มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068
แม่โจ้ – ชุมพร จับมือ สถาบันอาชีวศึกษาและภาคีเครือข่าย สร้างความร่วมมือทางการศึกษา วิจัยและพัฒนาบุคลากร
      วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รักษาการแทนรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) เพื่อสร้างความร่วมมือทางการศึกษา วิจัย และพัฒนาบุคลากร กับสถาบันการอาชีวศึกษาและภาคีเครือข่าย จาก 4 จังหวัดในภาคใต้ คือ นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา และ ภูเก็ต จำนวน 6 หน่วยงาน ดังนี้       1.สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 1 โดย ว่าที่ร้อยตรีกิตติ บรรณโศภิษฐ์ ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 1 เป็นแทนผู้ลงนาม       2.สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 2 โดย นายธิติวัชร์ ไพศาลกิจสงวน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนายุทธศาสตร์และความร่วมมืออาชีวศึกษา เป็นผู้แทนลงนาม      3.สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ โดย นายวิศวะ คงแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ เป็นผู้แทนลงนาม      4.สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 3 โดย ดร.สิทธิพงศ์ นกแอนหมาน ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 3 เป็นผู้แทนลงนาม      5.วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการหาดใหญ่ โดย ดร.โสภณ สาระวิโรจน์ ผู้รับใบอนุญาต เป็นผู้แทนลงนาม       6.สำนักงานเทศบาลเมืองเบตง โดย นายสกุล เล็งลัคน์กุล นายกเทศมนตรีเมืองเบตง เป็นผู้แทนลงนาม      อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กล่าวว่า “บันทึกข้อตกลงฉบับนี้เพื่อสร้างความร่วมมือทางการศึกษา วิจัย และพัฒนาบุคลากร โดยพัฒนานักเรียน นักศึกษา ให้ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าปริญญาตรี พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถาบันให้มีคุณวุฒิตามที่กำหนด และเตรียมความพร้อมของบุคลากรทางการศึกษาในการขยายโอกาสการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ตลอดจนเพิ่มความสามารถด้านการทำวิจัย ในการพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมได้”     พร้อมกันนี้ ยังได้หารือความร่วมมือ ในการเพิ่มเติมการทำ MOA ร่วมกับวิทยาลัยในสังกัดของสถาบันการอาชีวศึกษา เพื่อผลักดันความร่วมมือให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยส่งนักศึกษามาเรียนต่อระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตลอดจนความร่วมมือทางด้านวิชาการอื่น ๆ ต่อไป
3 พฤษภาคม 2567     |      23
ผศ.พาวิน มะโนชัย พบปะบุคลากร ถ่ายทอดนโยบายการบริหารงานจากสภามหาวิทยาลัย
      วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.30 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รักษาการแทนรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พบปะบุคลากร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ถ่ายทอดนโยบายการบริหารของสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้      ซึ่งในการพบปะบุคลากรในครั้งนี้  ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รักษาการแทนรองอธิการบดี ได้พูดคุยแลกเปลี่ยน พร้อมทั้งรับฟังปัญหาการปฎิบัติงานของบุคลากรและให้ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไข โดยมีอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กล่าวต้อนรับ ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์      พร้อมกันนี้ ผู้บริหาร และบุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้ร่วม “รดน้ำดำหัว” แสดงความเคารพต่อผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รักษาการแทนรองอธิการบดี
3 พฤษภาคม 2567     |      40
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กิจกรรมปล่อยปลาคาร์ฟ เพื่อพัฒนาพ่อแม่พันธุ์ปลาสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม ณ บ่อน้ำ 35 ไร่ ฟาร์มมหาวิทยาลัย
      วันที่ 30 เมษายน 2567 เวลา 17.30 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยอาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและเครือข่ายสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จอมสุดา ดวงวงษา รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ อาจารย์ ดร.ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม รองคณบดีฝ่ายวิชาการและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยีประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยนายชัยวิชิต เพชรศิลา หัวหน้างานบริการวิชาการและวิจัย ดร.ณรงค์ โยธิน หัวหน้างานนโยบายแผนและประกันคุณภาพ นางสาวสายทอง สุจริยาพงศ์พร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา นายกฤษฎิ์ พลไทย นักวิชาการประมง นางสาวเกศณีย์ แท่นนิล ประมงจังหวัดชุมพร ตัวแทนศิษย์เก่าแม่โจ้ จังหวัดชุมพร นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ร่วมกิจกรรมปล่อยปลาคาร์ฟ เพื่อพัฒนาพ่อแม่พันธุ์ปลาสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม ตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ณ บ่อน้ำ 35 ไร่ ฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร      ทั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนพันธุ์ปลาคาร์ฟ จำนวน 1,500 ตัว จากนายสุชาติ จุลอดุง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำชุมพร โดยนายกฤษฎิ์ พลไทย นักวิชาการประมง นักวิชาการประมง เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
