มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068

      วันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08.30-12.00 น. นายสมพร ปัจฉิมเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานในการเสวนาพิเศษ “โอกาสและความท้าทายในการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร” ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ โดยได้เชิญนักวิชาการและนักปฏิบัติที่มีความเชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในด้านต่างๆ ดังนี้

      1.ดร.ดรุณศิริ แพน้อย ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด

      2.นายนพพร อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร

      3.นายนรินทร์ พันธ์เจริญ ประธานชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

      4.อาจารยไอศูรย์ ภาษยะวรรณ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร

      5.ดร.มีศักดิ์ ภักดีคง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตอธิบดีกรมประมง

      6.นายวิโรจน์ แสงบางกา ประธานธนาคารอาคารสมองจังหวัดชุมพร

      7.นายวีระเดช ฤทธิชัย นายกสมาคมวิชาชีพเรือสำราญ

      8.นายทวีวัตร เครือสาย นายกสมาคมประชาสังคมชุมพร

      9.ดร.ศุภชัย สุระชิต อดีตประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ จังหวัดชุมพร

      10.นายจรัส สมจิตร ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

      11.นายวชิระวิชญ์ จารุพัฒนวาณิช ประธานกรรมการ บริษัท อุตสาหกรรม เทคโนโลยีชีวภาพ (ประเทศไทย) จำกัด

      พร้อมกันนี้ มีตัวแทนจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อาทิ  รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี,รองศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี  รองอธิการบดี,อาจารย์ ดร.บุญศิลป์ จิตตะประพันธ์ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และตัวแทนบุคลากร เข้าร่วมเสวนา โดยมีประเด็นเสวนา ดังนี้

      1.มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กับการพัฒนาจังหวัดชุมพร

      2.การพลิกโฉมมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โอกาสและความท้าทาย

      3.บทบาทของมหาวิทยาลัยแม่โจ้กับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชุมพร

      4.การพัฒนาการเรียนการสอนบนฐานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

      5.การปรับตัว โอกาส และความพร้อม หลังโควิด-19 ของจังหวัดชุมพร โมเดลเศรษฐกิจ BCG

      6.การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย ก้าวสู่ความเปลี่ยนแปลงด้วยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน

      7.บทบาทของศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้และองค์กรเครือข่ายกับการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร  

      อย่างไรก็ตาม ภายหลังเสร็จสิ้นการเสวนาพิเศษดังกล่าว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา และศูนย์ฝึกอบรมเพื่อทำงานเรือสำราญและงานโรงแรม HOH (House of Hospitality) โดย นายวีระเดช ฤทธิชัย ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพนักศึกษาด้านการโรงแรม การบริการ และการท่องเที่ยว ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับศูนย์ฝึกอบรมเพื่อทำงานเรือสำราญและงานโรงแรม HOH (House of Hospitality)  ซึ่งบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพสำหรับการทำงานบนเรือสำราญที่ตกลงร่วมกัน ตามกระบวนการที่ได้กำหนดไว้ โดยมีขอบเขตการดำเนินงาน ดังนี้

            1.เพื่อร่วมกันพัฒนาและส่งเสริมควาร่วมมือทางวิชาการต่อกัน เพื่อประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาสคุณวุฒิวิชาชีพสำหรับการทำงานบนเรือสำราญ

            2.เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพและพัฒนาบุคลากรในองค์กร ทั้งในด้านการศึกษา วิจัย การเรียนการสอน การฝึกอบรม และสัมมนา และพัฒนาทรัพยากรบุคคล

ปรับปรุงข้อมูล : 19/4/2566 15:24:45     ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 476

