์กิจกรรมเสริม คือ “พี่ปลูกไผ่ น้องใส่ปุ๋ย  และบูรณาการร่วมกับโครงการ ไผ่เพื่อน้อง เพื่อสนองงานพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตลอดจนสร้างแปลงอนุรักษ์พันธุกรรมไผ่ สู่การเรียนรู้ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรไผ่ (ป่าไผ่) อย่างยั่งยืน พร้อมกันนี้ ชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ ภาคใต้ และศิษย์เก่าแม่โจ้ทั่วประเทศ ร่วมสนองงานตามพระราชดำริ ผ่านโครงการไผ่เพื่อน้องอีกด้วย อย่างไรก็ตาม โครงการแปลงรวบรวมชนิดพันธุ์ไผ่ท้องถิ่นภาคใต้  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประจำปี 2567 โดยมีว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตร เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
25 กรกฎาคม 2567     |      473
ทั้งหมด 214 หน้า