มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068

นักศึกษารหัส 56 ที่มีความประสงค์จะรับใบเสร็จค่าธรรมเนียมการศึกษา ภาคเรียนที่ 1/2556 เพื่อให้ผู้ปกครองนำไปเบิกจ่ายค่าเล่าเรียน ให้มาติดต่อรับได้ที่งานการเงิน (น.ส.ฐิตาภรณ์ ปิโม) ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ปรับปรุงข้อมูล : 8/8/2556 17:01:07     ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 2143

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประกาศ

ข่าวล่าสุด

สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะสัตว์น้ำชายฝั่ง เรียนรู้นอกสถานที่ ณ พิชญาเพรียงทรายฟาร์ม
      วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 อาจารย์วีรชัย เพชรสุทธิ์ สาขานวัตกรรมการเพาะสัตว์น้ำชายฝั่ง จัดกิจกรรม "ทัศนศึกษาดูงานนอกสถานที่ และฝึกปฏิบัติงานการเลี้ยงเพรียงทราย" ภายใต้โครงการเสริมสร้างความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้รับเกียรติจากนายสุรชัย ธรรมคุณ น.ส.จุไรรัตน์ มุสิกสาร เจ้าของกิจการให้การต้อนรับและบรรยายสรุป โดยมีนักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ชั้นปีที่ 2 จำนวน 9 คน เข้าร่วมการฝึกปฏิบัติในครั้งนี้      กิจกรรมดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของการบูรณาการการเรียนการสอนเข้ากับการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษา ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรกับศิษย์เก่า ได้รับความสนใจจากนักศึกษาเป็นอย่างมาก โดยผู้เข้าร่วมได้รับทักษะและประสบการณ์ รวมทั้งแรงบันดาลใจในการต่อยอดความรู้สู่การปฏิบบัติจริง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา และพัฒนาทักษะในสายงานเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งในอนาคตต่อไป
9 กุมภาพันธ์ 2568     |      9
สาขาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมกับชุมชนในพื้นที่น้ำตกโตนเรือบิน อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
      สาขาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมกับชุมชนในพื้นที่น้ำตกโตนเรือบิน วังบัวตูม ควนนกหว้า พื้นที่หมู่ที่ 7 ตำบลปากหมาก อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมหาแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างมีส่วนร่วม กับหน่วยงานภาครัฐ (อำเภอไชยา ตำรวจ อุทยานแห่งเกษตรอำเภอ ผู้นำท้องที่และผู้นำท้องถิ่น) เอกชน (บ.AIS) และสถาบันการศึกษา (ม.ราชภัฏสุราษฏร์ธานีและม.แม่โจ้-ชุมพร) ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าว สามารถจัดทำเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว เช่น น้ำตก บ่อน้ำร้อน ทะเลหมอก และธรรมชาติของป่าที่ยังสมบูรณ์      ในการนี้ คณะกรรมการหมู่บ้าน ท่านนายอำเภอไชยา นายก อบต.ปากหมาก หัวหน้าอุทยานแก่งกรุง กำนันผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7 และคณะกรรมการจากหมาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ณ สถานที่ศาลาประชุมบ้านควนนกหว้า ใน วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป
8 กุมภาพันธ์ 2568     |      36
ม.แม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย ในการประชุมวิชาการระดับปริญญาบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 10 ณ สจล.วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
มื่อวันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ 2568 นักศึกษาพร้อมด้วยคณาจารย์สาขาวิชาพืชศาสตร์และสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย ภาคโปสเตอร์ และร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินผลงาน ในการประชุมวิชาการระดับปริญญาบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 10 (The 10th National Undergraduate Conference on Agricultural Science and Technology (NUCA)) ภายใต้แนวคิด “New Gen ฮัก เกษตร” ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร ทั้งนี้มีตัวแทนนักศึกษาเข้าร่วมนำเสนองานจำนวน 8 เรื่อง ดังนี้การนำเสนอผลงาน ภาคโปสเตอร์ (กลุ่มสาขาพืชศาสตร์)1. เรื่อง: ศึกษาปัญหาโรครากเน่าและโคนเน่าของทุเรียนในกลุ่มเกษตรกร ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพรโดย นางสาวจินดาลักษณ์ ไชยเสนาะและคณะอาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.สุทธิรักษ์ ผลเจริญ และผศ.