มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
Maejo University at Chumphon โทร. 077-544068
คณบดี ม.แม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการ พ.ศ. 2570
วันที่ 2 - 3 เมษยน 2568 อาจารย์ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วย ผศ.ชลดรงค์ ทองสง อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ประธานหลักสูตรเทคโนโลยีการผลิตพืช อาจารย์วิระชัย เพชรสุทธิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการ พ.ศ. 2570  โดยมี นายอภิชาติ สาราบรรณ์  รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานเปิดการประชุมฯพร้อมมอบนโยบายให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมโดยการประชุมฯดังกล่าว มีผู้แทนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมการประชุม และได้เชิญ ดร.วัชรวิชญ์ กีรติดุสิตโรจน์ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์เป็นพิเศษ เป็นวิทยากรในการประชุม ณ ห้องพุทธรักษา โรงแรมมรกตทวิน อำเภอเมือง จังหวัดชุมพรโดยการจัดประชุมดังกล่าว ตัวแทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้พยายามที่จะผลักดันโครงการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าสู่แผนยุทธศาสตร์ของจังหวัด จำนวน 4 โครงการเพื่อขับเคลื่อนและตอบสนองนโยบายของจังหวัดชุมพร และของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ต่อไป
8 เมษายน 2568     |      92
ขอแสดงความยินดีกับ รศ.ดร.ชัยยศ สัมฤทธิ์สกุล รองอธิการบดี
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ขอแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยยศ สัมฤทธิ์สกุล รองอธิการบดี ในโอกาสได้รับแต่งตั้งให้ กำกับดูแล กำกับการบริหารงาน สั่งและปฎิบัติการแทนอธิการบดี ตามกรอบภาระงาน กำกับดูแลมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรทั้งนี้ ตามคำสั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ ๓๗๕/๒๕๖๘ เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ รองอธิการบดี (รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยยศ สัมฤทธิ์สกุล) กำกับดูแล กำกับการบริหารงาน สั่งและปฎิบัติการแทนอธิการบดี ตามกรอบภาระงาน กำกับดูแลมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตั้งแต่วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๘  สั่ง ณ วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๘https://url.in.th/XrXgf
8 เมษายน 2568     |      46
"Lamae Beach Music Festival ครั้งที่ 1" เปิดฉากอย่างยิ่งใหญ่ ณ หาดละแม แม่โจ้-ชุมพร
วันที่ 5 เมษายน 2568 นายเธียรชัย ชูกิตติวิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานในพิธีเปิดงานเทศกาลดนตรี"Lamae Beach Music Festival ครั้งที่ 1" ณ ชายหาดละแม หน้ามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร อำเภอละแม จังหวัดชุมพร โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วยนายเอน ชำนาญนา นายอำเภอละแม นายนันทภพ เอื้ออารี สมาชิกสภาจังหวัดชุมพรเขต 1 นายวนิพงศ์ มุณีน้อยรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้แทนหน่วยงานต่างๆของจังหวัดชุมพร เข้าร่วมพิธีเปิดงานเทศกาลดนตรีริมชายหาด “Lamae Beach music Festival ครั้งที่ 1” จัดขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชายหาดหน้ามหาวิทยาลัย ส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดชุมพร ตลอดจนกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนอย่างสร้างสรรค์โดยยกทัพศิลปินชื่อดังมาร่วมสร้างความสุข ความสนุกสนานมากมาย อาทิ เดอะทอยส์, มีนตรา อินทิรามัสเกตเทียร์วงมีน ไข่มุก รุ่งรัตน์วัชราวลีอ๊อฟ ปองศักดิ์ม๊อคค่า การ์เด้นลิลลี่ ได้หมดถ้าสดชื่น, F.Hero วงขนมหวาน พร้อมด้วย MC MizzRamon และ DJ BarbieMozzอย่างไรก็ตาม งานเทศกาลดนตรี"Lamae Beach Music Festival ครั้งที่ 1" คาดว่าจะสามารถประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ตลอดจนดึงดูดนักท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ในอำเภอละแมและจังหวัดชุมพรมากขึ้นภาพ : ปัญญานิวส์ภาพบรรยากาศ : https://www.facebook.com/share/16LbySUWdj/
7 เมษายน 2568     |      24
โครงการ "การส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางด้านการเป็นผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล ประจำปี 2568" สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ
วันที่ 30 มีนาคม 2568 ณ เวลาทะเล รีสอร์ท อำเภอสวี จังหวัดชุมพร หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดโครงการ "การส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางด้านการเป็นผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล ประจำปี 2568" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนและองค์กรต่างๆ และพัฒนาศักยภาพนักศึกษา 5 ด้าน ได้แก่ คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ทักษะทางปัญญา ทักษะความสำคัญระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยี ตลอดจนเป็นผู้เสียสละบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม เพื่อปลูกฝังความรู้ความเข้าใจแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและจริยธรรมทางธุรกิจให้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการองค์กรและดำเนินธุรกิจ
1 เมษายน 2568     |      66
สัมมนาพลิกโฉม ม.แม่โจ้-ชุมพร สู่การสร้างและพัฒนานักศึกษา บุคลากร และบัณฑิตผู้ประกอบการ "Entrepreneurial Mindset"
วันที่ 29 มีนาคม 2568 เวลา 08.30-13.00 น. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดโครงการ สัมมนาการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชุมพร สู่การสร้างและพัฒนานักศึกษา บุคลากร และบัณฑิตผู้ประกอบการ ในหัวข้อ "Entrepreneurial Mindset" ที่เต็มไปด้วยความรู้ ไอเดีย และแรงบันดาลใจในการเป็นผู้ประกอบการ ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์โดยมี ผศ.ดร.ชุมพล อังคณานนท์ หัวหน้าศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นวิทยากร อาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน ผู้ดำเนินรายการ จากเวทีสัมมนา...สู่สนามธุรกิจจริง! ไม่ใช่แค่แนวคิด แต่คือกุญแจสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการยุคใหม่ จงนำความรู้ที่ได้รับไปสร้างสรรค์ ต่อยอด และเปลี่ยนเป็นพลังขับเคลื่อนอนาคตของคุณ เพราะโลกธุรกิจไม่รอใคร...ผู้ที่ลงมือทำเท่านั้นที่เป็นผู้นำ! โดย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 เทียบเรียน หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการโครงการสัมมนา : เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา กก422 สัมมนาทางบริหารธุรกิจ อาจารย์ผู้สอน ผศ.ดร.ศุทธิกานต์ คงคล้าย
1 เมษายน 2568     |      62
ม.แม่โจ้-ชุมพร รับโล่รางวัลเชิดชูเกียรติร่วมกับ 11 หน่วยงาน สร้างอนาคตวิจัย ร่วมพัฒนานวัตกรรม
      วันที่ 27 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร รองคณบดีฯฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯ ฝ่ายวิชาการวิจัยและบริการวิชาการ รับโล่รางวัลเชิดชูเกียรติร่วมกับ 11 หน่วยงานจากสถาบันการศึกษาและวิทยาลัยต่าง ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมในภาคใต้ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วม ณ ห้องประชุมหัวตะพาน ชั้น 3 อาคารศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์      รางวัลดังกล่าว จัดขึ้นโดยอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อยกย่องความร่วมมือที่ดีเยี่ยมระหว่างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์กับหน่วยงานในภูมิภาค เพื่อผลักดันการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในระดับภูมิภาค โดยมอบให้กับหน่วยงานที่มีผลงานเด่นในการดำเนินงานวิจัยร่วมกัน ส่งเสริมการพัฒนาความรู้และทักษะใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติหน่วยงานที่ได้รับโล่รางวัล ได้แก่1.มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี2.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช3.มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต4.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช5.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์6.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี7.มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร8.วิทยาลัยชุมชนพังงา
1 เมษายน 2568     |      32
จังหวัดชุมพร ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
วันที่ 20 มีนาคม 2568 อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยนายสุวินัย เลาวิลาศ นักวิชาการการศึกษา เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โดยมีนายอภิชาติ สาราบรรณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ จังหวัดชุมพร ครั้งที่1/2568 โดยมีคณะกรรมฯ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมเกาะเสม็ด ศาลากลางจังหวัดชุมพร เพื่อติดตามการขับเคลื่อนผลการดำเนินโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ของจังหวัดชุมพรโดยคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ จังหวัดชุมพร มีผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานกรรมการ มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร และเลขานุการ คณะกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เป็นรองประธานกรรมการ มีหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ รวม 46 หน่วยงาน เป็นกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ อำนวยการ สั่งการ และกำหนดกรอบแนวทางปฏิบัติในการขับเคลื่อน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ของจังหวัดชุมพร, การจัดทำแผนแม่บท และ แผนปฏิบัติงานรายปี พร้อม กำกับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ของจังหวัดชุมพรการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาคส่วนต่างๆ ในการสนับสนุน การขับเคลื่อนโครงการฯ และการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการดำเนินงานสู่สาธารณชน ได้รับทราบ อย่างกว้างขวางสำหรับการประชุมครั้งนี้ มีการติดตามผลการดำเนินงานโครงการฯ, การรายงานสรุปข้อมูลงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนจังหวัดชุมพรแผนการขับเคลื่อนงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ของจังหวัดชุมพรนอกจากนี้ที่ประชุมได้พิจารณาเข้าร่วมการจัดประชุมวิชาการและนิทรรศการ ครั้งที่ 12 ทรัพยากรไทย : หวนดู ทรัพย์สิ่งสินตน ระหว่างวันที่ 4 - 10 พฤศจิกายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกับเข้าร่วมการจัดนิทรรศการในส่วนของจังหวัดชุมพร ภายในงานดังกล่าว
27 มีนาคม 2568     |      812
คณบดี ร่วมประชุมคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ (E3) จังหวัดชุมพร
วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม 2568 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมเกาะทองหลาง ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดชุมพร อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมประชุมคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ (E3) จังหวัดชุมพร โดยมีนายอภิชาติ สาราบรรณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานการประชุมฯ เพื่อพิจารณาผลการดำเนินงานพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐในส่วนของการดำเนินงานของกรมการพัฒนาชุมชน ด้านการเกษตร ด้านการแปรรูป และด้านการท่องเที่ยว การสำรวจรายงานการเปลี่ยนแปลงรายชื่อกรรมการของคณะกรรมการประสานงานและขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐประจำจังหวัด
21 มีนาคม 2568     |      553
ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมพิธีลงนาม (MOU) การส่งเสริมและสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตทุเรียนคุณภาพชุมพร ภายใต้ "Platform KASETTRACK”
วันที่ 19 มีนาคม 2568 อาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี รองคณบดีฯ ฝ่ายกิจการพิเศษ และอาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์ ร่วมพิธีลงนาม"บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ" (MOU) การส่งเสริมและสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตทุเรียนคุณภาพชุมพร ภายใต้ "Platform KASETTRACK” โดยมีนายเธียรชัย ชูกิตติวิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร นายประวิทย์ จันวะดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท วีเดฟซอฟท์ จำกัด ร่วมลงนาม หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาคีเครือข่าย เข้าร่วม ณ ห้องประชุมเกาะลังกาจิว ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดชุมพร บันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว เพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตทุเรียนคุณภาพชุมพร ภายใต้ "Platform KASET TRACK" ให้เกิดผลลัพธ์ที่ยังยืนต่อจังหวัดชุมพรระยะยาว ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเกษตร และคาดการณ์ข้อมูลผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญจากกลุ่มเกษตรกรต้นแบบของจังหวัดชุมพร ภายใต้ "Platform KASETTRACK"ทั้งนี้ หน่วยงานในพื้นที่จังหวัดชุมพรสามารถตรวจข้อมูลบันทึกกิจกรรมการผลิตพืชจาก "Platform KASETTRACK" ของเกษตรกรจังหวัดชุมพร ที่มีความประสงค์ขอรับรองมาตรฐานพืชปลอดภัยเพื่อเป็นหลักฐานแนบในการขอรับรองมาตรฐาน GAP ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือในการจัดกิจกรรมเรียนรู้ทางวิชาการและการฝึกอบรมกลุ่มเกษตรกร เพื่อนำไปสู่การพัฒนาจังหวัดชุมพรสู่เมืองเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture) จาก "Platform KASET TRACK" ต่อไป
20 มีนาคม 2568     |      88
คณบดี ร่วมลงนาม MOU ความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยเครือข่ายและตัวแทนภาครัฐ เอกชน ในงาน “ประชุมวิชาการ SRU Research and Innovation for Local empowerment”
วันที่ 13 มีนาคม 2568 อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อขับเคลื่อนเครือข่าย ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคองค์กรส่วนปกครองท้องถิ่น ภาคประชาชนและภาควิชาการ ในพื้นที่ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจชายฝั่งภาคใต้ ภายใต้ชุดโครงการวิจัย เรื่องการพัฒนาและยกระดับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคใต้อย่างยั่งยืนด้วยกลไขขับเคลื่อนเชิงพื้นที่ แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล ประธานหลักสูตรสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ เป็นผู้ร่วมวิจัยในโครงการวิจัยดังกล่าว การบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนางานวิจัย นวัตกรรม และการบริการวิชาการ เพื่อร่วมดำเนินการสนับสนุน กลุ่มธุรกิจศูนย์กลางทางเศรษฐกิจชายฝั่ง จากโครงการวิจัยระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor) ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา สุราษฎร์ธานี
14 มีนาคม 2568     |      108
รองคณบดีฯ ฝ่ายกิจการพิเศษ เข้าร่วมประชุมระดมความคิดในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด “ชุมพรขับเคลื่อนจังหวัดเป็นหนึ่ง”
วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2568 เวลา 09.30 น. อาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี รองคณบดีฯ ฝ่ายกิจการพิเศษ และอาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ประธานหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์ เข้าร่วมประชุมระดมความคิดในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดชุมพร (พ.ศ. 2566 - 2570) ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยนายสุรศักดิ์ อินศรีไกร ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ รักษาการในตำแหน่งศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 5 เป็นประธานในพิธีเปิดและร่วมเป็นวิทยากรจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของจังหวัดชุมพร ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายด้านการศึกษา และบริบทเชิงพื้นที่ ณ โรงแรมชุมพรการ์เดนส์ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร การประชุมดังกล่าว เน้นการบูรณาการการทำงานที่เชื่อมโยงกันทุกเครือข่าย เพื่อขับเคลื่อนนโยบายจังหวัดเป็นหนึ่ง ซึ่งมีนางสาวสุภัคกมล ชินวงค์ ศึกษาธิการจังหวัดชุมพร พร้อมด้วยนางสรวีย์ แสงเงิน รองศึกษาธิการจังหวัดชุมพร และผู้ทรงคุณวุฒิ ในกรรมการศึกษาธิการจังหวัดชุมพร คณะอนุกรรมการ/ผู้แทนหน่วยงานทางการศึกษา ผู้แทนส่วนราชการ ผู้แทนสถานศึกษา ผู้แทนจากภาคเอกชน ในพื้นที่จังหวัดชุมพร และบุคลากรของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชุมพร จำนวน 65 คน เข้าร่วม
