มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068

วันที่ 22 มกราคม 2568 เวลา 13.00 น. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดย อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯ ฝ่ายวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการ อาจารย์ ดร.จักกฤช ณ นคร รองคณบดีฯ ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีระนอง โดย อาจารย์ศิริพงศ์ เมียนเชร์  ผู้อำนวยการ อาจารย์สิทธิชัย เชนทร รองผู้อำนวยการ และอาจารย์เปรมวดี ศศิสุวรรณพงศ์ รองผู้อำนวยการ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงทำความร่วมมือ (MOA) ว่าด้วยความร่วมมือทางด้านการพัฒนาการศึกษา การพัฒนาบุคลากรและพัฒนางานวิจัย ณ ห้องประชุมวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีระนอง อำเภอระนอง จังหวัดชุมพร

การลงนามบันทึกข้อตกลงทำความร่วมมือ (MOA) ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือทางด้านวิชาการ การจัดการศึกษา อาทิ ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมและสนับสนุนนักศึกษา เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตลอดจนแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านงานวิจัย การพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร ตลอดจนพัฒนาหลักสูตรและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับทั้ง 2 สถาบันต่อไป

อย่างไรก็ตาม การลงนามบันทึกข้อตกลงทำความร่วมมือ MOA ดังกล่าว สืบเนื่องมาจาก มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ  MOU  เพื่อสร้างความร่วมมือทางการศึกษา วิจัย และพัฒนาบุคลากร ระหว่างสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 1 สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 2 สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 3 และสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา

พร้อมกันนี้ หลังเสร็จสิ้นพิธีลงนาม MOA ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู อาจารย์ ดร. จักรกฤช ณ นคร อาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ ดร.ณรงค์ โยธิน และนางสาวสายทอง สุจริยาพงศ์พร ได้ประชาสัมพันธ์หลักสูตรการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และแนะแนวการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2568 แก่นักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีระนอง ได้รับความสนใจจากนักศึกษาเป็นอย่างดี

 

ปรับปรุงข้อมูล : 23/1/2568 13:33:06     ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 674

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

ม.แม่โจ้-ชุมพร ฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน รุ่นที่ 1/2568 หลักสูตร " 5 องค์ประกอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน"
วันอังคาร ที่ 6 พฤษภาคม 2568 อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร และรองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ดำเนินการจัดฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน รุ่นที่ 1/2568 หลักสูตร " 5 องค์ประกอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน" ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ณ อาคารบุญรอดศุภอุดมฤกษ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร โดยได้รับเกียรติจากผู้ตรวจราชการศึกษาธิการภาค 5 และศึกษาธิการจังหวัดชุมพร มอบหมายภารกิจแก่ คุณสรวีย์ แสงเงิน รองศึกษาธิการจังหวัดชุมพร เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมดังกล่าว และมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กล่าวให้กำลังใจแก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้แก่ ดร.อนุสิทธิ์ นามโยธา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชุมพร เขต 1 ,คุณเบญดาญาภา ฉัตรชัยพันธ์ ปฏิบัติหน้าที่แทน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชุมพร เขต 2 และนางมะลิวรรณ พรหมวิเศษ ปลัดอำเภอละแม ปฏิบัติหน้าที่แทนนายอำเภอ ทั้งนี้ มีผู้เข้าฝึกอบรมตัวแทนจากสถานศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร จำนวน 25 ท่าน 20 หน่วยงาน เพื่อสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ทางศูนย์ประสานงานได้เชิญ คุณมรกต วัชรมุสิก วิทยากรจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) พระราชวังสวนจิตรดา และ ได้รับความกรุณาจาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยดำเนินการฝึกอบรมตั้งแต่วันที่ 6 - 9 พฤษภาคม 2568
7 พฤษภาคม 2568     |      110
อาจารย์ปณิดา กันถาด นำทีมนักวิจัยเข้าสำรวจเพื่อหาแนวทางพัฒนางานวิจัยในจังหวัดชุมพร
วันที่ 2-3 พฤษภาคม 2568 ที่ผ่านมา อาจารย์ปณิดา กันถาด  อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชศาสตร์ นำทีมนักวิจัย ประกอบด้วย ผศ.ดร.ศักดินันท์ นันตัง สาขาวิชานวัตกรรมเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ดร.สุทธิชัย บุญประสพ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ดร. ศิริวรรณ ณะวงษ์ หัวหน้าส่วนวิจัยด้านอาหารและการเกษตร และ ดร. นิชาดา เจียรนัยกูร นักวิทยาศาสตร์ ส่วนวิจัยด้านอาหารและการเกษตร ฝ่ายวิจัยและประยุกต์ใช้แสงซินโครตรอน สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) เข้าสำรวจเพื่อหาแนวทางในการพัฒนางานวิจัย ในพื้นที่จังหวัดชุมพร ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์ ตำบลถ้ำสิงห์ อำเภอเมืองกลุ่มทุเรียนแปลงใหญ่ตำบลถ้ำสิงห์ ตำบลถ้ำสิงห์ อำเภอเมืองกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด ผู้ผลิต "กล้วยหอมทองละแม" อำเภอละแม  และ P.COA Cafe' คาเฟ่โกโก้ พีโก้ ชุมพร ตลาดชุมชนหลังสวน ตำบลวังตะกอ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
7 พฤษภาคม 2568     |      23