มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068
บัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครั้งที่ 46
      วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 12.25 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2565-2566 (ครั้งที่ 46) เป็นวันแรก ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่       โดยมีบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต เข้ารับมอบปริญญาบัตร จำนวน 1,033 ราย แยกเป็นระดับบัณฑิตศึกษา (ป.โท - ป.เอก) จำนวน 116 ราย และระดับปริญญาตรี 917 รายจากคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ คณะบริหารธุรกิจ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มีการจัดการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ ทั้งหลักสูตร 4 ปี และหลักสูตร 4 ปี เทียบเข้าเรียน 5 สาขาวิชา ดังนี้       1.สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง      2.สาขาวิชาพืชศาสตร์      3.สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ       4.สาขาวิชาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ       5.สาขาวิชาการเมืองและการปกครองท้องถิ่น      อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กำลังเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 สามารถดูรายละเอียกการสมัครและสมัครออนไลน์ที่https://admissions.mju.ac.th 
19 กุมภาพันธ์ 2567     |      491
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร สนองพระราชดำริฯ ด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยการสร้างแปลงปลูกอนุรักษ์ต้นโทะ (Rhodomyrtus tomentosa)
      วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา ว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตร สังกัดงานบริการวิชาการและวิจัย ผู้รับผิดชอบโครงการขยายพันธุ์และการพัฒนาโทะอย่างบูรณาการ (เริ่มต้นโครงการปี 2562) ภายใต้การสนองงานในพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ (อพ.สธ.) ต้อนรับคณะครูโรงเรียนวัดสังขประดิษฐ์ ตำบลคันธุลี อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขอความอนุเคราะห์ข้อมูลต้นโทะและเก็บผลโทะ เพื่อนำไปเป็นวัสดุสำหรับการทดลองโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย      อย่างไรก็ดีเชื่อว่ากิจกรรมดังกล่าวจะสามารถสร้างจิตสำนึกในการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่นให้มีความยั่งยืนสืบไป
16 กุมภาพันธ์ 2567     |      135
นักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง นำเสนอผลงานวิชาการภาคบรรยาย “การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและวิทยาศาสตร์สุขภาพ” ครั้งที่ 3 (3 NACON-NRAHS) (3rd NACON-NARAHS) ผ่านระบบออนไลน์
      วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 นักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จำนวน 4 คน ได้เข้าร่วมเสนอผลงานวิชาการแบบภาคบรรยาย (Oral presentation) ผ่านระบบออนไลน์ “ในการประชุมวิชาการระดับชาติด้านทรัพยากรธรรมชาติและวิทยาศาสตร์สุขภาพ” ครั้งที่ 3 จัดโดยคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร จังหวัดสกลนคร ในกลุ่มเกษตรและส่งเสริม : สาขาประมง จำนวน 4 บทความ ดังนี้      1. นายธนกฤต สุขทองแท้ ชั้นปีที่ 4 นำเสนอผลงานเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของน้ำมันเสม็ดขาวและระยะเวลาในการสลบปูม้า” อาจารย์ที่ปรึกษาหลักคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์      2. นายจิระพงศ์ วงษ์พินิจ ชั้นปีที่ 4 นำเสนอผลงานเรื่อง “การเปรียบเทียบชนิดอาหารสำหรับการเพาะเลี้ยงอาร์ทีเมีย (Artemia sp.)” อาจารย์ที่ปรึกษาหลักคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์      3. นายพีระพงศ์ แน่นหนา ชั้นปีที่ 4 นำเสนอผลงานเรื่อง “ประสิทธิภาพของสารแทนนินจากใบกล้วยหอมทองต่อการลดแอมโมเนียในน้ำเลี้ยงปลากะพงขาว” อาจารย์ที่ปรึกษาหลักคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์      4. นายณัฐกาญจน์ อินตัน ชั้นปีที่ 4 นำเสนอผลงานเรื่อง “ศึกษาการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของลูกกุ้งขาวสายพันธุ์สิชล 1 ในระยะ Post Larva 13 ถึง Post Larva 40 ที่อนุบาลด้วยอาหารเสริมสาหร่ายสไปรูลิน่า แอสตาแซนทิน และโปรตีนยีสต์” อาจารย์ที่ปรึกษาหลักคือ อาจารย์วีรชัย เพชรสุทธิ์
16 กุมภาพันธ์ 2567     |      98
ประชุมขับเคลื่อนโครงการสนองพระราชดำริ งานฐานทรัพยากรท้องถิ่นอำเภอละแม
      วันพุธ ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 อาจารย์ ดร.ภาวิดา รังษี รองคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ และ นางสาวตรีชฏา สุวรรณโน ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดี ต้อนรับ นายนิรัช โอบอ้อม ปลัดอาวุโสอำเภอละแม ประธานในการประชุมการขับเคลื่อนโครงการสนองพระราชดำริ งานฐานทรัพยากรท้องถิ่นอำเภอละแม และผู้แทนหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอละแม ประกอบไปด้วย เทศบาลตำบลละแม องค์การบริหารส่วนตำบลละแม และองค์การบริหารส่วนตำบลสวนแตง ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร       ในการประชุมการขับเคลื่อนโครงการสนองพระราชดำริครั้งนี้ เพื่อเชิญชวนหน่วยงานในเขตพื้นที่ร่วมสมัครเป็นสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น ร่วมกันดำเนินงานสนองพระราชดำริ เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นต่างๆ โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชลดรงค์ ทองสง และ นายชัยวิชิต เพชรศิลา ร่วมกันเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานดังกล่าว
15 กุมภาพันธ์ 2567     |      70
รศ.ดร.ภัททิรา พงษ์ทิพย์พาที และรศ.ดร.ดวงแขฑิตา กาญจนโสภา เข้าประชาสัมพันธ์การศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก ให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
      วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ให้การต้อนรับรองศาสตราจารย์ ดร.ภัททิรา พงษ์ทิพย์พาที รักษาการแทนรองผู้อำนวยการฝ่ายพันธกิจเพื่อสังคมและการวิจัย และรองศาสตราจารย์ ดร.ดวงแขฑิตา กาญจนโสภา ในการเข้าประชาสัมพันธ์และแนะแนวการศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรและสาขาวิชานวัตกรรมการประมง ให้แก่นักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งและสาขาวิชาพืชศาสตร์ ตามโครงการจัดตั้งคณะนวัตกรรมการเกษตรและประมง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี      พร้อมกันนี้ ได้ร่วมหารือถึงแนวทางการทำความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตสุราษฎร์ธานีกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร  ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์
13 กุมภาพันธ์ 2567     |      134
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา “กาแฟชุมพร”
      วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13.30 น. อาจารย์ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในฐานะคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนากาแฟ จังหวัดชุมพร เข้าร่วมประชุมเพื่อขับเคลื่อนแผนการพัฒนา “กาแฟชุมพร” โดยมีนายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนากาแฟจังหวัดชุมพร โดยมีส่วนราชการ ภาคเอกชน และภาคีเครือข่ายผู้ผลิตกาแฟ ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมเกาะมัตตรา ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดชุมพร โดยที่ประชุมฯ ได้ร่วมกันพิจารณา(ร่าง)แผนพัฒนาการเกษตรรายสินค้ากาแฟจังหวัดชุมพร (พ.ศ.2566-2570) และมอบหมายคณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนากาแฟจังหวัดชุมพร ในการจัดทำแผนงานโครงการพัฒนากาแฟ เพื่อบรรจุในแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดชุมพร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2569       ในการนี้ในส่วนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้แสดงความพร้อมที่จะสนับสนุนการการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากาแฟจังหวัดชุมพร ในฐานะสถาบันการศึกษาของประจำจังหวัดชุมพร ตั้งแต่กระบวนการผลิตการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและการตลาดเพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐาน การผลิตกาแฟโรบัสต้าชุมพร (Robusta Chumphon) เพื่อให้เกิดการยกระดับเศรษฐกิจเศรษฐกิจของจังหวัดชุมพร ต่อไป
13 กุมภาพันธ์ 2567     |      136
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมถอดบทเรียนมังคุดชุมพร ปี 2566
      วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.30 น. อาจารย์ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมกับตัวแทนนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมกิจกรรมการประชุมถอดบทเรียนมังคุดชุมพร ปี 2566 โดยมีนายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธาน นายกรนิจ โนนจุ้ย รองอธิบดีกรมการค้าภายใน (เข้าร่วมประชุมผ่านระบบ zoom meeting)       และมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย เกษตรจังหวัดชุมพร, เกษตรอำเภอหลังสวน, อุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบังวิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร, ไปรษณีย์จังหวัดชุมพร, บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) สาขาชุมพร, หอการค้าจังหวัดชุมพร, สภาอุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร, สภาเกษตรกรจังหวัดชุมพร, เครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club จังหวัดชุมพร, เครือข่าย YEC จังหวัดชุมพร, ตลาดกลางผักและผลไม้จังหวัดชุมพร รวมถึงกลุ่มเกษตรกร กลุ่มเครือข่ายมังคุดจังหวัดชุมพร และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม      เพื่อให้เกิดความรู้ที่เป็นบทเรียน และใช้เป็นข้อมูลเพื่อ เตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการตลาดมังคุดชุมพรปี 2567 รวมทั้งให้ความรู้เรื่องคุณภาพการผลิตให้ตรงตามลักษณะความต้องการของผู้บริโภคและความต้องการของตลาด ณ สวนภูดิศ อำเภอวังตะกอ จังหวัดชุมพร
13 กุมภาพันธ์ 2567     |      143
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬา สิ่งห์เหนือ-เสือใต้ ครั้งที่ 16
      วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.30 นายสุนทร จอมเมือง นายอำเภอละแม เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬา สิงห์เหนือ-เสือใต้ ครั้งที่ 16 ระหว่าง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ โดยมีอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม และรองศาสตราจารย์ ดร.ธัชพล จุ้งเจริญ ผู้ช่วยอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พร้อมนักกีฬาของทั้งสองสถาบันเข้าร่วม ณ อาคารแม่โจ้ 80 ปี      พร้อมกันนี้ นายสุนทร จอมเมือง นายอำเภอละแม ได้ให้โอวาทแก่นักกีฬา ใจความว่า “การแข่งขันกีฬาเป็นปัจจัยหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพประชาชน เพราะการเล่นกีฬาเป็นเครื่องมือในการพัฒนา ทั้งทางด้านสุขภาพพลานามัย ตลอดจนสามารถส่งเสริมให้บุคคลรู้จักเคารพระเบียบกติกา ปฏิบัติตามกฎหมาย มีระเบียบวินัย และรู้รักสามัคคี รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ดังคำกล่าวที่ว่า กีฬาสร้างคน คนสร้างชาติ”      อย่างไรก็ตาม การแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์  สิงห์เหนือ-เสือใต้ ครั้งที่  16  มีการแข่งขันกีฬาฟุตบอล, วอลเลย์บอล เปตอง และกีฬาพื้นบ้าน โดยมีถ้วยรางวัลรวมถ้วยเดียว นับคะแนนจากชนิดของกีฬา และผลการแข่งขันกีฬา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์  ชนะมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ด้วยคะแนนรวม 6-5 คะแนน รับถ้วยรางวัลเจ้ากีฬาไปครอง
12 กุมภาพันธ์ 2567     |      106
ทั้งหมด 41 หน้า