มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมประชุมแบบออนไลน์ เพื่อแสวงหาแนวทางบูรณาการในการปฏิบัติการร่วมระหว่างสำนักงานพาณิชย์จังหวัดชุมพร และคณาจารย์ในหลักสูตร รวมถึงเครือข่ายสถาบันการศึกษา ภายใต้การพัฒนาและยกระดับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้อย่างยั่งยืนแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน SEC ทั้งนี้การประชุมดังกล่าว นำไปสู่แนวทางในการปฎิบัติการร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมกันยกระดับ/หนุนเสริมผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการเติบโตไปพร้อมๆกัน (ประโยชน์ร่วม) ดังนี้

  1. การมีส่วนร่วมในการสนับสนุนทรัพยากร เช่น บุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ เป็นต้น โดยเฉพาะทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานที่มีบทบาท หน้าที่ และอำนาจในการตัดสินใจ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาองค์กรชุมชนและเครือข่าย การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของผู้ประกอบการทุกระดับ และสอดคล้องตามพันธกิจของหน่วยงานนั้นๆ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนกลไกกลางให้เกิดความยั่งยืนตั้งแต่ระดับพื้นที่ ระดับจังหวัด ระดับระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ จนถึงระดับสากล
  2. ส่งเสริมการจับคู่ธุรกิจ/เจรจาธุรกิจ ซึ่งโครงการ/กิจกรรมดังกล่าวเป็นหนึ่งในนโยบายและพันธกิจของหน่วยงานภาคีเครือข่าย ดังนั้นหากมีการบูรณาการทรัพยากรในการทำงานร่วมกัน เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด เช่น ขนาด จำนวนครั้ง ฐานข้อมูลคู่ค้า เป็นต้น
  3. การพัฒนาด้วยนวัตกรรม วิจัย และเทคโนโลยี สอดคล้องตามความต้องการของผู้ประกอบการโดยดำเนินผ่านกลไกทั้ง 2 ระดับแบบคู่ขนานคือระดับโครงการ SEC และระดับหน่วยงานย่อยภายในมหาวิทยาลัยในเครือข่าย
  4. การพัฒนาด้านการจัดจำหน่ายผ่าน PLATFORM ต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ
  5. หนุนเสริมกลไกกลางสามารถบริหารจัดการให้เกิดองค์กรภาคีเครือข่ายให้เกิดความเข้มแข็งแบบพี่ดูแลน้อง เพื่อนดูแลกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง จะส่งผลให้เกิดอำนาจและความสามารถในการต่อรอง เสริมสร้างพลังในการหนุนเสริมกันและกัน การส่งต่อ-การบอกต่อสินค้าและผลิตภัณฑ์ซึ่งกันและกันภายใต้ระบบฐานข้อมูลที่เป็นรูปธรรม หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงด้านระเบียบ เกณฑ์มาตรฐาน ที่เอื้อ ส่งเสริม ควบคุม สร้างโอกาส เป็นต้น แก่พี่-น้องภาคีเครือข่าย

โดยสรุป การประชุมดังกล่าว นำไปสู่แนวทางในการปฎิบัติการร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมกันยกระดับ/หนุนเสริมผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการเติบโตไปพร้อมๆกัน (ประโยชน์ร่วม)  เช่น การมีส่วนร่วมในการสนับสนุนทรัพยากร เช่น บุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ เป็นต้น โดยเฉพาะทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานที่มีบทบาท หน้าที่ และอำนาจในการตัดสินใจ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาองค์กรชุมชนและเครือข่าย การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของผู้ประกอบการทุกระดับ และสอดคล้องตามพันธกิจของหน่วยงานนั้นๆ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนกลไกกลางให้เกิดความยั่งยืนตั้งแต่ระดับพื้นที่ ระดับจังหวัด ระดับระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ จนถึงระดับสากลต่อไป

 

ปรับปรุงข้อมูล : 26/11/2567 15:58:50     ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 134

