มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068
ม.แม่โจ้-ชุมพร จัดพิธีสักการะ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เนื่องในวันอาภากร 19 พฤษภาคม 2567
วันที่ 19 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.29 น. ณ บริเวณห้องโถงอาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยคณาจารย์และบุคลากร ร่วมสักการะพระรูปปั้น เนื่องในวันอาภากร หรือวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของ พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของ องค์บิดาทหารเรือไทย (เสด็จเตี่ย)ที่ได้ทรงพัฒนาปรับปรุงกิจการทหารเรือไทยให้ทัดเทียมอารยประเทศจนเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 3 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2423 เมื่อทรงมีพระชนมายุ 13 ปี ได้เสด็จไปทรงศึกษาวิชาการทหารเรือ ณ ประเทศอังกฤษ และเมื่อสำเร็จการศึกษาเสด็จกลับประเทศไทย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รับราชการในกองทัพเรือ พระองค์ทรงปรับปรุงการศึกษาวิชาการทหารเรือให้ทันสมัยเป็นรากฐานของกองทัพเรือไทยมาจนถึงปัจจุบัน กองทัพเรือจึงถวายนามพระองค์ว่า “องค์บิดาของทหารเรือไทย”นอกจากนี้ พระองค์ทรงสนพระทัยในการแพทย์ ทรงมุ่งศึกษาเกี่ยวกับตำราแพทย์แผนไทย จนสามารถช่วยเหลือประชาชนผู้เจ็บป่วยได้มากมายโดยมิทรงรับสิ่งตอบแทน พระเกียรติคุณในนามหมอพรได้ขจรขจายไปในประชาชนทุกเหล่าชั้น อีกทั้งในด้านการดนตรี พระองค์มีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่ง ทรงนิพนธ์เพลงที่มีเนื้อหาปลุกใจให้มีความรักชาติ กล้าหาญ ยอมเสียสละชีวิตเพื่อชาติพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงทุ่มเทพระวรกายและพระสติปัญญา ตรากตรำในการทรงงาน เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ ทำให้ทรงประชวรด้วยโรคภายใน จึงทรงลาออกจากราชการ และต่อมาเสด็จไปประทับรักษา ณ ชายทะเลปากน้ำ จังหวัดชุมพร และทรงสิ้นพระชนม์ ณ หาดทรายรี เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2466 สิระพระชันษา 44 ปี
19 พฤษภาคม 2568     |      22
ม.แม่โจ้ – ชุมพร สนองงานตามพระราชดำริ โครงการชั่งหัวมัน
วันที่ 15 พฤษภาคม 2568 ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ประชุมหารือแนวทางการพัฒนางานพื้น 2 ไร่ บริเวณส่วนหน้าของแปลงปลูกไม้ผลแบบประณีต โดยมีนางสาวมณฑิรา สาลักษณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ 3 โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา นางสาวสุรัตน์ ผลประเสริฐ หัวหน้าแผนก และนายธานินร์ นครชัยกุล รองหัวหน้าแผนก โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ ร่วมประชุมกับคณะทำงานโครงการ สาธิตการปลูกพืชผัก พืชไร่ และไม้ผลแบบประณีต พื้นที่ 10.5 ไร่ ในพื้นที่โครงการชั่งหัวมัน โดยมีนางสาวสุนิดา อนุการ นักวิชาการ นางสาวพัทธวรรณ สมจริง ผู้ช่วยนักวิชาการ ประจำโครงการฯ พร้อมด้วยคุณชัยวิชิต เพชรศิลา หัวหน้างาน และว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตร งานบริการวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร อย่างไรก็ตามในวันที่ 16 พฤษภาคม 2568 คณะทำงานได้เข้าพบกับคุณกานดา เมตตพันธุ์ ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 53 และคุณจิระวัฒน์ เลิศอัคราวิโรฒ ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 54 เพื่อประสานความร่วมมือด้านการรวบรวมพันธุ์พืชท้องถิ่นปลูกอนุรักษ์ในพื้นที่โครงการสาธิตการปลูกพืชผัก พืชไร่ และไม้ผลแบบประณีต พื้นที่ 10.5 ไร่ ในพื้นที่โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ ต่อไป
19 พฤษภาคม 2568     |      13
Program Learning Outcomes สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร (Program Learning Outcomes)PLO1 ใช้ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตในการดำรงชีวิตในยุตดิจิทัลได้PLO2 อธิบายการใช้เครื่องมือทางด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทางทะเล และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งได้PLO3 ใช้ความรู้ทางวิชาชีพทางด้านการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งPLO4 ทำวิจัยพื้นฐาน ถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิตอล เกี่ยวกับ IoT ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งPLO5 นำเสนอการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร เพื่อการเป็นผู้ประกอบการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งได้PLO6 มีจริยธรรมการใช้สัตว์ทดลองทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำPLO7 มีภาวะการเป็นผู้นำ อดทน สู้งาน ซื่อสัตย์ มีสัมมาคารวะ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
18 พฤษภาคม 2568     |      33
