มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068
      วันพฤหัสบดี ที่ 7 กันยายน 2566 เวลา 09.00 น. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2566 โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี รองอธิการบดี อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี คณะผู้บริหาร บุคลากร นักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ จังหวัดชุมพร และตัวแทนศิษย์เก่า เข้าร่วมพิธี ณ ห้องประชุม อาคารแม่โจ้ 80 ปี
      ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มอบเหรียญเรียนดีประจำปีการศึกษา 2565 แก่นักศึกษา จำนวน 14 คน มอบเกียรติบัตรแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ให้มหาวิทยาลัย จำนวน 3 คน มอบเกียรติบัตรแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แต่ละสาขา จำนวน 4 คน มอบเกียรติบัตรแก่ศิษย์เก่าดีเด่นแต่ละสาขา จำนวน 5 คน มอบโล่เชิดชูเกียรติแก่นักศึกษาที่ได้รับรางวัล "ระดับเงิน" กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนในมหาวิทยาลัย (Green Youth) ระดับประเทศ ประจำปี 2565 จำนวน 15 คน มอบรางวัลหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ “ระดับดีเด่น” จากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 2 รางวัล มอบโล่และประกาศเกียรติคุณให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในการสนับสนุนการดำเนินงาน หน่วยปฎิบัติการส่วนหน้า หรือ “อว.ส่วนหน้าประจำจังหวัดชุมพร” มอบโล่และประกาศเกียรติคุณ “มาตรฐานโฮมสเตย์ไทย
      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี รองอธิการบดี มอบทุนการศึกษา แก่นักศึกษาที่ได้รับทุน ประจำปีการศึกษา 2566 จำนวน 12 คน
      อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มอบรางวัลการประกวดพานไหว้ครู ประเภทสวยงามและประเภทความคิดสร้างสรรค์
      พร้อมกันนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้พบปะและให้โอวาทแก่นักศึกษา โดยให้นักศึกษาปฎิบัติตน ตามหลัก 4 ข้อ ดังนี้
      1.Knowledge เรียนรู้ตลอดชีวิต อาทิ เรียนรู้จากผู้อื่น เรียนรู้จากการอ่าน การฟัง การมองเห็น และนำมาต่อยอดฝึกฝนตนเองอย่างสม่ำเสมอ
      2.Experience สั่งสมประสบการณหรือความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เมื่อมีโอกาสให้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ตลอดจนแลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ๆกับผู้อื่นอยู่เสมอ “กล้าคิด กล้าทำ กล้าเปลี่ยนแปลงตัวเองในทางที่ดีขึ้น”
      3.Common sense มีสามัญสำนึก รู้รับผิดชอบชั่วดี มีสติในการดำเนินชีวิต รู้ว่าอะไรควรทำ ไม่ควรทำ
      4.Good judgment มีวิจาณญาณที่ดี ปรับตัวให้ก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลง
      นอกจากนี้ ให้นักศึกษายึดตามค่านิยมหลักของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ว่า MAEJO
         M (Mindfulness) ทำด้วยจิต คือ มีสติปัญญา รู้ตัวเสมอ เข้าใจผู้อื่น เพียบพร้อม ด้วยจริยธรรม ยึดมั่นในคุณธรรม
         A (Aspiration) คิดมุ่งมั่น คือ มุ่งผลสำเร็จของงาน มีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ใฝ่ฝันแต่สิ่งดี
         E (Excellence) ฝันเป็นเลิศ คือ ฝึกฝน ความเชี่ยวชาญ มีวิริยะอุตสาหะสู้งานหนัก ยึดมั่นในคุณภาพ
         J (Justice) เทิดยุติธรรม คือ เสมอภาคเท่าเทียมกัน ยกย่องชื่นชมคนดี ซื่อสัตย์ ฉลาด อดทน มีส่วนร่วมพัฒนามหาวิทยาลัย
         O (Origin) นำเกียรติภูมิ คือ ติดดิน สามัคคี มีวินัย สืบสานเรื่องราวเล่าขาน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ใส่ใจชุมชน สังคมในพื้นที่
        ขอให้นักศึกษานำไปปรับใช้ และเป็น ”คนดี คนเก่ง” อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขต่อไป
ปรับปรุงข้อมูล : 7/9/2566 23:21:18     ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 414