14 มีนาคม 2568     |      93
ม.แม่โจ้-ชุมพร ให้การต้อนรับ นางอรุณธิดา จารุพันธุ์งาม และนางสาวภัทรภิดา สมัครัตน์ ร่วมขับเคลื่อนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องจากพระราชดำริฯ สมเด็จพระเทพรัตนสุดา สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
วันที่ 13 มีนาคม 2568 เวลา 08.30 น. ณ ห้องประชุมอาคารบุญรอดฯ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร และ นางสาวตรีชฎา สุวรรณโน ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดี ในนามตัวแทนศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.- มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ให้การต้อนรับ นางอรุณธิดา จารุพันธุ์งาม ผู้อำนวยการกลุ่มแผนงานและงบประมาณ (กผง.) และ นางสาวภัทรภิดา สมัครัตน์ นักวิชาการปฏิรูปที่ดินปฏิบัติการ กองประสานงานโครงการพระราชดำริและโครงการพิเศษ (กปร.) Royal Initiative and Special Project Sub-Bureau  สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เข้าพบปะพูดคุย  แนวทางการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องจากพระราชดำริฯ สมเด็จพระเทพรัตนสุดา สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนโครงการพระราชดำริฯ และจัดส่งเกษตรกรเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร “ 6 งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น” ที่ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร จะจัดขึ้นในเดือนกรกฎาคม นี้
13 มีนาคม 2568     |      94
ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ประชุมคณะทำงานจัดทำมาตรฐานทุเรียนพรีเมียมจังหวัดชุมพร ครั้งที่ 2/2568
วันพุธ ที่ 12 มีนาคม 2568 เวลา 13.30 น. อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ประธานหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์ เข้าร่วมประชุมคณะทำงานจัดทำมาตรฐานทุเรียนพรีเมียมชุมพร ครั้งที่ 2/2568  ณ ศูนย์วิจัยพืชสวน อำเภอสวี จังหวัดชุมพร โดยมีนายธีระศักดิ์ ยมสวัสดิ์ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดชุมพร เป็นประธานในการประชุมฯการประชุมดังกล่าว จัดโดยสภาเกษตรจังหวัดชุมพร เพื่อร่วมพิจารณาข้อกำหนดมาตรฐานทุเรียนพรีเมียมจังหวัดชุมพร และหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาการส่งออกทุเรียนไปจีน ของเกษตรกรและผู้ประกอบการส่งออก (ล้ง) ในพื้นที่จังหวัดชุมพรอย่างไรก็ตาม การกำหนดมาตรฐานทุเรียนพรีเมียมในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพทุเรียนชุมพร สร้างความเชื่อมั่นในตลาดต่างประเทศ ตลอดจนป้องกันปัญหาการสวมสิทธิ์ทุเรียนที่ไม่ได้มาตรฐาน พร้อมทั้งวางแนวทางการบริหารจัดการการส่งออกให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐานสากลต่อไป
13 มีนาคม 2568     |      83
ผศ.ดร.ชุมพล อังคณานนท์ ร่วมประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการวิจัย ของโครงการพัฒนารูปแบบการนิเทศทางไกล เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ แบบโค้ดดิ้ง (Coding)
วันพุธที่ 12 มีนาคม 2568 เวลา 13.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุมพล อังคณานนท์ เลขานุการอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชารัฐศาสตร์ เข้าร่วมประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการวิจัย ของโครงการพัฒนารูปแบบการนิเทศทางไกล เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ แบบโค้ดดิ้ง (Coding)  โดยมี นางสาวสุภัคกมล ชินวงค์ ศึกษาธิการจังหวัดชุมพร เป็นประธานการประชุมฯ ณ ห้องประชุมศูนย์เสมารักษ์ ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดชุมพร การประชุมดังกล่าว  จัดโดยกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชุมพร ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากกองทุน ววน. มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านงานวิจัย จากสถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย  3 แห่ง ในจังหวัดชุมพร เข้าร่วมประชุมพิจารณาแนวทางการดำเนินงานวิจัย ประกอบด้วย    1.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพบูลย์ โพธิ์หวัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์    2.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤมล รอดเนียม  มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ประจำวิทยาเขตชุมพร    3.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชุมพล อังคณานนท์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
13 มีนาคม 2568     |      83
ผศ.ดร.ประภากร ธาราฉาย นำทัพบุคลากร ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมพิธีบวงสรวง “Lamae Beach Music Festival”
วันที่ 11 มีนาคม 2568 เวลา 09.00 น. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประภากร ธาราฉาย รักษาการแทนรองอธิการบดี (กำกับดูแล บริหารงานฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร แทนอธิการบดี) รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยยศ สัมฤทธิ์สกุล รองอธิการบดี  คณะผู้บริหาร บุคลากร นักศึกษา และประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง เข้าร่วมพิธี บวงสรวง ขมา บอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ และความเป็นสิริมงคล ในการจัดแสดงดนตรี “Lamae Beach Music Festival” ที่จะจัดขึ้นในวันเสาร์ ที่ 5 เมษายน 2568 โดยมีนายนันทภพ เอื้ออารี สมาชิกสภาจังหวัดชุมพรเขต 1 อำเภอละแม เป็นประธานในพิธี ณ สนามกีฬา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร บรรยากาศภายในพิธีบวงสรวงเต็มไปด้วยความสิริมงคล พร้อมกันนี้ นางพัชราวลัย ศิริเวชธำรง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลอนดอน พีเค เดเวลลอปเมนท์ กรุ๊ป จำกัด ได้มอบข้าวสาร 5 กิโลกรัม จำนวน 100 ถุง แก่กลุ่มเปราะบางในอำเภอละแม  “แบ่งปันความสุข อิ่มใจทั้งผู้ให้และผู้รับ”งานแสดงดนตรี “Lamae Beach Music Festival” จัดโดย บริษัท ลอนดอน พีเค เดเวลลอปเมนท์ กรุ๊ป จำกัด ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เพื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย และส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดชุมพร ตลอดจนกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน
13 มีนาคม 2568     |      139
ประชาสัมพันธ์รับนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2568 ณ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอสวี จ.ชุมพร
วันที่ 8 มีนาคม 2568 อาจารย์ ดร.ฐิติมา ศรีพร พร้อมด้วยอาจารย์ฉัตรนลิน แก้วสม หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ และนายไพศาล กำเนิดเพชร นักศึกษาหลักสูตร 4 ปี เทียบเรียน เข้าแนะแนวและประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2568 ให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 120 คน ณ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอสวี จังหวัดชุมพร ได้รับความสนใจจากคณะครูและนักเรียนเป็นอย่างดี
10 มีนาคม 2568     |      105
ม.แม่โจ้-ชุมพร ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
     วันที่ 7 มีนาคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯ ฝ่ายวิชาการ วิจัย และบริการวิชาการ พร้อมด้วยอาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี รองคณบดีฯ ฝ่ายกิจการพิเศษ ให้การต้อนรับคณาจารย์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ จังหวัดนครปฐมเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงแพะ อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในการเยี่ยมชมและศึกษาดูงานฐานการเรียนรู้ชีวภัณฑ์ ฐานการเรียนรู้การปลูกดอกหน้าวัว และฐานการเรียนรู้การเลี้ยงไส้เดือนดิน >         พร้อมกันนี้ อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ได้บรรยาย “การขยายพันธุ์สับปะรดด้วยสารควบคุมการเจริญเติบโต” แก่คณะดังกล่าวอีกด้วย
10 มีนาคม 2568     |      100
ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมงาน "มหกรรมวิชาการ นวัตกรรมพอเพียงสู่ทักษะอาชีพอย่างยั่งยืน" ณ โรงเรียนประชาเอื้ออารี
วันที่ 5 มีนาคม 2568 อาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี รองคณบดีฯ ฝ่ายกิจการพิเศษ และอาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์ ร่วมงาน "มหกรรมวิชาการ นวัตกรรมพอเพียงสู่ทักษะอาชีพอย่างยั่งยืน" ณ โรงเรียนประชาเอื้ออารี อำเภอละแม จังหวัดชุมพร โดยมี นายพิษณุ วิจารจิตต์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 2 เป็นประธานในพิธีเปิด ทั้งนี้ มีผู้บริหารสถานศึกษาในศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาละแม รวมทั้ง คณะครู ผู้ปกครองและนักเรียนโรงเรียนประชาเอื้ออารีเข้าร่วมกิจกรรม
6 มีนาคม 2568     |      105
ม.แม่โจ้-ชุมพร เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ TCAS2568 รอบ 2
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เปิดรับสมัครนักศึกษาปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2568 TCAS2568 รอบ 2 ระหว่างวันที่ 5-25 มีนาคม 2568 จำนวน 2 หลักสูตร ดังนี้หลักสูตร 4 ปี รับผู้ที่กำลังศึกษาระดับชั้น ม.6 /ปวช./กศน. GED หรือเทียบเท่า รับทุกแผนการเรียน (GPAX 5 ภาคเรียน) 5 สาขาวิชา ดังนี้      1. สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง      2. สาขาวิชาพืชศาสตร์      3. สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ      4. สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ      5. สาขาวิชารัฐศาสตร์หลักสูตร 2 ปีเทียบเรียน หรือ 2 ปีต่อเนื่อง รับผู้ที่กำลังศึกษาระดับ ปวส. /อนุปริญญา หรือ เทียบเท่า (GPAX 3 ภาคเรียน) 5 สาขาวิชา ดังนี้      1. สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ทางด้านการประมง สัตวศาสตร์      2. สาขาวิชาพืชศาสตร์ ทางด้านเกษตรกรรม /พืชศาสตร์      3. สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ทางด้านการโรงแรม การท่องเที่ยว      4. สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ รับทุกประเภทวิชา (เรียนออนไลน์/ตกลงเวลาเรียนกับผู้สอน)      5. สาขาวิชารัฐศาสตร์ รับทุกประเภทวิชา (เรียนออนไลน์/ตกลงเวลาเรียนกับผู้สอน)สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : 0805359909สมัครออนไลน์ :https://admissions.mju.ac.th
5 มีนาคม 2568     |      160
ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้รับรางวัล จากการนำเสนอผลงานทางวิชาการภาคบรรยายใน “การประชุมวิชาการระดับชาติด้านทรัพยากรธรรมชาติและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ครั้งที่ 4 (4th NACON-NARAHS) จัดโดยคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ผ่านระบบออนไลน์1. นายธนธรณ์ ภาคีศิล ชั้นปีที่ 4 นำเสนอผลงานเรื่อง “ผลของแป้งจากกล้วยหอมทองดิบต่อการเจริญของจุลินทรีย์โพรไบโอติกสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ” ได้รับรางวัลดีเยี่ยม (ชนะเลิศอันดับ 1) ภาคบรรยาย (กลุ่มเทคโนโลยี และประมง)ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ (ที่ปรึกษาหลัก)2. นายณรงค์ฤทธิ์ วงศ์จันทร์มณี ชั้นปีที่ 4 นำเสนอผลงานเรื่อง “ผลของอาหารเพาะเลี้ยงต่อการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยงไดอะตอม Chaetoceros gracilis” ได้รับรางวัลชมเชย ภาคบรรยาย (กลุ่มเทคโนโลยี และประมง)ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ (ที่ปรึกษาหลัก)3. นายพีรพล ท้วมศรี ชั้นปีที่ 4 นำเสนอผลงานเรื่อง “ผลของการใช้ไบโอฟลอคต่อปริมาณสารประกอบไนโตรเจนในน้ำเลี้ยงปลากะพงขาว” ได้รับรางวัลชมเชย ภาคบรรยาย (กลุ่มเทคโนโลยี และประมง)ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กมลวรรณ ศุภวิญญู และผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุทธนา สว่างอารมย์ (ที่ปรึกษาหลัก)4. นายอภิรักษ์ รอดเจริญ ชั้นปีที่ 4 นำเสนอผลงานเรื่อง “ระบบไบโอฟลอคต่อการเจริญเติบโตของปลากะพงขาว” ได้รับรางวัลชมเชย ภาคบรรยาย (กลุ่มเทคโนโลยี และประมง)ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กมลวรรณ ศุภวิญญู และผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุทธนา สว่างอารมย์ (ที่ปรึกษาหลัก)5. นายณัฐวุฒิ เพ็ชรโสม ชั้นปีที่ 4 นำเสนอผลงานเรื่อง “ผลของชนิดอาหารต่ออัตรารอดตายของหอยตะโกรมกรามขาวขนาด 4 เซนติเมตร” ได้รับรางวัลชมเชย ภาคบรรยาย (กลุ่มเทคโนโลยี และประมง)ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ (ที่ปรึกษาหลัก)
5 มีนาคม 2568     |      129
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติภายใต้โครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาและยกระดับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้อย่างยั่งยืนด้วยกลไกการขับเคลื่อนเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน”
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติภายใต้โครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาและยกระดับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้อย่างยั่งยืนด้วยกลไกการขับเคลื่อนเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน”  โดยมี ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ตำแหน่งรองอธิการบดี ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี (มรส.) เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ได้กำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้าง ความเข้าใจในโครงการและติดตามผลการดำเนินงานของพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) ในวันศุกร์ ที่28 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.30–12.00 น. ผ่านระบบออนไลน์ ณ ห้องราชพฤกษ์ 2  ชั้น 2 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีตลอดจนร่วมหารือเรื่องการจัดพิธีลงนามความร่วมมือหรือ MOU ร่วมระหว่าง ผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการนำโดยผู้บริหารจากทั้ง 9 สถาบันใน 4 จังหวัด? ระหว่างวันที่ 13-14 มีนาคม พ.ศ. 2568 ที่ห้างเซ็นทรัลพลาซ่าจังหวัดสุราษฎร์ธานี
3 มีนาคม 2568     |      101
สาขาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมประชุมคณะทำงาน พายคายัค "ภูผา สู่มหานที ปีที่ 4"
สาขาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในนาม บริษัทนำเที่ยวเชิงนิเวศ (จำลอง) และว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตร  ในฐานะที่ร่วมเป็นคณะทำงาน พายคายัค "ภูผา สู่มหานที ปี 4" ประจำปี 2568 ร่วมกับมูลนิธิลุ่มน้ำหลังสวน เข้าร่วมหารือ ควบคู่กับการพัฒนาความร่วมมือในการจัดกิจกรรมเพื่อการส่งเสริมเส้นทางท่องเที่ยวทางทะเลด้วยคายัค และเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ ด้วยการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวโดยชุมชนและท่องเที่ยวเกาะในเขตอุทยาน ฯ ประกอบด้วย เกาะสูบ เกาะแรด เกาะกระ เกาะกุลา เกาะยุง เกาะหนู และเกาะแมว อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568
28 กุมภาพันธ์ 2568     |      120
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมนำเสนอ แนวทางกลไกการสร้างความสำเร็จ การนำไปใช้ประโยชน์ และหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่มีส่วนร่วมกับโครงการวิจัย
