มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068

กำหนดการลงทะเบียนของนักศึกษาดังต่อไปนี้

จันทร์ที่ 28 ต.ค.   วันลงทะเบียนรายวิชา นักศึกษารหัสก่อน 53 ผ่านระบบอินเตอร์เนต

อังคารที่ 29 ต.ค.  วันลงทะเบียนรายวิชา นักศึกษารหัส 53 ผ่านระบบอินเตอร์เนต

พุธที่ 30 ต.ค.      วันลงทะเบียนรายวิชา นักศึกษารหัส 54 ผ่านระบบอินเตอร์เนต

พฤหัสบดีที่ 31 ต.ค. วันลงทะเบียนรายวิชา นักศึกษารหัส 55 ผ่านระบบอินเตอร์เนต

วันศุกร์ที่ 1 พ.ย.   วันลงทะเบียนรายวิชา นักศึกษา รหัส 56 ผ่านระบบอินเตอร์เนต

วันเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556

วันจันทร์ที่ 4-13 พ.ย. วันเพิ่ม เปลี่ยน หรือถอนรายวิชา และขอเปลี่ยนการประเมินผลรายวิชาผู้เข้าร่วมฟัง (อักษร V) ผ่านระบบอินเตอร์เนต

 

นักศึกษาสามารถลงทะเบียนตามรหัสนักศึกษา และตามกำหนดการที่แจ้งข้างต้น โดยนักศึกษาสามารถเข้าลงทะเบียนในระบบทะเบียนเรียน www.reg.mju.ac.th  และสามารถศึกษาวิธีการลงทะเบียนได้ที่ ลิงค์ http://www.education.mju.ac.th/www/howToEnroll.aspx

ปรับปรุงข้อมูล : 1/1/2557 0:00:00     ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 4197

