มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068

      วันที่ 20 พฤษภาคม 2566 เวลา 10.30 น. ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ดร.สมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย,ดร.องอาจ กิตติคุณชัย ,รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยยศ สันติวงษ์ ,นายวัยวุฒิ หล่อตระกูล ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรินทร์ พงศ์ศุภสมิทธิ์ ,ร้อยตรี ดร.วิจิตร อยู่สุภาพ ,รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีและคณะ พบปะบุคลากรและติดตามการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในการประชุมสภามหาวิทยาลัย-สัญจร โดยมีอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี กล่าวต้อนรับพร้อมรายงานผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรคการบริหารงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

      ทั้งนี้ ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้กล่าวให้โอวาทแก่บุคลากร ความว่า “ผู้บริหารต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน บุคลากรปฎิบัติขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน และไม่ทิ้งความเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเกษตร” พร้อมกันนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมเสนอแนะแนวทางการจัดการแก้ไข โดยมีตัวแทนจากกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ นายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และตัวแทนศิษย์เก่าแม่โจ้ ร่วมเสนอความคิดเห็น อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรต่อไป

      ในการนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้จัดนิทรรศการนำเสนอต่อคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยภายใต้แนวคิด “ความสัมพันธ์ของ 5 หลักสูตร ในรูปแบบของ BCG Model” โดยเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม 3 มิติ ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ( Bioeconomy) มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ซึ่งทั้งสองเศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) คือพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล

      และในช่วงบ่าย เวลา 14.00 น. ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้และคณะ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร บริเวณฟาร์มประมงของสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ศูนย์เกษตรสุขภาวะและโครงการความร่วมมือทางวิชาการเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้ง ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กับบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัดมหาชน

      อย่างไรก็ตาม ในการพบประบุคลากร ของนายกสภามหาวิทยาลัยและคณะในครั้งนี้ นับว่าเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจที่ดี ในการที่จะร่วมกันพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ต่อไป

 

 

ปรับปรุงข้อมูล : 20/5/2566 23:16:53     ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 265

กลุ่มข่าวสาร :

ข่าวล่าสุด

คณบดีร่วมประชุมคณะกรรมการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการ ประจำจังหวัดชุมพร ครั้งที่ 1/2568
วันที่ 27 มกราคม 2568 เวลา 10.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี ร่วมประชุมคณะกรรมการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการ ประจำจังหวัดชุมพร ครั้งที่ 1/2568 โดยมีนายเธียรชัย ชูกิตติวิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานการประชุมฯ เพื่อมอบนโยบายและข้อสั่งการปฏิบัติราชการ รวมทั้งติดตามผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานต่าง ๆ โดยมี หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ นายอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรภาคเอกชนร่วมประชุม ณ ห้องประชุมเกาะเสม็ด ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดชุมพร ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ได้เน้นย้ำในประเด็นสำคัญ อาทิ การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยเฉพาะการดูแลผู้ที่มีอาการทางจิตเวช และการจัดการเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ของประชาชนและในช่วงบ่ายวันเดียวกัน คณบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เข้าสวัสดีปีใหม่ นายจีรศักดิ์ แสงหอย นายอำเภอหลังสวน และนายจรัส สมจิตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ อาหาร จำกัด (มหาชน) ฟาร์มทดลอง ละแม
28 มกราคม 2568     |      20
ม.แม่โจ้-ชุมพร ให้การต้อนรับ อาจารย์กชพรรณ นุ่นสังข์ ในการนิเทศติดตามผลการฝึกประสบการณ์นักศึกษาฝึกงาน ณ ห้องสมุด
วันที่ 27 มกราคม 2568 เวลา 09.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มอบหมายให้อาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร รองคณบดีฯ ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ พร้อมด้วย อาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี รองคณบดีฯ ฝ่ายกิจการพิเศษ และนายประภัย สุขอิน บรรณารักษ์ ให้การต้อนรับอาจารย์กชพรรณ นุ่นสังข์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ ซึ่งได้มานิเทศติดตามผลการฝึกประสบการณ์ ของนักศึกษาฝึกงาน พร้อมทั้งสอบถามสภาพปัญหา และข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากการฝึกประสบการณ์ของนักศึกษาซึ่งเข้ารับการฝึกงาน ณ ห้องสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
28 มกราคม 2568     |      22
สาขาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมขับเคลื่อนเกาะสีเขียว (Green Island)
สาขาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมขับเคลื่อนเกาะสีเขียว (Green Island) ผ่านกิจกรรมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามหลัก BCG Model สอดคล้องกับมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนโฮมสเตย์บ้านเกาะพิทักษ์ ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร โดยมี หน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนคือ สำนักงานเกษตรอำเภอหลังสวน เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2568 ณ ชุมชนเกาะพิทักษ์ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพรในการนี้ทุกฝ่ายร่วมกันพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะพิทักษ์ภายใต้แนวคิด BCG Model โดยการมุ่งการจัดการดังนี้1) การจัดการขยะ ทั้งขยะอินทรีย์ที่เกิดขึ้นในครัวเรือนและกิจกรรมการท่องเที่ยว ด้วยกระบวนการจัดการอย่างเป็นระบบ เช่น การนำอินทรีย์วัตถุไปทำปุ๋ยน้ำหมัก ปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่กลับกองตามสูตรวิศวกรรมแม่โจ้ 12) การจัดการขยะพลาสติกที่เกิดจากกิจกรรมการท่องเที่ยวและขยะพัดพา ด้วยการแยก จำหน่าย นำขึันฝั่ง หรือ แจ้งผุ้ประกอบการรายย่อยที่ขายขยะรรีไซเคิลมาขนย้ายและดำเนินการต่อไป 3) ระบบการบริการจัดการน้ำและน้ำเสียโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อคุณภาพน้ำ ด้วยการวางระบบปั๊มน้ำอัตโนมัติเพื่อพักน้ำ จัดเก็บ และใช้ประโยชน์ภายในสวนและด้านการเกษตรอื่นๆ 4) การสร้างพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกผักพื้นบ้าน/ผักป่าอายุยืน ผนวกกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากขยะอินทรีย์
28 มกราคม 2568     |      18