มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068

มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล

ในโอกาสที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง "รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้" ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๘ เป็นต้นไป

ตามคำสั่งสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๘

 

ปรับปรุงข้อมูล : 2/5/2568 8:34:54     ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 54

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

Program Learning Outcomes สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร (Program Learning Outcomes) PLO1 ใช้ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตในการดำรงชีวิตในยุตดิจิทัลได้ PLO2 อธิบายการใช้เครื่องมือทางด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทางทะเล และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งได้ PLO3 ใช้ความรู้ทางวิชาชีพทางด้านการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง PLO4 ทำวิจัยพื้นฐาน ถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิตอล เกี่ยวกับ IoT ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง PLO5 นำเสนอการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร เพื่อการเป็นผู้ประกอบการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งได้ PLO6 มีจริยธรรมการใช้สัตว์ทดลองทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ PLO7 มีภาวะการเป็นผู้นำ อดทน สู้งาน ซื่อสัตย์ มีสัมมาคารวะ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
17 พฤษภาคม 2568     |      22
ต้อนรับคุณพฤหัส วงษ์ดำรงศักดิ์ และสมาชิกวิสาหกิจชุมชนผึ้งโพรงป่าเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน อ.ปะทิว จ.ชุมพร
ว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตร งานบริการวิชาการและวิจัย เป็นตัวแทนคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ต้อนรับคุณพฤหัส วงษ์ดำรงศักดิ์ และสมาชิกวิสาหกิจชุมชนผึ้งโพรงป่าเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืนอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เข้าเยี่ยมชมฐานเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งชันโรง และมอบผึ้งชันโรงชนิดขนเงิน จำนวน 2 รัง แหล่งพันธุกรรมจาก อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการอนุรักษ์ผึ้งชันโรง ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) สนองพระราชดำริโดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ทั้งนี้ทางวิสาหกิจชุมชนฯ จะได้ร่วมขับเคลื่อนโครงการอนุรักษ์ผึ้งโพรงไทย ร่วมกับงานบริการวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ในโอกาศต่อไป
14 พฤษภาคม 2568     |      21
คณบดี ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมประชุมคณะทำงานด้านการตลาดระดับจังหวัด และหารือแนวทางส่งเสริมการส่งออกทุเรียน มังคุด และสินค้าอื่น ๆ จังหวัดชุมพร สู่ตลาดต่างประเทศ
วันที่ 13 พฤษภาคม 2568 เวลา 10.00 น. อาจารย์ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมคณะทำงานด้านการตลาดระดับจังหวัด ครั้งที่ 3/2568 และประชุมเจรจาธุรกิจการค้าทุเรียน มังคุด และสินค้าอื่นๆ กับผู้ส่งออกสินค้าจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ณ ห้องประชุมเกาะพิทักษ์ ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดชุมพร การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันหารือแนวทางการส่งเสริมการส่งออกทุเรียน มังคุด และสินค้าอื่นๆ จังหวัดชุมพรสู่ตลาดสากล รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการตลาด และแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการส่งออก อาทิ ปัญหาด้านมาตรฐานการส่งออก ปัญหาด้านราคา และความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและโลจิสติกส์ของผลผลิตทางการเกษตร  ในการประชุมมีคณะทำงานด้านการตลาดระดับจังหวัด ตัวแทนจากภาคการศึกษา ผู้ประกอบการ ตัวแทนเกษตรกร ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุผลไม้จังหวัดชุมพร และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งหวังที่จะพัฒนาศักยภาพของสินค้าเกษตรหลักของจังหวัด โดยเฉพาะ "ทุเรียนจังหวัดชุมพร" ซึ่งเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูง เพื่อขยายโอกาสทางการตลาด เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร และยกระดับคุณภาพการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรให้สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติร่วมกับองค์กรภาครัฐและเอกชน  โดยมีนางสาวยุพาพร สวัสดี พาณิชย์จังหวัดชุมพร เป็นประธานในการประชุมในส่วนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านวิชาการ ทั้งการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าส่งออก โดยเน้นกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัย การบริการวิชาการ เพื่อเน้นพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานที่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคและการเพิ่มมูลค่าทางสินค้าการเกษตร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่ ถือเป็นหมายหนึ่งของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตามนโยบาย “เกษตรสุขภาวะ” โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน และส่งเสริมให้เกษตรกรทำผลผลิตที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน มีความปลอดภัย เพื่อส่งต่อสู่ผู้ผลิตทั้งภายในและต่างประเทศต่อไป
14 พฤษภาคม 2568     |      31
ม.แม่โจ้-ชุมพร ฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน รุ่นที่ 1/2568 หลักสูตร " 5 องค์ประกอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน"
วันอังคาร ที่ 6 พฤษภาคม 2568 อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร และรองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ดำเนินการจัดฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน รุ่นที่ 1/2568 หลักสูตร " 5 องค์ประกอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน" ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ณ อาคารบุญรอดศุภอุดมฤกษ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร โดยได้รับเกียรติจากผู้ตรวจราชการศึกษาธิการภาค 5 และศึกษาธิการจังหวัดชุมพร มอบหมายภารกิจแก่ คุณสรวีย์ แสงเงิน รองศึกษาธิการจังหวัดชุมพร เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมดังกล่าว และมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กล่าวให้กำลังใจแก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้แก่ ดร.อนุสิทธิ์ นามโยธา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชุมพร เขต 1 ,คุณเบญดาญาภา ฉัตรชัยพันธ์ ปฏิบัติหน้าที่แทน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชุมพร เขต 2 และนางมะลิวรรณ พรหมวิเศษ ปลัดอำเภอละแม ปฏิบัติหน้าที่แทนนายอำเภอ ทั้งนี้ มีผู้เข้าฝึกอบรมตัวแทนจากสถานศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร จำนวน 25 ท่าน 20 หน่วยงาน เพื่อสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ทางศูนย์ประสานงานได้เชิญ คุณมรกต วัชรมุสิก วิทยากรจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) พระราชวังสวนจิตรดา และ ได้รับความกรุณาจาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยดำเนินการฝึกอบรมตั้งแต่วันที่ 6 - 9 พฤษภาคม 2568
7 พฤษภาคม 2568     |      154