มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068


วันนี้ 5 มิถุนายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พาวิน มะโนชัย รักษาการแทนรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวต้อนรับนายวิสาห์ พูนศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ประธานเปิดโครงการ MAGLEAD # 3 : ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย Well-being @ Chumphon กิจกรรม : จัดทำหลักสูตรฝึกอบรม ด้านพืชเศรษฐกิจเขตร้อน เช่น ทุเรียน และผู้เข้าร่วมเสวนา ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 อาคารเรียนรวมแม่โจ้ 80 ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้–ชุมพร โดยมีคณะวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิประกอบด้วย ดร.วัชรวิชญ์ กีรติดุสิตโรจน์ จาก Harvard Asia Academy ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดทำแผนและยุทธศาสตร์การพัฒนา คณะวิทยากรเสวนา ประกอบด้วย รศ.ดร.สมพร ณ นคร ผู้เชี่ยวชาญวิชาการด้านการผลิตทุเรียน นายพิเชฏฐ เทศรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตทุเรียน ดร.ฉัตรกมล มุ่งพยาบาล นายกสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคใต้ ปราชญ์เกษตรแผ่นดินปี 2564 ดร.วีรวัฒน์ จีรวงส์ นายกสมาคมชาวสวนไม้ผลชุมพร ปราชญ์เกษตรแผ่นดินปี 2566 และมีอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ประธานหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

มีผู้เข้าร่วมเสวนาจำนวนทั้งสิ้น 71 คน โดยเข้าร่วม ณ ห้องประชุม จำนวน 39 คน และเข้าร่วมออนไลน์ผ่านระบบ Zoom meeting จำนวน 32 คน ประกอบด้วย ปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญด้านทุเรียน ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ เครือข่ายเกษตรกรจากภูมิภาคต่างๆ ผู้ประกอบการ ตัวแทนสภาเกษตรจังหวัดชุมพรชาวไทย และตัวแทนเกษตรกรผู้ประกอบการและนักวิชาการจาก 4 ประเทศเข้าร่วมเสวนาผ่านระบบออนไลน์ ประกอบด้วยประเทศ Netherlands Loas Indonesia และ Philippines

การจัดอบรมเสวนาภายใต้กิจกรรมจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมด้านพืชเศรษฐกิจเขตร้อน (ทุเรียน) ดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อ
1. จัดตั้งสถาบันทุเรียนชุมพร (Chumphon Durian Academy) ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
2. รวบรวมองค์ความรู้ นวัตกรรม การวิจัยพร้อมทั้งพัฒนาต่อยอดเพื่อยกระดับการผลิตทุเรียนตลอดห่วงโซ่
3. พัฒนางานวิชาการงานวิจัยและบริการวิชาการทั้งการผลิตหลักสูตรเพื่อรองรับกลุ่มผู้เรียนทั้งชาวไทยและต่างชาติ ที่เป็นลักษณะ Non-degree และ Credit Bank ในอนาคต
4. เป็นศูนย์ประสานงานเพื่อบูรณาการความร่วมมือของภาควิชาการ ภาครัฐ เอกชน ประชาชนชน เพื่อยกระดับการผลิตทุเรียนของภูมิภาค

ทั้งนี้ โครงการ MAGLEAD#3 ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย Well-being@Chumphon กิจกรรมจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมด้านพืชเศรษฐกิจเขตร้อน (ทุเรียน) เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ MAGLEAD#3 เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตามแนวทางของสภามหาวิทยาลัยและนโยบายของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีงานนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นผู้รับผิดชอบ

ปรับปรุงข้อมูล : 7/6/2567 18:22:57     ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 241