กลุ่มข่าวสาร :

ข่าวล่าสุด

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยัง โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พศ. 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มอบหมายให้อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร นายชัยวิชิต เพชรศิลา หัวหน้างานบริการวิชาการและวิจัย ว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตร พร้อมด้วยนางสาวสุนิดา อนุการ นักวิชาการโครงการสาธิตการปลูกพืชผัก พืชไร่ และไม้ผลแบบประณีต พื้นที่ 10.5 ไร่ ในพื้นที่โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ และนางสาวพัทธวรรณ สมจริง ผู้ช่วยนักวิชาการ ร่วมรับเสด็จดร.ฐิระ ทองเหลือ ได้กราบบังคมทูลถวายผลผลิตในโครงการสาธิตการปลูกพืชผัก พืชไร่ และไม้ผลแบบประณีตฯ เช่น อาโวคาโด (สายพันธุ์บัคคาเนีย) ลำไย (สายพันธุ์สีชมพู) ต้นและผลของโทะ (จำนวน 22 ต้น) อย่างไรก็ดี ลำไยสีชมพู ลำไยเบี้ยวเขียว และพืชผักชนิดต่างๆวางจำหน่ายในร้านจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์โครงการชั่งหัวมันฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตรัสถามเจ้าหน้าที่ในร้านว่าลำไยเบี้ยวเขียวกับลำไยสีชมพูมาอยู่ที่โครงการชั่งหัวมันได้อย่างไรโอกาสนี้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตรัสเกี่ยวกับต้นโทะว่า “ไม่เห็นนานแล้วตอนเด็กๆเคยกิน และ ไม่ได้กินนานแล้ว ว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ ได้กราบบังคมทูลถวายรายงานการสร้างแปลงอนุรักษ์ต้นโทะของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชุมพร ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (อพสธ) อย่างไรก็ดีการได้รับเสด็จในครั้งนี้ได้สร้างแรงบันดาลใจการทำงานด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ให้มีความก้าวหน้าสืบไป 
5 กรกฎาคม 2568     |      21
ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2568 สร้างความรู้ความเข้าใจระบบการเรียนการสอน กฏระเบียนและการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย
วันที่ 1 กรกฏาคม 2568 เวลา 16.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวต้อนรับและแสดงความยินดีกับอินทนิลช่อที่ 90 ในโครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2568 ( ผ่านระบบออนไลน์ โปรแกรรม ZOOM ) พร้อมกับให้โอวาทแก่นักศึกษา ให้มุ่งมั่น ตั้งใจเรียนตามหลักวิชาชีพของตนเองตลอดจนฝึกทักษะและหาความรู้เพิ่มเติมด้านอื่นๆอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นทักษะด้านภาษา ทักษะด้านเทคโนโลยีพร้อมกับเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเรียนรู้ทั้งภายในและนอกมหาวิทยาลัย เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการทำงานในอนาคต“เรียนให้รู้ ท่องให้จำ และทำให้เป็น” สู่การเป็นบัณฑิตคุณภาพของสังคมต่อไป” โดยในการนี้ มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประภากร ธาราฉาย รองอธิการบดี เข้าร่วมต้อนรับด้วยอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ต้อนรับและบรรยายพิเศษหัวข้อ “ปรับตัวอย่างไรกับชีวิตใหม่ทางการศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย” ตลอดจนให้โอวาทแก่นักศึกษา “ให้ตั้งใจเรียน รับผิดชอบหน้าที่ของตนเอง ใช้ชีวิตการเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้อย่างมีความสุข สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรและเป็นบัณฑิตอย่างสมบูรณ์” การปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในครั้งนี้ ได้มีการบรรยายชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย รวมถึงระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา โดยนางภัทร์ธนกัลย์ เตี่ยไพบูลย์ นักวิชาการศึกษา ชำนาญการ ชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียนกิจกรรมพัฒนานักศึกษา สวัสดิการ โดยนางสาวศุจินธร รัตนิพนธ์ นักวิชาการศึกษา รวมทั้งชี้แจงเกี่ยวกับกฎระเบียบมหาวิทยาลัย งานวินัยนักศึกษา การแต่งกาย และทุนการศึกษา โดยดร.