มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068

      วันที่ 10 มกราคม 2566 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้ดำเนินโครงการ “เปลี่ยนเกษียณเป็นพลังจังหวัดชุมพรได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติปี 2565 ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสง ผู้ร่วมโครงการ อาจารย์ ดร. มัลลิกา จินดาซิงห์ อาจารย์ ดร.สุทธิรักษ์ ผลเจริญ อาจารย์ ดร.ขนิษฐา พัฒนสิงห์ อาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน อาจารย์อุทัยวรรณ ศรีวิชัย และคณะทำงาน ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการส่งเสริมการประกอบอาชีพด้านการเกษตรให้ผู้สูงอายุ ให้เข้าสู่สังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาทักษะงานงานเฉพาะของผู้สูงอายุด้านการทำเกษตรกรรม โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพและทดลองปฏิบัติ แบบ COACH-TRAINING พร้อมให้คำแนะนำ ให้ความรู้ด้านการทำเกษตรครบวงจร ได้แก่ เทคโนโลยีการทำการเกษตรด้วยนวัตกรรม Smart Farm เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถทำได้ ลดการใช้แรง ลดแรงงาน การผลิตปัจจัยทางการเกษตร การทำการเกษตรแบบสมัยใหม่ โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม Smart Farm มาใช้ในการบริหารจัดการในเรื่องของการให้น้ำในระบบการผลิตพืช เพื่อลดการใช้แรงงานของผู้สูงอายุ

     ในการนี้ได้ดำเนินการจัดทำพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการของโครงการเปลี่ยนเกษียณเป็นพลังจังหวัดชุมพร ระหว่าง 3 หน่วยงาน โดย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และจังหวัดชุมพร และดำเนินการสร้างความภูมิใจของผู้สูงอายุทางด้านการเกษตร โดยการประกวดคัดเลือกผู้สูงอายุที่ทำคุณงามความดีทางด้านการเกษตร โดยมีพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติให้กับผู้สูงอายุในจังหวัดชุมพร จำนวน 10 คน รวมถึงมีการจัดการประกวดผลผลิตพืชผลทางการเกษตร และมอบใบประกาศ ของรางวัลเป็นขวัญกำลังใจ และส่งมอบความสุขให้ผู้สูงอายุในการแสดงทอล์คโชว์ จากน้าโย่ง เชิญยิ้ม ณ อาคาร 80 ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กล่าวต้อนรับโดย ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร นายอเนก บำรุงกิจ รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวความเป็นมาของโครงการเปลี่ยนเกษียณเป็นพลังเฟส 2  ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ชลดรงค์ ทองสง กล่าวถึงโครงการและการดำเนินงานของโครงการ นายพิศิษฐิ์ ฤทธิพิชัยสงคราม ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรดำเนินการเปิดงานโครงการเปลี่ยนเกษียณเป็นพลังจังหวัดชุมพร ในกิจกรรมที่ 2 การส่งเสริมการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมให้กับผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการในจังหวัดชุมพร มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 320 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงจูงใจของกลุ่มผู้สูงอายุและสังคมผู้สูงอายุ (วัยเกษียณ) ให้เกิดแรงจูงใจในการพัฒนาทักษะงานด้านการเกษตรของผู้สูงอายุวัยเกษียณในจังหวัดชุมพร และส่งเสริมการประกอบอาชีพด้านการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ Smart Farm เพื่อสร้างกลไกการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมสูงอายุวัยเกษียณของจังหวัดชุมพร โดยการสร้างโอกาสและสร้างแรงจูงใจในการเข้าสู่สังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาทักษะงานในโลกดิจิทัล Training Up skill ผ่านการเรียนรู้แบบ E-Learning ทำให้สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ลดรายจ่าย สร้างคุณค่าภูมิปัญญาแก่ผู้สูงอายุด้านการเกษตรให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ และไม่เป็นภาระในการดูแลของครอบครัวหรือภาครัฐ

ปรับปรุงข้อมูล : 11/1/2566 15:20:42     ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 288

กลุ่มข่าวสาร :

ข่าวล่าสุด

ม.แม่โจ้-ชุมพร ฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน รุ่นที่ 1/2568 หลักสูตร " 5 องค์ประกอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน"
วันอังคาร ที่ 6 พฤษภาคม 2568 อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร และรองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ดำเนินการจัดฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน รุ่นที่ 1/2568 หลักสูตร " 5 องค์ประกอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน" ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ณ อาคารบุญรอดศุภอุดมฤกษ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร โดยได้รับเกียรติจากผู้ตรวจราชการศึกษาธิการภาค 5 และศึกษาธิการจังหวัดชุมพร มอบหมายภารกิจแก่ คุณสรวีย์ แสงเงิน รองศึกษาธิการจังหวัดชุมพร เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมดังกล่าว และมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กล่าวให้กำลังใจแก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้แก่ ดร.อนุสิทธิ์ นามโยธา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชุมพร เขต 1 ,คุณเบญดาญาภา ฉัตรชัยพันธ์ ปฏิบัติหน้าที่แทน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชุมพร เขต 2 และนางมะลิวรรณ พรหมวิเศษ ปลัดอำเภอละแม ปฏิบัติหน้าที่แทนนายอำเภอ ทั้งนี้ มีผู้เข้าฝึกอบรมตัวแทนจากสถานศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร จำนวน 25 ท่าน 20 หน่วยงาน เพื่อสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ทางศูนย์ประสานงานได้เชิญ คุณมรกต วัชรมุสิก วิทยากรจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) พระราชวังสวนจิตรดา และ ได้รับความกรุณาจาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยดำเนินการฝึกอบรมตั้งแต่วันที่ 6 - 9 พฤษภาคม 2568
7 พฤษภาคม 2568     |      125
อาจารย์ปณิดา กันถาด นำทีมนักวิจัยเข้าสำรวจเพื่อหาแนวทางพัฒนางานวิจัยในจังหวัดชุมพร
วันที่ 2-3 พฤษภาคม 2568 ที่ผ่านมา อาจารย์ปณิดา กันถาด  อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชศาสตร์ นำทีมนักวิจัย ประกอบด้วย ผศ.ดร.ศักดินันท์ นันตัง สาขาวิชานวัตกรรมเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ดร.สุทธิชัย บุญประสพ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ดร. ศิริวรรณ ณะวงษ์ หัวหน้าส่วนวิจัยด้านอาหารและการเกษตร และ ดร. นิชาดา เจียรนัยกูร นักวิทยาศาสตร์ ส่วนวิจัยด้านอาหารและการเกษตร ฝ่ายวิจัยและประยุกต์ใช้แสงซินโครตรอน สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) เข้าสำรวจเพื่อหาแนวทางในการพัฒนางานวิจัย ในพื้นที่จังหวัดชุมพร ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์ ตำบลถ้ำสิงห์ อำเภอเมืองกลุ่มทุเรียนแปลงใหญ่ตำบลถ้ำสิงห์ ตำบลถ้ำสิงห์ อำเภอเมืองกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด ผู้ผลิต "กล้วยหอมทองละแม" อำเภอละแม  และ P.COA Cafe' คาเฟ่โกโก้ พีโก้ ชุมพร ตลาดชุมชนหลังสวน ตำบลวังตะกอ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
7 พฤษภาคม 2568     |      39