มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068

วันที่ 23 กรกฏาคม 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้อง 204 (อาคารแม่โจ้ 80 ปี)  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯฝ่ายวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมปฎิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน รุ่นที่ 1/2567 หลักสูตร “5 องค์ประกอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน”  โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสง หัวหน้าโครงการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การอบรม และมีผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ในพื้นที่จังหวัดชุมพร จำนวน 9 โรงเรียน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 1 โรงเรียน และกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 วิทยาลัย  เข้าร่วมกว่า 23 คน

พร้อมกันนี้ นางสาวสุภัคกมล ชินวงค์ ศึกษาธิการจังหวัดชุมพร กล่าวต้อนรับและให้กำลังใจแก่ผู้เข้าอบรม  “โดยให้มุ่งมั่น ตั้งใจ ร่วมกันคิด ร่วมกันปฎิบัติ  เพื่อขับเคลื่อนงานสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ทรัพยากรชีวภาพ กายภาพในท้องถิ่นของตน ตลอดจนนำองค์ความรู้ที่ได้รับ ไปเสริมสร้างการเรียนรู้ของนักเรียน เยาวชน และสังคม สืบสานพระราชปณิธาน รักษาฐานทรัพยากรแผ่นดิน ต่อไป”

จากนั้น พ.ต.ท. ไพโรจน์ นิลรัตน์ ผู้บังคับกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 41 นายวิบูลย์ เกลี้ยงสงค์ ปลัดอำเภอละแม และนายมาโนช ชูสำราญ ประธานศูนย์เครือข่ายอำเภอละแม กล่าวต้อนรับและให้กำลังใจแก่ผู้เข้าอบรม

ทั้งนี้ การอบรมมีทั้งบรรยายและฝึกปฎิบัติ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-26 กรกฏาคม 2567 โดยวิทยากร นายมรกต วัชระมุสิก เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) สำนักพระราชวัง สวนจิตรลดา และทีมวิทยากรโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช  ทั้งนี้  5 องค์ประกอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ประกอบด้วย

    องค์ประกอบที่ 1 : การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้

    องค์ประกอบที่ 2 : การรวบรวมพันธุ์ไม้เข้าปลูกในโรงเรียน

    องค์ประกอบที่ 3 : การศึกษาข้อมูลต่างๆ

    องค์ประกอบที่ 4 : การรายงานผลการเรียนรู้

    องค์ประกอบที่ 5 : การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา

อย่างไรก็ตาม การอบรมปฎิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน รุ่นที่ 1/2567 หลักสูตร “5 องค์ประกอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน”  มีวัตถุประสงค์ เพื่อร่วมสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีการจัดการทรัพยากรที่สมดุล เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันจะนำไปสู่แหล่งรวบรวมพันธุ์พืชชนิดต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนสนับสนุนการอนุรักษ์ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ นำไปสู่การพัฒนาบนพื้นฐานคุณธรรม เพื่อประโยชน์ของสังคม และประเทศชาติต่อไป

 

ปรับปรุงข้อมูล : 26/7/2567 21:43:17     ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 386

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

โครงการ "การส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางด้านการเป็นผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล ประจำปี 2568" สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ
วันที่ 30 มีนาคม 2568 ณ เวลาทะเล รีสอร์ท อำเภอสวี จังหวัดชุมพร หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดโครงการ "การส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางด้านการเป็นผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล ประจำปี 2568" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนและองค์กรต่างๆ และพัฒนาศักยภาพนักศึกษา 5 ด้าน ได้แก่ คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ทักษะทางปัญญา ทักษะความสำคัญระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยี ตลอดจนเป็นผู้เสียสละบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม เพื่อปลูกฝังความรู้ความเข้าใจแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและจริยธรรมทางธุรกิจให้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการองค์กรและดำเนินธุรกิจ
1 เมษายน 2568     |      47
สัมมนาพลิกโฉม ม.แม่โจ้-ชุมพร สู่การสร้างและพัฒนานักศึกษา บุคลากร และบัณฑิตผู้ประกอบการ "Entrepreneurial Mindset"
วันที่ 29 มีนาคม 2568 เวลา 08.30-13.00 น. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดโครงการ สัมมนาการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชุมพร สู่การสร้างและพัฒนานักศึกษา บุคลากร และบัณฑิตผู้ประกอบการ ในหัวข้อ "Entrepreneurial Mindset" ที่เต็มไปด้วยความรู้ ไอเดีย และแรงบันดาลใจในการเป็นผู้ประกอบการ ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์โดยมี ผศ.ดร.ชุมพล อังคณานนท์ หัวหน้าศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นวิทยากร อาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน ผู้ดำเนินรายการ จากเวทีสัมมนา...สู่สนามธุรกิจจริง! ไม่ใช่แค่แนวคิด แต่คือกุญแจสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการยุคใหม่ จงนำความรู้ที่ได้รับไปสร้างสรรค์ ต่อยอด และเปลี่ยนเป็นพลังขับเคลื่อนอนาคตของคุณ เพราะโลกธุรกิจไม่รอใคร...ผู้ที่ลงมือทำเท่านั้นที่เป็นผู้นำ! โดย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 เทียบเรียน หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการโครงการสัมมนา : เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา กก422 สัมมนาทางบริหารธุรกิจ อาจารย์ผู้สอน ผศ.ดร.ศุทธิกานต์ คงคล้าย
1 เมษายน 2568     |      44