มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068
“แม่โจ้หวานเจี๊ยบทีม” คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รายการฟุตบอลสานสัมพันธ์คัพโรงเรียนละแมวิทยา
วันที่ 30 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2567 ชมรมกีฬามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร “แม่โจ้หวานเจี๊ยบทีม” เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลสานสัมพันธ์คัพ จัดโดยสภานักเรียนโรงเรียนละแมวิทยา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสานสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนละแมวิทยากับชุมชน ตลอดจนนำรายได้มาจัดกิจกรรมสันทนาการมอบของรางวัลให้กับนักเรียนโรงเรียนละแมวิทยาและโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โดยมีนายสุนทร จอมเมือง นายอำเภอละแม เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน อย่างไรก็ดี การแข่งขันฟุตบอลของ ”ทีมแม่โจ้หวานเจี๊ยบ”  ดังกล่าว มีอาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น นายสานิตย์ แป้นเหลือ นักวิชาการศึกษา และนายอภินันท์ อุ่นมณีรัตน์ ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 74 นำนักนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขัน ทั้งนี้ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รายการดังกล่าวมาครอง
2 ธันวาคม 2567     |      33
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ประชุมร่วมกับกับสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชน เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน
วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 สาขาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมกับสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชน เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน ทั้ง 8 อำเภอ องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานจังหวัดชุมพร-ระนอง ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนกลไกการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร เพื่อกำหนดแผนยุทธศาสตร์เชิงรุกพร้อมนำส่งผ่านองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ณ สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
2 ธันวาคม 2567     |      35
ผศ.อำนาจ รักษาพล และอาจารย์ ดร.จุฑามาส เพ็งโคนา เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ "คนรุ่นใหม่ สร้างพลังใจ ใส่ความร่วมมือ ถือคุณธรรม นำธุรกิจสู่ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ถึงพร้อมงานพัฒนา สร้างคุณค่าท่องเที่ยวยั่งยืน" ณ โรงแรมนานาบุรี จังหวัดชุมพร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล และอาจารย์ ดร.จุฑามาส เพ็งโคนา  ระหว่างวันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2567 โดยมีนายวิทยา เขียวรอด ปลัดจังหวัดชุมพร เป็นประธานเปิดงาน  พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเข้าร่วม  เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้  แนวคิด  สร้างเครือข่าย  และเรียนรู้กลยุทธ์ธุรกิจท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวรุ่นใหม่  และสอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจท่องเที่ยวของประเทศไทยนายวิทยา  เขียวรอด กล่าวว่า  จังหวัดชุมพรมีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย  ทั้งด้านประวัติศาสตร์  วัฒนธรรม  ชุมชน  ธรรมชาติ  และการผจญภัย  ซึ่งเป็นจุดแข็งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว  แต่ในขณะเดียวกัน  การเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวก็อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น  การปรับตัวของผู้ประกอบการจึงเป็นสิ่งจำเป็น  โดยเฉพาะการตระหนักถึงการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน  ลดการบริโภคเกินความจำเป็น  อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  และส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนอย่างเป็นธรรม  เพื่อให้ธุรกิจท่องเที่ยวเติบโตควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม  มุ่งสู่การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์การประชุมครั้งนี้  มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการ  โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่  มีส่วนร่วมในการพัฒนา  และยกระดับการท่องเที่ยวชุมพร  ให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ  เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  และสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน จัดขึ้นโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานชุมพร ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวชุมพร, หอการค้,า สมาคมโรงแรม, YEC ชุมพรสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวสมาคมท่องเที่ยวโดยชุมชน , องค์การบริหารส่วนจังหวัด และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
2 ธันวาคม 2567     |      29
คณาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ลงพื้นที่เก็บข้อมูลงานวิจัยขยายผลธนาคารปูม้าสู่การเพิ่มทรัพยากรชายฝั่งฯ ภายในจังหวัดชุมพร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุทธนา สว่างอารมย์ หัวหน้าโครงการ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ คณาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เดินทางลงพื้นที่เก็บข้อมูลงานวิจัย ณ อำเภอปะทิว อำเภอเมือง อำเภอสวี และอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ระหว่างวันที่ 27 - 30 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ภายใต้กิจกรรมของโครงการ “การขยายผลธนาคารปูม้าสู่การเพิ่มทรัพยากรชายฝั่ง ทรัพยากรการท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มีมาตรฐาน ตามแนวทางเศรษฐกิจสีน้ำเงินในพื้นที่จังหวัดชุมพร” ซึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
2 ธันวาคม 2567     |      34
ขอแสดงความยินดีกับบุคลากร ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการบริการวิชาการ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ขอแสดงความยินดีกับบุคลากร ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการบริการวิชาการ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ1.ประสิทธิภาพของกระบวนการสกัดสารจากสมุนไพรเสม็ดที่มีมีผลต่อฤทธิ์ทางชีวภาพเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ ผู้รับผิดชอบ อาจารย์พัชรินทร์ วิริยะสุขสวัสดิ์2.อนุรักษ์และพัฒนาโทะอย่างยั่งยืน ผู้รับผิดชอบ ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์3.โครงการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารแทนนินจากใบ และเปลือกของกล้วยหอมทองต่อการลดปริมาณแอมโมเนียจากบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ผู้รับผิดชอบ ผศ.ดร.พรพิมล พิมลรัตน์4.ชันโรงสู่ผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพรและบรรจุภัณฑ์เพื่อการตลาดสมัยใหม่ ผู้รับผิดชอบ อาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี5.หน่วยงานประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร (โครงการฝึกอบรม) ผู้รับผิดชอบ นายสุวินัย เลาวิลาศ
2 ธันวาคม 2567     |      48
กิจกรรมดีๆ จากผ้าอนามัย “โซฟี” ที่ผู้หญิงอย่างเรา ไม่ควรพลาด!!