ต้อนรับคุณพฤหัส วงษ์ดำรงศักดิ์ และสมาชิกวิสาหกิจชุมชนผึ้งโพรงป่าเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน อ.ปะทิว จ.ชุมพร
ว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตร งานบริการวิชาการและวิจัย เป็นตัวแทนคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ต้อนรับคุณพฤหัส วงษ์ดำรงศักดิ์ และสมาชิกวิสาหกิจชุมชนผึ้งโพรงป่าเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืนอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เข้าเยี่ยมชมฐานเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งชันโรง และมอบผึ้งชันโรงชนิดขนเงิน จำนวน 2 รัง แหล่งพันธุกรรมจาก อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการอนุรักษ์ผึ้งชันโรง ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) สนองพระราชดำริโดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ทั้งนี้ทางวิสาหกิจชุมชนฯ จะได้ร่วมขับเคลื่อนโครงการอนุรักษ์ผึ้งโพรงไทย ร่วมกับงานบริการวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ในโอกาศต่อไป
14 พฤษภาคม 2568     |      26
คณบดี ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมประชุมคณะทำงานด้านการตลาดระดับจังหวัด และหารือแนวทางส่งเสริมการส่งออกทุเรียน มังคุด และสินค้าอื่น ๆ จังหวัดชุมพร สู่ตลาดต่างประเทศ
วันที่ 13 พฤษภาคม 2568 เวลา 10.00 น. อาจารย์ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมคณะทำงานด้านการตลาดระดับจังหวัด ครั้งที่ 3/2568 และประชุมเจรจาธุรกิจการค้าทุเรียน มังคุด และสินค้าอื่นๆ กับผู้ส่งออกสินค้าจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ณ ห้องประชุมเกาะพิทักษ์ ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดชุมพร การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันหารือแนวทางการส่งเสริมการส่งออกทุเรียน มังคุด และสินค้าอื่นๆ จังหวัดชุมพรสู่ตลาดสากล รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการตลาด และแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการส่งออก อาทิ ปัญหาด้านมาตรฐานการส่งออก ปัญหาด้านราคา และความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและโลจิสติกส์ของผลผลิตทางการเกษตร  ในการประชุมมีคณะทำงานด้านการตลาดระดับจังหวัด ตัวแทนจากภาคการศึกษา ผู้ประกอบการ ตัวแทนเกษตรกร ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุผลไม้จังหวัดชุมพร และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งหวังที่จะพัฒนาศักยภาพของสินค้าเกษตรหลักของจังหวัด โดยเฉพาะ "ทุเรียนจังหวัดชุมพร" ซึ่งเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูง เพื่อขยายโอกาสทางการตลาด เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร และยกระดับคุณภาพการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรให้สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติร่วมกับองค์กรภาครัฐและเอกชน  โดยมีนางสาวยุพาพร สวัสดี พาณิชย์จังหวัดชุมพร เป็นประธานในการประชุมในส่วนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านวิชาการ ทั้งการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าส่งออก โดยเน้นกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัย การบริการวิชาการ เพื่อเน้นพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานที่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคและการเพิ่มมูลค่าทางสินค้าการเกษตร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่ ถือเป็นหมายหนึ่งของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตามนโยบาย “เกษตรสุขภาวะ” โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน และส่งเสริมให้เกษตรกรทำผลผลิตที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน มีความปลอดภัย เพื่อส่งต่อสู่ผู้ผลิตทั้งภายในและต่างประเทศต่อไป
14 พฤษภาคม 2568     |      34
ม.แม่โจ้-ชุมพร ฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน รุ่นที่ 1/2568 หลักสูตร " 5 องค์ประกอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน"
