มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068

      วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 เวลา 16.30 ที่ บริเวณลานพระพิรุณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร อาจารย์ ดร.ภาวิดา รังษี รองคณบดีฯ ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ พร้อมด้วยอาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็นรองคณบดีฯ ฝ่ายพัฒนานักศึกษาและเครือข่ายสัมพันธ์  อาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร ผู้ช่วยคณบดี นายอุดมศักดิ์  เฉลิมพนาพันธ์ ประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ จังหวัดชุมพร และผู้แทนบุคลากร ผู้แทนนักศึกษา ร่วมต้อนรับ “ทีมปั่นคืนถิ่น 3 แม่โจ้ 90 ปี ทำความดีเพื่อแผ่นดิน 20 คนปั่นล้านคนให้” โดยร่วมสักการะพระพิรุณทรงนาค สักการะพระรูปปั้นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และไหว้รูปอาจารย์ ดร.บุญรอด ศุภอุดมฤกษ์

    ช่วงเย็น เวลา 18.00 น. ร่วมงานเลี้ยงต้อนรับทีมปั่นคืนถิ่น 3  โดยมีนางสุธีรา ศรีกาญจน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าพยาบาล (พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ) พ.ต.ท.จเร ชูแก้ว รองผู้กำกับการป้องกันปราบปรามสถานีตำรวจภูธรละแม และผู้แทนสจ.นันทภพ เอื้ออารี ร่วมต้อนรับ ณ ใต้อาคารแม่โจ้ 80 ปี

      และในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 น. ทีมปั่นคืนถิ่น 3 ไปร่วมกิจกรรมกับทางโรงพยาบาลละแม โดยทางโรงพยาบาลละแม ได้บริการตรวจวัดความดัน บริการนวดเท้าผ่อนคลายด้วยสมุนไพรไทย บริการปรึกษาสุขภาพใจ และแช่น้ำร้อน โดยมีนายแพทย์วิษณุ อนิลบล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลละแม นายสมเจตน์ ทองนาแค รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสวนแตง นางสาวธารีรัตน์ สุขสวัสดิ์ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสวนแตง และเจ้าหน้าที่ร่วมต้อนรับ ณ บ่อน้ำร้อนถ้ำเขาพลู ตำบลสวนแตง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร และในช่วงบ่ายวันเดียวกัน เวลา 13.00 น. ได้เข้าเยี่ยมชมโครงการไผ่เพื่อน้อง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

     อย่างไรก็ตาม ทีมปั่นคืนถิ่น 3 ได้มอบทุนการศึกษา “ชีวิตจิตใจมอบให้แม่โจ้” จำนวน 10,000 บาท ให้นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร อีกด้วย

     กิจกรรมชมรมปั่นจักรยานศิษย์เก่าแม่โจ้ “ปั่นคืนถิ่น 3 แม่โจ้ 90 ปี ทำความดีเพื่อแผ่นดิน 20 คนปั่น ล้านคนให้”  ในครั้งนี้ นอกจากจะร่วมฉลองโอกาสที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีอายุครบ 90 ปีแล้ว ยังร่วมระดมทุนจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ มอบให้กับ 4 โรงพยาบาลและ 1 คณะ ดังนี้ 1.โรงพยาบาลเบตง จังหวัดยะลา 2.โรงพยาบาลละแม จังหวัดชุมพร 3.โรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่ 4.โรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้   ต้นทางอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ปลายทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ~เบตง~แม่สาย~แม่โจ้ ระยะทางรวม 2,345 กิโลเมตร

ปรับปรุงข้อมูล : 1/12/2566 21:48:53     ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 533

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

คณบดีร่วมประชุมคณะกรรมการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการ ประจำจังหวัดชุมพร ครั้งที่ 1/2568
วันที่ 27 มกราคม 2568 เวลา 10.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี ร่วมประชุมคณะกรรมการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการ ประจำจังหวัดชุมพร ครั้งที่ 1/2568 โดยมีนายเธียรชัย ชูกิตติวิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานการประชุมฯ เพื่อมอบนโยบายและข้อสั่งการปฏิบัติราชการ รวมทั้งติดตามผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานต่าง ๆ โดยมี หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ นายอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรภาคเอกชนร่วมประชุม ณ ห้องประชุมเกาะเสม็ด ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดชุมพร ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ได้เน้นย้ำในประเด็นสำคัญ อาทิ การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยเฉพาะการดูแลผู้ที่มีอาการทางจิตเวช และการจัดการเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ของประชาชนและในช่วงบ่ายวันเดียวกัน คณบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เข้าสวัสดีปีใหม่ นายจีรศักดิ์ แสงหอย นายอำเภอหลังสวน และนายจรัส สมจิตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ อาหาร จำกัด (มหาชน) ฟาร์มทดลอง ละแม
28 มกราคม 2568     |      20
ม.แม่โจ้-ชุมพร ให้การต้อนรับ อาจารย์กชพรรณ นุ่นสังข์ ในการนิเทศติดตามผลการฝึกประสบการณ์นักศึกษาฝึกงาน ณ ห้องสมุด
วันที่ 27 มกราคม 2568 เวลา 09.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มอบหมายให้อาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร รองคณบดีฯ ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ พร้อมด้วย อาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี รองคณบดีฯ ฝ่ายกิจการพิเศษ และนายประภัย สุขอิน บรรณารักษ์ ให้การต้อนรับอาจารย์กชพรรณ นุ่นสังข์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ ซึ่งได้มานิเทศติดตามผลการฝึกประสบการณ์ ของนักศึกษาฝึกงาน พร้อมทั้งสอบถามสภาพปัญหา และข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากการฝึกประสบการณ์ของนักศึกษาซึ่งเข้ารับการฝึกงาน ณ ห้องสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
28 มกราคม 2568     |      22
สาขาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมขับเคลื่อนเกาะสีเขียว (Green Island)
สาขาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมขับเคลื่อนเกาะสีเขียว (Green Island) ผ่านกิจกรรมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามหลัก BCG Model สอดคล้องกับมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนโฮมสเตย์บ้านเกาะพิทักษ์ ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร โดยมี หน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนคือ สำนักงานเกษตรอำเภอหลังสวน เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2568 ณ ชุมชนเกาะพิทักษ์ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพรในการนี้ทุกฝ่ายร่วมกันพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะพิทักษ์ภายใต้แนวคิด BCG Model โดยการมุ่งการจัดการดังนี้1) การจัดการขยะ ทั้งขยะอินทรีย์ที่เกิดขึ้นในครัวเรือนและกิจกรรมการท่องเที่ยว ด้วยกระบวนการจัดการอย่างเป็นระบบ เช่น การนำอินทรีย์วัตถุไปทำปุ๋ยน้ำหมัก ปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่กลับกองตามสูตรวิศวกรรมแม่โจ้ 12) การจัดการขยะพลาสติกที่เกิดจากกิจกรรมการท่องเที่ยวและขยะพัดพา ด้วยการแยก จำหน่าย นำขึันฝั่ง หรือ แจ้งผุ้ประกอบการรายย่อยที่ขายขยะรรีไซเคิลมาขนย้ายและดำเนินการต่อไป 3) ระบบการบริการจัดการน้ำและน้ำเสียโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อคุณภาพน้ำ ด้วยการวางระบบปั๊มน้ำอัตโนมัติเพื่อพักน้ำ จัดเก็บ และใช้ประโยชน์ภายในสวนและด้านการเกษตรอื่นๆ 4) การสร้างพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกผักพื้นบ้าน/ผักป่าอายุยืน ผนวกกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากขยะอินทรีย์
28 มกราคม 2568     |      18