มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068

วันที่ 23 กรกฏาคม 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้อง 204 (อาคารแม่โจ้ 80 ปี)  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯฝ่ายวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมปฎิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน รุ่นที่ 1/2567 หลักสูตร “5 องค์ประกอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน”  โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสง หัวหน้าโครงการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การอบรม และมีผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ในพื้นที่จังหวัดชุมพร จำนวน 9 โรงเรียน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 1 โรงเรียน และกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 วิทยาลัย  เข้าร่วมกว่า 23 คน

พร้อมกันนี้ นางสาวสุภัคกมล ชินวงค์ ศึกษาธิการจังหวัดชุมพร กล่าวต้อนรับและให้กำลังใจแก่ผู้เข้าอบรม  “โดยให้มุ่งมั่น ตั้งใจ ร่วมกันคิด ร่วมกันปฎิบัติ  เพื่อขับเคลื่อนงานสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ทรัพยากรชีวภาพ กายภาพในท้องถิ่นของตน ตลอดจนนำองค์ความรู้ที่ได้รับ ไปเสริมสร้างการเรียนรู้ของนักเรียน เยาวชน และสังคม สืบสานพระราชปณิธาน รักษาฐานทรัพยากรแผ่นดิน ต่อไป”

จากนั้น พ.ต.ท. ไพโรจน์ นิลรัตน์ ผู้บังคับกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 41 นายวิบูลย์ เกลี้ยงสงค์ ปลัดอำเภอละแม และนายมาโนช ชูสำราญ ประธานศูนย์เครือข่ายอำเภอละแม กล่าวต้อนรับและให้กำลังใจแก่ผู้เข้าอบรม

ทั้งนี้ การอบรมมีทั้งบรรยายและฝึกปฎิบัติ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-26 กรกฏาคม 2567 โดยวิทยากร นายมรกต วัชระมุสิก เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) สำนักพระราชวัง สวนจิตรลดา และทีมวิทยากรโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช  ทั้งนี้  5 องค์ประกอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ประกอบด้วย

    องค์ประกอบที่ 1 : การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้

    องค์ประกอบที่ 2 : การรวบรวมพันธุ์ไม้เข้าปลูกในโรงเรียน

    องค์ประกอบที่ 3 : การศึกษาข้อมูลต่างๆ

    องค์ประกอบที่ 4 : การรายงานผลการเรียนรู้

    องค์ประกอบที่ 5 : การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา

อย่างไรก็ตาม การอบรมปฎิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน รุ่นที่ 1/2567 หลักสูตร “5 องค์ประกอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน”  มีวัตถุประสงค์ เพื่อร่วมสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีการจัดการทรัพยากรที่สมดุล เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันจะนำไปสู่แหล่งรวบรวมพันธุ์พืชชนิดต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนสนับสนุนการอนุรักษ์ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ นำไปสู่การพัฒนาบนพื้นฐานคุณธรรม เพื่อประโยชน์ของสังคม และประเทศชาติต่อไป

 

ปรับปรุงข้อมูล : 26/7/2567 21:43:17     ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 273

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

ประชาสัมพันธ์หลักสูตรการดำน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
 "อยากดำน้ำแบบมือโปร!! เรามีหลักสูตรที่ใช่สำหรับคุณ " มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเรียนดำน้ำ หลักสูตรระยะสั้น ตอบโจทย์ Lifestyle ที่พร้อมให้คุณสัมผัสโลกใต้น้ำอันสวยงาม กับครูสอนดำน้ำมืออาชีพ เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี  สามารถเลือกหลักสูตรได้ตาม Lifestyle  เปิดสอนตามมาตรฐานของสมาคมดำน้ำสากล (PADI) ดังนี้      1. Discover Scuba Diving     (2 วัน ราคา 5,000 บาท)      2. Open Water Diver           (4 วัน ราคา 14,000 บาท)      3. Advanced Open Water     (2 วัน ราคา 11,000 บาท)      4. Emergency First Responder (1 วัน ราคา 4,500 บาท)      5. Rescue Diver                  (3 วัน ราคา 15,000 บาท)      6. Dive Master (DM)           (8 วัน ราคา 25,000 บาท)      7. Reactivate™                   (1 วัน ราคา 2,500 บาท)      8. Specialties Diver ระยะเวลาในการเรียน ขึ้นอยู่กับหลักสูตร (ราคา 2,500 บาท)สัมผัสประสบการณ์ดำน้ำที่เหนือกว่าไปกับเรา : 0805359909, ครูตั้ม Line ID : redfinรายละเอียดหลักสูตร :https://maejo.link/4kRf
7 ตุลาคม 2567     |      17
กิจกรรม “ดีต่อใจ ดีต่อสิ่งแวดล้อม” “1 Day Trip in Lamae” สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ
วันที่ 27 กันยายน 25ุ67 สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ จัดกิจกรรม ดีต่อใจ ดีต่อสิ่งแวดล้อม”  “1 Day Trip in Lamae” ณ บ้านสวนภูวรินทร์ สวนนางฟ้ากลางป่าไผ่ บ้านสวนแม่พร และคาเฟ่บ้านสวน สวนจุฑาวดี โดยเป็นการจัดกิจกรรมภายใต้แนวคิด "การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์” (carbon neutral tourism) เริ่มต้นสิ่งดีๆ เริ่มต้นที่ตัวเรา ดังนี้วัด ปริมาณคาร์บอนฟุตปริ้นท์ ก่อนการเดินทางลด สิ่งต่างๆ ภายในเส้นทางที่สร้างคาร์บอนฟุตปริ้นท์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ชดเชย พยายามลดคาร์บอนฟุตปริ้นท์แล้ว แต่ยังคงเหลืออยู่ ก็ชดเชย ด้วยการสนับสนุนเงินทุนในการทำดีเพื่อสิ่งแวดล้อมไปกับการซื้อ คาร์บอนเครดิต พร้อมด้วยทำกิจกรรมการขยายพันธุ์ไม้ในการเดินทางครั้งนี้ทั้งนี้ ดูแลและควบคุมการจัดกิจกรรมโดย อาจารย์ ดร.จุฑามาส เพ็งโคนา รายวิชา กบ430 การจัดการธุรกิจนำเที่ยว บูรณาการความรู้จากงานวิจัยสู่การเรียนการสอน สร้างกำลังใจและบริการความรู้แก่ชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
5 ตุลาคม 2567     |      33