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

หน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น ครั้งที่ 1/2567 หลักสูตร การบริหารและการจัดการ ,งานที่ 1,งานที่ 2และงานที่ 3
      วันที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ หน่วยประสานงาน อพ.สธ.มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น ครั้งที่ 1/2567 หลักสูตร การบริหารและการจัดการ ,งานที่ 1,งานที่ 2และงานที่ 3 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสง หัวหน้าโครงการ กล่าวรายงานต่อผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองผู้อำนวยการหน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ประธานในพิธีเปิด พร้อมกันนี้ได้รับเกียรติจากนายนิรัช โอบอ้อม ปลัดอาวุโสอำเภอละแม กล่าวให้กำลังใจแก่ผู้เข้าร่วมประชุม  และได้รับเกียรติจากนายมรกต วัชรมุสิก วิทยากร อพ.สธ.สวนจิตรลดา และคณะวิทยากรโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช      ทั้งนี้มีหน่วยงานองค์การปกครองท้องถิ่นจำนวน 12 แห่ง ได้ส่งบุคลากรเข้าอบรมจำนวนทั้งสิ้น 68 คน
26 มีนาคม 2567     |      124
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดกิจกรรมปัจฉิมนิเทศนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 “อำลาสถาบัน กราบครู กอดเพื่อน”
      วันที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมปัจฉิมนิเทศนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 อำลาสถาบัน กราบครู กอดเพื่อน ณ อาคารคาวบอย 3 พร้อมกับให้โอวาทแก่นักศึกษา และขับร้องเพลง “เธอผู้เป็นดั่งเช่นความหวัง” สร้างขวัญและกำลังใจให้นักศึกษาในการก้าวออกไปสู่โลกของการทำงาน พร้อมกันนี้ คณาจารย์และบุคลากรได้ร่วมกันผูกข้อมือแสดงความยินดีแก่นักศึกษา และอวยพรให้นักศึกษาทุกคนประสบความสำเร็จในชีวิต ไม่ว่าจะทำงานหรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น      นอกจากนี้ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี ยังได้บรรยายพิเศษในหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงาน”      ส่วนในช่วงบ่ายวันเดียวกัน มีการบรรยายในหัวข้อ “การเขียน Resume อย่างไรให้ได้งาน เทคนิคการแต่งกายและการสัมภาษณ์งาน โดยอาจารย์ ดร.จุฑามาส เพ็งโคนา      ต่อด้วยการเสวนา “พร้อมไหม จบไปแล้วทำงาน หรือศึกษาต่อ” โดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ที่มาถ่ายทอดประสบการณ์การใช้ชีวิต จัดการการทางด้านการเงิน การวางแผนชีวิต ทั้งด้านการทำงาน และศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศ      และปิดท้ายกิจกรรม ด้วยการชี้แจงทำความเข้าใจ “ว่าที่บัณฑิตใหม่ เตรียมตัวอย่างไรก่อนเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร โดยดร.ณรงค์ โยธิน      กิจกรรมปัจฉิมนิเทศนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ประจำปีการศึกษา 2567 จัดขึ้นโดยงานกิจการนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้เตรียมความพร้อมก่อนที่จะจบการศึกษา ได้รับทราบแนวทาง การปฎิบัติ การวางแผนชีวิต เพื่อก้าวไปสู่โลกการทำงานได้อย่างมั่นใจ รวมทั้งให้นักศึกษาได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อครูอาจารย์ ความรัก ความผูกพันระหว่างเพื่อนและสถาบัน
26 มีนาคม 2567     |      443
หน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดประชุมกลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ครั้งที่ 1/2567
      วันที่ 19 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ รองผู้อำนวยการหน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร (คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมกลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ครั้งที่ 1/2567 หลักสูตร “การบริหารและการจัดการ องค์ประกอบที่ 1 และองค์ประกอบที่ 2” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสง หัวหน้าโครงการหน่วยประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กล่าววัตถุประสงค์การจัดประชุม มีผู้บริหาร คณะครู โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดชุมพรเข้าร่วมกว่า 120 คน      พร้อมกันนี้ นายชาญณรงค์ ปานเลิศ รองศึกษาธิการจังหวัดชุมพร นายเสรี พรหมฤทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชุมพร เขต 1 และนางศรีแพ ไกยเทียม รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชุมพร เขต 2 ได้กล่าวต้อนรับและให้กำลังใจผู้เข้าร่วมประชุม      โดยช่วงเช้า ผู้เข้าประชุม รับฟังการบรรยาย “การบริหารและการจัดการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” โดยนายมรกต วัชระมุสิก เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) สำนักพระราชวัง สวนจิตรลดา และรับฟังการบรรยาย “ภาพรวมงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน องค์ประกอบที่ 1 และองค์ประกอบที่ 2 วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงาน” โดยทีมวิทยากรโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราชและในช่วงบ่าย ผู้เข้าประชุมได้แบ่งกลุ่มและปฎิบัติการกลุ่ม 4 ฐานการเรียนรู้ ดังนี้ฐานการเรียนรู้ที่ 1 :การบริหารและการจัดการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนฐานการเรียนรู้ที่ 2 : องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ฐานการเรียนรู้ที่ 3 : องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ฐานการเรียนรู้ที่ 4 : องค์ประกอบที่ 2 การรวบรวมพันธุ์ไม้เข้าปลูกในโรงเรียน      อย่างไรก็ตาม การจัดกิจกรรมประชุมกลุ่มในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อร่วมสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อร่วมส่งเสริมสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร ตลอดจนเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ตรงตามปรัชญาการสร้างนักอนุรักษ์ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ นำไปสู่การพัฒนาตน องค์กร สังคม ประเทศชาติต่อไป
20 มีนาคม 2567     |      638