มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068

      วันที่ 17 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ลงพื้นที่ปฎิบัติงานติดตามความก้าวหน้าการบริหารงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยมีอาจารย์ ดร.บุญศิลป์ จิตตะประพันธ์ คณบดี คณะผู้บริหารและบุคลากรต้อนรับและเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมใหญ่อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์

      โดยการลงพื้นที่ปฎิบัติงานในครั้งนี้ รองอธิการบดีได้ติดตามความก้าวหน้าพร้อมให้ข้อเสนอแนะการบริหารงานโดยภาพรวมของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร อาทิ  “สถานะด้านการเงินและงบประมาณ 2566 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร” ,“แผนพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร SPO มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มิติที่ 1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี ความสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการ Well-being@chumphon, “การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน การพัฒนาห้องปฏิบัติของนักศึกษา”, “โครงการครัวอิ่มอุ่นพี่เพื่อน้อง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร”, “โครงการเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมัน” และร่วมเป็นพยานพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และ บริษัท อุตสาหกรรม เทคโนโลยีชีวภาพ (ประเทศไทย) จำกัด

      พร้อมกันนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี รองอธิการบดีและคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้ลงพื้นที่หารือขยายความร่วมมือกับบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) ฟาร์มทดลองละแม ในด้านการพัฒนาหลักสูตรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ติดตามความก้าวหน้าการจัดทำ MOU โครงการผลิตมะพร้าวคุณภาพร่วมกับศิษย์เก่าแม่โจ้ และเยี่ยมชมการบริหารจัดการ “Farm to Table Cafe” บริเวณบ้านดิน ริมน้ำ

      อย่างไรก็ตาม การลงพื้นที่ปฎิบัติงานของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี รองอธิการบดี ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในครั้งนี้ นับว่าเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจที่ดีให้แก่บุคลากร ศิษย์เก่าแม่โจ้ ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นให้กับเครือข่าย และเป็นนิมิตหมายอันดีในการร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อพัฒนาพื้นที่สร้างรายได้ให้มหาวิทยาลัยในอนาคตต่อไป

 

ปรับปรุงข้อมูล : 19/3/2566 16:22:28     ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 481

กลุ่มข่าวสาร :