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์นี และสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมนำเสนอ แนวทางกลไกการสร้างความสำเร็จ การนำไปใช้ประโยชน์ และหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่มีส่วนร่วมกับโครงการวิจัย “การยกระดับและขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City)” ภายใต้แผนงานย่อยรายประเด็น “พัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning city)” ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยนำเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วย บพท.- หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่  เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568 ผ่านระบบการประชุมออนไลน์
28 กุมภาพันธ์ 2568     |      115
นายประภัย สุขอิน เป็นวิทยากรบรรยาย "เทคนิคการตรวจสอบและคัดเลือกวารสารเพื่อการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในระดับชาติและนานาชาติ"
นายประภัย สุขอิน บรรณารักษ์ ห้องสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรบรรยาย ในหัวข้อเทคนิคการตรวจสอบและคัดเลือกวารสารเพื่อการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในระดับชาติและนานาชาติ ให้กับอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ผ่านโปรแกรม Microsoft Teams ในวันพุธ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 โดยมีเนื้อหาการบรรยายที่น่าสนใจ ได้แก่ เทคนิคการตรวจสอบและคัดเลือกวารสาร การใช้เครื่องมือคัดเลือกและประเมินคุณภาพวารสาร การนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบและคัดเลือกวารสาร ข้อควรระวังในการคัดเลือกวารสารเพื่อการเผยแพร่ผลงาน
28 กุมภาพันธ์ 2568     |      129
ประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง รับสมัครผู้ใช้พื้นที่เพื่อจำหน่ายอาหาร และอาหารว่าง (ยกเว้นเครื่องดื่มทุกชนิด) ในงาน Lamae Beach Music Festival ครั้งที่ 1
ประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง รับสมัครผู้ใช้พื้นที่เพื่อจำหน่ายอาหาร และอาหารว่าง (ยกเว้นเครื่องดื่มทุกชนิด) ในงาน Lamae Beach Music Festival ครั้งที่ 1 วันที่ 5 เมษายน 2568 (รับสมัครจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568)สถานที่จำหน่าย พื้นที่บริเวณมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ขนาดพื้นที่ 3x3 เมตร จำนวน 51 ล็อกติดต่อรับใบสมัครที่ งานบริหารและธุรการมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หรือดาวน์โหลดแบบฟอร์มและส่งทางไปรษณีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เลขที่ 99 หมู่ 5 ต.ละแม อ.ละแม จ.ชุมพร 86170 (จนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 โดยใช้วันประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ)สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 082 518 6655 ,080 032 4056 , 081 839 2567รายละเอียดประกาศ: https://maejo.link/0ICDใบสมัครเข้าร่วมจำหน่ายอาหาร และอาหารว่าง: https://maejo.link/gej6
3 มีนาคม 2568     |      1007
ม.แม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการระดับชาติด้านทรัพยากรธรรมชาติและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ครั้งที่ 4 (4th NACON-NARAHS)
เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 ตัวแทนนักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย (Oral presentation) ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting จำนวน 5 เรื่อง ดังนี้ภาคบรรยาย (กลุ่มเทคโนโลยี และประมง)1.เรื่อง: ผลของอาหารเพาะเลี้ยงต่อการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยงไดอะตอม Chaetoceros gracilis โดย นายณรงค์ฤทธิ์ วงศ์จันทร์มณี และคณะ อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.พรพิมล พิมลรัตน์2.เรื่อง: ผลของการใช้ไบโอฟลอคต่อปริมาณสารประกอบไนโตรเจนในน้ำเลี้ยงปลากะพงขาวโดย นายพีรพล ท้วมศรี และคณะ อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ. ดร. กมลวรรณ ศุภวิญญู และผศ. ยุทธนา สว่างอารมย์3.เรื่อง: ผลของชนิดอาหารต่ออัตรารอดตายของหอยตะโกรมกรามขาวขนาด 4 เซนติเมตรโดย นายณัฐวุฒิ เพ็ชรโสม และคณะ อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.พรพิมล พิมลรัตน์4.เรื่อง: ระบบไบโอฟลอคต่อการเจริญเติบโตของปลากะพงขาวโดย นายอภิรักษ์ รอดเจริญ และคณะ อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ. ดร. กมลวรรณ ศุภวิญญู และผศ. ยุทธนา สว่างอารมย์5.เรื่อง: ผลของแป้งจากกล้วยหอมทองดิบต่อการเจริญของจุลินทรีย์โพรไบโอติกสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดย นายธนธรณ์ ภาคีศิล และคณะ อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.พรพิมล พิมลรัตน์จัดโดยคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
27 กุมภาพันธ์ 2568     |      139
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการร่วมเป็นหนึ่งเสียงที่ร่วมสร้างคุณค่าให้กับผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ตำบลหาดยาย อำหลังสวน จังหวัดชุมพร
เพราะเครือข่ายมีความสำคัญจึงควรร่วมสร้างสัมพันธ์แน่นแฟ้นตั้งแต่ระดับปัจเจก ครัวเรือน ชุมชน และองค์กรภาคีเครือข่าย" สาขาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมเป็นหนึ่งเสียงที่ร่วมสร้างคุณค่าให้กับผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ตำบลหาดยาย อำหลังสวน จังหวัดชุมพร นายชาญกวี สั่งสอน หรือ ผู้ใหญ่หมี ในการประเมิน “รางวัลแหนบทองคำ” ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้แก่ กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ที่ผ่านการคัดเลือกตามที่กำหนดไว้ระเบียบกระทรวงมหาดไทย โดยนายชาญกวี สั่งสอน เป็นหนึ่งใหนขุนพลสำคัญในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนในตำบลหาดยาย แกนนำเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอหลังสวน และเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ร่วมกับสาขาการท่องเที่ยวและบริการและหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องภายในจังหวัดชุมพร โดยใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่่องมือสำคัญในอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมและฟื้นฟูสังคม-วัฒนธรรม-ภูมิปัญญาท้องถิ่น การพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์และพัฒนาชุมชน ควบคู่กับการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง ณ ศาลาหมู่บ้านหมู่ 4 ตำบลหาดยาย อำหลังสวน จังหวัดชุมพร เมื่อ 23 มกราคม 2568
27 กุมภาพันธ์ 2568     |      105
บรรยากาศฝึกซ้อมพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
บรรยากาศการฝึกซ้อมเพื่อเตรียมความพร้อมบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เมื่อวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ 2568 เนื่องในโอกาสเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2566-2567 (ครั้งที่ 47) ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี พร้อมด้วยทีมผู้ช่วยอธิการบดี และผู้บริหารสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวต้อนรับและแสดงยินดีกับความสำเร็จของบัณฑิต โดยมีคณะผู้บริหาร บุคลากรเข้าร่วม
27 กุมภาพันธ์ 2568     |      93
ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมกิจกรรมพิธีประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ประจำปี 2568
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 อาจารย์วีรชัย เพชรสุทธิ์ สาขานวัตกรรมการเพาะสัตว์น้ำชายฝั่ง นำนักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 จำนวน 24 คน เข้าร่วมงานกิจกรรมพิธีประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ประจำปี 2568 ณ บริเวณท่าเทียบเรือประมงชุมพร หมู่ที่ 8 ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพรกิจกรรมดังกล่าว ได้รับความสนใจจากนักศึกษาเป็นอย่างมาก ทำให้นักศึกษาเกิดแรงบันดาลใจ เกิดความมุ่งมั่นตั้งใจวางแผนอนาคตภายหลังจากจบการศึกษา สามารถประกอบอาชีพรับราชการในหน่วยงานของกรมประมงต่อไป
27 กุมภาพันธ์ 2568     |      46
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการร่วมคณะทำงาน "ภูผา สู่มหานที"
สาขาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในนาม บริษัทนำเที่ยวเชิงนิเวศ (จำลอง) ร่วมเป็นคณะทำงาน พายคายัค "ภูผา สู่มหานที ปี 4" ประจำปี 2568 ร่วมกับมูลนิธิลุ่มน้ำหลังสวน เพื่อวางแผนและจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวทางทะเลด้วยคายัค เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ และและเชื่อมโยงการท่องเที่ยวโดยชุมชนและท่องเที่ยวเกาะในเขตอุทยาน ฯ ประกอบด้วย เกาะสูบ เกาะแรด เกาะกระ เกาะกุลา เกาะยุง เกาะหนู และเกาะแมว อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร โดยการประชุม ณ สำนักงานมูลนิธิลุ่มน้ำหลังสวน อำเภอหลังสวย จังหวัดชุมพร
27 กุมภาพันธ์ 2568     |      30
ประกวดราคาจ้างก่อสร้างอาคารปฏิบัติการการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
ประกวดราคาจ้างก่อสร้างอาคารปฏิบัติการการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 1.ประกวดราคาจ้างก่อสร้างอาคารปฏิบัติการการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร จำนวน1รายการ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) >>>>คลิกhttps://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25680211104517_788989.pdf 2.เอกสารประกวดราคาจ้างก่อสร้างอาคารปฏิบัติการการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร จำนวน 1 รายการ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) เลขที่มจ.ชพ.)7/2568 >>>>คลิกhttps://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25680211104525_139164.pdf 3.ร่างขอบเขต(TOR)โครงการก่อสร้างอาคารปฏิบัติการการเรียนรู้ตลอดชีวิตตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร >>>>คลิกhttps://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25680211104535_820843.pdf 4.ราคากลาง โครงการก่อสร้างอาคารปฏิบัติการการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร >>>>คลิกhttps://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25680211104543_24871.pdf
11 กุมภาพันธ์ 2568     |      186
นักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง คว้ารางวัลการนำเสนอภาคบรรยาย การประชุมวิชาการระดับปริญญาบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 10 (NUCA2025)
ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ที่มุ่งมั่นส่งเสริมและผลักดันกิจกรรมเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการและประสบการณ์นอกชั้นเรียนให้แก่นักศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยสนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับปริญญาบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 10 (NUCA2025) ระหว่างวันที่ 6 – 7 กุมภาพันธ์ 2568 ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาระดับปริญญาตรี นำเสนองานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ภาคบรรยาย ผลจากการเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ นักศึกษาสามารถคว้ารางวัลมาได้ 2 รางวัล ดังนี้ •นายธนิกศร คงจันทร์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ภาคบรรยาย ด้านวิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ ผลงานเรื่อง “อัตราการกรองกินสาหร่าย Nannochloropsis sp. ของลูกปลากระบอกดำ (Planiliza subviridis)” โดยมี ผศ. ดร. กมลวรรณ ศุภวิญญู และผศ. ยุทธนา สว่างอารมย์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา •นางสาวนวพร ลิ่มหวี ได้รับรางวัลชมเชย ด้านวิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ ผลงานเรื่อง “ผลของปูนขาวและน้ำส้มสายชูต่อการเปลี่ยนแปลงค่า pH ในน้ำเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ” โดยมี ผศ.ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู และผศ.ยุทธนา สว่างอารมย์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
10 กุมภาพันธ์ 2568     |      150
สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะสัตว์น้ำชายฝั่ง เรียนรู้นอกสถานที่ ณ พิชญาเพรียงทรายฟาร์ม
      วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 อาจารย์วีรชัย เพชรสุทธิ์ สาขานวัตกรรมการเพาะสัตว์น้ำชายฝั่ง จัดกิจกรรม "ทัศนศึกษาดูงานนอกสถานที่ และฝึกปฏิบัติงานการเลี้ยงเพรียงทราย" ภายใต้โครงการเสริมสร้างความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้รับเกียรติจากนายสุรชัย ธรรมคุณ น.ส.จุไรรัตน์ มุสิกสาร เจ้าของกิจการให้การต้อนรับและบรรยายสรุป โดยมีนักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ชั้นปีที่ 2 จำนวน 9 คน เข้าร่วมการฝึกปฏิบัติในครั้งนี้      กิจกรรมดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของการบูรณาการการเรียนการสอนเข้ากับการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษา ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรกับศิษย์เก่า ได้รับความสนใจจากนักศึกษาเป็นอย่างมาก โดยผู้เข้าร่วมได้รับทักษะและประสบการณ์ รวมทั้งแรงบันดาลใจในการต่อยอดความรู้สู่การปฏิบบัติจริง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา และพัฒนาทักษะในสายงานเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งในอนาคตต่อไป
9 กุมภาพันธ์ 2568     |      114
สาขาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมกับชุมชนในพื้นที่น้ำตกโตนเรือบิน อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
      สาขาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมกับชุมชนในพื้นที่น้ำตกโตนเรือบิน วังบัวตูม ควนนกหว้า พื้นที่หมู่ที่ 7 ตำบลปากหมาก อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมหาแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างมีส่วนร่วม กับหน่วยงานภาครัฐ (อำเภอไชยา ตำรวจ อุทยานแห่งเกษตรอำเภอ ผู้นำท้องที่และผู้นำท้องถิ่น) เอกชน (บ.AIS) และสถาบันการศึกษา (ม.ราชภัฏสุราษฏร์ธานีและม.แม่โจ้-ชุมพร) ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าว สามารถจัดทำเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว เช่น น้ำตก บ่อน้ำร้อน ทะเลหมอก และธรรมชาติของป่าที่ยังสมบูรณ์      ในการนี้ คณะกรรมการหมู่บ้าน ท่านนายอำเภอไชยา นายก อบต.ปากหมาก หัวหน้าอุทยานแก่งกรุง กำนันผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7 และคณะกรรมการจากหมาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ณ สถานที่ศาลาประชุมบ้านควนนกหว้า ใน วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป
8 กุมภาพันธ์ 2568     |      135
ม.แม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย ในการประชุมวิชาการระดับปริญญาบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 10 ณ สจล.วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
