มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068
ม.แม่โจ้-ชุมพร ฝึกอบรม “อนุรักษ์พันธุกรรมไผ่ภาคใต้” สนองงานตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
วันที่ 24 กรกฎาคม 2567  เวลา 13.00 น. บริเวณโครงการไผ่เพื่อน้อง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมฝึกอบรม “อนุรักษ์พันธุกรรมไผ่ภาคใต้” ว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การฝึกอบรม มีนักศึกษาใหม่ แม่โจ้รุ่น 89 ผู้นำนักศึกษา และเจ้าหน้าที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดชุมพร เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 100 คน นายกิตติภณ ถึงศรี ประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ภาคใต้ ได้มอบหมายให้ นายอุดมศักดิ์ เฉลิมพนาพันธ์ รองประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ภาคใต้ และประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ จังหวัดชุมพร เข้าร่วมกิจกรรมและกล่าวต้อนรับนักศึกษาใหม่ ใจความว่า  “ต้นไผ่ในแปลงแห่งนี้  เป็นไผ่ที่รุ่นพี่ของพวกเราได้ร่วมกันปลูก เพื่อให้รุ่นน้องและมหาวิทยาลัยได้ใช้ประโยชน์ทางการศึกษา เป็นแหล่งเรียนรู้ ตลอดจนการใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ อาทิ นำไปทำอาหาร ไปฝากโรงเรียนต่างๆในชุมชน วันนี้เป็นโอกาสดี  ที่เราได้ร่วมกันปลูกไผ่ ใส่ปุ๋ย  สืบสานเจตนารมณ์ของรุ่นพี่  ช่วยกันดูแลให้เป็นไผ่รวมกอ เติบโต เปรียบเสมือนความรักความสามัคคีของลูกแม่โจ้ ขอให้น้องๆช่วยกันสานต่อสิ่งดีๆเหล่านี้ไว้ครับ”  พร้อมกันนี้ นางสาวยุพาพร สวัสดี พาณิชย์จังหวัดชุมพร ได้พบปะผู้เข้าอบรมและประชาสัมพันธ์กิจกรรม "แจกกล่องบรรจุภัณฑ์ผลไม้พร้อมสติกเกอร์ยกเว้นค่าขนส่งกับไปรษณีย์ไทย" ประจำปี 2567 โดยเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการตลาดออนไลน์ ช่วยกระจายผลผลิตผลไม้ในช่วงฤดูกาล และสนับสนุนผู้ค้าผลไม้ออนไลน์ ทั้งนี้ กิจกรรมฝึกอบรม “อนุรักษ์พันธุกรรมไผ่ภาคใต้”  ได้สร้างสรรค์กิจกรรมเสริม คือ “พี่ปลูกไผ่ น้องใส่ปุ๋ย  และบูรณาการร่วมกับโครงการ ไผ่เพื่อน้อง เพื่อสนองงานพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตลอดจนสร้างแปลงอนุรักษ์พันธุกรรมไผ่ สู่การเรียนรู้ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรไผ่ (ป่าไผ่) อย่างยั่งยืน พร้อมกันนี้ ชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ ภาคใต้ และศิษย์เก่าแม่โจ้ทั่วประเทศ ร่วมสนองงานตามพระราชดำริ ผ่านโครงการไผ่เพื่อน้องอีกด้วย อย่างไรก็ตาม โครงการแปลงรวบรวมชนิดพันธุ์ไผ่ท้องถิ่นภาคใต้  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประจำปี 2567 โดยมีว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตร เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
25 กรกฎาคม 2567     |      107
สาขาวิชารัฐศาสตร์ร่วมกับศาลปกครองนครศรีธรรมราช จัดอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศาลปกครอง
วันที่ 23 กรกฏาคม 2567 เวลา 13.30 น. สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร ร่วมกับสำนักงานศาลปกครองนครศรีธรรมราช จัดอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง และการยื่นฟ้องคดีปกครองผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้นักศึกษา ประชาชน และเจ้าหน้าของรัฐ ทราบช่องทางหรือวิธีการรับบริการต่างๆของศาลปกครองได้อย่างถูกต้อง โดยมีนายจักรพงษ์ นิลพรหม ผู้อำนวยการสำนักงานศาลปกครองนครศรีธรรมราช  และคณะเป็นวิทยากรบรรยายพร้อมกับให้คำปรึกษาทางคดีปกครอง นางสาวตรีชฎา สุวรรณโณ ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุมพล อังคณานนท์ หัวหน้าศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรว่าที่ร้อยตรี ดร.อนิรุต หนูปลอด ประธานหลักสูตรสาขาวิชารัฐศาสตร์ เป็นผู้แทนให้การต้อนรับ การอบรมดังกล่าว มีบริการให้คำปรึกษาปัญหาคดีปกครอง จัดนิทรรศการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง แนะนำระบบงานคดีอิเล็กทรอนิกส์ และการพิจารณาคดีทางจอภาพ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง พร้อมทั้งแนะนำบริการต่างๆอาทิ การจองคิวขอรับคำปรึกษาออนไลน์  มีบุคลากร นักศึกษา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำท้องที่ ในอำเภอเข้าร่วมกว่า 100 คน
24 กรกฎาคม 2567     |      241
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดอบรมปฎิบัติการ หลักสูตร “5 องค์ประกอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน”
