มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068
ม.แม่โจ้ - ชุมพร รายงานผลการดำเนินงานโครงการชั่งหัวมันฯ พร้อมดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
      วันที่ 14 พฤษภาคม 2567 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร นำโดย อาจารย์ ดร. ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร พร้อมทีมนักวิชาการ และคณะทำงานโครงการชั่งหัวมันฯ ร่วมต้อนรับและรายงานผลการดำเนินงานโครงการสาธิตการปลูกพืชผัก พืชไร่ และไม้ผลแบบประณีตพื้นที่ 10.5 ไร่ ในพื้นที่โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ ในโอกาสที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะรัฐมนตรี เยี่ยมชมโครงการตัวอย่างด้านการเกษตรและรวบรวมพันธุ์พืชเศรษฐกิจ ณ โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี       สำหรับ พื้นที่ปลูกพืชผัก พืชไร่ และไม้ผลแบบประณีต จำนวน 10.5 ไร่ ดังกล่าว เป็นพื้นที่สนองงานตามโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้รับผิดชอบ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ได้รับมอบหมายให้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องต่อไป
15 พฤษภาคม 2567     |      28
แม่โจ้ – ชุมพร จับมือ สถาบันอาชีวศึกษาและภาคีเครือข่าย สร้างความร่วมมือทางการศึกษา วิจัยและพัฒนาบุคลากร
      วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รักษาการแทนรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) เพื่อสร้างความร่วมมือทางการศึกษา วิจัย และพัฒนาบุคลากร กับสถาบันการอาชีวศึกษาและภาคีเครือข่าย จาก 4 จังหวัดในภาคใต้ คือ นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา และ ภูเก็ต จำนวน 6 หน่วยงาน ดังนี้       1.สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 1 โดย ว่าที่ร้อยตรีกิตติ บรรณโศภิษฐ์ ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 1 เป็นแทนผู้ลงนาม       2.สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 2 โดย นายธิติวัชร์ ไพศาลกิจสงวน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนายุทธศาสตร์และความร่วมมืออาชีวศึกษา เป็นผู้แทนลงนาม      3.สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ โดย นายวิศวะ คงแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ เป็นผู้แทนลงนาม      4.สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 3 โดย ดร.สิทธิพงศ์ นกแอนหมาน ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 3 เป็นผู้แทนลงนาม      5.วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการหาดใหญ่ โดย ดร.โสภณ สาระวิโรจน์ ผู้รับใบอนุญาต เป็นผู้แทนลงนาม       6.สำนักงานเทศบาลเมืองเบตง โดย นายสกุล เล็งลัคน์กุล นายกเทศมนตรีเมืองเบตง เป็นผู้แทนลงนาม      อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กล่าวว่า “บันทึกข้อตกลงฉบับนี้เพื่อสร้างความร่วมมือทางการศึกษา วิจัย และพัฒนาบุคลากร โดยพัฒนานักเรียน นักศึกษา ให้ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าปริญญาตรี พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถาบันให้มีคุณวุฒิตามที่กำหนด และเตรียมความพร้อมของบุคลากรทางการศึกษาในการขยายโอกาสการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ตลอดจนเพิ่มความสามารถด้านการทำวิจัย ในการพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมได้”     พร้อมกันนี้ ยังได้หารือความร่วมมือ ในการเพิ่มเติมการทำ MOA ร่วมกับวิทยาลัยในสังกัดของสถาบันการอาชีวศึกษา เพื่อผลักดันความร่วมมือให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยส่งนักศึกษามาเรียนต่อระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตลอดจนความร่วมมือทางด้านวิชาการอื่น ๆ ต่อไป
3 พฤษภาคม 2567     |      806
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กิจกรรมปล่อยปลาคาร์ฟ เพื่อพัฒนาพ่อแม่พันธุ์ปลาสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม ณ บ่อน้ำ 35 ไร่ ฟาร์มมหาวิทยาลัย