ณรงค์ โยธิน หัวหน้างานนโยบาย แผน และประกันคุณภาพอย่างไรก็ตาม การปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2568 จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ ในระบบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องกับระบบ ระเบียบต่างๆ ของทั้งสังคมและมหาวิทยาลัย ตลอดจนรับทราบขั้นตอน ช่องทางการติดต่อรับบริการ และตอบข้อคำถามในประเด็นที่นักศึกษาสงสัย โดยนักศึกษาสามารถเรียนอย่างมีความสุข สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรอย่างมีคุณภาพและเป็นบัณฑิตคุณภาพที่มีความรู้คู่คุณธรรมต่อไป
4 กรกฎาคม 2568     |      21
ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมสนับสนุนส่งเสริมเยาวชนต้นแบบ ในการพัฒนาท้องถิ่น” จ.สุราษฎร์ธานี
วันที่ 2 กรกฏาคม 2568 เวลา 09.00-12.00 น. อาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.เพชร บุญนาค อาจารย์ ดร.อนิรุต หนูปลอด นางสาวสายทอง สุจริยาพงศ์พร และตัวแทนนักศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ ได้รับเกียรติจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นวิทยากรกระบวนการร่วมพัฒนาเด็กและเยาวชนแกนนำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใต้โครงการ “ฝึกอบรมเยาวชน แกนนำในการเป็นเยาวชนต้นแบบ ในการพัฒนาท้องถิ่น” โดยมีนางโสภา กาญจนะ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฯ นางวิลาวัลย์ ฉลาดแฉลม เลขานุการองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวรายงาน  ณ ห้องแก้วสมุย คอนเวนชั่น 1 โรงแรมแก้วสมุยรีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยคณะวิทยากรร่วมต้นด้วยกิจกรรมละลายพฤติกรรม (Ice Breaking) เพื่อสร้างบรรยากาศให้นักเรียนแกนนำรู้สึกที่ผ่อนคลาย สร้างความคุ้นเคยและทำความรู้จักกัน ตลอดจนให้นักเรียนกล้าแสดงออก ต่อด้วยการบรรยายและสาธิตโดย อาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน ในหัวข้อ “หน้าที่เด็กและเยาวชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น” และ “การเสริมสร้างบุคลิกภาพเยาวชนแกนนำสู่การเป็นเยาวชนต้นแบบในการพัฒนาท้องถิ่น” และปิดท้ายด้วยกิจกรรมแบ่งกลุ่มแสดงบทบาทสมมติ “สมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี” พร้อมนำเสนอแต่ละกลุ่ม ได้รับความสนใจและปลุกประกายสร้างพลังความเป็นผู้นำ ในการรักและพัฒนาท้องถิ่นจากนักเรียนแกนนำเป็นอย่างมากภาพ : ประชาสัมพันธ์องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี
4 กรกฎาคม 2568     |      16
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ม.แม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมการให้ความรู้และแนะนำในแนวทางการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น
วันพุธ ที่ 3 กรกฎาคม 2568 นายสุวินัย เลาวิลาศ นักวิชาการศึกษา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้รับเกียรติจากคณะทำงานขององค์การบริหารส่วนตำบลช่องไม้แก้ว อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร นำโดยนายจักรพงศ์  พวงบุปผา รองนายกองค์การบริหารส่วนตําบลช่องไม้แก้ว และนายสุรศักดิ์ วิเชียรเชื้อ ปลัดองค์การบริหารส่วนตําบล เข้าร่วมการให้ความรู้และแนะนำในแนวทางการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ณ องค์การบริหารส่วนตําบลสองพี่น้อง อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ซึ่งนายปรีชา มีสุวรรณ นายกองค์การบริหารส่วนตําบลสองพี่น้อง นางสาวอรุณี สมบูรณ์รัตน์ ปลัดองค์การบริหารส่วนตําบลได้กล่าวต้อนรับและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินงาน รวมทั้งการดำเนินงานการบันทึกใบงานทั้ง 9 ใบงาน
4 กรกฎาคม 2568     |      14