ข่าวล่าสุด

ม.แม่โจ้-ชุมพร จัดพิธีสักการะ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เนื่องในวันอาภากร 19 พฤษภาคม 2567
วันที่ 19 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.29 น. ณ บริเวณห้องโถงอาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยคณาจารย์และบุคลากร ร่วมสักการะพระรูปปั้น เนื่องในวันอาภากร หรือวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของ พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของ องค์บิดาทหารเรือไทย (เสด็จเตี่ย)ที่ได้ทรงพัฒนาปรับปรุงกิจการทหารเรือไทยให้ทัดเทียมอารยประเทศจนเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 3 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2423 เมื่อทรงมีพระชนมายุ 13 ปี ได้เสด็จไปทรงศึกษาวิชาการทหารเรือ ณ ประเทศอังกฤษ และเมื่อสำเร็จการศึกษาเสด็จกลับประเทศไทย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รับราชการในกองทัพเรือ พระองค์ทรงปรับปรุงการศึกษาวิชาการทหารเรือให้ทันสมัยเป็นรากฐานของกองทัพเรือไทยมาจนถึงปัจจุบัน กองทัพเรือจึงถวายนามพระองค์ว่า “องค์บิดาของทหารเรือไทย”นอกจากนี้ พระองค์ทรงสนพระทัยในการแพทย์ ทรงมุ่งศึกษาเกี่ยวกับตำราแพทย์แผนไทย จนสามารถช่วยเหลือประชาชนผู้เจ็บป่วยได้มากมายโดยมิทรงรับสิ่งตอบแทน พระเกียรติคุณในนามหมอพรได้ขจรขจายไปในประชาชนทุกเหล่าชั้น อีกทั้งในด้านการดนตรี พระองค์มีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่ง ทรงนิพนธ์เพลงที่มีเนื้อหาปลุกใจให้มีความรักชาติ กล้าหาญ ยอมเสียสละชีวิตเพื่อชาติพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงทุ่มเทพระวรกายและพระสติปัญญา ตรากตรำในการทรงงาน เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ ทำให้ทรงประชวรด้วยโรคภายใน จึงทรงลาออกจากราชการ และต่อมาเสด็จไปประทับรักษา ณ ชายทะเลปากน้ำ จังหวัดชุมพร และทรงสิ้นพระชนม์ ณ หาดทรายรี เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2466 สิระพระชันษา 44 ปี
19 พฤษภาคม 2568     |      9
ม.แม่โจ้ – ชุมพร สนองงานตามพระราชดำริ โครงการชั่งหัวมัน
วันที่ 15 พฤษภาคม 2568 ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ประชุมหารือแนวทางการพัฒนางานพื้น 2 ไร่ บริเวณส่วนหน้าของแปลงปลูกไม้ผลแบบประณีต โดยมีนางสาวมณฑิรา สาลักษณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ 3 โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา นางสาวสุรัตน์ ผลประเสริฐ หัวหน้าแผนก และนายธานินร์ นครชัยกุล รองหัวหน้าแผนก โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ ร่วมประชุมกับคณะทำงานโครงการ สาธิตการปลูกพืชผัก พืชไร่ และไม้ผลแบบประณีต พื้นที่ 10.5 ไร่ ในพื้นที่โครงการชั่งหัวมัน โดยมีนางสาวสุนิดา อนุการ นักวิชาการ นางสาวพัทธวรรณ สมจริง ผู้ช่วยนักวิชาการ ประจำโครงการฯ พร้อมด้วยคุณชัยวิชิต เพชรศิลา หัวหน้างาน และว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตร งานบริการวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร อย่างไรก็ตามในวันที่ 16 พฤษภาคม 2568 คณะทำงานได้เข้าพบกับคุณกานดา เมตตพันธุ์ ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 53 และคุณจิระวัฒน์ เลิศอัคราวิโรฒ ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 54 เพื่อประสานความร่วมมือด้านการรวบรวมพันธุ์พืชท้องถิ่นปลูกอนุรักษ์ในพื้นที่โครงการสาธิตการปลูกพืชผัก พืชไร่ และไม้ผลแบบประณีต พื้นที่ 10.5 ไร่ ในพื้นที่โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ ต่อไป
19 พฤษภาคม 2568     |      9
Program Learning Outcomes สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร (Program Learning Outcomes)PLO1 ใช้ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตในการดำรงชีวิตในยุตดิจิทัลได้PLO2 อธิบายการใช้เครื่องมือทางด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทางทะเล และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งได้PLO3 ใช้ความรู้ทางวิชาชีพทางด้านการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งPLO4 ทำวิจัยพื้นฐาน ถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิตอล เกี่ยวกับ IoT ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งPLO5 นำเสนอการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร เพื่อการเป็นผู้ประกอบการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งได้PLO6 มีจริยธรรมการใช้สัตว์ทดลองทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำPLO7 มีภาวะการเป็นผู้นำ อดทน สู้งาน ซื่อสัตย์ มีสัมมาคารวะ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
18 พฤษภาคม 2568     |      29
ต้อนรับคุณพฤหัส วงษ์ดำรงศักดิ์ และสมาชิกวิสาหกิจชุมชนผึ้งโพรงป่าเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน อ.ปะทิว จ.ชุมพร
ว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตร งานบริการวิชาการและวิจัย เป็นตัวแทนคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ต้อนรับคุณพฤหัส วงษ์ดำรงศักดิ์ และสมาชิกวิสาหกิจชุมชนผึ้งโพรงป่าเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืนอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เข้าเยี่ยมชมฐานเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งชันโรง และมอบผึ้งชันโรงชนิดขนเงิน จำนวน 2 รัง แหล่งพันธุกรรมจาก อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการอนุรักษ์ผึ้งชันโรง ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) สนองพระราชดำริโดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ทั้งนี้ทางวิสาหกิจชุมชนฯ จะได้ร่วมขับเคลื่อนโครงการอนุรักษ์ผึ้งโพรงไทย ร่วมกับงานบริการวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ในโอกาศต่อไป
14 พฤษภาคม 2568     |      26