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

อ.วิชชุดา เอื้ออารี เข้าร่วมประชุม ศอ.ปส.จ.ชพ. ติดตามสถานการณ์ยาเสพติดในพื้นที่
วันที่ 27 มิถุนายน 2568 อาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี รองคณบดีฯ ฝ่ายกิจการพิเศษ เข้าร่วมประชุมที่ปรึกษา คณะกรรมการอำนวยการ คณะอนุกรรมการ ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดชุมพร (ศอ.ปส.จ.ชพ.) ครั้งที่ 6/2568 ณ ห้องประชุมเกาะเสม็ด ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดชุมพร โดยมีว่าที่ร้อยตรี กิตติภพ รอดดอน รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานการประชุมที่ประชุมได้ติดตามสถานการณ์ยาเสพติดในพื้นที่ภาคใต้, และสรุปสถานการณ์ยาเสพติดจังหวัดชุมพร,ผลปฏิบัติการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดชุมพร รวมถึงผลการดำเนินงานของทั้ง 8 อำเภอ, การดำเนินงานของสาธารณสุขจังหวัดชุมพร,การดำเนินงานของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดชุมพร,และการดำเนินงานของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชุมพร ในด้านการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด ภาพ ข่าว : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดชุมพร
30 มิถุนายน 2568     |      12
ม.แม่โจ้-ชุมพร สุดคึกคัก!! ต้อนรับคณะครู นักเรียน รร.ละแมวิทยา Workshop สอนการเพิ่มมูลค่าปูม้า
วันที่ 27 มิถุนายน 2568 คณาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมต้อนรับคณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนละแมวิทยาจำนวน 47 คน ในการเข้าเยี่ยมชมและศึกษาเรียนรู้ ณ ฐานการเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ทางทะเล และธนาคารปูม้า ฐานเรียนรู้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งโดยมีกิจกรรม Workshop สอนการทำเค้กปูม้า และการทำสลัดโรลปูม้าสาหร่ายพวงองุ่น ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าปูม้า ตลอดจนเรียนรู้เกี่ยวกับการทำธนาคารปูม้าเพื่อปล่อยคืนสู่ทะเลไทย ได้รับความสนใจจากคณะครูและนักเรียนเป็นอย่างมากอย่างไรก็ตามกิจกรรมดังกล่าว เป็นการบูรณาการด้านการเรียนการสอนนอกห้องเรียนกับรายวิชา “การเพาะเลี้ยงปูม้าและการอนุรักษ์สอนโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุทธนา สว่างอารมย์
29 มิถุนายน 2568     |      18
อ.วิชชุดา เอื้ออารี เข้าร่วมกิจกรรม “Stop Drugs, Start Power สร้างพลังไทย หยุดภัยยาเสพติด” เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก
วันที่ 26 มิถุนายน 2568 อาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี รองคณบดีฯ ฝ่ายกิจการพิเศษ เข้าร่วมกิจกรรม “Stop Drugs, Start Power สร้างพลังไทย หยุดภัยยาเสพติด”  เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก 26 มิถุนายน ประจำปี 2568  จัดโดยศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดชุมพร โดยมีนายเธียรชัย ชูกิตติวิบูลย์ ผู้ว่าราชการ นำข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักเรียน นักศึกษา และเจ้าหน้าที่ๆเกี่ยวข้อง ประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านยาเสพติดและอ่านสารเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก กิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาล กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ในการยืนยันเจตนารมณ์ที่จะร่วมกับประชาคมโลก ในการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด โดยเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชาติทุกภาคส่วน และแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ภายใต้กรอบแนวคิด “Stop Drugs, Start Power สร้างพลังไทย หยุดภัยยาเสพติด” ณ หอประชุมจังหวัดชุมพร ศูนย์ราชการจังหวัดชุมพร
27 มิถุนายน 2568     |      11449
ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน เป็นวิทยากรบรรยาย โครงการอบรมและส่งเสริมกิจกรรม ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุเทศบาลเมืองหัวหิน
อาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ได้รับเกียรติจากเทศบาลนครหัวหิน เชิญเป็นวิทยากรบรรยาย โครงการอบรมและส่งเสริมกิจกรรม  ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุเทศบาลเมืองหัวหิน เรื่อง “การทำตลาดเชิงสร้างสรรค์ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้” ในระหว่างวันที่ 19-20 มิถุนายน 2568 ณโรงแรมโกลเด้นซีหัวหิน ตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ซึ่งของโครงการในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมโครงการกว่า 50 คน  พร้อมกันนี้ได้ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
27 มิถุนายน 2568     |      18