มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุมเกาะลังกาจิว ศาลากลางจังหวัดชุมพร อาจารย์ ดร.บุญศิลป์ จิตตะประพันธ์ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และคณะ เข้าพบ นายธีระ อนันตเสรีวิทยา ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร และ นายสมพร ปัจฉิมเพ็ชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เพื่อปรึกษาหารือ การดำเนินงานของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ภายใต้หน่วยปฏิบัติการส่วนหน้า หรือ "อว.ส่วนหน้า" โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้รับการแต่งตั้งเป็น อว.ส่วนหน้า ประจำจังหวัดชุมพร ในการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน อาทิ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล (U2T), โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University), คลินิกเทคโนโลยี, หมู่บ้านวิทยาลัยศาสตร์และเทคโนโลยี, การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบาย, และการบูรณาการหน่วยงานในสังกัด อว. ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่

ทำเนียบ อว.ส่วนหน้า ประจำจังหวัดชุมพร ประกอบด้วย นายสมพร ปัจฉิมเพ็ชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ผู้บริหารวิทยาศาสตร์จังหวัดระดับสูง (Provincial Chief Science Officer : PCSO), อาจารย์ ดร.บุญศิลป์ จิตตะประพันธ์ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้า อว. (Chicf Development Officer : CDO), และนางสาวพุทธพร ผ่องกาย ผู้ประสานงาน อว.ประจำจังหวัดชุมพร (Provincial Coordinator : PC) โดยมีหน้าที่ประสานการนำงานด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพิ่มขีดความสามารถผนวกกับศักยภาพจังหวัด รวมทั้งขับเคลื่อนแผนงาน โครงการด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สนับสนุนจังหวัดและส่งเสริมนำงานด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมสนับสนุนจังหวัด เป็นหน่วยงานรับประเด็นปัญหาที่มีความจำเป็นเร่งด่วนของจังหวัด เพื่อประสานงานหน่วยงานเจ้าขององค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนงานด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมพัฒนาจังหวัด โดยปฎิบัติหน้าที่สอดคล้องกับคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันประจำจังหวัดชุมพร

ปรับปรุงข้อมูล : 23/2/2564 16:04:51     ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 485

กลุ่มข่าวสาร :

ข่าวล่าสุด

คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กิจกรรมปล่อยปลาคาร์ฟ เพื่อพัฒนาพ่อแม่พันธุ์ปลาสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม ณ บ่อน้ำ 35 ไร่ ฟาร์มมหาวิทยาลัย
      วันที่ 30 เมษายน 2567 เวลา 17.30 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยอาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและเครือข่ายสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงสุดา จอมวงษา รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ อาจารย์ ดร.ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม รองคณบดีฝ่ายวิชาการและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยีประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยนายชัยวิชิต เพชรศิลา หัวหน้างานบริการวิชาการและวิจัย ดร.ณรงค์ โยธิน หัวหน้างานนโยบายแผนและประกันคุณภาพ นางสาวสายทอง สุจริยาพงศ์พร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา นายกฤษฎิ์ พลไทย นักวิชาการประมง นางสาวเกศณีย์ แท่นนิล ประมงจังหวัดชุมพร ตัวแทนศิษย์เก่าแม่โจ้ จังหวัดชุมพร นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ร่วมกิจกรรมปล่อยปลาคาร์ฟ เพื่อพัฒนาพ่อแม่พันธุ์ปลาสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม ตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ณ บ่อน้ำ 35 ไร่ ฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร      ทั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนพันธุ์ปลาคาร์ฟ จำนวน 1,500 ตัว จากนายสุชาติ จุลอดุง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำชุมพร โดยนายกฤษฎิ์ พลไทย นักวิชาการประมง นักวิชาการประมง เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
1 พฤษภาคม 2567     |      15
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมกิจกรรมพิธีสวดพระปริตรและเจริญพระพุทธมนต์ บำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระกุศลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโซติฯ
      วันจันทร์ ที่ 29 เมษายน 2567 เวลา 17.00น. อาจารย์ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยนายชาญวิทย์ ขุนทองจันทร์ นักวิชาการศึกษา เข้าร่วมพิธีสวดพระปริตรและเจริญพระพุทธมนต์ บำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระกุศลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ณ วัดสวนสมบูรณ์ หมู่ที่ ๗ ตำบลสวนแตง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
30 เมษายน 2567     |      130
คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมรับรองผลการพิจารณาการอนุญาตหรือเพิกถอนตราหรือสัญลักษณ์ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ณ เกาะพิทักษ์ ศาลากลาง จังหวัดชุมพร
      วันที่ 29 เมษายน 2567 อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในฐานะ คณะกรรมการอำนวยการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI (Geographical Indication) จังหวัดชุมพร ประชุมคณะกรรมการอำนวยการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI จังหวัดชุมพร สินค้าที่ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จำนวน 4 รายการ ได้แก่ กล้วยเล็บมือนางชุมพร กาแฟเขาทะลุ กาแฟถ้ำสิงห์ชุมพร และกล้วยหอมทองละแม โดยมีนายวรัตม์ มาประณีต รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานคณะกรรมการ และมีหัวหน้าส่วนราชการ และผู้แทนส่วนราชการเข้าร่วมประชุมฯ เพื่อพิจารณาและรับรองผลการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ กล้วยเล็บมือนางชุมพร กาแฟเขาทะลุ กาแฟถ้ำสิงห์ชุมพร และกล้วยหอมทองละแม จำนวน 15 ราย ณ ห้องประชุมเกาะพิทักษ์ ศาลากลางจังหวัดชุมพร ชั้น 3
30 เมษายน 2567     |      312
ขอแสดงความยินดีกับพนักงานมหาวิทยาลัยที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น ประเภทอำนวยการ
      ตามมติคณะกรรมการบริหารงานบุคคลมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครั้งที่ 7/2567 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2567 จำนวน 4 ราย ดังนี้ ระดับหัวหน้างาน/หัวหน้าฝ่าย : สังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร       1) นางสาวจิรภรณ์ ใจอ่อน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานบริหารและธุรการ สังกัดสำนักงานคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป       2) นางสาวศิริมาศ เจี้ยมกลิ่น ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานคลังและพัสดุ สังกัดสำนักงานคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป       3) นายณรงค์ โยธิน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานนโยบาย แผน และประกันคุณภาพ สังกัดสำนักงานคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป       4) นายชัยวิชิต เพชรศิลา ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานบริการวิชาการและวิจัย สังกัดสำนักงานคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป      กองบริหารทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 เมษายน 2567     |      306