วันที่ 23 กรกฏาคม 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้อง 204 (อาคารแม่โจ้ 80 ปี)  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯฝ่ายวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมปฎิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน รุ่นที่ 1/2567 หลักสูตร “5 องค์ประกอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน”  โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสง หัวหน้าโครงการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การอบรม และมีผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ในพื้นที่จังหวัดชุมพร จำนวน 9 โรงเรียน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 1 โรงเรียน และกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 วิทยาลัย  เข้าร่วมกว่า 23 คน พร้อมกันนี้ นางสาวสุภัคกมล ชินวงค์ ศึกษาธิการจังหวัดชุมพร กล่าวต้อนรับและให้กำลังใจแก่ผู้เข้าอบรม  “โดยให้มุ่งมั่น ตั้งใจ ร่วมกันคิด ร่วมกันปฎิบัติ  เพื่อขับเคลื่อนงานสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ทรัพยากรชีวภาพ กายภาพในท้องถิ่นของตน ตลอดจนนำองค์ความรู้ที่ได้รับ ไปเสริมสร้างการเรียนรู้ของนักเรียน เยาวชน และสังคม สืบสานพระราชปณิธาน รักษาฐานทรัพยากรแผ่นดิน ต่อไป”จากนั้น พ.ต.ท. ไพโรจน์ นิลรัตน์ ผู้บังคับกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 41 นายวิบูลย์ เกลี้ยงสงค์ ปลัดอำเภอละแม และนายมาโนช ชูสำราญ ประธานศูนย์เครือข่ายอำเภอละแม กล่าวต้อนรับและให้กำลังใจแก่ผู้เข้าอบรม ทั้งนี้ การอบรมมีทั้งบรรยายและฝึกปฎิบัติ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-26 กรกฏาคม 2567 โดยวิทยากร นายมรกต วัชระมุสิก เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) สำนักพระราชวัง สวนจิตรลดา และทีมวิทยากรโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช  ทั้งนี้  5 องค์ประกอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ประกอบด้วย     องค์ประกอบที่ 1 : การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้    องค์ประกอบที่ 2 : การรวบรวมพันธุ์ไม้เข้าปลูกในโรงเรียน    องค์ประกอบที่ 3 : การศึกษาข้อมูลต่างๆ    องค์ประกอบที่ 4 : การรายงานผลการเรียนรู้    องค์ประกอบที่ 5 : การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษาอย่างไรก็ตาม การอบรมปฎิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน รุ่นที่ 1/2567 หลักสูตร “5 องค์ประกอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน”  มีวัตถุประสงค์ เพื่อร่วมสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีการจัดการทรัพยากรที่สมดุล เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันจะนำไปสู่แหล่งรวบรวมพันธุ์พืชชนิดต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนสนับสนุนการอนุรักษ์ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ นำไปสู่การพัฒนาบนพื้นฐานคุณธรรม เพื่อประโยชน์ของสังคม และประเทศชาติต่อไป
26 กรกฎาคม 2567     |      226
คณบดี ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมประชุมหัวหน้าส่วนราชการ จังหวัดชุมพร ประจำเดือนกรกฏาคม และร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ 1,720 ต้น เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระชนมพรรษา 6 รอบ
วันที่ 23 กรกฎาคม 2567 อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุม ในฐานะกรรมการจังหวัดชุมพร ร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารท้องถิ่น และภาคเอกชน ครั้งที่ 7/2567 ประจำเดือนกรกฎาคม ณ ห้องประชุมเกาะเสม็ด ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดชุมพร โดยมี นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานในการประชุมและในช่วงบ่าย เวลา 13.00 น. บริเวณศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชา โครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตามพระราชดำริ (แก้มลิงหนองใหญ่) ตำบลบางลึก อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ ถวายพ่อ 1,720 ต้น  เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฏาคม 2567 โดยมีนายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานเปิดกิจกรรม นายนพพร อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ให้การต้อนรับและกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม มีหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำองค์กรเอกชน และพลังมวลชนกลุ่มต่างๆ ในจังหวัดชุมพรเข้าร่วม
23 กรกฎาคม 2567     |      82
ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมสืบสานประเพณีวันเข้าพรรษา ประจำปี 2567
วันที่ 20 กรกฎาคม 2567 เวลา 20.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.ภาวิดา รังษี รองคณบดีฯฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ อาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น รองคณบดีฯฝ่ายพัฒนานักศึกษาและเครือข่ายสัมพันธ์ และนักศึกษา ร่วมพิธีฉลองเทียนพรรษา ณ ศาลาประชาธิปไตย หมู่ 5 บ้านแหลมสันติและวันที่ 21 กรกฎาคม 2567 เวลา 13.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วยผู้บริหาร บุคลากร และนักศึกษา ร่วมแห่เทียนพรรษาพร้อมกับถวายเทียนพรรษา ผ้าอาบน้ำฝนและจตุปัจจัยแด่พระภิกษุสงฆ์ ณ วัดปากน้ำละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร  ร่วมกับชุมชนหมู่บ้านแหลมสันติและหมู่บ้านใกล้เคียง  เนื่องในวันเข้าพรรษา ประจำปี 2567  เพื่อส่งเสริม สืบสาน และอนุรักษ์สืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของประเทศสืบไปอย่างไรก็ตามผู้เข้าร่วมกิจกรรม ต่างมีความสุข อิ่มบุญอิ่มใจ ที่ได้ใกล้ชิดพระพุทธศาสนาและได้อนุรักษ์สืบสานประเพณีอันดีงามของสังคมไทย
