มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมประชุมแบบออนไลน์ เพื่อแสวงหาแนวทางบูรณาการในการปฏิบัติการร่วมระหว่างสำนักงานพาณิชย์จังหวัดชุมพร และคณาจารย์ในหลักสูตร รวมถึงเครือข่ายสถาบันการศึกษา ภายใต้การพัฒนาและยกระดับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้อย่างยั่งยืนแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน SEC ทั้งนี้การประชุมดังกล่าว นำไปสู่แนวทางในการปฎิบัติการร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมกันยกระดับ/หนุนเสริมผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการเติบโตไปพร้อมๆกัน (ประโยชน์ร่วม) ดังนี้

  1. การมีส่วนร่วมในการสนับสนุนทรัพยากร เช่น บุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ เป็นต้น โดยเฉพาะทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานที่มีบทบาท หน้าที่ และอำนาจในการตัดสินใจ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาองค์กรชุมชนและเครือข่าย การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของผู้ประกอบการทุกระดับ และสอดคล้องตามพันธกิจของหน่วยงานนั้นๆ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนกลไกกลางให้เกิดความยั่งยืนตั้งแต่ระดับพื้นที่ ระดับจังหวัด ระดับระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ จนถึงระดับสากล
  2. ส่งเสริมการจับคู่ธุรกิจ/เจรจาธุรกิจ ซึ่งโครงการ/กิจกรรมดังกล่าวเป็นหนึ่งในนโยบายและพันธกิจของหน่วยงานภาคีเครือข่าย ดังนั้นหากมีการบูรณาการทรัพยากรในการทำงานร่วมกัน เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด เช่น ขนาด จำนวนครั้ง ฐานข้อมูลคู่ค้า เป็นต้น
  3. การพัฒนาด้วยนวัตกรรม วิจัย และเทคโนโลยี สอดคล้องตามความต้องการของผู้ประกอบการโดยดำเนินผ่านกลไกทั้ง 2 ระดับแบบคู่ขนานคือระดับโครงการ SEC และระดับหน่วยงานย่อยภายในมหาวิทยาลัยในเครือข่าย
  4. การพัฒนาด้านการจัดจำหน่ายผ่าน PLATFORM ต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ
  5. หนุนเสริมกลไกกลางสามารถบริหารจัดการให้เกิดองค์กรภาคีเครือข่ายให้เกิดความเข้มแข็งแบบพี่ดูแลน้อง เพื่อนดูแลกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง จะส่งผลให้เกิดอำนาจและความสามารถในการต่อรอง เสริมสร้างพลังในการหนุนเสริมกันและกัน การส่งต่อ-การบอกต่อสินค้าและผลิตภัณฑ์ซึ่งกันและกันภายใต้ระบบฐานข้อมูลที่เป็นรูปธรรม หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงด้านระเบียบ เกณฑ์มาตรฐาน ที่เอื้อ ส่งเสริม ควบคุม สร้างโอกาส เป็นต้น แก่พี่-น้องภาคีเครือข่าย

โดยสรุป การประชุมดังกล่าว นำไปสู่แนวทางในการปฎิบัติการร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมกันยกระดับ/หนุนเสริมผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการเติบโตไปพร้อมๆกัน (ประโยชน์ร่วม)  เช่น การมีส่วนร่วมในการสนับสนุนทรัพยากร เช่น บุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ เป็นต้น โดยเฉพาะทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานที่มีบทบาท หน้าที่ และอำนาจในการตัดสินใจ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาองค์กรชุมชนและเครือข่าย การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของผู้ประกอบการทุกระดับ และสอดคล้องตามพันธกิจของหน่วยงานนั้นๆ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนกลไกกลางให้เกิดความยั่งยืนตั้งแต่ระดับพื้นที่ ระดับจังหวัด ระดับระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ จนถึงระดับสากลต่อไป

 

ปรับปรุงข้อมูล : 26/11/2567 15:58:50     ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 14