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้มอบหมายให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้อนรับนักศึกษาใหม่แม่โจ้-ชุมพร
วันที่ 22 มิถุนายน 2567 เวลา 17.00 น. คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยยศ สัมฤทธิ์กุล รองอธิกาบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดี นางอนุตรา จ่ากุญชร ผู้อำนวยการกองพัฒนานักศึกษา และอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยผู้แทนองค์การนักศึกษา สภานักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้การต้อนรับนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างอัตลักษณ์ลูกแม่โจ้ ต้อนรับอินทนิลช่อที่ 89  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี อาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและเครือข่ายสัมพันธ์ อาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี อาจารย์ที่ปรึกษาองค์การนักศึกษา บุคลากรงานกิจการนักศึกษาและผู้แทนองค์กรนักศึกษาร่วมเดินทางด้วย
23 มิถุนายน 2567     |      9
นักศึกษาใหม่ แม่โจ้-ชุมพร ร่วมกิจกรรมปล่อยลูกปูม้า 72 ล้านตัว ถวายเป็นพระราชกุศล” เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา
วันที่ 21 มิถุนายน 2567 เวลา 09.00 น. อาจารย์ ดร.ภาวิดา รังษี รองคณบดีฯฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการ อาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น รองคณบดีฯฝ่ายพัฒนานักศึกษาและเครือข่ายสัมพันธ์ อาจารย์ ดร.จักกรช ณ นคร ผู้ช่วยคณบดี บุคลากร และนักศึกใหม่ ร่วมปล่อยปูม้าจำนวน 72 ล้านตัว ถวายเป็นพระราชกุศล”  เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา  ตลอดจนเพื่อฟื้นฟูธรรมชาติ ระบบนิเวศน์และความสมบูรณ์ของท้องทะเลไทย บริเวณทะเลหน้ามหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีคณะครู นักเรียน โรงเรียนเอื้ออำพน เข้าร่วมด้วยอย่างไรก็ตาม กิจกรรมปล่อยปูม้าคืนสู่ทะเลดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของโครงการธนาคารปูม้า จังหวัดชุมพร โดยได้รับทุนอุดหนุนการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย  จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
21 มิถุนายน 2567     |      15
บรรยากาศรายงานตัวเข้าหอพัก นักศึกษาใหม่ ม.แม่โจ้-ชุมพร คึกคัก คณบดี นำทีม “ ต้อนรับอินทนิลช่อที่ 89 “ สู่บ้านหลังที่ 2 อย่างอบอุ่น
วันที่ 20 มิถุนายน 2567 เวลา 09.00 น. นักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมผู้ปกครอง รายงานตัวเข้าหอพัก ณ อาคารคาวบอย 3 โดยมีอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมผู้บริหาร บุคลากร นักศึกษา ให้การต้อนรับเข้าสู่บ้านหลังที่ 2 บรรยากาศเป็นไปด้วยความคึกคักและอบอุ่น และในช่วงบ่ายเวลา 13.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.ภาวิดา รังษี รองคณบดีฯฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯฝ่ายวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการ และอาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและเครือข่ายสัมพันธ์ กล่าวต้อนรับนักศึกษาใหม่และผู้ปกครองพร้อมกันนี้ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี ได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนานักศึกใหม่ เสริมสร้างอัตลักษณ์ลูกแม่โจ้ เพื่อให้ผู้ปกครองและนักศึกษาเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวอย่างไรก็ตาม นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จะเดินทางไปร่วมกิจกรรมพัฒนานักศึกใหม่ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ในระหว่างวันที่ 21-29 มิถุนายน 2567 โดยมีอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วยอาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น รองคณบดีฯฝ่ายพัฒนานักศึกษาและเครือข่ายสัมพันธ์ นายสานิตย์ แป้นเหลือ นักวิชาการศึกษา และนางสาวศุจินธร รัตนิพนธ์ นักวิชาการศึกษา ดูแลนักศึกษาระหว่างเดินทางและตลอดการเข้าร่วมกิจกรรม
21 มิถุนายน 2567     |      21
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมงานฤดูกาลทุเรียนชุมพรจังหวัดชุมพร ปี 2567
วันที่ 15 มิถุนายน 2567 อาจารย์ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และอาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ประธานหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์ ได้รับเชิญจากสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร เข้าร่วมงานวันเปิดฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียน ประจำปี 2567 โดยมีนายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานเปิดงานพร้อมกันนี้ นางอู๋ตงเหมย กงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำสงขลา นายจางจื้อเหวิน กงสุลฝ่ายการพาณิชย์ นายนันทพงษ์ จิระเลิศพงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ นายครองศักดิ์ สงรักษา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ตัวแทนทั้งภาครัฐเอกชนและตัวแทนเกษตรกรเข้าร่วมซึ่งในปี 2567 คาดการณ์ว่าผลผลิตทุเรียนจังหวัดชุมพร จะมีผลผลิตประมาณ 2.5 แสนตันสร้างรายได้มากกว่า 33,000 ล้านบาท โดยจังหวัดชุมพร มีพื้นที่ปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้น 17.38 เปอร์เซ็นต์ และประเทศคู่ค้าที่สำคัญคือสาธารรัฐประชาชนจีน ที่นำเข้าผลผลิตสดทุเรียนสัดส่วนมากกว่า 65 เปอร์เซ็นต์ จากปริมาณการนำเข้าทุเรียนทั้งหมด โดยโครงการดังกล่าวจัดขึ้น ณ แปลงใหญ่ทุเรียนตำบลทะเลทรัพย์ หมู่ที่ 4 ตำบลทะเลทรัพย์ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร
17 มิถุนายน 2567     |      66