21 กรกฎาคม 2567     |      150
รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและเครือข่ายสัมพันธ์เข้าร่วมพิธีสมโภชน์ผ้าห่มพระธาตุเขาน้อย
วันพฤหัสบดี ที่ 18 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.00 น. อาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและเครือข่ายสัมพันธ์ เข้าร่วมพิธีสมโภชผ้าห่มพระธาตุเขาน้อยและพิธีห่มพระธาตุเขาน้อย โดยมีนายสุนทร จอมเมือง นายอำเภอละแม ประธานในพิธี พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ผู้มีเกียรติ และประชาชนเข้าร่วมพิธี สมโภชน์และแห่ห่มพระธาตุเขาน้อย ณ หมู่ที่ 3 บ้านหาดสูง ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพรทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวเป็นเป็นส่วนหนึ่งของการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมประจำอำเภอละแม จังหวัดชุมพร
20 กรกฎาคม 2567     |      276
สาขาวิชาพืชศาสตร์และหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จัดนิทรรศการฯ และประชาสัมพันธ์การศึกษาต่อ ณ โรงเรียนละแมวิทยา
วันที่ 16 กรกฏาคม 2567 ที่ โรงเรียนละแมวิทยา อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ประธานอาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์ พร้อมด้วยอาจารย์ประสาทพร กออวยชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชศาสตร์ อาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี ประธานอาจารย์หมวดวิชาศึกษาทั่วไป และนายชัยวิชิต เพชรศิลา  เข้าร่วมจัดนิทรรศการบริการวิชาการ  และประชาสัมพันธ์หลักสูตรการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร ตลอดจนแนะแนวการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ในโอกาสที่โรงเรียนละแมวิทยา เข้ารับการนิเทศและเตรียมความพร้อมการประเมินศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา พร้อมกันนี้ สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และ งานบริการวิชาการและวิจัย ได้นำผลผลิตต่างๆ ร่วมจัดนิทรรศการด้วย
18 กรกฎาคม 2567     |      53
หน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดอบรมปฎิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2567 หลักสูตร “ 6 งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น”
วันที่ 16 กรกฏาคม 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้อง 204 (อาคารแม่โจ้ 80 ปี) อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ รองผู้อำนวยการหน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร (คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร) เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมปฎิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2567 หลักสูตร “6 งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสง หัวหน้าโครงการหน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กล่าววัตถุประสงค์การอบรม มีผู้บริหารและบุคลากร สังกัดกรมการปกครองท้องถิ่น (อปท.) ในพื้นที่จังหวัดชุมพร จำนวน 7 หน่วยงาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 4 หน่วยงาน และจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 1 หน่วยงาน  เข้าร่วมกว่า 50 คนพร้อมกันนี้ นางประทุม เพ็ชรสงค์ ท้องถิ่นอำเภอละแม ได้รับมอบหมายจาก นางวิชญา สุขกระจ่าง ท้องถิ่นจังหวัดชุมพร กล่าวต้อนรับและให้กำลังใจผู้เข้าร่วมอบรม ซึ่งการอบรมมีทั้งบรรยายและฝึกปฎิบัติ  โดยวิทยากร นายมรกต วัชระมุสิก เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) สำนักพระราชวัง สวนจิตรลดา และทีมวิทยากรโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช  ทั้งนี้  6 งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น  ประกอบด้วยงานที่ 1 : งานปกปักทรัพยากรท้องถิ่น งานที่ 2 : งานสำรวจ เก็บ รวบรวมทรัพยากรท้องถิ่น งานที่ 3 : งานปลูกรักษาทรัพยากรท้องถิ่น งานที่ 4 : งานอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่นงานที่ 5 : งานศูนย์ข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่นงานที่ 6 : งานสนับสนุนในการอนุรักษ์ และจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่นอย่างไรก็ตาม การอบรมปฎิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อร่วมสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สร้างความเข้าใจในแนวทางการดำเนินงาน ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น สำรวจ เก็บรวบรวม ปลูก รักษา และการใช้ประโยชน์ ตลอดจนสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรประจำท้องถิ่น ตามปรัชญาการสร้างนักอนุรักษ์ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ นำไปสู่การพัฒนาตน องค์กร สังคม ประเทศชาติต่อไป
17 กรกฎาคม 2567     |      35
ทั้งหมด 202 หน้า