มื่อวันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ 2568 นักศึกษาพร้อมด้วยคณาจารย์สาขาวิชาพืชศาสตร์และสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย ภาคโปสเตอร์ และร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินผลงาน ในการประชุมวิชาการระดับปริญญาบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 10 (The 10th National Undergraduate Conference on Agricultural Science and Technology (NUCA)) ภายใต้แนวคิด “New Gen ฮัก เกษตร” ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร ทั้งนี้มีตัวแทนนักศึกษาเข้าร่วมนำเสนองานจำนวน 8 เรื่อง ดังนี้การนำเสนอผลงาน ภาคโปสเตอร์ (กลุ่มสาขาพืชศาสตร์)1. เรื่อง: ศึกษาปัญหาโรครากเน่าและโคนเน่าของทุเรียนในกลุ่มเกษตรกร ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพรโดย นางสาวจินดาลักษณ์ ไชยเสนาะและคณะอาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.สุทธิรักษ์ ผลเจริญ และผศ.ดร.มัลลิกา จินดาซิงห์การนำเสนอผลงาน ภาคบรรยาย (กลุ่มสาขาพืชศาสตร์)1. เรื่อง: การศึกษาความแตกต่างของลักษณะทางพฤกษศาสตร์ และปริมาณสารเคอร์คูมินในขมิ้น 4 สายพันธุ์ โดย นางสาวสิริยากร ใกล้ชิดและคณะ อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.มัลลิกา จินดาซิงห์ และผศ.ดร.สุทธิรักษ์ ผลเจริญ2. เรื่อง: การศึกษาปริมาณสารแซนโทนจากเปลือกมังคุดในตัวทำละลายที่แตกต่างกันด้วยเครื่องสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ โดย นายศศิเดช สุวรรณและคณะ อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.มัลลิกา จินดาซิงห์ และผศ.ดร.สุทธิรักษ์ ผลเจริญการนำเสนอผลงาน ภาคบรรยาย (กลุ่มสาขาประมง)1. เรื่อง: ผลของปูนขาวและน้ำส้มสายชูต่อการเปลี่ยนแปลงค่า pH ในน้ำเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดย นางสาวนวพร ลิ่มหวี และคณะ อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ. ดร. กมลวรรณ ศุภวิญญู และผศ. ยุทธนา สว่างอารมย์2. เรื่อง: อัตราการกรองกินสาหร่าย Nannochloropsis sp. ของลูกปลากระบอกดำ (Planiliza subviridis) โดย นายธนิกศร คงจันทร์ และคณะ อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ. ดร. กมลวรรณ ศุภวิญญู และผศ. ยุทธนา สว่างอารมย์3. เรื่อง: การอนุบาลลูกปลากระบอกดำ Planiliza subviridis ด้วยระบบน้ำหมุนเวียน โดย นายธรรมปนาท จับใจ และคณะ อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ. ดร. กมลวรรณ ศุภวิญญู และผศ. ยุทธนา สว่างอารมย์4. เรื่อง: การศึกษาประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อ Vibrio sp. ในน้ำเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei) ของเชื้อกลุ่ม Bacillus sp. จากดินเลน โดย นายติณณภพ ลิมป์รัชดาวงศ์ อาจารย์ที่ปรึกษา: อาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น5. เรื่อง: การศึกษาชนิดของเชื้อ Vibrio sp. ที่ได้จากน้ำเสียในบ่อเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม โดย นายกฤษดา รอดอินทร์ อาจารย์ที่ปรึกษา: อาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น
8 กุมภาพันธ์ 2568     |      133
ม.แม่โจ้-ชุมพร ลงนาม MOU เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้นักเรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี กับ 4 โรงเรียนในจังหวัดระนอง
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 13.00 น. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดย อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี และอาจารย์ ดร.จักกฤช ณ นคร รองคณบดีฯ ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ ลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ โครงการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้นักเรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี กับ 4 โรงเรียนในจังหวัดระนอง ณ ห้องประชุมเพชรธรักษ์  โรงเรียนพิชัยรัตนาคาร  ดังนี้1.โรงเรียนพิชัยรัตนาคาร โดย นางสาวกาญจนา พรหมวงศ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนพิชัยรัตนาคาร เป็นผู้ลงนาม2.โรงเรียนสตรีระนอง โดย ดร.สุรีย์รัตน์  พัฒนเธียร ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีระนอง เป็นผู้ลงนาม3.โรงเรียนกะเปอร์วิทยา โดยนายเสนอ นิ่งราวี ผู้อำนวยการโรงเรียนกะเปอร์วิทยา เป็นผู้ลงนาม4.โรงเรียนกระบุรีวิทยา โดยนายประเสริฐ รักร่วม  ผู้อำนวยการโรงเรียนกระบุรีวิทยา เป็นผู้ลงนาม การลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ในครั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสพิเศษด้วยการจัดสรรที่นั่งให้แก่นักเรียนเรียนดี ให้สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัย ส่งเสริมให้มีการพัฒนาการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาในส่วนภูมิภาค เพิ่มจำนวนนักเรียน ให้มีโอกาสได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐมากขึ้น ตลอดจนตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการแก้ปัญหาสังคม และปัญหาเศรษฐกิจ พร้อมกันนี้ หลังเสร็จสิ้นพิธีลงนาม ได้พูดคุยหารือถึงแนวทางความร่วมมือด้านอื่นๆระหว่างมหาวิทยาลัยกับโรงเรียน อาทิ การศึกษาดูงานของนักเรียน การแลกเปลี่ยนบุคลากรทางวิชาการ นักวิจัย เพื่อพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ การใช้ทรัพยากรต่างๆร่วมกัน เป็นต้น
8 กุมภาพันธ์ 2568     |      119
“สิงห์เหนือ เสือใต้เกมส์” ครั้งที่ 17 สานสัมพันธ์ 2 สถาบัน “แม่โจ้-ลาดกระบัง” ณ สจล.วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 13.00 น. อาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี รองคณบดีฯ ฝ่ายกิจการพิเศษ พร้อมด้วยนางพรลภัส พงษ์พานิช หัวหน้างานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา นายสานิตย์ แป้นเหลือ นักวิชาการศึกษา นางสาวศุจินธร รัตนิพนธ์ นักวิชาการศึกษา ผู้นำองค์การนักศึกษา สภานักศึกษา ชมรมกีฬา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมโครงการการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ “สิงห์เหนือ เสือใต้เกมส์” ครั้งที่ 17 ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์  โดยมี รองศาสตราจารย์ดร.คำรณวิทย์ ทิพย์มณี รองอธิการบดี เป็นประธานเปิดและให้การต้อนรับการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ “สิงห์เหนือ เสือใต้เกมส์จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร นักศึกษา และศิษย์เก่า และเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือที่ดีต่อกันของสถาบันการศึกษาทั้ง 2 สถาบัน ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านกีฬาและทักษะทางสังคมของนักศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาบัณฑิตในศตวรรษที่ 21 ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยแม่โจ้  โดยการแข่งขันในครั้งนี้ มีการแข่งขันกีฬา 2ประเภท ได้แก่ 1.ฟุตบอลชาย ประเภทนักศึกษา และประเภทบุคลากรศิษย์เก่า 2.วอลเลย์บอล ประเภทคู่ผสม และแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน อาทิ วิ่ง 4 ขา ในวันเดียวกัน อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร รองคณบดีฯ ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ ดร.ณรงค์ โยธิน หัวหน้างานนโยบาย แผนและประกันคุณภาพ และนางสาวสายทอง สุจริยาพงศ์พร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา เข้าร่วมสนับสนุนการจัดการแข่งขันและกิจกรรมเลี้ยงรับรองนักกีฬาทั้ง 2 สถาบันในช่วงเย็น บรรยากาศเป็นไปด้วยความสนุกสนาน ความรักความสามัคคี ความมีน้ำใจนักกีฬา “รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัยซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเป็นนักกีฬา ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้งสองสถาบัน อันจะนำไปสู่ความร่วมมือในการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไป
8 กุมภาพันธ์ 2568     |      100
ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมแสดงความยินดีแก่นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา ประจำปี 2567 วิทยาลัยชุมชนระนอง
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร รองคณบดีฯ ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ ดร.ณรงค์ โยธิน หัวหน้างานนโยบายและแผน และนางสาวสายทอง สุจริยาพงศ์พร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา ร่วมแสดงความยินดีแก่นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2567  กิจกรรมปัจฉิมนิเทศนักศึกษา ประจำปี 2567 โดย ว่าที่ร้อยตรีกฤษฎา ฉิมพลีวัฒน์ เป็นประธานในพิธีเปิด และกล่าวให้โอวาทแก่นักศึกษา ณ วิทยาลัยชุมชนระนอง อำเภอเมือง จังหวัดระนองพร้อมกันนี้ ได้ประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2568 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพรอีกด้วย
8 กุมภาพันธ์ 2568     |      90
สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ร่วมกิจกรรมคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นด้านการประมงระดับประเทศ ณ “เพรียงทรายฟาร์ม”
      วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 อาจารย์วีรชัย เพชรสุทธิ์ นำนักศึกษาสาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ชั้นปีที่ 3 และ ปีที่ 4 เข้าร่วมกิจกรรมและร่วมเป็นกำลังใจในการพิจารณาคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นด้านการประมงระดับประเทศ ประเภทอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย พ.ศ. 2568 ณ พิชญาเพรียงทรายฟาร์ม ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร      “เพรียงทรายฟาร์ม” ดำเนินกิจการโดย นางสาวจุไรรัตน์ มุสิกสาร และนายสุรชัย ธรรมคุณ ซึ่งเป็นศิษย์เก่าสาขาวิชาประมงมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
8 กุมภาพันธ์ 2568     |      104
ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมประชุมวิชาการระดับปริญญาบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 10
      อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีพร้อม ด้วยคณาจารย์และตัวแทนนักศึกษาจากสาขาวิชาพืชศาสตร์และสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เข้าร่วมประชุม“การประชุมวิชาการระดับปริญญาบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 10” The 10th National Undergraduate Conference on Agricultural Science and Technology (NUCA) ระหว่างวันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ 2568 ภายใต้แนวคิด “New Gen ฮัก เกษตร” ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร      พร้อมกันนี้ได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) และรับมอบโล่ภาคีเครือข่ายในการจัดงาน จาก 9 สถาบันการศึกษา เครือข่ายการจัดงานประชุมวิชาการ NUCA
8 กุมภาพันธ์ 2568     |      108
ท่องเที่ยวแม่โจ้-ชุมพร บูรณาการรายวิชา ภายใต้แนวคิด “จากบทปฎิบัติการ สู่การปฎิบัติจริง”
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมบูรณาการรายวิชา ภายใต้แนวคิด จากบทปฏิบัติการสู่การปฏิบัติจริง การเรียนรู้ควบคู่กับการปฏิบัติ พร้อมสอบเพื่อทำซ้ำ ให้กลายเป็นทักษะและความชำนาญ สามารถต่อยอดสู่การพัฒนาตนให้ยืนหยัดในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการอย่างภาคภูมิ ภายในห้องปฏิบัติการทางสังคม ณ บ้านสวนภูวรินทร์ อำเภอละแม จังหวัดชุมพร ประกอบด้วย รายวิชากิจกรรมนันทนาการเพื่อการท่องเที่ยว วิชาการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และวิชาที่พักแรมสำหรับนักท่องเที่ยว ระหว่างวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568อ้างอิง :https://www.youtube.com/watch?v=NqmRYe7H4dIhttps://www.youtube.com/watch?v=gFFnTefBtwIhttps://www.youtube.com/watch?v=dOkMZeb1UBo
8 กุมภาพันธ์ 2568     |      74
“หาดสวยด้วยมือเรา” ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมทำความสะอาดชายหาด ลดปัญหาขยะทะเลที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 13.30 น. บุคลากรและนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร นำโดยอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี ร่วมกิจกรรมทำความสะอาดชายหาดขยะมรสุมทะเล บริเวณชายหาดหน้ามหาวิทยาลัยกิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นโดยสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อลดปัญหาขยะทะเลที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง และลดอันตรายต่อสัตว์ทะเลหายากที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากจากการกินขยะพลาสติก หรือไมโครพลาสติก
6 กุมภาพันธ์ 2568     |      98
ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน เป็นวิทยากรบรรยายและร่วมแลกเปลี่ยนให้ความรู้ภายใต้โครงการ ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรฯ
อาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ได้รับเชิญจากกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพร บรรยายและร่วมแลกเปลี่ยนให้ความรู้ภายใต้โครงการ ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตร หลักสูตร การประชุมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาองค์ความรู้ให้กับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ด้านกระบวนการผลิตการแปรรูป ผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่า และการสร้างเครือข่ายให้กับสถาบันเกษตรกร ณ สหกรณ์การเกษตรท่าแซะ จำกัดนอกจากนี้ยังได้ประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร อีกด้วย 
6 กุมภาพันธ์ 2568     |      93
สาขาการท่องเที่ยวและบริการ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการอาจารย์ที่ปรึกษาชมรม/องค์กร/กลุ่มด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
สาขาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการอาจารย์ที่ปรึกษาชมรม/องค์กร/กลุ่มด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2568 เพื่อแลกเปลี่ยนสถานการณ์ควบคู่กับการขับเคลื่อนเครือข่ายอาจารย์ที่ปรึกษาในการวางแนวทาง/นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ โดย กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้มีคณาจารย์จากสถาบันการศึกษาทั่วทุกภูมิภาคกว่า 70 สถาบันการศึกษา วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2568 ณ โรงแรมชาโต เดอ เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
6 กุมภาพันธ์ 2568     |      83
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมศักยภาพเครือข่ายเด็กและเยาวชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2568
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมศักยภาพเครือข่ายเด็กและเยาวชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2568 เพื่อเสริมศักยภาพเครือข่ายเด็กและเยาวชนในการดำเนินโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ โดย กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้กลุ่มเป้าหมายจำนวน 200 คน ประกอบด้วย นักศึกษาและคณาจารย์จากสถาบันการศึกษาทั่วทุกภูมิภาค จากกว่า 70 สถาบันการศึกษา พร้อมทั้งเข้าร่วมแลกเปลี่ยนโครงการ/กิจกรรมของเครือข่ายเด็กและเยาวชนด้านสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2568 ระหว่างวันที่ 28 มกราคม – 30 มกราคม พ.ศ. 2568 ณ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรุงเทพมหานคร และ โรงแรมชาโต เดอ เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
3 กุมภาพันธ์ 2568     |      95
ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วนและอาจารย์ฉัตรนลิน แก้วสม บรรยายหลักสูตร การวางแผนระบบการผลิต การตลาดฯ และประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษาใหม่
วันที่ 30 มกราคม 2568 อาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน พร้อมด้วย อาจารย์ฉัตรนลิน แก้วสม อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ บรรยายหลักสูตร การวางแผนระบบการผลิต การตลาด และเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการ และประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษาใหม่ ปี2568 ม.แม่โจ้-ชุมพร  ณ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านพรุตะเคียน จำกัด จัดโดย สำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพร
31 มกราคม 2568     |      110
นักศึกษาสาขาวิชาพืชศาสตร์ ลงพื้นที่เก็บข้อมูลวิจัย ณ แปลงโครงการไผ่เพื่อน้อง ม.แม่โจ้-ชุมพร
เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2568 อาจารย์ ดร. จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์ และที่ปรึกษาโครงการวิจัย นำนักศึกษาสาขาวิชาพืชศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ลงแปลงปลูกไผ่ ณ แปลงโครงการไผ่เพื่อน้อง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร เพื่อฝึกเก็บข้อมูลงานวิจัยเรื่อง ผลของสารอาหารพืชที่มีส่วนประกอบของน้ำมันปลาทะเลต่อการเจริญเติบโตของไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้งเบอร์ 9 โดยมีว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตร สังกัดงานบริการวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร เป็นผู้รับผิดชอบโครงการวิจัยทั้งนี้ งานวิจัยดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนจากจากบริษัทอุตสาหกรรม เทคโนโลยีชีวภาพ (ประเทศไทย) จำกัด สนับสนุนระบบการให้น้ำโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์