เนื่องด้วย บริษัทยูนิชาร์ม (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าอนามัย “โซฟี” มอบหมายให้บริษัทโต๊ะกลม จำกัด” เป็นตัวแทนประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ของผ้าอนามัยโซฟี ให้กับนักศึกษา บุคลากรและผู้ที่สนใจโอกาสนี้ จึงขอเชิญชวน นักศึกษาและบุคลากร เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ในวันศุกร์ ที่ 6 ธันวาคม 2567 เวลา 07.00-10.00 น.ใต้อาคารแม่โจ้ 80 ปี โดยพบกับบูธผลิตภัณฑ์ผ้าอนามัย “โซฟี” พร้อมการให้ความรู้และแนะนำผลิตภัณฑ์เกมสนุกลุ้นรางวัล และรับสินค้าตัวอย่างฟรี!!!
28 พฤศจิกายน 2567     |      32
นายสุวินัย เลาวิลาศและนายชาญวิทย์ ขุนทองจันทร์ เข้าร่วมประชุมการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 งานบริการวิชาการและวิจัย โดยนายสุวินัย เลาวิลาศ และนายชาญวิทย์ ขุนทองจันทร์ นักวิชาการศึกษา ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมการประชุมเพื่อดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) และการสมัครสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น ทั้งนี้มีผู้นำท้องถิ่น นำโดย นายสุกิจ แก้วเพ็ชร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลละแม ผู้นำหน่วยงานต่างๆ ปราชญ์ชาวบ้านเข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
28 พฤศจิกายน 2567     |      31
ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางและขั้นตอนการขนส่งทุเรียนชุมพรเพื่อการส่งออกไปยังประเทศจีน
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 เวลา 16.00 น. อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ประธานอาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชาพืชศาสตร์ ร่วมกับผู้ประกอบการด้านการขนส่งผลไม้ส่งออกต่างประเทศ โดยมี นายวศิน ชัชวาลย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บียอนด์ คาร์โก้ จำกัด  ได้ประชุมหารือ เรื่อง แนวทางและขั้นตอนการขนส่งทุเรียนชุมพรที่มีคุณภาพสูง เพื่อการส่งออกไปยังประเทศจีน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ดังนี้ นายสุเชษ  ทองมาก ประธานแปลงใหญ่ทุเรียน หมู่ที่ 18 ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร นางสาวเนตรนภา แดงนิ่ม ฝ่ายการตลาดครอบครัวออร์แกนิค และกรรมการ YSF จังหวัดชุมพร นายธนเดช ณัฐวัฒน์จิระประไพ New Gen และกรรมการสมาคมชาวสวนไม้ผลจังหวัดชุมพร นายชลิตชาติ แสงสุวรรณ สมาชิกสภาเกษตรกรอำเภอละแม เขต 2 จังหวัดชุมพร และนายมาโนช เพ็งโคนา เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนมาตรฐาน GAP เข้าร่วมประชุม ณ บ้านสวนจุฑาวดี ตำบลทุ่งหลวง อำเภอละแม จังหวัดชุมพรทั้งนี้ การประชุมดังกล่าว เพื่อพบปะ หารือร่วมกัน ระหว่างเกษตรกรผู้ผลิต และบริษัทขนส่งผลไม้เพื่อการส่งออก เสริมสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพผลผลิต ให้แก่ผู้บริโภค และตลาดในอนาคตต่อไป
28 พฤศจิกายน 2567     |      19
สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง แต่ละชั้นปีเรียนอะไรบ้าง?
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร แต่ละชั้นปีเรียนอะไรบ้าง? ปี 1 : สามารถอธิบายการใช้เครื่องมือทางด้านวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ทางทะเลและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเรียนปรับพื้นฐานรายวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ อธิบายความรู้ด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมสุขภาวะ ความเป็นพลเมืองดิจิทัล การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์เรียนรู้หลักการพื้นฐานของการปฎิบัติงานฟาร์มประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งปี 2 :สามารถอธิบายความรู้และเข้าใจทักษะทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเรียนรู้หลักการวิเคราะห์คุณภาพน้ำเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เข้าใจนิเวศวิทยาทางทะเล และสมุทรศาสตร์เพื่อการประมงรู้จักกับปลาและสัตว์น้ำชนิดต่างๆ ผ่านรายวิชามีนวิทยาร่วมด้วยวิชาชีววิทยาของกุ้ง ปู และหอยทะเลเพื่อให้สามารถเข้าใจหลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเบื้องต้นปี 3 : สามารถวิเคราะห์ แก้ปัญหาและถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสัตว์น้ำชายฝั่งอย่างมีประสิทธิภาพเรียนรู้หลักการเพาะเลี้ยงแพลงก์ตอน เพื่อการเพาะเลี้ยงและการอนุบาลลูกสัตว์น้ำชายฝั่งเข้าใจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล การคำนวณสูตรและการผลิตอาหารและโภชนาการสัตว์น้ำหลักและวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคในสัตว์น้ำเข้าใจระเบียบวิธีวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อนำไปสู่การทำวิจัยพื้นฐานปี 4 : สามารถเลือกแนวทางในการเป็นผู้ประกอบการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งยังมีจริยธรรมปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในสถานประกอบการจริงทั้งในและต่างประเทศเรียนรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากทรัพยากรทางทะเลและนวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าทรัพยากรประมงเพื่อเศรษฐกิจ BCGเรียนรู้นวัตกรรมระบบน้ำหมุนเวียนเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำ กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการประมง รวมถึงการจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
27 พฤศจิกายน 2567     |      33
ทั้งหมด 215 หน้า