วันอังคาร ที่ 6 พฤษภาคม 2568 อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร และรองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ดำเนินการจัดฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน รุ่นที่ 1/2568 หลักสูตร " 5 องค์ประกอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน" ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ณ อาคารบุญรอดศุภอุดมฤกษ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร โดยได้รับเกียรติจากผู้ตรวจราชการศึกษาธิการภาค 5 และศึกษาธิการจังหวัดชุมพร มอบหมายภารกิจแก่ คุณสรวีย์ แสงเงิน รองศึกษาธิการจังหวัดชุมพร เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมดังกล่าว และมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กล่าวให้กำลังใจแก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้แก่ ดร.อนุสิทธิ์ นามโยธา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชุมพร เขต 1 ,คุณเบญดาญาภา ฉัตรชัยพันธ์ ปฏิบัติหน้าที่แทน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชุมพร เขต 2 และนางมะลิวรรณ พรหมวิเศษ ปลัดอำเภอละแม ปฏิบัติหน้าที่แทนนายอำเภอ ทั้งนี้ มีผู้เข้าฝึกอบรมตัวแทนจากสถานศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร จำนวน 25 ท่าน 20 หน่วยงาน เพื่อสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ทางศูนย์ประสานงานได้เชิญ คุณมรกต วัชรมุสิก วิทยากรจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) พระราชวังสวนจิตรดา และ ได้รับความกรุณาจาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยดำเนินการฝึกอบรมตั้งแต่วันที่ 6 - 9 พฤษภาคม 2568
7 พฤษภาคม 2568     |      158
อาจารย์ปณิดา กันถาด นำทีมนักวิจัยเข้าสำรวจเพื่อหาแนวทางพัฒนางานวิจัยในจังหวัดชุมพร
วันที่ 2-3 พฤษภาคม 2568 ที่ผ่านมา อาจารย์ปณิดา กันถาด  อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชศาสตร์ นำทีมนักวิจัย ประกอบด้วย ผศ.ดร.ศักดินันท์ นันตัง สาขาวิชานวัตกรรมเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ดร.สุทธิชัย บุญประสพ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ดร. ศิริวรรณ ณะวงษ์ หัวหน้าส่วนวิจัยด้านอาหารและการเกษตร และ ดร. นิชาดา เจียรนัยกูร นักวิทยาศาสตร์ ส่วนวิจัยด้านอาหารและการเกษตร ฝ่ายวิจัยและประยุกต์ใช้แสงซินโครตรอน สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) เข้าสำรวจเพื่อหาแนวทางในการพัฒนางานวิจัย ในพื้นที่จังหวัดชุมพร ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์ ตำบลถ้ำสิงห์ อำเภอเมืองกลุ่มทุเรียนแปลงใหญ่ตำบลถ้ำสิงห์ ตำบลถ้ำสิงห์ อำเภอเมืองกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด ผู้ผลิต "กล้วยหอมทองละแม" อำเภอละแม  และ P.COA Cafe' คาเฟ่โกโก้ พีโก้ ชุมพร ตลาดชุมชนหลังสวน ตำบลวังตะกอ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
7 พฤษภาคม 2568     |      54
คณบดี ม.แม่โจ้-ชุมพร ประชุมหารือการจัดทำโครงการสร้างห้องปฏิบัติการตรวจสารตกค้าง ในผลผลิตทางการเกษตรจังหวัดชุมพร
วันที่ 2 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.30-16.30 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ผศ.ดร.สุทธิรักษ์ ผลเจริญ และผศ.ดร.มัลลิกา จินดาซิงห์ ร่วมประชุมปรึกษาหารือการจัดทำโครงการเพื่อสร้างห้องปฏิบัติการตรวจสารตกค้าง ในผลผลิตทางการเกษตรจังหวัดชุมพร ร่วมกับเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชุมพร ตัวแทนกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ตัวแทนสถาบันการศึกษาจังหวัดชุมพร ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพรในการนี้ ผศ.ดร.สุทธิรักษ์ ผลเจริญ และผศ.ดร.มัลลิกา จินดาซิงห์ ได้นำเสนอความพร้อมของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในการจัดตั้งห้องปฏิบัติการตรวจสอบสารตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรและการรับรองมาตรฐานเพื่อการส่งออกทุเรียนและผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ ของจังหวัดชุมพรและใกล้เคียงอย่างไรก็ตาม โครงการสร้างห้องปฏิบัติการตรวจสารตกค้าง ในผลผลิตทางการเกษตรจังหวัดชุมพร เป็นโครงการเร่งด่วนตามนโยบายของรัฐบาลที่มีเป้าหมายเพื่อเร่งแก้ปัญหาสารตกค้างในผลผลิตทางเกษตรที่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าการส่งออกผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะทุเรียน เพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับการส่งออกผลผลิตทางเกษตรสู่ประเทศปลายทางต่อไป
5 พฤษภาคม 2568     |      36
ม.แม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมงาน Regional innovation Roadshow ภาคใต้ตอนบน ครั้งที่ 2/2568
วันที่ 28 เมษายน 2568 อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยนายชาญวิทย์ ขุนทองจันทร์ นักวิชาการศึกษา ร่วมประชุมหารือกับ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สำนักงานนวัตรกรรมแห่งชาติ (NIA) พร้อมทั้ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน มีการพบผู้เชี่ยวชาญ การเตรียมความพร้อมในการขอทุนพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม โดยมีการพัฒนากลไกการสนับสนุนการพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ ณ โรงแรมลอฟมาเนีย บูทีค โฮเทล จังหวัดชุมพร
30 เมษายน 2568     |      53
ทั้งหมด 227 หน้า