มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068 , 077-544258

เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2559 อาจารย์ ดร.บุญศิลป์ จิตตะประพันธ์ ผู้อำนวยการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสง รองผู้อำนวยการฯ ฝ่ายวิชาการและวิจัย นายณรงค์ โยธิน เข้ามอบกระเช้าของขวัญเนื่องในโอกาสสวัสดีปีใหม่ 2559 กับผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและหน่วยงานต่างๆในจังหวัดชุมพร

ปรับปรุงข้อมูล : 8/1/2559 20:18:30     ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 768

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จังหวัดชุมพร รับสมัครบุคคลเพื่อเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2566 : รอบที่ 4 Direct Admission
รอบสุดท้ายแล้วจ้า : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จังหวัดชุมพร รับสมัครบุคคลเพื่อเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2566 : รอบที่ 4 Direct Admission •หลักสูตร 4 ปี •จำนวนจำนวน 5 สาขาวิชา สาขาวิชาละ 40 ที่นั่ง •รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ม.6 ปวช. กศน. GED หรือเทียบเท่า ทุกแผนการเรียน •ไม่ระบุ GPAX •ไม่ใช้ TGAT / TPAT / A-Levelรับสมัครที่ www.admissions.mju.ac.th สมัครออนไลน์ : วันที่ 25-31 พฤษภาคม 2566 ประกาศผล : วันที่ 9 มิถุนายน 2566ชำระเงินค่าเทอม : วันที่ 9-13 มิถุนายน 2566รายงานตัวขึ้นทะเบียนนศ.ออนไลน์ : วันที่ 10-14 มิถุนายน 2566 (ออกรหัสนศ.วันที่ 15 มิถุนายน 2566)รายงานตัวเข้าหอพัก : วันที่ 23 มิถุนายน 2566 (ร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย วันที่ 23-30 มิถุนายน 2566) เปิดภาคการศึกษา : วันที่ 3 กรกฎาคม 2566
24 พฤษภาคม 2566     |      68
สภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ พบประบุคลากรและติดตามการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
      วันที่ 20 พฤษภาคม 2566 เวลา 10.30 น. ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ดร.สมศักดิ์ ปณีตัธยาศัยดร.องอาจ กิตติคุณชัย รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยยศ สันติวงษ์ นายวัยวุฒิ หล่อตระกูล ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรินทร์ พงศ์ศุภสมิทธิ์ ร้อยตรี ดร.วิจิตร อยู่สุภาพ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีและคณะ พบปะบุคลากรและติดตามการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในการประชุมสภามหาวิทยาลัย-สัญจร โดยมีอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี กล่าวต้อนรับพร้อมรายงานผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรคการบริหารงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร       ทั้งนี้ ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้กล่าวให้โอวาทแก่บุคลากร ความว่า “ผู้บริหารต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน บุคลากรปฎิบัติขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน และไม่ทิ้งความเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเกษตร” พร้อมกันนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมเสนอแนะแนวทางการจัดการแก้ไข โดยมีตัวแทนจากกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ นายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และตัวแทนศิษย์เก่าแม่โจ้ ร่วมเสนอความคิดเห็น อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพรต่อไป      ในการนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้จัดนิทรรศการนำเสนอต่อคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยภายใต้แนวคิด “ความสัมพันธ์ของ 5 หลักสูตร ในรูปแบบของ BCG Model” โดยเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม 3 มิติ ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ( Bioeconomy) มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ซึ่งทั้งสองเศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) คือพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล      และในช่วงบ่าย เวลา 14.00 น. ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้และคณะ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร บริเวณฟาร์มประมงของสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ศูนย์เกษตรสุขภาวะและโครงการความร่วมมือทางวิชาการเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้ง ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร กับบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัดมหาชน      อย่างไรก็ตาม ในการพบประบุคลากร ของนายกสภามหาวิทยาลัยและคณะในครั้งนี้ นับว่าเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจที่ดี ในการที่จะร่วมกันพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ต่อไป