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมขับเคลื่อนกลไกเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดระนอง
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมขับเคลื่อนกลไกเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดระนอง ร่วมกับสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร วิทยาลัยชุมชนจังหวัดระนอง แกนนำชุมชนการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดระนอง และหน่วยงานภาคีเครือข่าย  โดยมุ่งพัฒนาเครือข่ายเชิงรุกจากฐานทุนกลไกเครือข่าย(เดิม) 1) เพื่อพัฒนาองค์กรเครือข่ายฯที่เป็นกลไกกลางในการประสานทุกทิศทาง พร้อมจดแจ้งเป็น "สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดระนอง" ภายใต้แนวคิด พี่ดูแลน้อง เพื่อนดูแลกัน พร้อมคิดเอื้อทำเผื่อ  2) เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลชุมชนสมาชิกประกอบการตัดสินใจพัฒนาสอดคล้องตามระดับศักยภาพชุมชน 3) เพื่อเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวและพัฒนาเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนผนวกแหล่งท่องเที่ยวหลักโดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ณ ห้องประชุมอันดามัน วิทยาลัยชุมชนระนอง ทั้งนี้สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการร่วมจัดกระบวนการประชุมและสังเคราะห์ข้อมูลผ่านระบบออนไลน์
27 พฤศจิกายน 2567     |      3
ม.แม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมหารือการจัดฝึกอบรมการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับผลิตทุเรียนคุณภาพของจังหวัดชุมพร ประจำปีงบประมาณ 2568
      วันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชุมพร อาจารย์วิชชุดา  เอื้ออารี รองคณบดีฯ ฝ่ายกิจการพิเศษ และ อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์  วิชาสวัสดิ์ ประธานอาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชาพืชศาสตร์  ได้รับมอบหมายจาก คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ให้เข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณากำหนดแนวทางการนำแพลตฟอร์มดิจิทัลมาใช้งานเพื่อการผลิตทุเรียนชุมพร ณ ศาลากลางจังหวัดชุมพร อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร โดยมีนายธราพงษ์ มีมุสิทธิ์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดชุมพร เป็นประธานในที่ประชุมดังกล่าว พร้อมด้วยผู้บริหารส่วนงานต่างๆ อาทิ เกษตรจังหวัดชุมพร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชุมพร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดชุมพร ประธานหอการค้าจังหวัดชุมพร ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินชุมพร พาณิชย์จังหวัดชุมพร      ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือการจัดฝึกอบรมแนวทางการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับผลิตทุเรียนคุณภาพ ในโครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตทุเรียนชุมพรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม อบรมให้กับเกษตรกรชาวสวนทุเรียนทั้งทุเรียนแปลงใหญ่ และรายย่อย กลุ่มเป้าหมายจำนวน 440 คน และหลักเกณฑ์การคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ ของสำนักงานสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชุมพร ทั้งนี้ เพื่อให้จังหวัดชุมพร เป็นแหล่งผลิตทุเรียนชุมพรที่มีคุณภาพสูง ตามมาตรฐาน GAP
26 พฤศจิกายน 2567     |      15
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ประชุมออนไลน์ร่วมกับภาคีเครือข่าย มุ่งยกระดับหนุนเสริมผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการเติบโตไปพร้อมกัน
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมประชุมแบบออนไลน์ เพื่อแสวงหาแนวทางบูรณาการในการปฏิบัติการร่วมระหว่างสำนักงานพาณิชย์จังหวัดชุมพร และคณาจารย์ในหลักสูตร รวมถึงเครือข่ายสถาบันการศึกษา ภายใต้การพัฒนาและยกระดับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้อย่างยั่งยืนแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน SEC ทั้งนี้การประชุมดังกล่าว นำไปสู่แนวทางในการปฎิบัติการร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมกันยกระดับ/หนุนเสริมผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการเติบโตไปพร้อมๆกัน (ประโยชน์ร่วม) ดังนี้การมีส่วนร่วมในการสนับสนุนทรัพยากร เช่น บุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ เป็นต้น โดยเฉพาะทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานที่มีบทบาท หน้าที่ และอำนาจในการตัดสินใจ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาองค์กรชุมชนและเครือข่าย การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของผู้ประกอบการทุกระดับ และสอดคล้องตามพันธกิจของหน่วยงานนั้นๆ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนกลไกกลางให้เกิดความยั่งยืนตั้งแต่ระดับพื้นที่ ระดับจังหวัด ระดับระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ จนถึงระดับสากลส่งเสริมการจับคู่ธุรกิจ/เจรจาธุรกิจ ซึ่งโครงการ/กิจกรรมดังกล่าวเป็นหนึ่งในนโยบายและพันธกิจของหน่วยงานภาคีเครือข่าย ดังนั้นหากมีการบูรณาการทรัพยากรในการทำงานร่วมกัน เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด เช่น ขนาด จำนวนครั้ง ฐานข้อมูลคู่ค้า เป็นต้นการพัฒนาด้วยนวัตกรรม วิจัย และเทคโนโลยี สอดคล้องตามความต้องการของผู้ประกอบการโดยดำเนินผ่านกลไกทั้ง 2 ระดับแบบคู่ขนานคือระดับโครงการ SEC และระดับหน่วยงานย่อยภายในมหาวิทยาลัยในเครือข่ายการพัฒนาด้านการจัดจำหน่ายผ่าน PLATFORM ต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศหนุนเสริมกลไกกลางสามารถบริหารจัดการให้เกิดองค์กรภาคีเครือข่ายให้เกิดความเข้มแข็งแบบพี่ดูแลน้อง เพื่อนดูแลกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง จะส่งผลให้เกิดอำนาจและความสามารถในการต่อรอง เสริมสร้างพลังในการหนุนเสริมกันและกัน การส่งต่อ-การบอกต่อสินค้าและผลิตภัณฑ์ซึ่งกันและกันภายใต้ระบบฐานข้อมูลที่เป็นรูปธรรม หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงด้านระเบียบ เกณฑ์มาตรฐาน ที่เอื้อ ส่งเสริม ควบคุม สร้างโอกาส เป็นต้น แก่พี่-น้องภาคีเครือข่ายโดยสรุป การประชุมดังกล่าว นำไปสู่แนวทางในการปฎิบัติการร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมกันยกระดับ/หนุนเสริมผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการเติบโตไปพร้อมๆกัน (ประโยชน์ร่วม)  เช่น การมีส่วนร่วมในการสนับสนุนทรัพยากร เช่น บุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ เป็นต้น โดยเฉพาะทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานที่มีบทบาท หน้าที่ และอำนาจในการตัดสินใจ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาองค์กรชุมชนและเครือข่าย การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของผู้ประกอบการทุกระดับ และสอดคล้องตามพันธกิจของหน่วยงานนั้นๆ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนกลไกกลางให้เกิดความยั่งยืนตั้งแต่ระดับพื้นที่ ระดับจังหวัด ระดับระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ จนถึงระดับสากลต่อไป
26 พฤศจิกายน 2567     |      15
ว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ เป็นวิทยากรบรรยายเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ณ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอละแม
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอละแม จังหวัดชุมพร จัดโครงการการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักศึกษาศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอละแม โดยเชิญว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตร สังกัดงานบริการวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร เป็นวิทยากร บรรยายให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ (แนวทางการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงเกษตรทฤษฎีใหม่) เรื่องการเลี้ยงผึ้งชันโรง และเรื่องการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใบไผ่ด้วยวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ในวันอังคาร ที่ 19 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ณ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
26 พฤศจิกายน 2567     |      36