หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร แต่ละชั้นปีเรียนอะไรบ้าง?
ปี 1 : สามารถอธิบายการใช้เครื่องมือทางด้านวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ทางทะเลและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
- เรียนปรับพื้นฐานรายวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ อธิบายความรู้ด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมสุขภาวะ ความเป็นพลเมืองดิจิทัล การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
- เรียนรู้หลักการพื้นฐานของการปฎิบัติงานฟาร์มประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ปี 2 :สามารถอธิบายความรู้และเข้าใจทักษะทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
- เรียนรู้หลักการวิเคราะห์คุณภาพน้ำเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เข้าใจนิเวศวิทยาทางทะเล และสมุทรศาสตร์เพื่อการประมง
- รู้จักกับปลาและสัตว์น้ำชนิดต่างๆ ผ่านรายวิชามีนวิทยา
- ร่วมด้วยวิชาชีววิทยาของกุ้ง ปู และหอยทะเล
- เพื่อให้สามารถเข้าใจหลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเบื้องต้น
ปี 3 : สามารถวิเคราะห์ แก้ปัญหาและถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสัตว์น้ำชายฝั่งอย่างมีประสิทธิภาพ
- เรียนรู้หลักการเพาะเลี้ยงแพลงก์ตอน เพื่อการเพาะเลี้ยงและการอนุบาลลูกสัตว์น้ำชายฝั่ง
- เข้าใจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล การคำนวณสูตรและการผลิตอาหารและโภชนาการสัตว์น้ำ
- หลักและวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคในสัตว์น้ำ
- เข้าใจระเบียบวิธีวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อนำไปสู่การทำวิจัยพื้นฐาน
ปี 4 : สามารถเลือกแนวทางในการเป็นผู้ประกอบการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งยังมีจริยธรรม
- ปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในสถานประกอบการจริงทั้งในและต่างประเทศ
- เรียนรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากทรัพยากรทางทะเลและนวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าทรัพยากรประมงเพื่อเศรษฐกิจ BCG
- เรียนรู้นวัตกรรมระบบน้ำหมุนเวียนเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำ กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการประมง รวมถึงการจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