2 พฤษภาคม 2567     |      42
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมกิจกรรมพิธีสวดพระปริตรและเจริญพระพุทธมนต์ บำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระกุศลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโซติฯ
      วันจันทร์ ที่ 29 เมษายน 2567 เวลา 17.00น. อาจารย์ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยนายชาญวิทย์ ขุนทองจันทร์ นักวิชาการศึกษา เข้าร่วมพิธีสวดพระปริตรและเจริญพระพุทธมนต์ บำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระกุศลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ณ วัดสวนสมบูรณ์ หมู่ที่ ๗ ตำบลสวนแตง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
30 เมษายน 2567     |      142
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมรับรองผลการพิจารณาการอนุญาตหรือเพิกถอนตราหรือสัญลักษณ์ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ณ เกาะพิทักษ์ ศาลากลาง จังหวัดชุมพร
      วันที่ 29 เมษายน 2567 อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในฐานะ คณะกรรมการอำนวยการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI (Geographical Indication) จังหวัดชุมพร ประชุมคณะกรรมการอำนวยการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI จังหวัดชุมพร สินค้าที่ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จำนวน 4 รายการ ได้แก่ กล้วยเล็บมือนางชุมพร กาแฟเขาทะลุ กาแฟถ้ำสิงห์ชุมพร และกล้วยหอมทองละแม โดยมีนายวรัตม์ มาประณีต รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานคณะกรรมการ และมีหัวหน้าส่วนราชการ และผู้แทนส่วนราชการเข้าร่วมประชุมฯ เพื่อพิจารณาและรับรองผลการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ กล้วยเล็บมือนางชุมพร กาแฟเขาทะลุ กาแฟถ้ำสิงห์ชุมพร และกล้วยหอมทองละแม จำนวน 15 ราย ณ ห้องประชุมเกาะพิทักษ์ ศาลากลางจังหวัดชุมพร ชั้น 3
30 เมษายน 2567     |      321
ขอแสดงความยินดีกับพนักงานมหาวิทยาลัยที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น ประเภทอำนวยการ
      ตามมติคณะกรรมการบริหารงานบุคคลมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครั้งที่ 7/2567 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2567 จำนวน 4 ราย ดังนี้ ระดับหัวหน้างาน/หัวหน้าฝ่าย : สังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร       1) นางสาวจิรภรณ์ ใจอ่อน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานบริหารและธุรการ สังกัดสำนักงานคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป       2) นางสาวศิริมาศ เจี้ยมกลิ่น ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานคลังและพัสดุ สังกัดสำนักงานคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป       3) นายณรงค์ โยธิน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานนโยบาย แผน และประกันคุณภาพ สังกัดสำนักงานคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป       4) นายชัยวิชิต เพชรศิลา ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานบริการวิชาการและวิจัย สังกัดสำนักงานคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป      กองบริหารทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 เมษายน 2567     |      318
คณาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ให้การต้อนรับและที่ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่นักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
      คณาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรให้การต้อนรับและที่ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่นักศึกษา (หลักสูตร 4 ปี รหัส 65 และ หลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง รหัส 66 สาขาการประมงและนวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในกิจกรรมฝึกปฏิบัติการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ระหว่างวันที่ 22 – 30 เมษายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร อำเภอละแม จังหวัดชุมพร      วันจันทร์ ที่ 22 เมษายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยุทธนา สว่างอารมณ์ ถ่ายทอดองค์ความรู้ แก่นักศึกษาในกิจกรรม : ธนาคารปูม้า การทำเค้กปูม้า การเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น และการเพาะแพลงก์ตอนพืชสำหรับสัตว์น้ำวัยอ่อน      วันอังคาร ที่ 23 เมษายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยุทธนา สว่างอารมณ์ และนายวิสูตร บุนนาค ผู้ใหญ่บ้านผู้ดูแล ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรและท่องเที่ยววิถีชุมชนชาวประมงบ้านกลางอ่าว ตำบลบางมะพร้าว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ถ่ายทอดองค์ความรู้ แก่นักศึกษาในกิจกรรม : ภูมิปัญญาชาวบ้านทางการประมง (สถานที่ :  ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรและท่องเที่ยววิถีชุมชนชาวประมงบ้านกลางอ่าว ตำบลบางมะพร้าว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร      วันพุธ ที่ 24 เมษายน 2567 อาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น  ถ่ายทอดองค์ความรู้ แก่นักศึกษาในกิจกรรม : ระบบนิเวศน์ชายฝั่ง (สถานที่ : หาดหน้ามหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร)      วันพฤหัสบดีและวันศุกร์ ที่ 25-26  เมษายน อาจารย์ ดร.ณัชพัฒน์ สุขใส ถ่ายทอองค์ความรู้แก่นักศึกษาในกิจกรรม การทำสปาทราย  (สถานที่ : หาดหน้ามหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร) การสตาฟปูม้า และการถักอวนเพื่อการประมง (สถานที่ : อาคารเรียนรวมแม่โจ้ 80 ปี)