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวด้านการศึกษา

ข่าวล่าสุด

บรรยากาศรายงานตัวนักศึกษาใหม่ ม.แม่โจ้-ชุมพร คึกคัก คณบดี นำทีม “ ต้อนรับอินทนิลช่อที่ 90 “ สู่บ้านหลังที่ 2 อย่างอบอุ่น
วันที่ 13 มิถุนายน 2568 เวลา 08.00 น. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร รับรายงานตัวนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2568 พร้อมกับรายงานตัวเข้าหอพัก สำหรับนักศึกษาที่มีความประสงค์พักหอในมหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมอาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมผู้บริหาร บุคลากร นักศึกษา ให้การต้อนรับเข้าสู่บ้านหลังที่ 2 บรรยากาศเป็นไปด้วยความคึกคักและอบอุ่น และในช่วงบ่ายเวลา 13.30 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร รองคณบดีฯ ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯ ฝ่ายวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการ กล่าวต้อนรับนักศึกษาใหม่และประชุมผู้ปกครอง ณ ห้อง Slope ชั้น 2 อาคารแม่โจ้ 80 ปี พร้อมกันนี้ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี และนายสานิตย์ แป้นเหลือ ได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนานักศึกใหม่ เสริมสร้างอัตลักษณ์ลูกแม่โจ้ เพื่อให้ผู้ปกครองและนักศึกษาเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวอย่างไรก็ตาม นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จะเดินทางไปร่วมกิจกรรมพัฒนานักศึกใหม่ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ในระหว่างวันที่ 15-22 มิถุนายน 2568 โดยจะมีอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วยนายสานิตย์ แป้นเหลือ นักวิชาการศึกษา และนางสาวศุจินธร รัตนิพนธ์ นักวิชาการศึกษา และนายณพพล วิเชียร ดูแลนักศึกษาระหว่างเดินทางและตลอดการเข้าร่วมกิจกรรม
16 มิถุนายน 2568     |      25
ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ลงพื้นที่ติดตามสถานที่ก่อสร้างศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
วันที่ 13 มิถุนายน 2568 เวลา 17.00 น. นายเธียรชัย ชูกิตติวิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร พร้อมด้วย นายเอนก ชำนาญนา นายอำเภอละแม และนายนันทภพ เอื้ออารี สมาชิกสภา จังหวัดชุมพร เขต 1 ละแม ลงพื้นที่ดูสถานที่และติดตามความก้าวหน้าในการวางแผนก่อสร้างก่อสร้างศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพรอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี อาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร รองคณบดีฯ ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ ผศ.ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯ ฝ่ายวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการ ดร.ณรงค์ โยธิน หัวหน้างานนโยบาย ต้อนรับและนำดูสถานที่ และรายงานความพร้อมด้านพื้นที่สำหรับก่อสร้าง โดยได้กันพื้นที่บริเวณด้านหน้าไว้แล้ว มหาวิทยาลัยพร้อมให้การสนับสนุนการก่อสร้างดังกล่าว 
16 มิถุนายน 2568     |      22
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมกับนักงานพาณิชย์จังหวัดชุมพร และสมาคมประชาสังคมชุมพร จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับศักยภาพเกษตรกร เพื่อเพิ่มผลผลิตผลไม้เศรษฐกิจสู่สากล
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมกับนักงานพาณิชย์จังหวัดชุมพร และสมาคมประชาสังคมชุมพร จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับศักยภาพเกษตรกร เพื่อเพิ่มผลผลิตผลไม้เศรษฐกิจสู่สากล ระหว่างวันที่ 12-13 มิถุนายน 2568 โดยมีนางสาวยุพาพรสวัสดี พาณิชย์จังหวัดชุมพร เป็นประธานในพิธีเปิด อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กล่าวรายงาน และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวปาฐกถา ณ ห้องประชุมศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ชั้น 3 อาคารแม่โจ้ 80 ปีโดยมีหัวข้อในการอบรม ดังนี้หัวข้อที่ 1 “สถานการณ์และความท้าทายของเกษตรกรไทย" วิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจเกษตร แนวโน้มตลาดสินค้าเกษตร การปรับตัวในบริบทการแข่งขัน วิทยากร โดย นายทวีวัตร เครือสายหัวข้อที่ 2 “ก้าวใหม่เกษตรกรภาคใต้ ปรับตัวอย่างไรให้ยั่งยืน” การใช้ SWOT วิเคราะห์พื้นที่ตนเอง การสร้างผลิตภัณฑ์จากอัตลักษณ์ท้องถิ่น การสร้างแบรนด์ให้มีคุณค่าและความหมาย โดยวิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุมพล อังคณานนท์ และอาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วนหัวข้อที่ 3 “เทคโนโลยีการเกษตรทันสมัยเพื่อเพิ่มผลผลิต” การใช้เทคโนโลยี IoT และระบบเกษตรแม่นยำ การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การสร้างศูนย์เรียนรู้ชุมชน วิทยากรโดย นายวิระ ปัจฉิมเพชรหัวข้อที่ 4 “การตลาดดิจิทัล การตลาดออนไลน์” การใช้แพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์ การเขียนคอนเทนต์สร้างสรรค์ การสื่อสารกับผู้บริโภค วิทยากรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกวลิณ อังคณานนท์อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าว ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของจังหวัดชุมพร ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ฐานราก โดยใช้ศักยภาพที่เรามีอยู่แล้ว ทั้งในด้านทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความหลากหลายของผลไม้เศรษฐกิจ มายกระดับด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยี และ แนวคิดการเป็นผู้ประกอบการในยุคใหม่ดิฉันเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า เนื้อหาการอบรมตลอดสองวันนี้ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ สถานการณ์ตลาด การผลิต การแปรรูป การตลาดออนไลน์ ไปจนถึงการสร้างแบรนด์ และอัตลักษณ์สินค้า จะช่วยให้พี่น้องเกษตรกรและผู้ประกอบการที่เข้าร่วมอบรม สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดและประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้อย่างเป็น รูปธรรม ผลิตได้ ขายเป็น เพิ่มมิติมุมมองในการแข่งขันในตลาดทั้งในและต่างประเทศข่าว : สำนักงานพาณิชย์จังหวัดชุมพร
16 มิถุนายน 2568     |      20