มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร แต่ละชั้นปีเรียนอะไรบ้าง? 

ปี 1 : สามารถอธิบายการใช้เครื่องมือทางด้านวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ทางทะเลและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

  • เรียนปรับพื้นฐานรายวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ อธิบายความรู้ด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมสุขภาวะ ความเป็นพลเมืองดิจิทัล การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
  • เรียนรู้หลักการพื้นฐานของการปฎิบัติงานฟาร์มประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

ปี 2 :สามารถอธิบายความรู้และเข้าใจทักษะทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

  • เรียนรู้หลักการวิเคราะห์คุณภาพน้ำเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เข้าใจนิเวศวิทยาทางทะเล และสมุทรศาสตร์เพื่อการประมง
  • รู้จักกับปลาและสัตว์น้ำชนิดต่างๆ ผ่านรายวิชามีนวิทยา
  • ร่วมด้วยวิชาชีววิทยาของกุ้ง ปู และหอยทะเล
  • เพื่อให้สามารถเข้าใจหลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเบื้องต้น

ปี 3 : สามารถวิเคราะห์ แก้ปัญหาและถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสัตว์น้ำชายฝั่งอย่างมีประสิทธิภาพ

  • เรียนรู้หลักการเพาะเลี้ยงแพลงก์ตอน เพื่อการเพาะเลี้ยงและการอนุบาลลูกสัตว์น้ำชายฝั่ง
  • เข้าใจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล การคำนวณสูตรและการผลิตอาหารและโภชนาการสัตว์น้ำ
  • หลักและวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคในสัตว์น้ำ
  • เข้าใจระเบียบวิธีวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อนำไปสู่การทำวิจัยพื้นฐาน

ปี 4 : สามารถเลือกแนวทางในการเป็นผู้ประกอบการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งยังมีจริยธรรม

  • ปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในสถานประกอบการจริงทั้งในและต่างประเทศ
  • เรียนรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากทรัพยากรทางทะเลและนวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าทรัพยากรประมงเพื่อเศรษฐกิจ BCG
  • เรียนรู้นวัตกรรมระบบน้ำหมุนเวียนเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำ กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการประมง รวมถึงการจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ปรับปรุงข้อมูล : 27/11/2567 15:32:31     ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 366

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวด้านการศึกษา

ข่าวล่าสุด

ยินดีต้อนรับอินทนิลช่อที่ 90 เข้าสู่ครอบครัว "แม่โจ้-ชุมพร"
ถึง...ลูกๆ อินทนิลช่อที่ 90 ทุกคนในนามของผู้คณะบริหาร คณาจารย์ และบุคลากร ขอต้อนรับน้องๆนักศึกษาใหม่ เข้าสู่ครอบครัว “มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร”มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต" เราพร้อมดูแลนักศึกษาทั้งทางวิชาการและวิชาชีวิต ให้นักศึกษา รู้จักคิด วิเคราะห์ รับผิดชอบ ขยัน อดทน สู้งาน รู้คุณค่าและภาคภูมิในในตนเอง อันจะนำไปสู่การเป็นบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรมในอนาคตต่อไปขอให้นักศึกษาตั้งใจเรียน รับผิดชอบต่อหน้าที่ ค่อยๆเรียนรู้ ค่อยๆเติบโต ปรับตัวและใช้ชีวิตในมหาลัยอย่างมีความสุข บ้านหลังนี้พร้อมซัพพอร์ตอยู่เคียงข้างและเป็นกำลังใจให้เสมอ...ตลอดไป
19 มิถุนายน 2568     |      10
บรรยากาศรายงานตัวนักศึกษาใหม่ ม.แม่โจ้-ชุมพร คึกคัก คณบดี นำทีม “ ต้อนรับอินทนิลช่อที่ 90 “ สู่บ้านหลังที่ 2 อย่างอบอุ่น
วันที่ 13 มิถุนายน 2568 เวลา 08.00 น. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร รับรายงานตัวนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2568 พร้อมกับรายงานตัวเข้าหอพัก สำหรับนักศึกษาที่มีความประสงค์พักหอในมหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมอาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมผู้บริหาร บุคลากร นักศึกษา ให้การต้อนรับเข้าสู่บ้านหลังที่ 2 บรรยากาศเป็นไปด้วยความคึกคักและอบอุ่น และในช่วงบ่ายเวลา 13.30 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร รองคณบดีฯ ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯ ฝ่ายวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการ กล่าวต้อนรับนักศึกษาใหม่และประชุมผู้ปกครอง ณ ห้อง Slope ชั้น 2 อาคารแม่โจ้ 80 ปี พร้อมกันนี้ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี และนายสานิตย์ แป้นเหลือ ได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนานักศึกใหม่ เสริมสร้างอัตลักษณ์ลูกแม่โจ้ เพื่อให้ผู้ปกครองและนักศึกษาเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวอย่างไรก็ตาม นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จะเดินทางไปร่วมกิจกรรมพัฒนานักศึกใหม่ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ในระหว่างวันที่ 15-22 มิถุนายน 2568 โดยจะมีอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วยนายสานิตย์ แป้นเหลือ นักวิชาการศึกษา และนางสาวศุจินธร รัตนิพนธ์ นักวิชาการศึกษา และนายณพพล วิเชียร ดูแลนักศึกษาระหว่างเดินทางและตลอดการเข้าร่วมกิจกรรม
16 มิถุนายน 2568     |      31
ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ลงพื้นที่ติดตามสถานที่ก่อสร้างศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
วันที่ 13 มิถุนายน 2568 เวลา 17.00 น. นายเธียรชัย ชูกิตติวิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร พร้อมด้วย นายเอนก ชำนาญนา นายอำเภอละแม และนายนันทภพ เอื้ออารี สมาชิกสภา จังหวัดชุมพร เขต 1 ละแม ลงพื้นที่ดูสถานที่และติดตามความก้าวหน้าในการวางแผนก่อสร้างก่อสร้างศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพรอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี อาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร รองคณบดีฯ ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ ผศ.ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯ ฝ่ายวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการ ดร.ณรงค์ โยธิน หัวหน้างานนโยบาย ต้อนรับและนำดูสถานที่ และรายงานความพร้อมด้านพื้นที่สำหรับก่อสร้าง โดยได้กันพื้นที่บริเวณด้านหน้าไว้แล้ว มหาวิทยาลัยพร้อมให้การสนับสนุนการก่อสร้างดังกล่าว 
16 มิถุนายน 2568     |      31