มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068

      วันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชุมพร อาจารย์วิชชุดา  เอื้ออารี รองคณบดีฯ ฝ่ายกิจการพิเศษ และ อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์  วิชาสวัสดิ์ ประธานอาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชาพืชศาสตร์  ได้รับมอบหมายจาก คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ให้เข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณากำหนดแนวทางการนำแพลตฟอร์มดิจิทัลมาใช้งานเพื่อการผลิตทุเรียนชุมพร ณ ศาลากลางจังหวัดชุมพร อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร โดยมีนายธราพงษ์ มีมุสิทธิ์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดชุมพร เป็นประธานในที่ประชุมดังกล่าว พร้อมด้วยผู้บริหารส่วนงานต่างๆ อาทิ เกษตรจังหวัดชุมพร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชุมพร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดชุมพร ประธานหอการค้าจังหวัดชุมพร ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินชุมพร พาณิชย์จังหวัดชุมพร

      ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือการจัดฝึกอบรมแนวทางการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับผลิตทุเรียนคุณภาพ ในโครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตทุเรียนชุมพรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม อบรมให้กับเกษตรกรชาวสวนทุเรียนทั้งทุเรียนแปลงใหญ่ และรายย่อย กลุ่มเป้าหมายจำนวน 440 คน และหลักเกณฑ์การคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ ของสำนักงานสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชุมพร ทั้งนี้ เพื่อให้จังหวัดชุมพร เป็นแหล่งผลิตทุเรียนชุมพรที่มีคุณภาพสูง ตามมาตรฐาน GAP

 

ปรับปรุงข้อมูล : 26/11/2567 16:01:31     ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 169

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยัง โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พศ. 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มอบหมายให้อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร นายชัยวิชิต เพชรศิลา หัวหน้างานบริการวิชาการและวิจัย ว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตร พร้อมด้วยนางสาวสุนิดา อนุการ นักวิชาการโครงการสาธิตการปลูกพืชผัก พืชไร่ และไม้ผลแบบประณีต พื้นที่ 10.5 ไร่ ในพื้นที่โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ และนางสาวพัทธวรรณ สมจริง ผู้ช่วยนักวิชาการ ร่วมรับเสด็จดร.ฐิระ ทองเหลือ ได้กราบบังคมทูลถวายผลผลิตในโครงการสาธิตการปลูกพืชผัก พืชไร่ และไม้ผลแบบประณีตฯ เช่น อาโวคาโด (สายพันธุ์บัคคาเนีย) ลำไย (สายพันธุ์สีชมพู) ต้นและผลของโทะ (จำนวน 22 ต้น) อย่างไรก็ดี ลำไยสีชมพู ลำไยเบี้ยวเขียว และพืชผักชนิดต่างๆวางจำหน่ายในร้านจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์โครงการชั่งหัวมันฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตรัสถามเจ้าหน้าที่ในร้านว่าลำไยเบี้ยวเขียวกับลำไยสีชมพูมาอยู่ที่โครงการชั่งหัวมันได้อย่างไรโอกาสนี้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตรัสเกี่ยวกับต้นโทะว่า “ไม่เห็นนานแล้วตอนเด็กๆเคยกิน และ ไม่ได้กินนานแล้ว ว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ ได้กราบบังคมทูลถวายรายงานการสร้างแปลงอนุรักษ์ต้นโทะของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชุมพร ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (อพสธ) อย่างไรก็ดีการได้รับเสด็จในครั้งนี้ได้สร้างแรงบันดาลใจการทำงานด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ให้มีความก้าวหน้าสืบไป 
5 กรกฎาคม 2568     |      29