มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร แต่ละชั้นปีเรียนอะไรบ้าง? 

ปี 1 : สามารถอธิบายการใช้เครื่องมือทางด้านวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ทางทะเลและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

  • เรียนปรับพื้นฐานรายวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ อธิบายความรู้ด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมสุขภาวะ ความเป็นพลเมืองดิจิทัล การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
  • เรียนรู้หลักการพื้นฐานของการปฎิบัติงานฟาร์มประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

ปี 2 :สามารถอธิบายความรู้และเข้าใจทักษะทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

  • เรียนรู้หลักการวิเคราะห์คุณภาพน้ำเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เข้าใจนิเวศวิทยาทางทะเล และสมุทรศาสตร์เพื่อการประมง
  • รู้จักกับปลาและสัตว์น้ำชนิดต่างๆ ผ่านรายวิชามีนวิทยา
  • ร่วมด้วยวิชาชีววิทยาของกุ้ง ปู และหอยทะเล
  • เพื่อให้สามารถเข้าใจหลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเบื้องต้น

ปี 3 : สามารถวิเคราะห์ แก้ปัญหาและถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสัตว์น้ำชายฝั่งอย่างมีประสิทธิภาพ

  • เรียนรู้หลักการเพาะเลี้ยงแพลงก์ตอน เพื่อการเพาะเลี้ยงและการอนุบาลลูกสัตว์น้ำชายฝั่ง
  • เข้าใจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล การคำนวณสูตรและการผลิตอาหารและโภชนาการสัตว์น้ำ
  • หลักและวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคในสัตว์น้ำ
  • เข้าใจระเบียบวิธีวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อนำไปสู่การทำวิจัยพื้นฐาน

ปี 4 : สามารถเลือกแนวทางในการเป็นผู้ประกอบการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งยังมีจริยธรรม

  • ปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในสถานประกอบการจริงทั้งในและต่างประเทศ
  • เรียนรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากทรัพยากรทางทะเลและนวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าทรัพยากรประมงเพื่อเศรษฐกิจ BCG
  • เรียนรู้นวัตกรรมระบบน้ำหมุนเวียนเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำ กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการประมง รวมถึงการจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ปรับปรุงข้อมูล : 27/11/2567 15:32:31     ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 194

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวด้านการศึกษา

ข่าวล่าสุด

สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมศักยภาพเครือข่ายเด็กและเยาวชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2568
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมศักยภาพเครือข่ายเด็กและเยาวชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2568 เพื่อเสริมศักยภาพเครือข่ายเด็กและเยาวชนในการดำเนินโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ โดย กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้กลุ่มเป้าหมายจำนวน 200 คน ประกอบด้วย นักศึกษาและคณาจารย์จากสถาบันการศึกษาทั่วทุกภูมิภาค จากกว่า 70 สถาบันการศึกษา พร้อมทั้งเข้าร่วมแลกเปลี่ยนโครงการ/กิจกรรมของเครือข่ายเด็กและเยาวชนด้านสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2568 ระหว่างวันที่ 28 มกราคม – 30 มกราคม พ.ศ. 2568 ณ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรุงเทพมหานคร และ โรงแรมชาโต เดอ เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
3 กุมภาพันธ์ 2568     |      44
นักศึกษาสาขาวิชาพืชศาสตร์ ลงพื้นที่เก็บข้อมูลวิจัย ณ แปลงโครงการไผ่เพื่อน้อง ม.แม่โจ้-ชุมพร
เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2568 อาจารย์ ดร. จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์ และที่ปรึกษาโครงการวิจัย นำนักศึกษาสาขาวิชาพืชศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ลงแปลงปลูกไผ่ ณ แปลงโครงการไผ่เพื่อน้อง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร เพื่อฝึกเก็บข้อมูลงานวิจัยเรื่อง ผลของสารอาหารพืชที่มีส่วนประกอบของน้ำมันปลาทะเลต่อการเจริญเติบโตของไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้งเบอร์ 9 โดยมีว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตร สังกัดงานบริการวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร เป็นผู้รับผิดชอบโครงการวิจัยทั้งนี้ งานวิจัยดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนจากจากบริษัทอุตสาหกรรม เทคโนโลยีชีวภาพ (ประเทศไทย) จำกัด สนับสนุนระบบการให้น้ำโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์
30 มกราคม 2568     |      64