20 พฤษภาคม 2566     |      48
ม.แม่โจ้-ชุมพร จัดพิธีสักการะ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เนื่องในวันอาภากร 19 พฤษภาคม 2566
      วันที่ 19 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.30 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยบุคลากร ร่วมสักการะพระรูปปั้น เนื่องในวันอาภากร หรือวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของ พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ณ บริเวณห้องโถงอาคารบูญรอด ศุภอุดมฤกษ์      ทั้งนี้ พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 3 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2423 เมื่อทรงมีพระชนมายุ 13 พรรษา ได้เสด็จไปทรงศึกษาวิชาการทหารเรือ ณ ประเทศอังกฤษ และเมื่อสำเร็จการศึกษาเสด็จกลับประเทศไทย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รับราชการในกองทัพเรือ พระองค์ทรงปรับปรุงการศึกษาวิชาการทหารเรือให้ทันสมัยเป็นรากฐานของกองทัพเรือไทยมาจนถึงปัจจุบัน กองทัพเรือจึงถวายนามพระองค์ท่านว่า “องค์บิดาของทหารเรือไทย”      นอกจากนี้ พระองค์ทรงสนพระทัยในการแพทย์ ทรงมุ่งศึกษาเกี่ยวกับตำราแพทย์แผนไทย จนสามารถช่วยเหลือประชาชนผู้เจ็บป่วยได้มากมาย โดยมิทรงรับสิ่งตอบแทน พระเกียรติคุณในนามหมอพรได้ขจรขจายไปในประชาชนทุกเหล่าชั้น รวมทั้งในการด้านดนตรี พระองค์มีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่ง ทรงนิพนธ์เพลงที่มีเนื้อหาปลุกใจให้มีความรักชาติ กล้าหาญ ยอมเสียสละชีวิตเพื่อชาติ พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงทุ่มเทพระวรกายและพระสติปัญญา ตรากตรำในการทรงงาน เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ทำให้ทรงประชวรด้วยโรคภายใน จึงทรงลาออกจากราชการและต่อมาเสด็จไปประทับรักษา ณ ชายทะเลปากน้ำ จังหวัดชุมพร และทรงสิ้นพระชนม์ ณ หาดทรายรี เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2466 ขณะที่มีพระชันษา 44 ปี
19 พฤษภาคม 2566     |      56
ม.แม่โจ้-ชุมพร จัดกิจกรรม “Big Cleaning Day” มุ่งสู่ Well being มหาวิทยาลัยสุขภาวะ
      วันที่ 10 พฤษภาคม 2566 เวลา 14.00 น. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร นำโดยอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร อาจารย์ ดร.ภาวิดา รังษี รองคณบดี ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ นางสาวตรีชฎา สุวรรณโนผู้อำนวยการสำนักงานคณบดี ร่วมกิจกรรม “Big Cleaning Day” โดยเก็บขยะ กวาดถนน พื้นที่หน้ามหาวิทยาลัยและรอบอาคารสำนักงาน      ทั้งนี้ กิจกรรม “Big Cleaning Day” จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนและผลักดันให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นสำนักงานสีเขียวอย่างเป็นรูปธรรม โดยมุ่งเน้นให้บุคลากรตระหนักถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในสำนักงาน ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า อาทิ ลดปริมาณขยะโดยการใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ ปิดไฟดวงที่ไม่ได้ใช้ กำหนดเวลาในการเปิด-ปิด เครื่องปรับอากาศ มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขอนามัย อันจะนำไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสุขภาวะ “Well being” โดยคนในองค์กรมีพลังชีวิต รับรู้ถึงคุณค่าในงานที่ตนเองทำ มีความมั่นคงในรายได้ เพื่อนร่วมงานมีทัศนคติที่ดี พื้นที่ทำงานปลอดโปร่ง ปลอดภัย มีการส่งเสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ     อย่างไรก็ตาม อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อความต่อเนื่องของกิจกรรมและเกิดผลสำเร็จ ในเดือนพฤษภาคม 2566 ทางมหาวิทยาลัยกำหนดจัดกิจกรรม “Big Cleaning Day” ครั้งต่อไป ในวันศุกร์ ที่ 12 ,วันจันทร์ ที่ 15 ,วันอังคาร ที่ 16 และวันพฤหัสบดี ที่ 18 ตั้งแต่เวลา 14.00 น. เป็นไป จึงขอเชิญชวนบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมโดยพร้อมเพรียงกัน “บ้านหลังนี้คือของทุกคน และทุกคนคือเจ้าของบ้าน ถ้าอยากให้บ้านดี ต้องช่วยกันดูแลรักษาให้น่าอยู่ตลอดไป”
11 พฤษภาคม 2566     |      39