30 มกราคม 2568     |      120
ประมงแม่โจ้-ชุมพร “เรียนจริง ปฎิบัติจริง” ฝึกทักษะการเลี้ยงกุ้ง พัฒนาต่อยอดสายงานเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มุ่งสร้างความร่วมมือกับ ซีพี
วันที่ 28 มกราคม 2568 เวลา 13.00-16.00 น. อาจารย์วีรชัย เพชรสุทธิ์ สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะสัตว์น้ำชายฝั่ง จัดกิจกรรม “ฝึกปฏิบัติทักษะการขนย้ายลูกกุ้งขาวแวนนาไม” ภายใต้โครงการเสริมสร้างความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ณ โครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้กับบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน) โดยมีนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 ที่ลงทะเบียนเรียน วิชา พช323 และวิชา 11302323 การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล จำนวน 19 คน เข้าร่วมทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากวิทยากร บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ฟาร์มละแม นายจรัส สมจิตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ นายประวิทย์ พุทธิรักษ์ ผู้จัดการฝ่ายผลิตกุ้ง และนายอภินันท์ อุ่นมณีรัตน์ ผู้จัดการฝ่ายผลิตกุ้ง บรรยายและฝึกปฏิบัติการขนย้ายลูกกุ้งขาวแวนนาไม จาก Green House pond สู่ Grow out pondอย่างไรก็ตาม การจัดกิจกรรมครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการบูรณาการการเรียนการสอนเข้ากับการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษา ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับบริษัทเอกชน ได้รับความสนใจจากนักศึกษาเป็นอย่างมาก พร้อมกันนี้นักศึกษายังได้ฝึกทักษะและประสบการณ์ รวมทั้งแรงบันดาลใจในการต่อยอดความรู้สู่การปฏิบัติจริง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา และพัฒนาทักษะในสายงานเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งในอนาคตต่อไป
30 มกราคม 2568     |      98
คณบดีร่วมประชุมคณะกรรมการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการ ประจำจังหวัดชุมพร ครั้งที่ 1/2568
วันที่ 27 มกราคม 2568 เวลา 10.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี ร่วมประชุมคณะกรรมการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการ ประจำจังหวัดชุมพร ครั้งที่ 1/2568 โดยมีนายเธียรชัย ชูกิตติวิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานการประชุมฯ เพื่อมอบนโยบายและข้อสั่งการปฏิบัติราชการ รวมทั้งติดตามผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานต่าง ๆ โดยมี หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ นายอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรภาคเอกชนร่วมประชุม ณ ห้องประชุมเกาะเสม็ด ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดชุมพร ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ได้เน้นย้ำในประเด็นสำคัญ อาทิ การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยเฉพาะการดูแลผู้ที่มีอาการทางจิตเวช และการจัดการเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ของประชาชนและในช่วงบ่ายวันเดียวกัน คณบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เข้าสวัสดีปีใหม่ นายจีรศักดิ์ แสงหอย นายอำเภอหลังสวน และนายจรัส สมจิตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ อาหาร จำกัด (มหาชน) ฟาร์มทดลอง ละแม
28 มกราคม 2568     |      89
ม.แม่โจ้-ชุมพร ให้การต้อนรับ อาจารย์กชพรรณ นุ่นสังข์ ในการนิเทศติดตามผลการฝึกประสบการณ์นักศึกษาฝึกงาน ณ ห้องสมุด
วันที่ 27 มกราคม 2568 เวลา 09.00 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มอบหมายให้อาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร รองคณบดีฯ ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ พร้อมด้วย อาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี รองคณบดีฯ ฝ่ายกิจการพิเศษ และนายประภัย สุขอิน บรรณารักษ์ ให้การต้อนรับอาจารย์กชพรรณ นุ่นสังข์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ ซึ่งได้มานิเทศติดตามผลการฝึกประสบการณ์ ของนักศึกษาฝึกงาน พร้อมทั้งสอบถามสภาพปัญหา และข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากการฝึกประสบการณ์ของนักศึกษาซึ่งเข้ารับการฝึกงาน ณ ห้องสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
28 มกราคม 2568     |      93
สาขาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมขับเคลื่อนเกาะสีเขียว (Green Island)
สาขาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมขับเคลื่อนเกาะสีเขียว (Green Island) ผ่านกิจกรรมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามหลัก BCG Model สอดคล้องกับมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนโฮมสเตย์บ้านเกาะพิทักษ์ ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร โดยมี หน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนคือ สำนักงานเกษตรอำเภอหลังสวน เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2568 ณ ชุมชนเกาะพิทักษ์ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพรในการนี้ทุกฝ่ายร่วมกันพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะพิทักษ์ภายใต้แนวคิด BCG Model โดยการมุ่งการจัดการดังนี้1) การจัดการขยะ ทั้งขยะอินทรีย์ที่เกิดขึ้นในครัวเรือนและกิจกรรมการท่องเที่ยว ด้วยกระบวนการจัดการอย่างเป็นระบบ เช่น การนำอินทรีย์วัตถุไปทำปุ๋ยน้ำหมัก ปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่กลับกองตามสูตรวิศวกรรมแม่โจ้ 12) การจัดการขยะพลาสติกที่เกิดจากกิจกรรมการท่องเที่ยวและขยะพัดพา ด้วยการแยก จำหน่าย นำขึันฝั่ง หรือ แจ้งผุ้ประกอบการรายย่อยที่ขายขยะรรีไซเคิลมาขนย้ายและดำเนินการต่อไป 3) ระบบการบริการจัดการน้ำและน้ำเสียโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อคุณภาพน้ำ ด้วยการวางระบบปั๊มน้ำอัตโนมัติเพื่อพักน้ำ จัดเก็บ และใช้ประโยชน์ภายในสวนและด้านการเกษตรอื่นๆ 4) การสร้างพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกผักพื้นบ้าน/ผักป่าอายุยืน ผนวกกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากขยะอินทรีย์
28 มกราคม 2568     |      77
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการร่วมสำสวจข้อมูลเพื่อพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านคู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร โดยงบประมาณปี 2568
วันที่ 16 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมสำสวจข้อมูลเพื่อพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านคู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร โดยงบประมาณปี 2568 มุ่งส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนนำร่องอำเภอละแม พร้อมกับอำเภออื่นๆ ในจังหวัดชุมพร ร่วมกับองการบริหารส่วนจังหวัดชุมพร (อบจ.ชุมพร) สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดชุมพร และเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอละแม ดังกำหนดการ ดังนี้08.30 น. : บ้านสวนภูวรินทร์ (เดินชมสวน บ้านพักโฮมสเตย์และการจัดการพื้นที่ความั่นคงทางด้านอาหาร-อาหารปลอดภัย)09.30 น. : ตลาดใต้เคี่ยม (ชุมชนบ้านปากน้ำและธนาคารปู เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวพระธาตุเขาน้อย)10.30 น. : บ้านสวนนางฟ้ากลางป่าไผ่ (สวนไผ่และโคกหนองนาโมเดล เชื่อมโยงผักปลอดสารพิษบ้านอุทัยบุญเลี้ยง วัดเขาหลาง)11.30 น. บ้านสวนจุฑาวดี (การสร้างคุณค่าใหม่ให้กับผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัยและใส่ใจสุขภาวะ)12.00 น. : ครัวหิ้วชั้น (พร้อมรับประทานอาหารเที่ยงและโมเดลครัวหิ้วชั้น14.00 น. : เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
24 มกราคม 2568     |      132
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมขับเคลื่อน กลไกการบริหารจัดการและจัดตั้งธนาคารข้าวอำเภอละแม
วันที่ 15 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมขับเคลื่อน กลไกการบริหารจัดการและจัดตั้งธนาคารข้าวอำเภอละแม โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้1) เพื่ออนุรักษ์พันธุ์ข้าวท้องถิ่น2) เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารให้เกษตรกรสมาชิกรายคน ครัวเรือนและชุมชน3) เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นเกษตรกรปลูกข้าวควบคู่กับการขยายพื้นที่และแนวคิดเกษตรสุขภาวะโดยใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด4) เพื่อส่งเสริมชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์และยกระดับผลผลิตทางด้านการเกษตรสู่การเป็นผู้ประการชุมชน5) เพื่อสร้างการรับรู้ด้านการบริโภคนิยมใหม่ที่ใส่ใจสุขภาวะ สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนท้องถิ่น  ทั้งนี้พร้อมเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน การท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ และการยกระดับผลผลิต-ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรโดยร่วมกับสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืน  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เครือข่ายรักษ์ละแม เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอละแม กลุ่มเกตรกรทุ่งหลวง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร ณ สวนนางฟ้ากลางป่าไผ่ ตำบลทุ่งหลวง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
24 มกราคม 2568     |      89
ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วนและผศ.ดร.ชุมพล อังคณานนท์ เป็นวิทยากรจัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการสู่ยุค 4.0 ณ โรงแรมกระบี่รอยัล อำเภอเมืองกระบี่
วันที่ 22-23 มกราคม 2568 อาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ และผศ.ดร.ชุมพล อังคณานนท์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้รับเชิญจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกระบี่ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการสู่ยุค 4.0 รุ่นที่2 ระหว่างวันที่ 22-23 มกราคม 2568 ณ โรงแรมกระบี่รอยัล อำเภอเมืองกระบี่ โดยมีผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP รวมถึงผลิตภัณฑ์จากวิทยาลัยเทคนิคกระบี่ นำผลิตภัณฑ์เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 25 กลุ่ม/ราย      การประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ให้มีความสามารถและมีทักษะในการ นำสินค้าจำหน่ายในตลาดออนไลน์ เพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า OTOP ผ่านระบบออนไลน์ ส่งเสริมให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP มีธรรมาภิบาล และสร้างความรู้ ความเข้าใจ    การประกอบกิจการรูปแบบเศรษฐกิจสีเขียวพร้อมกันนี้ได้ประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2568 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในคราวเดียวกัน
24 มกราคม 2568     |      93
“เยือนถิ่นอีสาน...เสริมสร้างประสบการณ์ ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ” ตามเส้นทาง ปราสาทหินพิมาย - ปราสาทพนมรุ้ง - ปราสาทเมืองต่ำ - เขาค้อ ภูทับเบิก – ภูลมโล- อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร จัดโครงการ : ส่งเสริมการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพด้านการท่องเที่ยวและบริการตามหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learning) ประจำปีการศึกษา 2567 โดยบูรณาการร่วมกับโครงการศึกษาเรียนรู้ตามเส้นทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) กำหนด ระหว่างวันที่ 17-20 มกราคม 2568 ตามเส้นทาง ดังนี้  วันที่ 17 มกราคม 2568 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มุ่งสู่จังหวัดนครราชสีมา โดยแวะชมฟาร์มโชคชัย เขื่อนลำตะคอง และเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์พิพายวันที่ 18 มกราคม 2568 ออกเดินทางสู่จังหวัดบุรีรัมย์ เข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ปราสาทหินเมืองต่ำเข้าชมอุทยานไม้ดอก เพลาเพลิน ที่ถูกขนานนามว่าเป็นดินแดนแห่งความรัก และออกเดินสู่อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ วันที่ 19 มกราคม 2568 สัมผัสอากาศหนาวกับทะเลหมอยามเช้า ณ จุดชมวิวทะเลหมอกเขาค้อ เข้าสักการะและชมวัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว ออกเดินทางสู่อำเภอภูทับเบิก จังหวัดเพชรบูรณ์วันที่ 20 มกราคม 2568 ชมวิวไร่กะหล่ำปลี ขุนเขา และทะเลหมอก ณ จุดชมวิวภูทับเบิกที่มีความสูง 1,667 เมตรจากระดับน้ำทะเล ชมตลาดยามเช้าภูทับเบิก-ตลาดม้ง ชมวิวภูทับเบิกผาหัวสิงห์/ทุ่งดอกพญาเสือโคร่ง ภูลมโล และเดินทางกลับมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยสวัสดิภาพโครงการดังล่าว สร้างความรอยยิ้ม สร้างความสุข และสามารถสร้างประสบการณ์แก่นักศึกษา ตลอดจนพัฒนาทักษะและศักยภาพตน พร้อมเผชิญโลกกว้างในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการต่อไป
23 มกราคม 2568     |      125
ม.แม่โจ้-ชุมพร ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOA กับ วษท.ระนอง ผลักดันความร่วมมือทางวิชาการ งานวิจัยและพัฒนาบุคลากร
วันที่ 22 มกราคม 2568 เวลา 13.00 น. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดย อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯ ฝ่ายวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการ อาจารย์ ดร.จักกฤช ณ นคร รองคณบดีฯ ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีระนอง โดย อาจารย์ศิริพงศ์ เมียนเชร์  ผู้อำนวยการ อาจารย์สิทธิชัย เชนทร รองผู้อำนวยการ และอาจารย์เปรมวดี ศศิสุวรรณพงศ์ รองผู้อำนวยการ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงทำความร่วมมือ (MOA) ว่าด้วยความร่วมมือทางด้านการพัฒนาการศึกษาการพัฒนาบุคลากรและพัฒนางานวิจัย ณ ห้องประชุมวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีระนอง อำเภอระนอง จังหวัดชุมพรการลงนามบันทึกข้อตกลงทำความร่วมมือ (MOA) ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือทางด้านวิชาการ การจัดการศึกษา อาทิ ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมและสนับสนุนนักศึกษา เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตลอดจนแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านงานวิจัย การพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร ตลอดจนพัฒนาหลักสูตรและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับทั้ง 2 สถาบันต่อไปอย่างไรก็ตาม การลงนามบันทึกข้อตกลงทำความร่วมมือ MOA ดังกล่าว สืบเนื่องมาจาก มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ  MOU  เพื่อสร้างความร่วมมือทางการศึกษา วิจัย และพัฒนาบุคลากร ระหว่างสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 1 สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 2 สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 3 และสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมาพร้อมกันนี้ หลังเสร็จสิ้นพิธีลงนาม MOA ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู อาจารย์ ดร. จักรกฤช ณ นคร อาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ ดร.ณรงค์ โยธิน และนางสาวสายทอง สุจริยาพงศ์พร ได้ประชาสัมพันธ์หลักสูตรการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และแนะแนวการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2568 แก่นักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีระนอง ได้รับความสนใจจากนักศึกษาเป็นอย่างดี
23 มกราคม 2568     |      146
ผู้บริหาร ม.แม่โจ้-ชุมพร เข้าสวัสดีปีใหม่ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร
วันที่ 20 มกราคม 2568 อาจารย์ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร รองคณบดีฯ ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ อาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี รองคณบดีฯ ฝ่ายกิจการพิเศษ และนางพัชราวลัย ศิริเวชธำรง กรรมการและตัวแทนบริษัท LONDON PK DEVELOPMENT GROUP CO., LTD. เข้าสวัสดีปีใหม่ นายเธียรชัย ชูกิตติวิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร พร้อมทั้งประสานงานและปรึกษาหารือการจัดคอนเสิร์ตและแสดงดนตรี ประจำปี 2568 “Lamae Beach Music Festival 2025ตามแนวทางการพัฒนาศักยภาพและการใช้ประโยชน์พื้นที่ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ต่อไปและในวันเดียวกัน ได้เข้าสวัสดีปีใหม่ นายเอนก ชำนาญนา นายอำเภอละแม นายวีระศิลป์ หลิมวัฒนา นายกเทศมนตรีตำบลละแม และพ.ต.อ.อนันท์ อนุตรเวสารัช ผกก.สภ.ละแม พร้อมกับประชาสัมพันธ์การจัดคอนเสิร์ตและแสดงดนตรี ประจำปี 2568 “Lamae Beach Festival 2025 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ที่จะมีขึ้นในเดือนเมษายนนี้
24 มกราคม 2568     |      104
ผู้บริหาร ม.แม่โจ้-ชุมพร เข้าสวัสดีปีใหม่ หน่วยงานราชการอำเภอละแม
วันที่ 18 มกาคม 2568 อาจารย์ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร รองคณบดีฯ ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ และอาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี รองคณบดีฯ ฝ่ายกิจการพิเศษ เข้าสวัสดีปีใหม่ นายเอนก ชำนาญนา นายอำเภอละแม นายวุฒิชัย นวลแก้ว ผู้อำนวยการโรงเรียนละแมวิทยา นางกรรณิการ์ จงจิตร ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดปิยะวัฒนาราม และนายประเสริฐ บุญทองกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนประชาเอื้ออารี พร้อมทั้งหารือการความร่วมมือในการส่งเสริมกิจกรรมนักเรียนนักศึกษาร่วมกัน
23 มกราคม 2568     |      74
ม.แม่โจ้-ชุมพร ประชาสัมพันธ์และแนะแนวการศึกษาต่อ ณ โรงเรียนพะโต๊ะวิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
      วันที่ 22 มกราคม 2568 เวลา 10.00  อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯ ฝ่ายวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการ อาจารย์ ดร. จักรกฤช ณ นคร รองคณบดีฯ ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ อาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี รองคณบดีฯ ฝ่ายกิจการพิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ ประธานอาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ดร.ณรงค์ โยธิน หัวหน้างานนโยบาย แผนและประกันคุณภาพ และนางสาวสายทอง สุจริยาพงศ์พร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา เข้าประชาสัมพันธ์หลักสูตรการเรียนการสอน และแนะแนวการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ให้แก่นักเรียนพะโต๊ะวิทยา อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร     พร้อมกันนี้ ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับนักเรียนในประเด็นต่างๆ อาทิ การวางแผนศึกษาต่อระดับปริญญาตรี  ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะเตรียมตัวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย ได้รับความสนใจจากนักเรียนเป็นอย่างดี
23 มกราคม 2568     |      63
ประกวดราคาซื้อชุดครุภัณฑ์การผลิตสารชีวภัณฑ์เพื่อรองรับระบบการเกษตรแบบอินทรีย์ จำนวน ครั้งที่ 2 โดยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
ประกวดราคาซื้อชุดครุภัณฑ์การผลิตสารชีวภัณฑ์เพื่อรองรับระบบการเกษตรแบบอินทรีย์ จำนวน 1 ชุด 7 รายการ ครั้งที่ 2 โดยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)1.ประกวดราคาซื้อชุดครุภัณฑ์การผลิตสารชีวภัณฑ์เพื่อรองรับระบบการเกษตรแบบอินทรีย์ จำนวน 1 ชุด 7 รายการ ครั้งที่ 2 โดยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) :https://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25680123095144_909174.PDF2.เอกสารประกวดราคาซื้อชุดครุภัณฑ์การผลิตสารชีวภัณฑ์เพื่อรองรับระบบการเกษตรแบบอินทรีย์ ครั้งที่ 2 :https://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25680123095159_543632.pdf3.รายละเอียดชุดครุภัณฑ์การผลิตสารชีวภัณฑ์เพื่อรองรับระบบการเกษตรแบบอินทรีย์ :https://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25680123095212_160696.pdf4.ตารางราคากลาง ชุดครุภัณฑ์การผลิตสารชีวภัณฑ์เพื่อรองรับระบบการเกษตรแบบอินทรีย์ :https://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25680123095228_160484.pdf
23 มกราคม 2568     |      156
ประกวดราคาซื้อประกวดราคาชุดครุภัณฑ์ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อาหารฯ ครั้งที่ 2 ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
ประกวดราคาซื้อประกวดราคาชุดครุภัณฑ์ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อาหารประจำอาคารเรียนรวม และปฏิบัติการประมงและเพาะฟัก จำนวน 1 ชุด 4 รายการ ครั้งที่ 2 ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)1.ประกาศประกวดราคาซื้อชุดครุภัณฑ์ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อาหารฯ ครั้งที่ 2 :https://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25680123093626_295261.pdf2.เอกสารประกวดราคาซื้อชุดครุภัณฑ์ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อาหารฯ ครั้งที่ 2 :https://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25680123093640_999529.pdf3.รายละเอียดชุดครุภัณฑ์ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อาหารฯ :https://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25680123093653_526086.pdf4.ราคากลางชุดครุภัณฑ์ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อาหารฯ :https://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25680123093706_673063.pdf
23 มกราคม 2568     |      158
ม.แม่โจ้-ชุมพร สนับสนุนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์แมลงผสมเกสร ในจังหวัดชุมพร
อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร มอบหมายให้ว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตร สังกัดงานบริการวิชาการและวิจัย ร่วมลงพื้นที่พบผู้เลี้ยงผึ้งโพรงและผึ้งชันโรงในจังหวัดชุมพร เพื่อสนับสนุนโครงการวิจัยเรื่องการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์แมลงผสมเกสร โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชามา อินซอน ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ทั้งนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์ ชาติวุฒิ พลนิล นักวิชาการจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และนายนรินทร์ เสนาป่า ผู้ประสานงานภาคสนาม โครงการ coffee double plus องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) นำลงพื้นที่กลุ่มเกษตรกรปลูกกาแฟ และกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งชันโรงและผึ้งโพรงไทย ในอำเภอสวี อำเภอปะทิว และอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ระหว่างวันที่ 16 – 20 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา
24 มกราคม 2568     |      74
สาขานวัตกรรมการเพาะสัตว์น้ำชายฝั่ง จัดกิจกรรมอบรมถ่ายทอดความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
      วันที่ 21 มกราคม 2568 อาจารย์วีรชัย เพชรสุทธิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะสัตว์น้ำชายฝั่ง จัดกิจกรรม “อบรมและเสวนาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจากศิษย์เก่า” ภายใต้โครงการเสริมสร้างความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ณ ห้องประชุม 205 อาคาร 80 ปีแม่โจ้ โดยมีนักศึกษาในรายวิชา 11302322 การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ และ 11302323 การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลเข้าร่วมฟังบรรยาย      ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ฟาร์มทดลองละแม จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ นายประวิทย์ พุทธิรักษ์ และนายอภินันท์ อุ่นมณีรัตน์ ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายผลิตกุ้ง ได้บรรยายในหัวข้อ “การอนุบาลลูกกุ้งขาววานาไม” โดยเนื้อหาครอบคลุมเทคนิคและกระบวนการอนุบาลลูกกุ้ง ตั้งแต่การจัดเตรียมบ่ออนุบาล การจัดการคุณภาพน้ำ การควบคุมอาหาร ตลอดจนการดูแลสุขภาพลูกกุ้งเพื่อเพิ่มอัตราการรอดและประสิทธิภาพการเพาะเลี้ยง      ทั้งนี้ การจัดอบรมดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของการบูรณาการการเรียนการสอนเข้ากับการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษา ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรกับบริษัทเอกชน ได้รับความสนใจจากนักศึกษาเป็นอย่างมาก นักศึกษาได้รับความรู้และแรงบันดาลใจในการต่อยยอดองค์ความรู้สู่การปฏิบบัติจริง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา และพัฒนาทักษะในสายงานเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งในอนาคตต่อไป
22 มกราคม 2568     |      71
ผศ.ดร.ชุมพล อังคณานนท์ เป็นวิทยากรการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาสังคมจังหวัดชุมพร
      วันที่ 20 มกราคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุมพล อังคณานนท์ เลขานุการหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาสังคมจังหวัดชุมพร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ณ ห้องประชุม Loft Mania ชั้น 6 โรงแรมลอฟ์มาเนีย อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร โดยมีนายอภิชาติ สาราบรรณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานในการประชุม      โดยที่ประชุมมีการทบทวนแผนปฎิบัติการด้านการพัฒนาสังคมจังหวัดชุมพร ระยะ 4 ปี (พ.ศ.2567-2570) และร่วมกันจัดทำแผนปฎิบัติการด้านการพัฒนาสังคม ปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ตลอดจนแบ่งกลุ่มย่อยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตามประเด็นสถานการณ์วิกฤติประชากร เพื่อเสนอแผนโครงการบูรณาการด้านการพัฒนาสังคม จังหวัดชุมพร      อย่างไรก็ตาม การประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ดังกล่าว จัดโดยสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชุมพร เพื่อบูรณาการการจัดทำแผนงานด้านการพัฒนาสังคมจังหวัดชุมพร ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
22 มกราคม 2568     |      77
ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน เป็นวิทยากรบรรยาย พร้อมประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2568
เมื่อวันพุธ ที่ 15 มกราคม 2568 เวลา 09.00 - 16.00 น. อาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ได้รับเชิญ จากสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพร เป็นวิทยากรบรรยายโครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตร หลักสูตร การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์ความรู้ให้กับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร จังหวัดชุมพร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568  ณ สหกรณ์การเกษตรหลังสวน จำกัดในการนี้ได้นำตัวแทนนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่ภาคธุรกิจในโครงการนี้ด้วย พร้อมกันนี้ได้ประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษาใหม่ประจำปีการศึกษา 2568 ในคราวเดียวกัน
16 มกราคม 2568     |      92
ดร.จุฑามาส เพ็งโคนา อาจารย์ เป็นวิทยากรอบรมหลักสูตร “Low Carbon Destination: A Roadmap for Sustainable Tourism” การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ วิถีแห่งการท่องเที่ยวยั่งยืน แก่ผู้ประกอบการ ชุมชนท่องเที่ยว และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดภูเก็ต
ดร.จุฑามาส เพ็งโคนา อาจารย์ สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ เป็นวิทยากรโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “Low Carbon Destination: A Roadmap for Sustainable Tourism” การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ วิถีแห่งการท่องเที่ยวยั่งยืน ให้แก่ ผู้ประกอบการ ชุมชนท่องเที่ยว และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดภูเก็ต ในระหว่างวันที่ 14 - 15 มกราคม 2568 ณ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดภูเก็ต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมได้รับฟังการเสวนา “เทรนด์การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ”การประเมินปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์และชดเชยคาร์บอนจากเส้นทางท่องเที่ยว / งานอีเว้นท์ / การประชุมสัมมนาภายในการประชุมจัดภายใต้ Low Carbon Concept ด้วยการประชาสัมพันธ์และลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการผ่านระบบออนไลน์ลดการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งบริการอาหารว่างและอาหารกลางวันด้วยเมนูท้องถิ่นจากวัตถุดิบท้องถิ่นบริการน้ำดื่มจากถังบรรจุน้ำแทนการใช้น้ำขวดงดแจกเอกสารฝึกอบรมงดการตกแต่งสถานที่ด้วยดอกไม้สดปิดเครื่องปรับอากาศในช่วงรับประทานอาหารกลางวันอื่น ๆ ทั้งนี้ การจัดฝึกอบรมดังกล่าว จัดขึ้นโดย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดภูเก็ต
16 มกราคม 2568     |      105
ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมงาน วันครู 2568 ณ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชุมพร
วันที่ 16 มกราคม 2568 เวลา 07.00 น. อาจารย์  ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วยอาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี รองคณบดีฯ ฝ่ายกิจการพิเศษ และอาจารย์พัชรินทร์ วิริยะสุขสวัสดิ์ อาจารย์ประจำหมวดศึกษาทั่วไป ร่วมงานวันครู ครั้งที่ 69 พ.ศ.2568 เพื่อระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ตลอดจนส่งเสริมยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ที่ประกอบคุณงามความดี ทำคุณประโยชน์ต่อการศึกษา และเป็นแบบอย่างให้เยาวชนรุ่นหลังได้ยึดถือปฏิบัติตาม โดยมีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เข้าร่วมกิจกรรม ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชุมพร อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร โดยร่วมพิธีระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ และพิธีคาระครูอาวุโส นางสาวสุภัคกมลชินวงค์ ศึกษาธิการจังหวัดชุมพร กล่าวรายงาน นายเธียรชัย ชูกิตติวิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ประธานในพิธีอ่านสารวันครู มอบรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติ “คนดีศรีชุมพร”  และกล่าวคำปราศรัย เนื่องในโอกาสวันครู ครั้งที่ 69 พ.ศ. 2568ในการนี้  อาจารย์พัชรินทร์ วิริยะสุขสวัสดิ์ อาจารย์ประจำหมวดศึกษาทั่วไป รับรางวัล “คนดีศรีชุมพร” ซึ่งรางวัลดังกล่าว มอบเพื่อเชิดชูเกียรติครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีความประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีในการครองตน ครองคน ครองงาน เป็นที่ศรัทธา ยกย่อง ยอมรับของเพื่อนครู ของชุมชน เป็นผู้เสียสละ อุทิศตน มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม ตลอดจนช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานเป็นอย่างดี
16 มกราคม 2568     |      106
ผศ.ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการแทนรองอธิการบดี พบปะบุคลากร ม.แม่โจ้-ชุมพร
