มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068

      วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 12.25 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2565-2566 (ครั้งที่ 46) เป็นวันแรก ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

      โดยมีบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต เข้ารับมอบปริญญาบัตร จำนวน 1,033 ราย แยกเป็นระดับบัณฑิตศึกษา (ป.โท - ป.เอก) จำนวน 116 ราย และระดับปริญญาตรี 917 ราย  จากคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ คณะบริหารธุรกิจ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

      ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มีการจัดการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ ทั้งหลักสูตร 4 ปี และหลักสูตร 4 ปี เทียบเข้าเรียน 5 สาขาวิชา ดังนี้

      1.สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

      2.สาขาวิชาพืชศาสตร์

      3.สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ

      4.สาขาวิชาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ

      5.สาขาวิชาการเมืองและการปกครองท้องถิ่น

      อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กำลังเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 สามารถดูรายละเอียกการสมัครและสมัครออนไลน์ที่ https://admissions.mju.ac.th 

ปรับปรุงข้อมูล : 19/2/2567 16:23:18     ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 482

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวด้านการศึกษา ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

แม่โจ้ – ชุมพร จับมือ สถาบันอาชีวศึกษาและภาคีเครือข่าย สร้างความร่วมมือทางการศึกษา วิจัยและพัฒนาบุคลากร
      วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รักษาการแทนรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) เพื่อสร้างความร่วมมือทางการศึกษา วิจัย และพัฒนาบุคลากร กับสถาบันการอาชีวศึกษาและภาคีเครือข่าย จาก 4 จังหวัดในภาคใต้ คือ นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา และ ภูเก็ต จำนวน 6 หน่วยงาน ดังนี้       1.สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 1 โดย ว่าที่ร้อยตรีกิตติ บรรณโศภิษฐ์ ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 1 เป็นแทนผู้ลงนาม       2.สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 2 โดย นายธิติวัชร์ ไพศาลกิจสงวน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนายุทธศาสตร์และความร่วมมืออาชีวศึกษา เป็นผู้แทนลงนาม      3.สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ โดย นายวิศวะ คงแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ เป็นผู้แทนลงนาม      4.สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 3 โดย ดร.สิทธิพงศ์ นกแอนหมาน ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 3 เป็นผู้แทนลงนาม      5.วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการหาดใหญ่ โดย ดร.โสภณ สาระวิโรจน์ ผู้รับใบอนุญาต เป็นผู้แทนลงนาม       6.สำนักงานเทศบาลเมืองเบตง โดย นายสกุล เล็งลัคน์กุล นายกเทศมนตรีเมืองเบตง เป็นผู้แทนลงนาม      อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กล่าวว่า “บันทึกข้อตกลงฉบับนี้เพื่อสร้างความร่วมมือทางการศึกษา วิจัย และพัฒนาบุคลากร โดยพัฒนานักเรียน นักศึกษา ให้ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าปริญญาตรี พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถาบันให้มีคุณวุฒิตามที่กำหนด และเตรียมความพร้อมของบุคลากรทางการศึกษาในการขยายโอกาสการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ตลอดจนเพิ่มความสามารถด้านการทำวิจัย ในการพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมได้”     พร้อมกันนี้ ยังได้หารือความร่วมมือ ในการเพิ่มเติมการทำ MOA ร่วมกับวิทยาลัยในสังกัดของสถาบันการอาชีวศึกษา เพื่อผลักดันความร่วมมือให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยส่งนักศึกษามาเรียนต่อระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตลอดจนความร่วมมือทางด้านวิชาการอื่น ๆ ต่อไป
3 พฤษภาคม 2567     |      256
ผศ.พาวิน มะโนชัย พบปะบุคลากร มอบนโยบายและแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
       วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.30 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รักษาการแทนรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พบปะบุคลากร มอบนโยบายและแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     ซึ่งในการพบปะบุคลากรในครั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มโนชัย รักษาการแทนรองอธิการบดี ได้พูดคุยแลกเปลี่ยน พร้อมทั้งรับฟังปัญหาการปฎิบัติงานของบุคลากรและให้ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไข โดยมีอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กล่าวต้อนรับ ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์       พร้อมกันนี้ ผู้บริหารและบุคลากร ได้ร่วม “รดน้ำดำหัว” แสดงความเคารพต่อผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รักษาการแทนรองอธิการบดี
7 พฤษภาคม 2567     |      716