29 เมษายน 2567     |      44
โค้งสุดท้าย มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ หลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน
      มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 หลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน ต่อเนื่อง 2 ปี เปิดรับสมัครออนไลน์ ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เรียนปกติ)        1.สาขาวิชานวัตนกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง : รับผู้ที่จบประเภทวิชาประมง เกษตรกรรม สัตวศาสตร์ สัตวรักษ์ เท่านั้น        2.สาขาวิชาพืชศาสตร์ : รับผู้ที่จบประเภทวิชาเกษตรกรรม พืชศาสตร์ เกษตรศาสตร์ เท่านั้นหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (เรียนปกติ หรือเรียนออนไลน์ เสาร์ -อาทิตย์)        1.สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ : รับผู้ที่จบประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว บริหารธุรกิจ คหกรรม หรือสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้องหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (เรียนออนไลน์ เสาร์-อาทิตย์)        1.สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ : รับผู้ที่จบประเภทวิชาบริหาร การจัดการ หรือสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง สมัครออนไลน์ : www.admissions.mju.ac.th สอบถามเพิ่มเติม งานบริการการศึกษา : 080 535 9909
24 เมษายน 2567     |      212
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ต้อนรับอาจารย์และนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
      วันที่ 22 เมษายน 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยอาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น รองคณบดีฯ ฝ่ายพัฒนานักศึกษาและเครือข่ายสัมพันธ์ อาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร ผู้ช่วยคณบดีฯ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ร่วมต้อนรับอาจารย์และนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ตามโครงการฝึกปฏิบัติและเสริมประสบการณ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ระหว่างวันที่ 22-30 เมษายน 2567      ทั้งนี้ กิจกรรมฝึกปฏิบัติและเสริมประสบการณ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ดังกล่าว มีนักศึกษาหลักสูตร 4 ปี รหัส 65 และหลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง รหัส 66 สาขาการประมงและนวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำ เข้าร่วม จำนวน 90 คน โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จอมสุดา ดวงวงษา รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ และอาจารย์ ดร.ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม รองคณบดีฝ่ายวิชาการและบริการวิชาการ เข้าร่วมตลอดจนควบคุมดูแลการดำเนินกิจกรรมในโครงการ      อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าว นักศึกษาจะได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง อาทิธนาคารปูม้า การทำเค้กปูม้า การเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น การเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านทางการประมง การเลี้ยงหอยแมลงภู่ เรียนรู้ระบบนิเวศน์ชายฝั่ง สปาทราย สตาฟสัตว์น้ำ เรียนรู้ระบบการเลี้ยงกุ้ง ระบบการอนุบาล การเพาะเลี้ยงอาร์ทีเมีย และการเพาะเลี้ยงเพรียงทราย จากคณาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ปราชญ์ประมงพื้นบ้าน นักวิชาการจากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด มหาชน (ฟาร์มทดลองละแม) และนักวิชาการจากเพียงทรายฟาร์ม
23 เมษายน 2567     |      565
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร รับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 หลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (ต่อเนื่อง 2 ปี)
      มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 หลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (ต่อเนื่อง 2 ปี)  4 สาขาวิชา สมัครออนไลน์ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 หลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (ต่อเนื่อง 2 ปี) เรียนปกติ   1.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตนกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง       •รับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ปวส. หรือเทียบเท่า       •GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.00       •ประเภทวิชาประมง เกษตรกรรม สัตวศาสตร์ สัตวรักษ์ เท่านั้น   2.