วันที่ 15 มกราคม 2568 เวลา 13.30 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการแทนรองอธิการบดี พบปะบุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยมีอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี กล่าวต้อนรับ ณ ห้องประชุมอาคารแม่โจ้ 80 ปี ในการนี้  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย ได้เสนอแนวคิดการปฎิบัติงาน กล่าวคือ เห็นควรให้บูรณาการองค์ความรู้ต่างๆทั้งภายในและภายนอก เพื่อดึงศักยภาพของแต่ละบุคคล ร่วมกันพัฒนามหาวิทยาลัยและให้มองมหาวิทยาลัยเปรียบเสมือนบ้าน ที่ทุกคนต้องช่วยกันดูแล พัฒนา โดยผู้บริหารต้องสร้างกลยุทธิ์ให้บุคลากรเกิดความศรัทธาต่อองค์กร อันจะนำไปสู่การทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดผลเป็นรูปธรรม ใช้กลยุทธิ์ในการประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษา ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม ใส่ใจโครงสร้างพื้นฐานของทั้งบุคลากรและนักศึกษา ตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการประชาสัมพันธ์ อันจะนำไปสู่ความเชื่อมั่นในการผลิตบัณฑิตที่พร้อมด้วย “วิชาการ-วิชาชีพ-วิชาชีวิต”พร้อมกันนี้ ได้แลกเปลี่ยนปัญหา ข้อเสนอจากบุคลากร อาทิ ปัญหาเรื่องอินเตอร์เน็ต ปัญหาเรื่องนกพิราบ ปัญหาวัวเข้ามาทำลายแปลงพืชผักของนักศึกษา ข้อจำกัดของงบประมาณในการพัฒนาในการพัฒนามหาวิทยาลัย เป็นต้นนอกจากนี้ ได้ลงพื้นที่ชมแปลงการเรียนการสอนของสาขาวิชาพืชศาสตร์ รับทราบปัญหา และข้อจำกัดในการพัฒนาพื้นที่ ให้กำลังใจบุคลากรและนักศึกษาในการร่วมกันพัฒนามหาวิทยาลัยต่อไป
16 มกราคม 2568     |      99
ม.แม่โจ้-ชุมพร สนองงานในพื้นที่โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 9-10 มกราคม 2568 ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร พร้อมด้วย ผศ.ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ฝ่ายวิชาการวิจัยและบริการวิชาการ คุณชัยวิชิต เพชรศิลา หัวหน้างานบริการวิชาการและวิจัย ว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตร งานบริการวิชาการและวิจัย และคุณสุนิดา อนุการ นักวิชาการ ประจำโครงการสาธิตการปลูกผัก พืชไร่ และไม้ผลแบบประณีต พื้นที่ 10.5 ไร่ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าของงาน เช่น การปลูกข้าวโพด การปลูกลำไย ผักชนิดต่างๆ การเลี้ยงผึ้งชันโรงเพื่อช่วยผสมเกสร และจัดหาวัสดุเกษตรเพื่อใช้ในโครงการ พร้อมหารือแนวทางการพัฒนาโครงการฯให้มีความก้าวหน้าต่อไป
14 มกราคม 2568     |      112
ม.แม่โจ้-ชุมพร จัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติสุดคึกคัก
วันที่ 11 มกราคม 2568  มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร นำโดย อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี บุคลากร และนักศึกษา ร่วมสร้างรอยยิ้มและความสุขให้เด็กในงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลละแม และเทศบาลตำบลละแม โดยมีกิจกรรมสนุกๆ อาทิ ตอบคำถามชิงรางวัล เกมกลิ้งขวดน้ำรับรางวัลอย่างไรก็ตาม กิจกรรมดังกล่าว ได้รับความสนใจจากเด็กและผู้ปกครองเป็นอย่างมาก บรรยากาศเต็มไปด้วยความสุข สนุกสนาน ตลอดจนสามารถกระตุ้นให้เด็กและเยาวชน ตระหนักถึงคุณค่าของตนเอง เพื่อนำไปสู่การเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมไทย พร้อมกันนี้เด็กทุกคนพร้อมนำคำขวัญวันเด็กของนางสาวแพทองธาร ชินวัตรนายกรัฐมนตรีทุกโอกาส คือ การเรียนรู้ พร้อมปรับตัวสู่อนาคตที่เลือกเอง”ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาชาติต่อไป
13 มกราคม 2568     |      114
ม.แม่โจ้-ชุมพร ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
วันที่ 26 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี มอบหมายให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯ ฝ่ายวิชาการวิจัยและบริการวิชาการ ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกับอำเภอละแม เพื่อดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุข โดยมีนายวุฒิชัย นวลแก้ว ผู้อำนวยการโรงเรียนละแมวิทยา นายสุนทร ส่งแสง และนางสาววิมลลักษณ์ คงสนอง รองผู้อำนวยการ คณะครู และบุคลากรทางการศึกษาเข้าร่วม ณ ห้องโสตทัศนูปกรณ์ โรงเรียนละแมวิทยา อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
11 มกราคม 2568     |      129
ป.ป.ช.ประจำจังหวัดชุมพร ลงพื้นที่ตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้า บริเวณชายหาดหน้า ม.แม่โจ้-ชุมพร
วันที่ 10 มกราคม 2568 เวลา 10.00 น. นายประกอบ มั่งคั่ง ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดชุมพร ลงพื้นที่ตรวจสอบความคืบหน้า การรับโอนครุภัณฑ์จากจังหวัดชุมพรและ การทำสัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้างจากกรมธนารักษ์ในพื้นที่หน้าหาด มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตามโครงการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเลียบชายฝั่ง ทะเลอำเภอละแมจังหวัดชุมพร ฯ โดยมีอาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร รองคณบดีบริหารและยุทธศาสตร์ ดร.ณรงค์ โยธิน หัวหน้างานนโยบายและแผน นางสาวศิริมาศ เจี้ยมกลิ่น หัวหน้างานคลังและพัสดุ และนายทวิช เตี๋ยไพบูลย์ วิศวะกรไฟฟ้า ให้ข้อมูลว่าทางจังหวัดได้จัดสรรงบประมาณในการจัดหาหม้อแปลงและจัดทำระบบไฟฟ้าจนสามารถใช้ได้โดยสมบูรณ์และจะส่งมอบครุภัณฑ์ดังกล่าวให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรต่อไป ส่วนการเช่าสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่บริเวณหน้าชายหาดกับกรมธนารักษ์ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเวลาอันใกล้นี้ หลังจากนั้นทางมหาวิทยาลัยจะเร่งดำเนินการจัดหางบประมาณมาทำการซ่อมแซมเพื่อจะได้ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามวัตถุประสงค์ของโครงการต่อไป
10 มกราคม 2568     |      119
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการยกระดับองค์กรชุมชนเครือข่ายการการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร สู่ความเป็น "สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดระนอง"
วิทยาลัยชุมชนระนอง ร่วมกับ สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และแกนนำชุมชนสมาชิกเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดระนอง จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการยกระดับองค์กรชุมชนเครือข่ายการการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร สู่ความเป็น "สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดระนอง" รองรับการพัฒนาและยกระดับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้อย่างยั่งยืนด้วยกลไกการขับเคลื่อนเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน วันพุธที่ 8 มกราคม 2568 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมวิทยาลัยชุมชนระนอง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง
9 มกราคม 2568     |      127
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการร่วมกิจกรรมการพัฒนาและยกระดับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้อย่างยั่ง ยืนด้วยกลไกการขับเคลื่อนเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
วันที่ 8 มกราคม 2568 เวลา 09.00 น. สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ศูนย์การศึกษาจังหวัดระนอง มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา วิทยาลัยชุมชนระนอง ร่วม กิจกรรมการพัฒนาและยกระดับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้อย่างยั่งยืนด้วยกลไกการขับเคลื่อนเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยมี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) เป็นมหาวิทยาลัยประสานและดำเนินการหลักอัน มีความประสงค์จัดกิจกรรมการสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลห่วงโซ่คุณค่า เศรษฐกิจ และความต้องการในการพัฒนาและยกระดับของผู้ประกอบการเพื่อสร้างกลไกการขับเคลื่อนระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากกลุ่มเครือข่ายการสร้างและยกระดับการขับเคลื่อนกลุ่มธุรกิจร่วม (Clusters) และระบบนิเวศการลงทุนสำหรับผลิตภัณฑ์และการบริการหลักที่นำไปสู่การเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจใหม่ในพื้นที่ หรือศูนย์กลางทางเศรษฐกิจชายฝั่งภาคใต้ ณ ห้องประชุมวิทยาลัยชุมชนระนอง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง
9 มกราคม 2568     |      124
ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมกิจกรรมการพัฒนาและยกระดับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้อย่างยั่งยืนด้วยกลไกการขับเคลื่อนเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
วันที่ 7 มกราคม 2568 เวลา 09.00 น. สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ สาขาวิชาพืชศาสตร์ และสาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ร่วม กิจกรรมการพัฒนาและยกระดับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้อย่างยั่งยืนด้วยกลไกการขับเคลื่อนเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยมี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) เป็นมหาวิทยาลัยประสานหลักอัน มีความประสงค์จัดกิจกรรมการสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลห่วงโซ่คุณค่า เศรษฐกิจ และความต้องการในการพัฒนาและยกระดับของผู้ประกอบการเพื่อสร้างกลไกการขับเคลื่อนระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากกลุ่มเครือข่ายการสร้างและยกระดับการขับเคลื่อนกลุ่มธุรกิจร่วม (Clusters) และระบบนิเวศการลงทุนสำหรับผลิตภัณฑ์และการบริการหลักที่นำไปสู่การเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจใหม่ในพื้นที่ หรือศูนย์กลางทางเศรษฐกิจชายฝั่งภาคใต้ ณ คาเฟ่ โกโก้ ชุมพร (พีโก้โกโก้) ตำบลวังตะกอ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
9 มกราคม 2568     |      94
ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน เป็นวิทยากรบรรยาย “การริเริ่มและเข้าใจสังคมอย่างสร้างสรรค์”
วันที่ 4 มกราคม 2568 อาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ได้รับเชิญ จาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดระนอง เป็นวิทยากรบรรยายหลักสูตร “การริเริ่มและเข้าใจสังคมอย่างสร้างสรรค แก่ ผู้บริหาร และพนักงานในสังกัดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดระนอง รวม 85 คน ในการนี้ ได้ถือโอกาสประชาสัมพันธ์ การรับสมัครนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ปีการศึกษา 2568 ในคราวเดียวกัน
6 มกราคม 2568     |      131
ขอแสดงความยินดีกับบุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ที่ได้รับทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund:FF)
ขอแสดงความยินดีกับบุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ที่ได้รับทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund:FF) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.)1. ผศ.ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู “ผลการเสริมก๊าซออกซิเจนบริสุทธิ์ในระบบให้อากาศต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต ต้นทุน การปนเปื้อนแบคทีเรีย และคุณภาพน้ำภายในระบบเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลด้วยไบโอฟลอคในโรงเรือนควบคุมอุณหภูมิ”2. ผศ.ยุทธนา สว่างอารมย์ “การพัฒนาระบบการเลี้ยงหอยแครงแบบแนวตั้งในโรงเรือนควบคุมอุณหภูมิ:กรณีศึกษาอาหารคุณภาพสูงที่เหมาะสมสำหรับหอยแครงแต่ละขนาด”3. อาจารย์ ดร.จุฑามาส เพ็งโคนา “การสร้างสรรค์สำรับอาหารเพื่อสุขภาพคาร์บอนต่ำเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร”
6 มกราคม 2568     |      230
ประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร เรื่อง ประกวดราคาซื้อประกวดราคาซื้อชุดครุภัณฑ์ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร จานวน 7 รายการ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
1.ประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร เรื่อง ประกวดราคาซื้อประกวดราคาซื้อชุดครุภัณฑ์ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร จำนวน 7 รายการ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)https://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25680102092435_17472.pdf2.เอกสารประกวดราคาซื้อด้วยการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) เลขที่ มจ.(ชพ.) 3/๒๕๖8 ประกวดราคาซื้อชุดครุภัณฑ์ระบบสนับสนุนการสร้างเนื้อหาการเรียนการสอน แบบดิจิทัล จำนวน ๑ ชุด ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ตามประกาศ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ลงวันที่ 19 ธันวาคม ๒๕๖๗https://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25680102092849_531454.pdf3. ข้อกำหนดขอบเขตงาน (Terms of Reference : TOR) และเงื่อนไขรายละเอียดและคุณลักษณะเฉพาะ ชุดครุภัณฑ์ระบบสนับสนุนการสร้างเนื้อหาการเรียนการสอนแบบดิจิทัล ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร https://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25680102093009_908790.pdf4.ตารางราคางบกลางhttps://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25680102093027_10457.pdf
2 มกราคม 2568     |      295
ประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร เรื่อง ประกวดราคาซื้อประกวดราคาซื้อครุภัณฑ์ปรับโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเรียนการสอนออนไลน์ จำนวน 1 ชุด ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
1.ประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร เรื่อง ประกวดราคาซื้อประกวดราคาซื้อครุภัณฑ์ปรับโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเรียนการสอนออนไลน์ จำนวน 1 ชุด ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)https://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25671227154344_480310.pdf2.เอกสารประกวดราคาซื้อด้วยการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) https://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25671227154503_453028.pdf3.ข้อกำหนดขอบเขตงาน (Terms of Reference : TOR) และเงื่อนไขรายละเอียดและคุณลักษณะเฉพาะ ซื้อชุดครุภัณฑ์ปรับโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเรียนการสอนออนไลน์ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)https://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25671227154601_427717.pdf4.ตารางราคางบกลาง https://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25671227154522_997480.pdf
27 ธันวาคม 2567     |      238
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมขับเคลื่อน ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้
วันที่ 25 ธันวาคม 2567 สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมขับเคลื่อน ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ ด้านการพัฒนาและส่งเสริมผลผลิตและผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร อุตสาหกรรมชีวภาพ และด้านการท่องเที่ยว/บริการอย่างยั่งยืน จาก การประชุมเชิงปฏิบัติการแนวทางการดำเนินโครงการเสริมสร้างสมรรถนะผู้ประกอบการในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค ครั้งที่ 1/2568 ณ ห้องประชุม ชั้น 6 โรงแรมลอฟท์ มาเนีย อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพรโดยมีหน่วยงานเจ้าภาพหลัก คือ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดชุมพร ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง มุ่งเน้นการบูรณาการในการปฏิบัติการร่วมกัน 5 ฝ่าย ได้แก่ รัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา ประชาสังคม และผู้ประกอบการภายในจังหวัดชุมพร
27 ธันวาคม 2567     |      109
ผู้บริหารธนาคาร ธกส.ภาคใต้ ตอนบน เข้าสวัสดีปีใหม่และเยี่ยมศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
วันที่ 26 ธันวาคม 2567 อภิชาติ กรมาทิตย์สุข รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคใต้ตอนบน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เข้าพบสวัสดีปีใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยมีนางสาวตรีชฎา สุวรรณโน ผู้อำนวยการสำนักงานสำนักงานคณบดีฯ พร้อมด้วย นาง พรลภัส พงษ์พานิช หัวหน้างานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุมพล อังคนานนท์ ให้การต้อนรับในการนี้ ได้เยี่ยมศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมหารือสร้างความร่วมมือแก่เกษตรกรในการสร้างอาชีพรายได้ต่อไป
27 ธันวาคม 2567     |      128
ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน และ ผศ.ดร.ชุมพล อังคณานนท์ เป็นวิทยากร ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการสู่ยุค 4.0 รุ่นที่ 1