      วันที่ 30 เมษายน 2567 เวลา 17.30 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยอาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและเครือข่ายสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จอมสุดา ดวงวงษา รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ อาจารย์ ดร.ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม รองคณบดีฝ่ายวิชาการและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยีประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยนายชัยวิชิต เพชรศิลา หัวหน้างานบริการวิชาการและวิจัย ดร.ณรงค์ โยธิน หัวหน้างานนโยบายแผนและประกันคุณภาพ นางสาวสายทอง สุจริยาพงศ์พร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา นายกฤษฎิ์ พลไทย นักวิชาการประมง นางสาวเกศณีย์ แท่นนิล ประมงจังหวัดชุมพร ตัวแทนศิษย์เก่าแม่โจ้ จังหวัดชุมพร นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ร่วมกิจกรรมปล่อยปลาคาร์ฟ เพื่อพัฒนาพ่อแม่พันธุ์ปลาสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม ตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ณ บ่อน้ำ 35 ไร่ ฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร      ทั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนพันธุ์ปลาคาร์ฟ จำนวน 1,500 ตัว จากนายสุชาติ จุลอดุง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำชุมพร โดยนายกฤษฎิ์ พลไทย นักวิชาการประมง นักวิชาการประมง เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
2 พฤษภาคม 2567     |      722
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมกิจกรรมพิธีสวดพระปริตรและเจริญพระพุทธมนต์ บำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระกุศลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโซติฯ
      วันจันทร์ ที่ 29 เมษายน 2567 เวลา 17.00น. อาจารย์ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยนายชาญวิทย์ ขุนทองจันทร์ นักวิชาการศึกษา เข้าร่วมพิธีสวดพระปริตรและเจริญพระพุทธมนต์ บำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระกุศลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ณ วัดสวนสมบูรณ์ หมู่ที่ ๗ ตำบลสวนแตง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
30 เมษายน 2567     |      170
คณาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ให้การต้อนรับและที่ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่นักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
      คณาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรให้การต้อนรับและที่ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่นักศึกษา (หลักสูตร 4 ปี รหัส 65 และ หลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง รหัส 66 สาขาการประมงและนวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในกิจกรรมฝึกปฏิบัติการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ระหว่างวันที่ 22 – 30 เมษายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร อำเภอละแม จังหวัดชุมพร      วันจันทร์ ที่ 22 เมษายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยุทธนา สว่างอารมณ์ ถ่ายทอดองค์ความรู้ แก่นักศึกษาในกิจกรรม : ธนาคารปูม้า การทำเค้กปูม้า การเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น และการเพาะแพลงก์ตอนพืชสำหรับสัตว์น้ำวัยอ่อน      วันอังคาร ที่ 23 เมษายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยุทธนา สว่างอารมณ์ และนายวิสูตร บุนนาค ผู้ใหญ่บ้านผู้ดูแล ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรและท่องเที่ยววิถีชุมชนชาวประมงบ้านกลางอ่าว ตำบลบางมะพร้าว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ถ่ายทอดองค์ความรู้ แก่นักศึกษาในกิจกรรม : ภูมิปัญญาชาวบ้านทางการประมง (สถานที่ :  ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรและท่องเที่ยววิถีชุมชนชาวประมงบ้านกลางอ่าว ตำบลบางมะพร้าว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร      วันพุธ ที่ 24 เมษายน 2567 อาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น  ถ่ายทอดองค์ความรู้ แก่นักศึกษาในกิจกรรม : ระบบนิเวศน์ชายฝั่ง (สถานที่ : หาดหน้ามหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร)      วันพฤหัสบดีและวันศุกร์ ที่ 25-26  เมษายน อาจารย์ ดร.ณัชพัฒน์ สุขใส ถ่ายทอองค์ความรู้แก่นักศึกษาในกิจกรรม การทำสปาทราย  (สถานที่ : หาดหน้ามหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร) การสตาฟปูม้า และการถักอวนเพื่อการประมง (สถานที่ : อาคารเรียนรวมแม่โจ้ 80 ปี)
29 เมษายน 2567     |      62
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ต้อนรับอาจารย์และนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