ดร.มัลลิกา จินดาซิงห์การนำเสนอผลงาน ภาคบรรยาย (กลุ่มสาขาพืชศาสตร์)1. เรื่อง: การศึกษาความแตกต่างของลักษณะทางพฤกษศาสตร์ และปริมาณสารเคอร์คูมินในขมิ้น 4 สายพันธุ์ โดย นางสาวสิริยากร ใกล้ชิดและคณะ อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.มัลลิกา จินดาซิงห์ และผศ.ดร.สุทธิรักษ์ ผลเจริญ2. เรื่อง: การศึกษาปริมาณสารแซนโทนจากเปลือกมังคุดในตัวทำละลายที่แตกต่างกันด้วยเครื่องสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ โดย นายศศิเดช สุวรรณและคณะ อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.มัลลิกา จินดาซิงห์ และผศ.ดร.สุทธิรักษ์ ผลเจริญการนำเสนอผลงาน ภาคบรรยาย (กลุ่มสาขาประมง)1. เรื่อง: ผลของปูนขาวและน้ำส้มสายชูต่อการเปลี่ยนแปลงค่า pH ในน้ำเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดย นางสาวนวพร ลิ่มหวี และคณะ อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ. ดร. กมลวรรณ ศุภวิญญู และผศ. ยุทธนา สว่างอารมย์2. เรื่อง: อัตราการกรองกินสาหร่าย Nannochloropsis sp. ของลูกปลากระบอกดำ (Planiliza subviridis) โดย นายธนิกศร คงจันทร์ และคณะ อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ. ดร. กมลวรรณ ศุภวิญญู และผศ. ยุทธนา สว่างอารมย์3. เรื่อง: การอนุบาลลูกปลากระบอกดำ Planiliza subviridis ด้วยระบบน้ำหมุนเวียน โดย นายธรรมปนาท จับใจ และคณะ อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ. ดร. กมลวรรณ ศุภวิญญู และผศ. ยุทธนา สว่างอารมย์4. เรื่อง: การศึกษาประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อ Vibrio sp. ในน้ำเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei) ของเชื้อกลุ่ม Bacillus sp. จากดินเลน โดย นายติณณภพ ลิมป์รัชดาวงศ์ อาจารย์ที่ปรึกษา: อาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น5. เรื่อง: การศึกษาชนิดของเชื้อ Vibrio sp. ที่ได้จากน้ำเสียในบ่อเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม โดย นายกฤษดา รอดอินทร์ อาจารย์ที่ปรึกษา: อาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น
8 กุมภาพันธ์ 2568     |      40
ม.แม่โจ้-ชุมพร ลงนาม MOU เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้นักเรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี กับ 4 โรงเรียนในจังหวัดระนอง
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 13.00 น. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดย อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี และอาจารย์ ดร.จักกฤช ณ นคร รองคณบดีฯ ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ ลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ โครงการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้นักเรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี กับ 4 โรงเรียนในจังหวัดระนอง ณ ห้องประชุมเพชรธรักษ์  โรงเรียนพิชัยรัตนาคาร  ดังนี้1.โรงเรียนพิชัยรัตนาคาร โดย นางสาวกาญจนา พรหมวงศ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนพิชัยรัตนาคาร เป็นผู้ลงนาม2.โรงเรียนสตรีระนอง โดย ดร.สุรีย์รัตน์  พัฒนเธียร ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีระนอง เป็นผู้ลงนาม3.โรงเรียนกะเปอร์วิทยา โดยนายเสนอ นิ่งราวี ผู้อำนวยการโรงเรียนกะเปอร์วิทยา เป็นผู้ลงนาม4.โรงเรียนกระบุรีวิทยา โดยนายประเสริฐ รักร่วม  ผู้อำนวยการโรงเรียนกระบุรีวิทยา เป็นผู้ลงนาม การลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ในครั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสพิเศษด้วยการจัดสรรที่นั่งให้แก่นักเรียนเรียนดี ให้สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัย ส่งเสริมให้มีการพัฒนาการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาในส่วนภูมิภาค เพิ่มจำนวนนักเรียน ให้มีโอกาสได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐมากขึ้น ตลอดจนตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการแก้ปัญหาสังคม และปัญหาเศรษฐกิจ พร้อมกันนี้ หลังเสร็จสิ้นพิธีลงนาม ได้พูดคุยหารือถึงแนวทางความร่วมมือด้านอื่นๆระหว่างมหาวิทยาลัยกับโรงเรียน อาทิ การศึกษาดูงานของนักเรียน การแลกเปลี่ยนบุคลากรทางวิชาการ นักวิจัย เพื่อพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ การใช้ทรัพยากรต่างๆร่วมกัน เป็นต้น
8 กุมภาพันธ์ 2568     |      41