มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068

วันที่ 20 กันยายน 2567 ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมผู้บริหาร ให้การต้อนรับคณะนักศึกษาและอาจารย์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี นำโดย อาจารย์ ดร.วัฒนา นนทชิต รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และพันธกิจเพื่อสังคม และอาจารย์อุบลวรรณ บุญแก้ว อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ ณ อาคารแม่โจ้ 80 ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

ในโอกาสนี้ ว่าที่ร้อยตรี ดร.อนิรุต หนูปลอด ประธานคณาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ชุมพล อังคณานนท์ ได้กล่าวต้อนรับและแนะนำหลักสูตร พร้อมนำนักศึกษาในหลักสูตรรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือหลักสูตรรัฐศาสตร์-หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ระหว่าง 2 มหาวิทยาลัย และร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อเพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ของนักศึกษาด้วย

ปรับปรุงข้อมูล : 23/9/2567 13:46:54     ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 106

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง แต่ละชั้นปีเรียนอะไรบ้าง?
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร แต่ละชั้นปีเรียนอะไรบ้าง? ปี 1 : สามารถอธิบายการใช้เครื่องมือทางด้านวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ทางทะเลและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเรียนปรับพื้นฐานรายวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ อธิบายความรู้ด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมสุขภาวะ ความเป็นพลเมืองดิจิทัล การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์เรียนรู้หลักการพื้นฐานของการปฎิบัติงานฟาร์มประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งปี 2 :สามารถอธิบายความรู้และเข้าใจทักษะทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเรียนรู้หลักการวิเคราะห์คุณภาพน้ำเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เข้าใจนิเวศวิทยาทางทะเล และสมุทรศาสตร์เพื่อการประมงรู้จักกับปลาและสัตว์น้ำชนิดต่างๆ ผ่านรายวิชามีนวิทยาร่วมด้วยวิชาชีววิทยาของกุ้ง ปู และหอยทะเลเพื่อให้สามารถเข้าใจหลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเบื้องต้นปี 3 : สามารถวิเคราะห์ แก้ปัญหาและถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสัตว์น้ำชายฝั่งอย่างมีประสิทธิภาพเรียนรู้หลักการเพาะเลี้ยงแพลงก์ตอน เพื่อการเพาะเลี้ยงและการอนุบาลลูกสัตว์น้ำชายฝั่งเข้าใจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล การคำนวณสูตรและการผลิตอาหารและโภชนาการสัตว์น้ำหลักและวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคในสัตว์น้ำเข้าใจระเบียบวิธีวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อนำไปสู่การทำวิจัยพื้นฐานปี 4 : สามารถเลือกแนวทางในการเป็นผู้ประกอบการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งยังมีจริยธรรมปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในสถานประกอบการจริงทั้งในและต่างประเทศเรียนรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากทรัพยากรทางทะเลและนวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าทรัพยากรประมงเพื่อเศรษฐกิจ BCGเรียนรู้นวัตกรรมระบบน้ำหมุนเวียนเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำ กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการประมง รวมถึงการจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
27 พฤศจิกายน 2567     |      16
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมขับเคลื่อนกลไกเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดระนอง
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมขับเคลื่อนกลไกเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดระนอง ร่วมกับสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร วิทยาลัยชุมชนจังหวัดระนอง แกนนำชุมชนการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดระนอง และหน่วยงานภาคีเครือข่าย  โดยมุ่งพัฒนาเครือข่ายเชิงรุกจากฐานทุนกลไกเครือข่าย(เดิม) 1) เพื่อพัฒนาองค์กรเครือข่ายฯที่เป็นกลไกกลางในการประสานทุกทิศทาง พร้อมจดแจ้งเป็น "สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดระนอง" ภายใต้แนวคิด พี่ดูแลน้อง เพื่อนดูแลกัน พร้อมคิดเอื้อทำเผื่อ  2) เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลชุมชนสมาชิกประกอบการตัดสินใจพัฒนาสอดคล้องตามระดับศักยภาพชุมชน 3) เพื่อเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวและพัฒนาเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนผนวกแหล่งท่องเที่ยวหลักโดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ณ ห้องประชุมอันดามัน วิทยาลัยชุมชนระนอง ทั้งนี้สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการร่วมจัดกระบวนการประชุมและสังเคราะห์ข้อมูลผ่านระบบออนไลน์
27 พฤศจิกายน 2567     |      22
ม.แม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมหารือการจัดฝึกอบรมการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับผลิตทุเรียนคุณภาพของจังหวัดชุมพร ประจำปีงบประมาณ 2568
      วันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชุมพร อาจารย์วิชชุดา  เอื้ออารี รองคณบดีฯ ฝ่ายกิจการพิเศษ และ อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์  วิชาสวัสดิ์ ประธานอาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชาพืชศาสตร์  ได้รับมอบหมายจาก คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ให้เข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณากำหนดแนวทางการนำแพลตฟอร์มดิจิทัลมาใช้งานเพื่อการผลิตทุเรียนชุมพร ณ ศาลากลางจังหวัดชุมพร อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร โดยมีนายธราพงษ์ มีมุสิทธิ์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดชุมพร เป็นประธานในที่ประชุมดังกล่าว พร้อมด้วยผู้บริหารส่วนงานต่างๆ อาทิ เกษตรจังหวัดชุมพร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชุมพร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดชุมพร ประธานหอการค้าจังหวัดชุมพร ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินชุมพร พาณิชย์จังหวัดชุมพร      ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือการจัดฝึกอบรมแนวทางการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับผลิตทุเรียนคุณภาพ ในโครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตทุเรียนชุมพรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม อบรมให้กับเกษตรกรชาวสวนทุเรียนทั้งทุเรียนแปลงใหญ่ และรายย่อย กลุ่มเป้าหมายจำนวน 440 คน และหลักเกณฑ์การคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ ของสำนักงานสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชุมพร ทั้งนี้ เพื่อให้จังหวัดชุมพร เป็นแหล่งผลิตทุเรียนชุมพรที่มีคุณภาพสูง ตามมาตรฐาน GAP
26 พฤศจิกายน 2567     |      25
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ประชุมออนไลน์ร่วมกับภาคีเครือข่าย มุ่งยกระดับหนุนเสริมผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการเติบโตไปพร้อมกัน
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมประชุมแบบออนไลน์ เพื่อแสวงหาแนวทางบูรณาการในการปฏิบัติการร่วมระหว่างสำนักงานพาณิชย์จังหวัดชุมพร และคณาจารย์ในหลักสูตร รวมถึงเครือข่ายสถาบันการศึกษา ภายใต้การพัฒนาและยกระดับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้อย่างยั่งยืนแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน SEC ทั้งนี้การประชุมดังกล่าว นำไปสู่แนวทางในการปฎิบัติการร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมกันยกระดับ/หนุนเสริมผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการเติบโตไปพร้อมๆกัน (ประโยชน์ร่วม) ดังนี้การมีส่วนร่วมในการสนับสนุนทรัพยากร เช่น บุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ เป็นต้น โดยเฉพาะทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานที่มีบทบาท หน้าที่ และอำนาจในการตัดสินใจ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาองค์กรชุมชนและเครือข่าย การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของผู้ประกอบการทุกระดับ และสอดคล้องตามพันธกิจของหน่วยงานนั้นๆ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนกลไกกลางให้เกิดความยั่งยืนตั้งแต่ระดับพื้นที่ ระดับจังหวัด ระดับระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ จนถึงระดับสากลส่งเสริมการจับคู่ธุรกิจ/เจรจาธุรกิจ ซึ่งโครงการ/กิจกรรมดังกล่าวเป็นหนึ่งในนโยบายและพันธกิจของหน่วยงานภาคีเครือข่าย ดังนั้นหากมีการบูรณาการทรัพยากรในการทำงานร่วมกัน เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด เช่น ขนาด จำนวนครั้ง ฐานข้อมูลคู่ค้า เป็นต้นการพัฒนาด้วยนวัตกรรม วิจัย และเทคโนโลยี สอดคล้องตามความต้องการของผู้ประกอบการโดยดำเนินผ่านกลไกทั้ง 2 ระดับแบบคู่ขนานคือระดับโครงการ SEC และระดับหน่วยงานย่อยภายในมหาวิทยาลัยในเครือข่ายการพัฒนาด้านการจัดจำหน่ายผ่าน PLATFORM ต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศหนุนเสริมกลไกกลางสามารถบริหารจัดการให้เกิดองค์กรภาคีเครือข่ายให้เกิดความเข้มแข็งแบบพี่ดูแลน้อง เพื่อนดูแลกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง จะส่งผลให้เกิดอำนาจและความสามารถในการต่อรอง เสริมสร้างพลังในการหนุนเสริมกันและกัน การส่งต่อ-การบอกต่อสินค้าและผลิตภัณฑ์ซึ่งกันและกันภายใต้ระบบฐานข้อมูลที่เป็นรูปธรรม หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงด้านระเบียบ เกณฑ์มาตรฐาน ที่เอื้อ ส่งเสริม ควบคุม สร้างโอกาส เป็นต้น แก่พี่-น้องภาคีเครือข่ายโดยสรุป การประชุมดังกล่าว นำไปสู่แนวทางในการปฎิบัติการร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมกันยกระดับ/หนุนเสริมผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการเติบโตไปพร้อมๆกัน (ประโยชน์ร่วม)  เช่น การมีส่วนร่วมในการสนับสนุนทรัพยากร เช่น บุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ เป็นต้น โดยเฉพาะทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานที่มีบทบาท หน้าที่ และอำนาจในการตัดสินใจ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาองค์กรชุมชนและเครือข่าย การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของผู้ประกอบการทุกระดับ และสอดคล้องตามพันธกิจของหน่วยงานนั้นๆ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนกลไกกลางให้เกิดความยั่งยืนตั้งแต่ระดับพื้นที่ ระดับจังหวัด ระดับระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ จนถึงระดับสากลต่อไป
26 พฤศจิกายน 2567     |      23