มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068
หน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดประชุมกลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ครั้งที่ 1/2567
      วันที่ 19 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ รองผู้อำนวยการหน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร (คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมกลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ครั้งที่ 1/2567 หลักสูตร “การบริหารและการจัดการ องค์ประกอบที่ 1 และองค์ประกอบที่ 2” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสง หัวหน้าโครงการหน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กล่าววัตถุประสงค์การจัดประชุม มีผู้บริหาร คณะครู โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดชุมพรเข้าร่วมกว่า 120 คน      พร้อมกันนี้ นายชาญณรงค์ ปานเลิศ รองศึกษาธิการจังหวัดชุมพร นายเสรี พรหมฤทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชุมพร เขต 1 และนางศรีแพ ไกยเทียม รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชุมพร เขต 2 ได้กล่าวต้อนรับและให้กำลังใจผู้เข้าร่วมประชุม      โดยช่วงเช้า ผู้เข้าประชุม รับฟังการบรรยาย “การบริหารและการจัดการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” โดยนายมรกต วัชระมุสิก เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) สำนักพระราชวัง สวนจิตรลดา และรับฟังการบรรยาย “ภาพรวมงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน องค์ประกอบที่ 1 และองค์ประกอบที่ 2 วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงาน” โดยทีมวิทยากรโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราชและในช่วงบ่าย ผู้เข้าประชุมได้แบ่งกลุ่มและปฎิบัติการกลุ่ม 4 ฐานการเรียนรู้ ดังนี้ฐานการเรียนรู้ที่ 1 :การบริหารและการจัดการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนฐานการเรียนรู้ที่ 2 : องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ฐานการเรียนรู้ที่ 3 : องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ฐานการเรียนรู้ที่ 4 : องค์ประกอบที่ 2 การรวบรวมพันธุ์ไม้เข้าปลูกในโรงเรียน      อย่างไรก็ตาม การจัดกิจกรรมประชุมกลุ่มในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อร่วมสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อร่วมส่งเสริมสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร ตลอดจนเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ตรงตามปรัชญาการสร้างนักอนุรักษ์ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ นำไปสู่การพัฒนาตน องค์กร สังคม ประเทศชาติต่อไป
20 มีนาคม 2567     |      685
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมงานรวมพลคนแม่โจ้ภาคใต้ ครั้งที่ 27
      วันที่ 9 มีนาคม 2567 เวลา 17.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมงาน “รวมพลคนแม่โจ้ภาคใต้” แม่โจ้เยือนถิ่นอันดามัน ครั้งที่ 27 @ กระบี่ ณ ลานพระทิตย์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่การจัดงานดังกล่าว ช่วงเช้ามีการแข่งขันกีเปตองสานสัมพันธ์ และแข่งขันฟุตบอลสามัคคี ระหว่างทีมอันดามันกับทีมอ่าวไทย      ผลการแข่งขันเปตอง ชนะเลิศได้แก่จังหวัดสตูล รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่จังหวัดชุมพร และรองชนะอันดับ 2 ได้แก่จังหวัดสงลา      ผลการแข่งขันฟุตบอลสามัคคีอันดามัน-อ่าวไทย ทีมชนะรุ่นอายุ 50 ปีขึ้นไป ได้แก่ทีมแม่โจ้อันดามัน      และช่วงเย็นงานเลี้ยงสังสรรค์ “รวมพลคนแม่โจ้ภาคใต้” แม่โจ้เยือนถิ่นอันดามัน ครั้งที่ 27 @ กระบี่โดยมีนาย สมศักดิ์ กิตติธรกุล นายกองค์การบริหารจังหวัดกระบี่ เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมกันนี้ มีการแสดงพิเศษ “รองเง็งประยุกต์”ซุ้มอาหารของแต่ละจังหวัดและดนตรีความบันเทิงตลอดงาน
13 มีนาคม 2567     |      101
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมกับผู้แทนศิษย์เก่าแม่โจ้ภาคใต้ มอบเงินช่วยเหลือนายสนธยา รุ่งแก้ว
