มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068

วันที่ 23 กรกฏาคม 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้อง 204 (อาคารแม่โจ้ 80 ปี)  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯฝ่ายวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมปฎิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน รุ่นที่ 1/2567 หลักสูตร “5 องค์ประกอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน”  โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสง หัวหน้าโครงการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การอบรม และมีผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ในพื้นที่จังหวัดชุมพร จำนวน 9 โรงเรียน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 1 โรงเรียน และกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 วิทยาลัย  เข้าร่วมกว่า 23 คน

พร้อมกันนี้ นางสาวสุภัคกมล ชินวงค์ ศึกษาธิการจังหวัดชุมพร กล่าวต้อนรับและให้กำลังใจแก่ผู้เข้าอบรม  “โดยให้มุ่งมั่น ตั้งใจ ร่วมกันคิด ร่วมกันปฎิบัติ  เพื่อขับเคลื่อนงานสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ทรัพยากรชีวภาพ กายภาพในท้องถิ่นของตน ตลอดจนนำองค์ความรู้ที่ได้รับ ไปเสริมสร้างการเรียนรู้ของนักเรียน เยาวชน และสังคม สืบสานพระราชปณิธาน รักษาฐานทรัพยากรแผ่นดิน ต่อไป”

จากนั้น พ.ต.ท. ไพโรจน์ นิลรัตน์ ผู้บังคับกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 41 นายวิบูลย์ เกลี้ยงสงค์ ปลัดอำเภอละแม และนายมาโนช ชูสำราญ ประธานศูนย์เครือข่ายอำเภอละแม กล่าวต้อนรับและให้กำลังใจแก่ผู้เข้าอบรม

ทั้งนี้ การอบรมมีทั้งบรรยายและฝึกปฎิบัติ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-26 กรกฏาคม 2567 โดยวิทยากร นายมรกต วัชระมุสิก เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) สำนักพระราชวัง สวนจิตรลดา และทีมวิทยากรโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช  ทั้งนี้  5 องค์ประกอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ประกอบด้วย

    องค์ประกอบที่ 1 : การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้

    องค์ประกอบที่ 2 : การรวบรวมพันธุ์ไม้เข้าปลูกในโรงเรียน

    องค์ประกอบที่ 3 : การศึกษาข้อมูลต่างๆ

    องค์ประกอบที่ 4 : การรายงานผลการเรียนรู้

    องค์ประกอบที่ 5 : การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา

อย่างไรก็ตาม การอบรมปฎิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน รุ่นที่ 1/2567 หลักสูตร “5 องค์ประกอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน”  มีวัตถุประสงค์ เพื่อร่วมสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีการจัดการทรัพยากรที่สมดุล เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันจะนำไปสู่แหล่งรวบรวมพันธุ์พืชชนิดต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนสนับสนุนการอนุรักษ์ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ นำไปสู่การพัฒนาบนพื้นฐานคุณธรรม เพื่อประโยชน์ของสังคม และประเทศชาติต่อไป

 

ปรับปรุงข้อมูล : 26/7/2567 21:43:17     ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 259

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปลูกต้นไม้พระราชทาน
      สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานต้นพลองใหญ่ ให้แก่จังหวัดชุมพร ภายใต้โครงการ “พระราชทานต้นพลองใหญ่คืนสู่ถิ่นกำเนิด” เพื่อเป็นการ สืบสาน รักษา และต่อยอด จากต้นพลองใหญ่ ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงปลูก ณ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2535 (ต้นไม้ทรงโปรด)      วันที่ 6 กันยายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดี และรองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร พร้อมด้วยบุคลากร ร่วมปลูกต้นพลองใหญ่ ณ แปลงปลูกอนุรักษ์พันธุกรรมพืช มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร โดยปลูกต้นพลองใหญ่ในบริเวณเดียวกับการปลูกต้นรวงผึ้ง เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 และในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2567 อีกทั้งยังเป็นงานสนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)      อย่างไรก็ดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะได้มีการศึกษาการใช้ประโยชน์จากต้นพลองใหญ่ต่อไป
6 กันยายน 2567     |      23
ขอเชิญร่วมส่งกำลังใจให้ผู้เข้าประกวด ดาว เดือน 2024 ม.แม่โจ้-ชุุมพร และโหวดรางวัล Social Awards
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ขอเชิญทุกท่าน ร่วมส่งกำลังใจให้ผู้เข้าประกวดทั้ง 12 หมายเลข ที่จะคว้ารางวัล Social Awards และจะเป็นหนึ่งบนเวที การประกวดค้นหาดาวและเดือน 2024 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ในวันเสาร์ ที่ 14 กันยายน 2567 ณ ลานใต้ตึก80 ปี สามารถโหวตแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 13 กันยายน 2567 เวลา 12.00 น. (การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด)กติกาการโหวต      * กดลิงค์ https://www.facebook.com/profile.php?id=61565122224159      * กด Like ใต้ภาพของผู้เข้าประกวดที่ชื่นชอบ      ( 1 การกด Like = 1 คะแนน )      ( 1 การกดแชร์ = 2 คะแนน )รายชื่อผู้เข้าประกวดทั้ง 12 หมายเลข    G01 นางสาวกนกกาญจน์ บุญนุ่ม (ฟองเบียร์)    G02 นางสาวมัณฑนา พุ่มขจร (กาตอง)    G03 นางสาวณัฐชยา อุดมรัตน์ (เฟียส)    G04 นางสาวจุทารัตน์ ทองวัง (แพรว)    G05 นางสาวรัชนาภร ประทีป ณ กลาง (ใบมิ้นท์)    G06 นางสาวมรรัตน์ บูและ (โอวันติน)    M01 นายชุติภาส เครื่องแตง (สล็อต)    M02 นายวรพล พวงจันทร์ (ต้าวหยอย)    M03 นายวีรวัฒน์ จุลถาวร (กาย)    M04 นายยุทธิพงศ์ บางยับยิ่ว (ต้นน้ำ)    M05 นายรวยถาวร ครุชสินธุ์ (โอ๊บ)    M06 นายสุรนัย รอดเพชร (อิง)
6 กันยายน 2567     |      19
กรรมการผู้จัดการบริษัท วีไอพี อินเตอร์ กรุ๊ป เข้าพบอธิการบดี สร้างความร่วมมือผลิตเห็ดคุณภาพสูงเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาวิจัย และบริการวิชาการ
วันที่ 6 กันยายน  2567  นายสุเมศวร์  เสนชู  กรรมการผู้จัดการบริษัท วีไอพี  อินเตอร์ กรุ๊ป  และผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร.สุนทร พิพิธแสงจันทร์ ที่ปรึกษาบริษัทฯ  เข้าพบรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา  อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้  รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์  ศรีเงินยวง รองอธิการบดี ดร.ขุนศรี ทองย้อย นายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในการทำความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการพัฒนาการเกษตรอัจฉริยะร่วมกัน  โดยจะเริ่มต้นที่การผลิตเห็ดคุณภาพสูงในระบบเกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFORM)  ในพื้นที่เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร  เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้  ศึกษาวิจัย และบริการวิชาการแก่ทั้ง 2 องค์กรต่อไป
6 กันยายน 2567     |      25