มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068

ประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เรื่อง การรับสมัครบุคคลเพื่อจ้างเหมาบริการ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) รอบที่ 1 (เพิ่มเติม) ครั้งที่ 5 

ปรับปรุงข้อมูล : 1/2/2564 18:45:30     ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 2085

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประกาศ ข่าวสมัครงาน

ข่าวล่าสุด

ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมงาน “วัน Kick-Off สร้างมูลค่าเปลือกทุเรียนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม”
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2567 อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ร่วมเวทีเสวนา หัวข้อ “การจัดการเปลือกทุเรียนในพื้นที่จังหวัดชุมพร” ว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตร งานบริการวิชาการและวิจัย บรรยายในหัวข้อ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเปลือกทุเรียนโดยไม่พลิกกลับกองด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 และนายวันชัย ล่องอำไพ นักวิชาการศึกษา ประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษาเพื่อศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ในงาน “วัน Kick-Off สร้างมูลค่าเปลือกทุเรียนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม”โครงการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการวัสดุเหลือใช้จากการผลิตทุเรียน จัดโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร ณ วิสาหกิจชุมชนหลังสวนพัฒนายั่งยืน ตำบลนาขา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพรทั้งนี้ งานบริการวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ได้เป็นที่ปรึกษาให้กับวิสาหกิจชุมชนหลังสวนพัฒนายั่งยืน ในการนำเปลือกทุเรียนที่เหลือจากอุตสาหกรรมแปรรูปทุเรียนส่งออก ของบริษัทหนงไทย อินเตอร์เนชั่นแนล สาขาหลังสวน ซึ่งในแต่ละปีมีเปลือกทุเรียนราว 3 ล้านกิโลกรัม นำมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพต่อยอดเป็นดินปลูกคุณภาพดี มีปุ๋ยอินทรีย์ช่วยลดต้นทุนการผลิตทุเรียนเพื่อการส่งออก นับว่าเป็นการประกอบธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด Zero Waste ลดขยะให้เหลือศูนย์ และยังสอดคล้องกับ BCG โมเดล เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เป็นต้นแบบของการจัดการเปลือกทุเรียนระดับประเทศต่อไป
10 กันยายน 2567     |      6
รับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี TCAS2568 Portfolio รอบที่ 1 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร รับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี TCAS2568 Portfolio รอบที่ 1 ระหว่างวันที่ 5-25 กันยายน 2567หลักสูตร 4 ปี GPAX 4 เทอมสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสาขาวิชาพืชศาสตร์สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการสาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการสาขาวิชารัฐศาสตร์ หลักสูตร 4 ปี (เทียบเรียน 2 ปี) GPAX 2 เทอมสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสาขาวิชาพืชศาสตร์สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการสาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ (ออนไลน์เสาร์ - อาทิตย์)สาขาวิชารัฐศาสตร์ (ออนไลน์เสาร์-อาทิตย์)สมัครออนไลน์ :www.admissions.mju.ac.thสอบถามเพิ่มเติม : 080 535 9909คู่มือการสมัคร :https://admissions.mju.ac.th/www/ApplyManual.aspx?fbclid=IwY2xjawFLXmFleHRuA2FlbQIxMAABHceocanDNCf42TmmirxXbqomsEv8fzJlSJKMkt98bIIL-xdp2puBSMGuRQ_aem_Yb4nr-e-JQJfWgYAEZ7r4g
9 กันยายน 2567     |      26
อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปลูกต้นไม้พระราชทาน
      สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานต้นพลองใหญ่ ให้แก่จังหวัดชุมพร ภายใต้โครงการ “พระราชทานต้นพลองใหญ่คืนสู่ถิ่นกำเนิด” เพื่อเป็นการ สืบสาน รักษา และต่อยอด จากต้นพลองใหญ่ ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงปลูก ณ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2535 (ต้นไม้ทรงโปรด)      วันที่ 6 กันยายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดี และรองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร พร้อมด้วยบุคลากร ร่วมปลูกต้นพลองใหญ่ ณ แปลงปลูกอนุรักษ์พันธุกรรมพืช มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร โดยปลูกต้นพลองใหญ่ในบริเวณเดียวกับการปลูกต้นรวงผึ้ง เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 และในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2567 อีกทั้งยังเป็นงานสนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)      อย่างไรก็ดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะได้มีการศึกษาการใช้ประโยชน์จากต้นพลองใหญ่ต่อไป
6 กันยายน 2567     |      30