        วันที่ 9 มีนาคม 2567 เวลา 13.00 น. ณ บ้านเลขที่ 115/1 ตำบลพนม อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยนายอุดมศักดิ์ เฉลิมพนาพันธ์ ประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ ชุมพร และผู้แทนชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ภาคใต้ มอบเงินช่วยเหลือนายสนธยา รุ่งแก้ว นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการเมืองและการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร      เนื่องด้วยวันที่ 2 มกราคม 2567 เกิดเหตุไฟไหม้ ณ บ้านเลขที่ 115/1 ตำบลพนม อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นบ้านพักของนายสนธยา รุ่งแก้ว นักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการเมืองและการปกครองท้องถิ่นมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ทำให้ตัวบ้านและทรัพย์สินภายในบ้านได้รับความเสียหายทั้งหลัง        มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ภาคใต้ จึงได้ร่วมระดมทุนบริจาคช่วยเหลือ โดยได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือ เป็นเงินทั้งสิ้น 79,478 บาท (เจ็ดหมื่นเก้าพันสี่ร้อยเจ็ดสิบแปดบาทถ้วน)
13 มีนาคม 2567     |      84
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นผู้แทนชมรมจักรยานศิษย์เก่าแม่โจ้ มอบตู้ปลอดเชื้อให้แก่โรงพยาบาลละแม
      วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 14.30 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยนายอุดมศักดิ์ เฉลิมพนาพันธ์ ประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ จังหวัดชุมพร และศิษย์เก่าแม่โจ้ เป็นผู้แทนชมรมจักรยานศิษย์เก่าแม่โจ้ มอบครุภัณฑ์ตู้ปลอดเชื้อ Biological Safety Cabinet (Class II) จำนวน 1 ตู้ มูลค่า 160,000 บาท (หนึ่งแสนหกหมื่นบาทถ้วน) ให้แก่โรงพยาบาลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร เพื่อใช้ในห้องปฎิบัติการ โดยนายแพทย์วิษณุ อนิลบล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลละแม มอบหมายให้นางสุภมาส วังมี เภสัชกรชำนาญการพิเศษและนางสาวอิณฑิภา หนุนภักดี นักเทคนิคการแพทย์ปฏิบัติการ เป็นผู้รับมอบ      ทั้งนี้ งบประมาณในการจัดซื้อครุภัณฑ์ดังกล่าว มาจากการระดมทุนของชมรมจักรยานศิษย์เก่าแม่โจ้ ในกิจกรรม “ปั่นคืนถิ่น 3 แม่โจ้ 90 ปี ทำความดีเพื่อแผ่นดิน 20 คนปั่น ล้านคนให้” ต้นทางอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ปลายทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ (เบตง-แม่สาย-แม่โจ้) ซึ่งจัดขึ้นไปแล้ว ระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา ระยะทางรวม 2,345 กิโลเมตร      นอกจากนี้ ชมรมจักรยานศิษย์เก่าแม่โจ้ ยังได้มอบอุปกรณ์และครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ให้โรงพยาบาลเบตง จังหวัดยะลา โรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่ โรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อีกด้วย
4 มีนาคม 2567     |      455
ขอแสดงความยินดี กับนักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
      ขอแสดงความยินดี กับนักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร       ได้รับรางวัล นำเสนอผลงานวิชาการภาคบรรยาย “การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและวิทยาศาสตร์สุขภาพ” ครั้งที่ 3 (3 NACON-NRAHS) (3rd NACON-NARAHS) ผ่านระบบออนไลน์       1. นายธนกฤต สุขทองแท้ ชั้นปีที่ 4 นำเสนอผลงานเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของน้ำมันเสม็ดขาวและระยะเวลาในการสลบปูม้า” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ (ที่ปรึกษาหลัก)       2. นายจิระพงศ์ วงษ์พินิจ ชั้นปีที่ 4 นำเสนอผลงานเรื่อง “การเปรียบเทียบชนิดอาหารสำหรับการเพาะเลี้ยงอาร์ทีเมีย (Artemia sp.)” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ (ที่ปรึกษาหลัก)       3. นายพีระพงศ์ แน่นหนา ชั้นปีที่ 4 นำเสนอผลงานเรื่อง “ประสิทธิภาพของสารแทนนินจากใบกล้วยหอมทองต่อการลดแอมโมเนียในน้ำเลี้ยงปลากะพงขาว” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ (ที่ปรึกษาหลัก)       4. นายณัฐกาญจน์ อินตัน ชั้นปีที่ 4 นำเสนอผลงานเรื่อง “ศึกษาการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของลูกกุ้งขาวสายพันธุ์สิชล 1 ในระยะ Post Larva 13 ถึง Post Larva 40 ที่อนุบาลด้วยอาหารเสริมสาหร่ายสไปรูลิน่า แอสตาแซนทิน และโปรตีนยีสต์” อาจารย์วีรชัย เพชรสุทธิ์ (ที่ปรึกษาหลัก)
21 กุมภาพันธ์ 2567     |      378
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ และศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2566
      วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 ณ อาคารแผ่พืชน์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยอาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น รองคณบดีฯ ฝ่ายพัฒนานักศึกษาและเครือข่ายสัมพันธ์ อาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร ผู้ช่วยคณบดี อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์ และดร.ณรงค์ โยธิน นักแนะแนวการศึกษาและอาชีพ ชำนาญการ (รักษาการหัวหน้างานนโยบาย แผน และประกันคุณภาพ) ร่วมแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ และศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2566 โดยมี ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดร.สมชาย เขียวแดง อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และดร.ขุนศรี ทองย้อย นายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ร่วมมอบของที่ระลึกและกล่าวแสดงความยินดี     พร้อมกันนี้ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้มอบของที่ระลึกแก่ผู้ที่ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ และศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2566 ดังนี้     ผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 9 ราย     1. นางสาวจารุวรรณ โชติเทวัญ ประธานสายบัญชี การเงิน ประธานสายการตลาดต่างประเทศ และ เลขานุการประธานกรรมการบริหาร บริษัท สหฟาร์ม จำกัด และบริษัทในเครือปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล     2. นายเจริญ แก้วสุกใจ ผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร     3. นายโชตินรินทร์ เกิดสม (แม่โจ้รุ่น 53) รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์     4. นายถาวร สงคราม (แม่โจ้รุ่น 54) ประธานกรรมการ บริษัท โอท๊อป-มาดเท่ จำกัดปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์     5. นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตติมศักดิ์ สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการธุรกิจประมง     6. นายบรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ กลุ่มมิตรผลปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ     7. นายประธาน ปิ่นแก้ว (แม่โจ้รุ่น 49) ประธานกรรมการ บริษัท 9 แกลเลอรี่ จำกัด ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ     8. พล.ต.อ. มนู เมฆหมอก กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารศาสตร์    9. นายอนุวัธ วงศ์วรรณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการชุมชน     ผู้ได้รับปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 1 ราย ได้แก่     1. นายสามารถ ลี้ธีระนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สามารถเกษตรยนต์ จำกัดปรัชญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร     ผู้ได้รับโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2566 จำนวน 5 ราย     1. นายกฤษฎา กสิวิวัฒน์ ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 47 ประธานฝ่ายปฏิบัติการ (COO) บริษัท พนัสโพลทรี่ กรุ๊ป จำกัด     2. นายแสวง ทาวดี ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 49 รองผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ     3. นายแดง มาประกอบ ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 51 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รับจัดการงานพิธีและวิทยากรท้องถิ่น     4. นางรุ่งทิพย์ อินปา ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 54 กรรมการผู้จัดการ บจก. รุ่งทิพย์ทรานสปอร์ต แอนด์เซอร์วิส     5. นายสิทธาไชย์ วัฒนคงเศรษฐ์ ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 59 ประธานกรรมการ บริษัท สยาม ไทเกอร์ อะโกร จำกัด
19 กุมภาพันธ์ 2567     |      514
บัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครั้งที่ 46
      วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 12.25 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2565-2566 (ครั้งที่ 46) เป็นวันแรก ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่       โดยมีบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต เข้ารับมอบปริญญาบัตร จำนวน 1,033 ราย แยกเป็นระดับบัณฑิตศึกษา (ป.โท - ป.เอก) จำนวน 116 ราย และระดับปริญญาตรี 917 รายจากคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ คณะบริหารธุรกิจ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มีการจัดการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ ทั้งหลักสูตร 4 ปี และหลักสูตร 4 ปี เทียบเข้าเรียน 5 สาขาวิชา ดังนี้       1.สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง      2.สาขาวิชาพืชศาสตร์      3.สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ       4.สาขาวิชาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ       5.สาขาวิชาการเมืองและการปกครองท้องถิ่น      อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กำลังเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 สามารถดูรายละเอียกการสมัครและสมัครออนไลน์ที่https://admissions.mju.ac.th 
19 กุมภาพันธ์ 2567     |      478
ทั้งหมด 41 หน้า