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์     •รับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ปวส. หรือเทียบเท่า     •GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.00     •ประเภทวิชาเกษตรกรรม พืชศาสตร์ เกษตรศาสตร์ เท่านั้นหลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (ต่อเนื่อง 2 ปี ) เรียนปกติ /เรียนออนไลน์ เสาร์ -อาทิตย์    1.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ เรียนปกติ หรือเรียนออนไลน์ เสาร์ -อาทิตย์      •รับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ปวส. หรือเทียบเท่า หรือจบปริญญาตรีมาแล้ว      •GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.00      •ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว บริหารธุรกิจ คหกรรม หรือสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง    2.หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ เรียนออนไลน์ เสาร์-อาทิตย์      •รับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ปวส. หรือเทียบเท่า หรือจบปริญญาตรีมาแล้ว      •GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.00      •ประเภทวิชาบริหาร การจัดการ หรือสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง    สมัครออนไลน์ : www.admissions.mju.ac.th    สอบถามเพิ่มเติม งานบริการการศึกษา : 080 535 9909
19 เมษายน 2567     |      820
สวัสดีปีใหม่ไทย ๒๕๖๗
      มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ก่อเจดีย์ทราย และเล่นน้ำสงกรานต์ตามประเพณี      สงกรานต์สุขใจ “ดื่มไม่ขับ ง่วงจอดพัก เล่นสาดน้ำด้วยความระวัง”      ประวัติวันสงกรานต์ หรือ วันมหาสงกรานต์ ได้รับอิทธิพลมาจาก “เทศกาลโฮลี” ของประเทศอินเดีย แต่วันสงกรานต์ของไทยเปลี่ยนจากการสาดสี เป็นการสาดน้ำ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพอากาศที่ร้อนในเดือนเมษายน และในอีกแง่หนึ่งมีความเชื่อว่าเป็นการปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกไป ดังนั้น การเล่นสาดน้ำและประแป้งกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จะไม่ถือโทษโกรธกัน       คำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤต ที่มีความหมายว่า “การเคลื่อนย้าย” โดยเชื่อว่าในวันสงกรานต์ เป็นช่วงเวลาการเคลื่อนย้ายของจักรราศี อีกนัยหนึ่งก็คือการเคลื่อนสู่ปีใหม่ คนไทยจึงยึดถือวันสงกรานต์เป็น “วันขึ้นปีใหม่ไทย” มาตั้งแต่สมัยโบราณ จนกระทั่ง พ.ศ. 2483 ก่อนจะปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามแบบแผนสากลนิยม ซึ่งก็คือวันที่ 1 มกราคมของทุกปี ทั้งนี้ การละเล่นสงกรานต์ไม่ได้มีแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า กัมพูชา ลาว รวมถึงบางพื้นที่ของเวียดนาม จีน ศรีลังกา และอินเดีย       กิจกรรมช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ นิยมทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ เล่นสาดน้ำ ประแป้ง รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ คนทำงานต่างจังหวัดหรือไกลครอบครัว ก็จะเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อฉลองวันปีใหม่ไทย รวมถึงกล่าวคำอวยพร “สุขสันต์วันสงกรานต์” และ “สวัสดีวันสงกรานต์” ให้แก่กัน นอกจากนี้ แหล่งท่องเที่ยวสำหรับจัดงานเทศกาลสงกรานต์ ก็สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทำให้วันสงกรานต์ของไทยมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก       อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้ “สงกรานต์ในประเทศไทย” เป็นรายการในบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) ในการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 18 ณ เมืองคาเซเน สาธารณรัฐบอตสวานา      ทั้งนี้ “สงกรานต์ในประเทศไทย” (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) ถือเป็นรายการในบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ลำดับที่ 4 ของประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้ UNESCO ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้แก่ “โขน” (Khon, masked dance drama in Thailand) ในปี 2561, “นวดไทย” (Nuad Thai, Traditional Thai Massage) ในปี 2562 และ “โนรา” ของภาคใต้ (Nora, Dance Drama in Southern Thailand) ในปี 2564
13 เมษายน 2567     |      620
ประชาสัมพันธ์ รับสมัครนักศึกษา TCAS2567 รอบ 3 (หลักสูตร 4 ปีเทียบเรียน หรือต่อเนื่อง 2 ปี )
ใกล้สงกรานต์ เล่นสาดน้ำกันเพลิน อย่าลืมสมัครเรียนนะคะTCAS67 รอบ 3 (หลักสูตร 4 ปีเทียบเรียน หรือต่อเนื่อง 2 ปี )หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เรียนปกติ)      1.สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง      2.สาขาวิชาพืชศาสตร์หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (เรียนปกติ/ออนไลน์เสาร์-อาทิตย์)      1.สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (เรียนออนไลน์เสาร์-อาทิตย์)      1.สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ      เปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 5-30 เมษายน 2567      สอบถามเพิ่มเติม โทรศัพท์ 080 535 9909      หรือสอบถามเพิ่ม inbox แฟนเพจมหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร)      สมัครออนไลน์ :https://admissions.mju.ac.th
11 เมษายน 2567     |      517
ทั้งหมด 199 หน้า