มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068

       วันที่ 7 กันยายน 2566 เวลา 13.00 น. ที่ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์  รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี รองอธิการบดี พบปะบุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในการนี้ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี รายงานผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ประจำปีงบประมาณ 2566

       พร้อมกันนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี ได้นำเสนอความเป็นมาและรายงานความก้าวหน้าการจัดตั้ง บริษัท เอ็ม.เจ.ยู. โฮลดิ้ง จำกัด (M.J.U. HOLDING COMPANY) พร้อมกับพูดคุยแลกเปลี่ยน รับฟังปัญหาการปฎิบัติงานของบุคลากร ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยเน้นย้ำให้บุคลากร ต้องขับเคลื่อนการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และสามารถสร้างรายได้ให้มหาวิทยาลัยต่อไป นับว่าเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจที่ดีให้บุคลากร

      อย่างไรก็ตาม ในการพบปะคุลากรในครั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดี ได้มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดี กับบุคลากร ในโอกาสได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน 3 ราย ได้แก่

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2565 (อนุมัติตามมติสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครั้งที่ 5/2566 เมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม 2566)
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิรักษ์ ผลเจริญ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาปรับปรุงพันธุ์พืช ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2565 (อนุมัติตามมติสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครั้งที่ 5/2566 เมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม 2566)
  3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัลลิกา จินดาซิงห์ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร อนุสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพพืช ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2565 (อนุมัติตามมติสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครั้งที่ 5/2566 เมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม 2566)

            และมอบเงินรางวัลขวัญใจเพื่อนร่วมงาน ให้บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ ประจำปี 2566 จำนวน 4 ราย ดังนี้

      1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ ประธานอาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
      2. อาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ
      3.นางสาวจิรภรณ์ ใจอ่อน ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป รักษาการ หัวหน้างานบริหารและธุรการ
      4. นางสาวฐิตาภรณ์ ปิโม ตำแหน่ง นักวิชาการ การเงินและบัญชี

 

 

ปรับปรุงข้อมูล : 8/9/2566 15:20:27     ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 84

กลุ่มข่าวสาร :

ข่าวล่าสุด

กำหนดการสอบวัดความรู้ความสามารถด้าน ICT มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
   กำหนดการสอบวัดความรู้ความสามารถด้าน ICT มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร       นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร สมัครสอบได้แล้ววันนี้ – วันที่ 6 ตุลาคม 2566 (ก่อนเวลา 12.00 น.)ได้ที่ลิงก์  https://maejo.link?L=5Egj       กำหนดการสอบ วันที่ 11 – 12 , 18 - 19 ตุลาคม 2566                     เลือกสอบช่วงเช้า เวลา    10.00 – 11.30 น.                     เลือกสอบช่วงบ่าย เวลา   13.00 – 14.30 น.     ณ ห้องคอมพิวเตอร์ 2 (ชั้น 2) อาคารเรียนรวมแม่โจ้ 80 ปี หมายเหตุ  เมื่อมีการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ให้นักศึกษาเลือกลง วัน และช่วงเวลาสอบได้ที่ห้องบริการการศึกษา (ชั้น 1) อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์
4 ตุลาคม 2566     |      10
MAEJO TOUR : ชุมชนท่องเที่ยว นวัตวิถี ที่นี้ละเเม เรียนรู้เส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอละแม จังหวัดชุมพร
      วันที่ 30 กันยายน 2566 เวลา 07.50 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล ประธานอาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ นำนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมกิจกรรม MAEJO TOUR : ชุมชนท่องเที่ยว นวัตวิถี ที่นี้ละเเม เรียนรู้เส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอละแม จังหวัดชุมพร โดยเริ่มต้นเรียนรู้เส้นทางการท่องเที่ยว ณ บ้านสวนภูวรินทร์ ชมสวนเกษตรแบบผสมผสาน ชมการสาธิตการทำขนมปังโฮลเมด ต่อด้วยศึกษาพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ ชมธรรมชาติ 180 องศา ณ วัดทุ่งหลวง ร่วมกิจกรรมการเพาะเลี้ยงเชื้อและชมสวนผลไม้ ณ สวนเกษตรบ้านแม่พร และรับประทานอาหารกลางวัน รวมทั้งเรียนรู้ชนิดพันธุ์ไผ่ กิจกรรมตอนกิ่งไผ่ ณ สวนนางฟ้ากลางป่าไผ่       ส่วนในช่วงบ่าย เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักไม่กลับกอง การปลูกข้าวไร่และชมสวนกินบุฟเฟ่ต์ผลไม้  ณ บ้านสวนบุญเลี้ยง และปิดท้ายกิจกรรมด้วยการศึกษาเส้นทางธรรมชาติและแช่น้ำร้อน ณ ถ้ำเขาพลู ตำบลสวนแตง      อย่างไรก็ตาม กิจกรรมดังกล่าว ได้รับความสนใจจากนักศึกษาเป็นอย่างมาก นักศึกษาได้เรียนรู้เส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอละแม จังหวัดชุมพร ได้เรียนรู้กระบวนการการมีส่วนร่าวมและบทบาทของชุมชนต่อการท่องเที่ยว ตลอดจนได้ฝึกทักษะการแลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ๆ  สร้างความมั่นใจในการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับคนภายนอก สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำได้ต่อไป
2 ตุลาคม 2566     |      21