มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068

วันที่ 24 กรกฎาคม 2567  เวลา 13.00 น. บริเวณโครงการไผ่เพื่อน้อง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมฝึกอบรม “อนุรักษ์พันธุกรรมไผ่ภาคใต้” ว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การฝึกอบรม มีนักศึกษาใหม่ แม่โจ้รุ่น 89 ผู้นำนักศึกษา และเจ้าหน้าที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดชุมพร เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 100 คน

นายกิตติภณ ถึงศรี ประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ภาคใต้ ได้มอบหมายให้ นายอุดมศักดิ์ เฉลิมพนาพันธ์ รองประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ภาคใต้ และประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ จังหวัดชุมพร เข้าร่วมกิจกรรมและกล่าวต้อนรับนักศึกษาใหม่ ใจความว่า  “ต้นไผ่ในแปลงแห่งนี้  เป็นไผ่ที่รุ่นพี่ของพวกเราได้ร่วมกันปลูก เพื่อให้รุ่นน้องและมหาวิทยาลัยได้ใช้ประโยชน์ทางการศึกษา เป็นแหล่งเรียนรู้ ตลอดจนการใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ อาทิ นำไปทำอาหาร ไปฝากโรงเรียนต่างๆในชุมชน วันนี้เป็นโอกาสดี  ที่เราได้ร่วมกันปลูกไผ่ ใส่ปุ๋ย  สืบสานเจตนารมณ์ของรุ่นพี่  ช่วยกันดูแลให้เป็นไผ่รวมกอ เติบโต เปรียบเสมือนความรักความสามัคคีของลูกแม่โจ้ ขอให้น้องๆช่วยกันสานต่อสิ่งดีๆเหล่านี้ไว้ครับ”  

พร้อมกันนี้ นางสาวยุพาพร สวัสดี พาณิชย์จังหวัดชุมพร ได้พบปะผู้เข้าอบรมและประชาสัมพันธ์กิจกรรม "แจกกล่องบรรจุภัณฑ์ผลไม้พร้อมสติกเกอร์ยกเว้นค่าขนส่งกับไปรษณีย์ไทย" ประจำปี 2567 โดยเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการตลาดออนไลน์ ช่วยกระจายผลผลิตผลไม้ในช่วงฤดูกาล และสนับสนุนผู้ค้าผลไม้ออนไลน์

ทั้งนี้ กิจกรรมฝึกอบรม “อนุรักษ์พันธุกรรมไผ่ภาคใต้”  ได้สร้างสรรค์กิจกรรมเสริม คือ “พี่ปลูกไผ่ น้องใส่ปุ๋ย  และบูรณาการร่วมกับโครงการ ไผ่เพื่อน้อง เพื่อสนองงานพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตลอดจนสร้างแปลงอนุรักษ์พันธุกรรมไผ่ สู่การเรียนรู้ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรไผ่ (ป่าไผ่) อย่างยั่งยืน พร้อมกันนี้ ชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ ภาคใต้ และศิษย์เก่าแม่โจ้ทั่วประเทศ ร่วมสนองงานตามพระราชดำริ ผ่านโครงการไผ่เพื่อน้องอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม โครงการแปลงรวบรวมชนิดพันธุ์ไผ่ท้องถิ่นภาคใต้  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประจำปี 2567 โดยมีว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตร เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

 

 

ปรับปรุงข้อมูล : 25/7/2567 14:24:38     ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 435

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปลูกต้นไม้พระราชทาน
      สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานต้นพลองใหญ่ ให้แก่จังหวัดชุมพร ภายใต้โครงการ “พระราชทานต้นพลองใหญ่คืนสู่ถิ่นกำเนิด” เพื่อเป็นการ สืบสาน รักษา และต่อยอด จากต้นพลองใหญ่ ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงปลูก ณ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2535 (ต้นไม้ทรงโปรด)      วันที่ 6 กันยายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดี และรองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร พร้อมด้วยบุคลากร ร่วมปลูกต้นพลองใหญ่ ณ แปลงปลูกอนุรักษ์พันธุกรรมพืช มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร โดยปลูกต้นพลองใหญ่ในบริเวณเดียวกับการปลูกต้นรวงผึ้ง เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 และในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2567 อีกทั้งยังเป็นงานสนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)      อย่างไรก็ดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะได้มีการศึกษาการใช้ประโยชน์จากต้นพลองใหญ่ต่อไป
6 กันยายน 2567     |      23
ขอเชิญร่วมส่งกำลังใจให้ผู้เข้าประกวด ดาว เดือน 2024 ม.แม่โจ้-ชุุมพร และโหวดรางวัล Social Awards
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ขอเชิญทุกท่าน ร่วมส่งกำลังใจให้ผู้เข้าประกวดทั้ง 12 หมายเลข ที่จะคว้ารางวัล Social Awards และจะเป็นหนึ่งบนเวที การประกวดค้นหาดาวและเดือน 2024 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ในวันเสาร์ ที่ 14 กันยายน 2567 ณ ลานใต้ตึก80 ปี สามารถโหวตแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 13 กันยายน 2567 เวลา 12.00 น. (การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด)กติกาการโหวต      * กดลิงค์ https://www.facebook.com/profile.php?id=61565122224159      * กด Like ใต้ภาพของผู้เข้าประกวดที่ชื่นชอบ      ( 1 การกด Like = 1 คะแนน )      ( 1 การกดแชร์ = 2 คะแนน )รายชื่อผู้เข้าประกวดทั้ง 12 หมายเลข    G01 นางสาวกนกกาญจน์ บุญนุ่ม (ฟองเบียร์)    G02 นางสาวมัณฑนา พุ่มขจร (กาตอง)    G03 นางสาวณัฐชยา อุดมรัตน์ (เฟียส)    G04 นางสาวจุทารัตน์ ทองวัง (แพรว)    G05 นางสาวรัชนาภร ประทีป ณ กลาง (ใบมิ้นท์)    G06 นางสาวมรรัตน์ บูและ (โอวันติน)    M01 นายชุติภาส เครื่องแตง (สล็อต)    M02 นายวรพล พวงจันทร์ (ต้าวหยอย)    M03 นายวีรวัฒน์ จุลถาวร (กาย)    M04 นายยุทธิพงศ์ บางยับยิ่ว (ต้นน้ำ)    M05 นายรวยถาวร ครุชสินธุ์ (โอ๊บ)    M06 นายสุรนัย รอดเพชร (อิง)
6 กันยายน 2567     |      19
กรรมการผู้จัดการบริษัท วีไอพี อินเตอร์ กรุ๊ป เข้าพบอธิการบดี สร้างความร่วมมือผลิตเห็ดคุณภาพสูงเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาวิจัย และบริการวิชาการ
วันที่ 6 กันยายน  2567  นายสุเมศวร์  เสนชู  กรรมการผู้จัดการบริษัท วีไอพี  อินเตอร์ กรุ๊ป  และผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร.สุนทร พิพิธแสงจันทร์ ที่ปรึกษาบริษัทฯ  เข้าพบรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา  อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้  รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์  ศรีเงินยวง รองอธิการบดี ดร.ขุนศรี ทองย้อย นายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในการทำความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการพัฒนาการเกษตรอัจฉริยะร่วมกัน  โดยจะเริ่มต้นที่การผลิตเห็ดคุณภาพสูงในระบบเกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFORM)  ในพื้นที่เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร  เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้  ศึกษาวิจัย และบริการวิชาการแก่ทั้ง 2 องค์กรต่อไป
6 กันยายน 2567     |      25