      วันที่ 22 เมษายน 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยอาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น รองคณบดีฯ ฝ่ายพัฒนานักศึกษาและเครือข่ายสัมพันธ์ อาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร ผู้ช่วยคณบดีฯ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ร่วมต้อนรับอาจารย์และนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ตามโครงการฝึกปฏิบัติและเสริมประสบการณ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ระหว่างวันที่ 22-30 เมษายน 2567      ทั้งนี้ กิจกรรมฝึกปฏิบัติและเสริมประสบการณ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ดังกล่าว มีนักศึกษาหลักสูตร 4 ปี รหัส 65 และหลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง รหัส 66 สาขาการประมงและนวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำ เข้าร่วม จำนวน 90 คน โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จอมสุดา ดวงวงษา รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ และอาจารย์ ดร.ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม รองคณบดีฝ่ายวิชาการและบริการวิชาการ เข้าร่วมตลอดจนควบคุมดูแลการดำเนินกิจกรรมในโครงการ      อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าว นักศึกษาจะได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง อาทิธนาคารปูม้า การทำเค้กปูม้า การเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น การเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านทางการประมง การเลี้ยงหอยแมลงภู่ เรียนรู้ระบบนิเวศน์ชายฝั่ง สปาทราย สตาฟสัตว์น้ำ เรียนรู้ระบบการเลี้ยงกุ้ง ระบบการอนุบาล การเพาะเลี้ยงอาร์ทีเมีย และการเพาะเลี้ยงเพรียงทราย จากคณาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ปราชญ์ประมงพื้นบ้าน นักวิชาการจากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด มหาชน (ฟาร์มทดลองละแม) และนักวิชาการจากเพียงทรายฟาร์ม
23 เมษายน 2567     |      580
ดร.วีรภรณ์ โตคีรี ศึกษาดูงานและร่วมกิจกรรมกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว สาธารณรัฐประชาชนลาวและมูลนิธิศิลาธัมภ์
      วันที่ 3- 5 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา อาจารย์ ดร.วีรภรณ์ โตคีรี อาจารย์ประจำสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าศึกษาดูงานและร่วมกิจกรรมกับคณะวิทยาศาสตร์และป่าไม้ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว สาธารณรัฐประชาชนลาวและมูนิธิศิลาธัมภ์     โดยการศึกษาดูงานในครั้งนี้ ได้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการและพัฒนาโจทย์วิจัยอาหารเป็นยาและพัฒนาการผลิตกับคณะวิทยาศาสตร์และป่าไม้ ตลอดจนร่วมหารือแลกเปลี่ยนศึกษาดูงานด้านการศึกษาและการพัฒนาเครือข่ายสาขาการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ป่า อันจะนำไปสู่ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวต่อไป       อย่างไรก็ตาม ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น จากคณบดี ผู้บริหาร คณาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวอย่างดียิ่ง
7 เมษายน 2567     |      535
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมต้อนรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และร่วมพิธีมอบเครื่องลำเลียงกล้วยหอมทองแก่กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด
      วันที่ 6 เมษายน 2567 เวลา 11.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร พร้อมด้วยอาจารย์ปณิดา กันถาด อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชศาสตร์ นางสาวสายทอง สุจริยาพงศ์พร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา ตัวแทนนักศึกษาสาขาวิชานวัตนกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และสาขาพืชวิชาพืชศาสตร์ ร่วมต้อนรับนางสาวพิมพ์ภัทธา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และร่วมพิธีมอบเครื่องลำเลียงกล้วยหอมทอง แก่กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด ตำบลทุ่งคาวัด อำเภอละแม จังหวัดชุมพร       ทั้งนี้ ในการมอบเครื่องลำเลียงกล้วยหอมทอง แก่กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด ดังกล่าวนั้น ได้รับเกียรติจากนางสาวพิมพ์ภัทธา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีมอบ พร้อมด้วยนายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวรัตน์ มาประณีต รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร นายวิชัย สุดสวาสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพรเขต 1 นายสันต์ แซ่ตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพรเขต 2 นายสุพล จุลใส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพรเขต 3 นายนพพร อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร และตัวแทนหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดชุมพรเข้าร่วม      พร้อมกันนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยอาจารย์ปณิดา กันถาด อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชศาสตร์และตัวแทนนักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งและสาขาพืชศาสตร์ ได้จัดนิทรรศการบริการวิชาการเกี่ยวกับปลูกกล้วยหอมทองส่งออกญี่ปุ่น การดูแล การใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆของกล้วยหอมทอง และผลิตภัณฑ์จากกล้วยหอมทอง ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก
9 เมษายน 2567     |      508
ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการทุเรียนจังหวัดชุมพร (Chumphon Durian Board) ครั้งที่ 1/2567
      วันที่ 3 เมษายน 2567 เวลา 13.30-16.00 น. อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์  ประธานอาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์ เป็นผู้แทนคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการทุเรียนจังหวัดชุมพร (Chumphon Durian Board) ครั้งที่ 1/2567 เพื่อติดตามสถานการณ์ทุเรียน ขับเคลื่อนการพัฒนาสินค้าทุเรียน ตลอดจนร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาการสวมสิทธิ์ใบรับรอง GAP พืช และการควบคุมแผงจำหน่ายทุเรียนริมทาง โดยมีนายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมเกาะทองหลาง ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดชุมพร      ทั้งนี้ จังหวัดชุมพร ได้แต่งตั้งคณะกรรมการทุเรียนจังหวัดชุมพร เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาทุเรียนจังหวัดชุมพรแบบครบวงจร ทั้งเรื่องการผลิตและคุณภาพทุเรียน กำหนดช่วงวันเก็บเกี่ยวทุเรียนหมอนทอง ในวันที่ 20 มิถุนายน 2567 พร้อมวางมาตรการป้องกันทุเรียนอ่อน และการออกใบรับรองมาตรฐาน GAP ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน
5 เมษายน 2567     |      258
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมคาดการอนาคต (Foresight) ทิศทางและฉากทัศน์การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ สุราษฎร์ธานี
      วันที่ 4 เมษายน 2567 เวลา 08.30-16.30 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล ประธานหลักสูตรสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ และอาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ประธานหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์  เข้าร่วมประชุมคาดการอนาคต (Foresight) ทิศทางและฉากทัศน์การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ จัดโดยหน่วย บริหารและจัดการทุน ด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับสำนักงานสภานโยบายอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี  ณ ห้องบรรจงแกรนด์บอลรูม 2 โรงแรมบรรจงบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
5 เมษายน 2567     |      189
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร “ปลูกโทะ” สนองพระราชดำริ โครงการ อพ.สธ. เรารักพระเทพฯ “เจ้าฟ้านักอนุรักษ์”
      วันที่ 2 เมษายน 2567 เวลา 09.30 ณ แปลงโครงการไผ่เพื่อน้อง อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บุคลากรและนักศึกษา ร่วมปลูกโทะ (ต้นโทะ) พันธุกรรมพืชท้องถิ่นของชุมพร สนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)      พร้อมกันนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมปลูกโทะ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ เรารักพระเทพฯ “เจ้าฟ้านักอนุรักษ์” เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 2 เมษายน      อย่างไรก็ตาม “ต้นโทะ” (Rhodomyrtus tomentosa) พืชในวงศ์ชมพู่ ผลของลูกโทะ มีสีม่วง อันเป็นสีประจำพระชนมวารของพระองค์ โทะดอกสวย เนื้อไม้แข็งแรง ผล สามารถกินสด หรือแปรรูป เช่น ทำวุ้น ทำแยม ย้อมผ้า เป็นต้น
2 เมษายน 2567     |      249
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมงาน " เปิดเมืองกินฟรี Dance on Lamae beach ครั้งที่ 2"
      วันที่ 31 มีนาคม 2567 เวลา 17.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน และผู้แทนนักศึกษาสาขาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ สาขาวิชาการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ร่วมพิธีเปิดโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอละแม จังหวัดชุมพร "Dance on Lamae beach ครั้งที่ 2" ณ บริเวณชายทะเลหน้ามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยมีนายนพพร อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร เป็นประธานในพิธีเปิด >      พร้อมกันนี้ ได้นำลูกชิ้นทอด ตือคาโค น้ำโกโก้ น้ำเก็กฮวย และน้ำดื่ม บริการผู้เข้าร่วมกิจกรรมเปิดเมืองกินฟรีอีกด้วย      อย่างไรก็ตาม งาน "Dance on Lamae beach ครั้งที่ 2" จัดขึ้นโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ร่วมกับอำเภอละแมและชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอละแม
2 เมษายน 2567     |      189
ทั้งหมด 41 หน้า