มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068
เมื่อวันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมา อาจารย์วีรชัย เพชรสุทธิ์ ได้นำนักศึกษาสาขาวิชาการประมง จำนวน 11 คน เข้าร่วมการประชุมสัมมนาทางวิชาการในหัวข้อเรื่อง "แนวทางการเลี้ยงปูนิ่มแบบพัฒนา" ณ โรงแรมเฮอริเทจ แกรนด์ คอนเวนชั่น ซึ่งจัดโดยชมรมกลุ่มผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงปูนิ่ม จังหวัดระนอง และได้รับการสนับสนุนโดยบริษัทเอเชี่ยนฟีด จำกัด เป็นการบูรณาการด้านการเรียนการสอนเข้ากับการบริการวิชาการและการวิจัย
ปรับปรุงข้อมูล : 1/1/2557 0:00:00     ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 2212

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร รับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 หลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (ต่อเนื่อง 2 ปี)
      มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 หลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (ต่อเนื่อง 2 ปี)  4 สาขาวิชา สมัครออนไลน์ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 หลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (ต่อเนื่อง 2 ปี) เรียนปกติ   1.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตนกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง       •รับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ปวส. หรือเทียบเท่า       •GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.00       •ประเภทวิชาประมง เกษตรกรรม สัตวศาสตร์ สัตวรักษ์ เท่านั้น   2.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์     •รับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ปวส. หรือเทียบเท่า     •GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.00     •ประเภทวิชาเกษตรกรรม พืชศาสตร์ เกษตรศาสตร์ เท่านั้นหลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน (ต่อเนื่อง 2 ปี ) เรียนปกติ /เรียนออนไลน์ เสาร์ -อาทิตย์    1.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ เรียนปกติ หรือเรียนออนไลน์ เสาร์ -อาทิตย์      •รับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ปวส. หรือเทียบเท่า หรือจบปริญญาตรีมาแล้ว      •GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.00      •ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว บริหารธุรกิจ คหกรรม หรือสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง    2.หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ เรียนออนไลน์ เสาร์-อาทิตย์      •รับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ปวส. หรือเทียบเท่า หรือจบปริญญาตรีมาแล้ว      •GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.00      •ประเภทวิชาบริหาร การจัดการ หรือสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง    สมัครออนไลน์ : www.admissions.mju.ac.th    สอบถามเพิ่มเติม งานบริการการศึกษา : 080 535 9909
19 เมษายน 2567     |      86
สวัสดีปีใหม่ไทย ๒๕๖๗
      มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ก่อเจดีย์ทราย และเล่นน้ำสงกรานต์ตามประเพณี      สงกรานต์สุขใจ “ดื่มไม่ขับ ง่วงจอดพัก เล่นสาดน้ำด้วยความระวัง”      ประวัติวันสงกรานต์ หรือ วันมหาสงกรานต์ ได้รับอิทธิพลมาจาก “เทศกาลโฮลี” ของประเทศอินเดีย แต่วันสงกรานต์ของไทยเปลี่ยนจากการสาดสี เป็นการสาดน้ำ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพอากาศที่ร้อนในเดือนเมษายน และในอีกแง่หนึ่งมีความเชื่อว่าเป็นการปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกไป ดังนั้น การเล่นสาดน้ำและประแป้งกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จะไม่ถือโทษโกรธกัน       คำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤต ที่มีความหมายว่า “การเคลื่อนย้าย” โดยเชื่อว่าในวันสงกรานต์ เป็นช่วงเวลาการเคลื่อนย้ายของจักรราศี อีกนัยหนึ่งก็คือการเคลื่อนสู่ปีใหม่ คนไทยจึงยึดถือวันสงกรานต์เป็น “วันขึ้นปีใหม่ไทย” มาตั้งแต่สมัยโบราณ จนกระทั่ง พ.ศ. 2483 ก่อนจะปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามแบบแผนสากลนิยม ซึ่งก็คือวันที่ 1 มกราคมของทุกปี ทั้งนี้ การละเล่นสงกรานต์ไม่ได้มีแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า กัมพูชา ลาว รวมถึงบางพื้นที่ของเวียดนาม จีน ศรีลังกา และอินเดีย       กิจกรรมช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ นิยมทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ เล่นสาดน้ำ ประแป้ง รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ คนทำงานต่างจังหวัดหรือไกลครอบครัว ก็จะเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อฉลองวันปีใหม่ไทย รวมถึงกล่าวคำอวยพร “สุขสันต์วันสงกรานต์” และ “สวัสดีวันสงกรานต์” ให้แก่กัน นอกจากนี้ แหล่งท่องเที่ยวสำหรับจัดงานเทศกาลสงกรานต์ ก็สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทำให้วันสงกรานต์ของไทยมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก       อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้ “สงกรานต์ในประเทศไทย” เป็นรายการในบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) ในการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 18 ณ เมืองคาเซเน สาธารณรัฐบอตสวานา      ทั้งนี้ “สงกรานต์ในประเทศไทย” (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) ถือเป็นรายการในบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ลำดับที่ 4 ของประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้ UNESCO ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้แก่ “โขน” (Khon, masked dance drama in Thailand) ในปี 2561, “นวดไทย” (Nuad Thai, Traditional Thai Massage) ในปี 2562 และ “โนรา” ของภาคใต้ (Nora, Dance Drama in Southern Thailand) ในปี 2564
13 เมษายน 2567     |      291
ประชาสัมพันธ์ รับสมัครนักศึกษา TCAS2567 รอบ 3 (หลักสูตร 4 ปีเทียบเรียน หรือต่อเนื่อง 2 ปี )
ใกล้สงกรานต์ เล่นสาดน้ำกันเพลิน อย่าลืมสมัครเรียนนะคะTCAS67 รอบ 3 (หลักสูตร 4 ปีเทียบเรียน หรือต่อเนื่อง 2 ปี )หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เรียนปกติ)      1.สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง      2.สาขาวิชาพืชศาสตร์หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (เรียนปกติ/ออนไลน์เสาร์-อาทิตย์)      1.สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (เรียนออนไลน์เสาร์-อาทิตย์)      1.สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ      เปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 5-30 เมษายน 2567      สอบถามเพิ่มเติม โทรศัพท์ 080 535 9909      หรือสอบถามเพิ่ม inbox แฟนเพจมหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร)      สมัครออนไลน์ :https://admissions.mju.ac.th
11 เมษายน 2567     |      453
ดร.วีรภรณ์ โตคีรี ศึกษาดูงานและร่วมกิจกรรมกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว สาธารณรัฐประชาชนลาวและมูลนิธิศิลาธัมภ์
      วันที่ 3- 5 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา อาจารย์ ดร.วีรภรณ์ โตคีรี อาจารย์ประจำสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าศึกษาดูงานและร่วมกิจกรรมกับคณะวิทยาศาสตร์และป่าไม้ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว สาธารณรัฐประชาชนลาวและมูนิธิศิลาธัมภ์     โดยการศึกษาดูงานในครั้งนี้ ได้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการและพัฒนาโจทย์วิจัยอาหารเป็นยาและพัฒนาการผลิตกับคณะวิทยาศาสตร์และป่าไม้ ตลอดจนร่วมหารือแลกเปลี่ยนศึกษาดูงานด้านการศึกษาและการพัฒนาเครือข่ายสาขาการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ป่า อันจะนำไปสู่ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวต่อไป       อย่างไรก็ตาม ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น จากคณบดี ผู้บริหาร คณาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวอย่างดียิ่ง
7 เมษายน 2567     |      477