เมื่อวันที่ 24-25 ธันวาคม 2567 อาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ และ ผศ.ดร.ชุมพล อังคณานนท์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้รับเชิญจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกระบี่ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการสู่ยุค 4.0 รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 24 – 25 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมกระบี่รอยัล อำเภอเมืองกระบี่ โดยมีผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP จากอำเภอเขาพนม, อำเภอคลองท่อม, อำเภอปลายพระยา, อำเภออ่าวลึก และอำเภอลำทับ นำผลิตภัณฑ์เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 25 กลุ่ม/รายการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ให้มีความสามารถและมีทักษะในการ นำสินค้าจำหน่ายในตลาดออนไลน์ เพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า OTOP ผ่านระบบออนไลน์ ส่งเสริมให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP มีธรรมาภิบาล และสร้างความรู้ ความเข้าใจ การประกอบกิจการรูปแบบเศรษฐกิจสีเขียวพร้อมกันนี้ได้ประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2568 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรในคราวเดียวกัน
27 ธันวาคม 2567     |      98
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นพยานตรวจรับครุภัณฑ์เพื่อใช้ประโยชน์ บริเวณพื้นที่ชายหาดหน้ามหาวิทยาลัย
วันที่ 25 ธันวาคม 2567 อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร รองคณบดีฯ ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ ดร.ณรค์ โยธิน หัวหน้างานนโยบาย แผนและประกันคุณภาพ และนางสาวศิริมาศ เจี้ยมกลิ่น หัวหน้างานคลังและพัสดุ ร่วมลงพื้นที่กับกลุ่มงานยุทธศาสตร์จังหวัดชุมพรและการไฟฟ้าหลังสวน เพื่อเป็นพยานในการตรวจรับครุภัณฑ์ทั้ง 5 รายการ ในพื้นที่ชายหน้าหาดหน้ามหาวิทยาลัย โดยจะดำเนินการส่งมอบ ครุภัณฑ์ดังกล่าว ให้กับมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในการใช้ประโยชน์ ต่อไป
27 ธันวาคม 2567     |      106
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ร่วมกับอำเภอละแมคว้ารางวัลใหญ่แห่งปี
      เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา อำเภอละแม ได้รับรางวัลชนะเลิศ ขบวนแห่เทิดพระเกียรติ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และของดีเมืองชุมพร ประจำปี 2567 โดยทางอำเภอละแมได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร จัดรถอันเชิญพระรูปเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ฯ ตกแห่งประดับประดาด้วยข้าวของที่เป็นอัตลักษณ์อำเภอละแม โดยมีนายสานิตย์ แป้นเหลือ นักวิชาการศึกษา สังกัดงานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา และคณะทำงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ออกแบบรถอันเชิญพระรูปฯในแนวคิด “ตลาดใต้เคี่ยม…ตลาดต้องชม” ซึ่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ สนับสนุนให้ตลาดแห่งนี้เป็นตลาด “เอกลักษณ์พาณิชย์” และ “อัตลักษณ์ชุมชน” แต่ละปีสร้างรายได้ให้กับประชาชนชาวละแม หลายล้านบาท ดึงดูดนักท่องเที่ยว สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดชุมพรมาอย่างต่อเนื่อง     อย่างไรก็ตามแนวคิดการจัดรถด้วยเครื่องบายศรี ตกแต่งด้วยผลหมากรากไม้นานาชนิดที่มีในอำเภอละแม เช่น กล้วยหอมทองละแม สินค้า GI ส่งออกไปขายยังต่างประเทศ ผสานกลิ่นอายวัฒนาธรรมท้องถิ่น เช่น เรือใบโบราณ ประกอบกับขบวนการแสดงที่สื่อถึงประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิต ของชาวอำเภอละแม และมีมวลชน กว่า 450 คน ร่วมในขบวน องค์ประกอบต่างๆได้ถูกจัดวางอย่างผสมกลมกลืนประณีตสวยงาม นำมาซึ่งรางวัลชนะเลิศดังกล่าว
24 ธันวาคม 2567     |      206
น.ส.สุชาดา ซาง แทนทรัพย์ เลขารมว. อว. เยี่ยมเยียนให้กำลังใจบุคลากรและนักศึกษา
วันที่ 20 ธันวาคม 2567 เวลา 13.30 น. นางสาวสุชาดา ซาง แทนทรัพย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ นายเมธี ลิมนิยกุล ผู้อำนวยการกลุ่มประสานเครือข่าย อว. ในภูมิภาค (กปว.) และคณะ เยี่ยมเยียนบุคลากรและนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมกับเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ รับชมบรรยากาศการเรียนการสอนและพบปะให้กำลังใจนักศึกษา โดยมี อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี คณะผู้บริหาร บุคลากร และนักศึกษา ให้การต้อนรับ นับว่าเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจที่ดีให้กับนักศึกษาและอาจารย์เป็นอย่างมาก
22 ธันวาคม 2567     |      290
ม.แม่โจ้-ชุมพร อว.ส่วนหน้า จ.ชุมพร ต้อนรับ เลขาฯ รมว. อว. ลงพื้นที่เยี่ยมผู้ประสบภัยน้ำท่วมชุมพร
      วันที่ 20 ธันวาคม 2567 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในฐานะ อว.ส่วนหน้า จังหวัดชุมพร นำโดยอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อม คณะผู้บริหาร บุคลากร และนักศึกษา ให้การต้อนรับนางสาวสุชาดา ซาง แทนทรัพย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ นายเมธี ลิมนิยกุล ผู้อำนวยการกลุ่มประสานเครือข่าย อว. ในภูมิภาค (กปว.) และคณะ ในการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดชุมพร ณ ศาลาธรรมวัดท่าสุธาราม บ้านท่า หมู่ที่ 2 ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร พร้อมทั้งส่งของบริจาค (เครื่องอุปโภคและบริโภค) ให้กับผู้ประสบอุทกภัย พบปะให้กำลังใจในการพื้นฟูพื้นที่หลังน้ำลด      สำหรับมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้ช่วยให้การสนับสนุนช่วยผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดชุมพร ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2567 เป็นต้นมา  ได้แก่      1.สนับสนุนเรือคยัคของมหาวิทยาลัย เพื่อใช้ลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัย      2.นักศึกษา บุคลากร จิตอาสา ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพให้กับผู้ได้รับความเสียหายในพื้นที่อำเภอทุ่งตะโก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร      3.ลงพื้นที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นักศึกษาในพื้นที่ ในการติดตามผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย พร้อมกับรายงานไปยังกระทรวง อว. จนนำไปสู่การช่วยเหลือฟื้นฟูต่อไป      ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ยินดีให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้แจ้งความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือ ในการฟื้นฟูพื้นที่น้ำท่วมหลังน้ำลด จะร่วมดูแลชุมชนไปด้วยกัน
22 ธันวาคม 2567     |      207
ม.แม่โจ้-ชุมพร จัดพิธีสักการะ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ ครบรอบ 144 ปี
วันที่ 19 ธันวาคม 2567 เวลา 09.30 น. ที่ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.จักกฤช ณ นคร ผู้ช่วยคณบดี และบุคลากร ร่วมพิธีสักการะพระรูปปั้น พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ ครบรอบ 144 ปี น้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณพระองค์ ที่ได้พัฒนากิจการทหารเรือให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง มีความเจริญก้าวหน้าเป็นที่ประจักษ์ มาตราบเท่าทุกวันนี้พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประสูติ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2423 ทรงเป็นต้นราชสกุล "อาภากร" เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาโหมด ทรงเป็นผู้วางรากฐานการบริหารงานของกองทัพเรือ ทรงได้รับการเชิดชูในหมู่ทหารเรือเรียกขานพระองค์ว่า "เสด็จเตี่ย" หรือ "หมอพร" และ "พระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย" ต่อมาในปี 2544 มีประกาศกองทัพเรือขนานพระนามพระองค์ว่า "องค์บิดาของทหารเรือไทย"
19 ธันวาคม 2567     |      2494
ประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เรื่องประกวดราคาซื้อประกวดราคาชุดครุภัณฑ์ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อาหารประจําอาคารเรียนรวม และปฏิบัติการประมงและเพาะฟักฯ
๑.ประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร เรื่องประกวดราคาซื้อประกวดราคาชุดครุภัณฑ์ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อาหารประจําอาคารเรียนรวมและปฏิบัติการประมงและเพาะฟัก จํานวน ๑ ชุด ๔ รายการ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) :https://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25671218222550_202251.pdf๒.เอกสารประกวดราคาซื้อด้วยการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) เลขที่ มจ.(ชพ.) ๒/๒๕๖๘ :https://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25671218222507_701083.pdf๓.ข้อกำหนดขอบเขตงาน (Terms of Reference : TOR) และเงื่อนไข รายละเอียดและคุณลักษณะเฉพาะ :https://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25671218222625_677103.pdf๔.ตารางแสดงวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรและรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อจัดจ้างที่มิใช่งานก่อสร้าง  :https://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25671218222531_208487.pdf
18 ธันวาคม 2567     |      947
ประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร เรื่อง ประกวดราคาซื้อประกวดราคาซื้อชุดครุภัณฑ์การผลิตสารชีวภัณฑ์เพื่อรองรับระบบการเกษตรแบบอินทรีย์
1.ประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร เรื่อง ประกวดราคาซื้อประกวดราคาซื้อชุดครุภัณฑ์การผลิตสารชีวภัณฑ์เพื่อรองรับระบบการเกษตรแบบอินทรีย์ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) : https://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25671213163150_632215.pdf2.เอกสารประกวดราคาซื้อด้วยการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) : https://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25671213163210_537075.pdf3.ข้อตกลงขอบเขตงาน (Terms of Reference:TOR ) และเงื่อนไขรายละเอียดและคุณลักษณะเฉพาะ : https://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25671213163223_436528.pdf4.ตารางราคางบกลาง :https://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25671213163235_29594.pdf
13 ธันวาคม 2567     |      334
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ จัดประชุมความร่วมมือเพื่อสร้างบุคลากรสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ผ่านระบบออนไลน์
วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 13.30 – 16.30 น. สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดการประชุม “Collaboration for Excellence in Tourism Talent Development for Sustainable Tourism” สร้างความร่วมมือกับสถานประกอบการทางการท่องเที่ยว โรงแรม บริษัทนำเที่ยวและอื่น ๆ จำนวน 12 สถานประกอบการ ผ่านระบบออนไลน์ Zoom โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการบูรณาการความรู้และประสบการณ์เพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีความพร้อมในการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนหัวข้อสำคัญในที่ประชุมการพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน  ตัวแทนจากสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ และสถานประกอบการได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน โดยเน้นการพัฒนาทักษะที่ตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรมในปัจจุบันโอกาสการฝึกงาน สหกิจศึกษา และความร่วมมือภาคสนาม สถานประกอบการหลายแห่งได้เสนอเปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้าฝึกงานและสหกิจในองค์กรของตน เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์จริงและความเข้าใจในสถานการณ์การทำงานการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน มีการพูดคุยถึงแนวทางการสนับสนุนให้นักศึกษามีบทบาทในการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การบริหารจัดการท่องเที่ยวที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน ผลลัพธ์ที่คาดหวังการประชุมครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญของความร่วมมือระหว่างสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ และสถานประกอบการทางการท่องเที่ยวในการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพและมีจิตสำนึกด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ และสถานประกอบการต่างๆ ได้วางแผนที่จะติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน งานนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการส่งเสริมการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในอนาคตอย่างแท้จริง
13 ธันวาคม 2567     |      198
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมประชุมขับเคลื่อนและเสนอแผนงานการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร
วันที่ 11 ธันวาคม 2567 สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชุมชน เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน 8 อำเภอ กรรมการที่ปรึกษาสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะสมุย-เกาะพะงัน-เกาะเต่า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมขับเคลื่อนและเสนอแผนงานการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพรผ่านองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร เพื่อหนุนเสริมแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนนำร่อง โครงข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนผนวกแหล่งท่องเที่ยวหลัก-รองภายในจังหวัดชุมพรและเพื่อผลักดันให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนพร้อมกันนี้ ผู้แทนแต่ละอำเภอและหน่วยงานภาคี ได้ร่วมแสดงความยินดี กับนายนพพร อุสิทธิ์ ในโอกาสที่ได้ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ชั้น 2 อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
12 ธันวาคม 2567     |      214
ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรและพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ รัชกาลที่ 9
     วันที่ 5 ธันวาคม 2567 เวลา 07.30 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วยอาจารย์วิชุดา เอื้ออารี รองคณบดีฯ ฝ่ายกิจการพิเศษ อาจารย์ ดร.จักกฤช ณ นคร ผู้ช่วยคณบดี นางสาวตรีชฎา สุวรรณโน ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดี บุคลากร และนักศึกษา ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตร เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ     และ เวลา 09.00 น. ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะ เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ โดยมีนายสุนทร จอมเมือง นายอำเภอละแม เป็นประธานในพิธี ข้าราชการพลเรือน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และประชาชน ร่วมแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ ศาลาประชาคมอำเภอละแม จังหวัดชุมพร
13 ธันวาคม 2567     |      213
ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมกับ อว.ส่วนหน้าจังหวัดชุมพร ส่งมอบของช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้
วันที่ 4 ธันวาคม 2567 เวลา 10.00 น. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และอว.ส่วนหน้าจังหวัดชุมพร โดยอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯ ฝ่ายวิชาการ วิจัย และบริการวิชาการ อาจารย์วิชุดา เอื้ออารี รองคณบดีฯ ฝ่ายกิจการพิเศษ และอาจารย์ ดร.จักกฤช ณ นคร ผู้ช่วยคณบดี ส่งมอบข้าวสาร อาหารแห้ง และน้ำดื่ม ที่ได้จากการสนับสนุนของบุคลากร นักศึกษา และโรงเรียนบ้านแหลมสันติ ให้แก่เจ้าหน้าที่ มูลนิธิเพชรเกษม สาขาละแม เพื่อให้ทางมูลนิธิฯ นำส่งให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้ต่อไป
4 ธันวาคม 2567     |      190
อาจารย์ปณิดา กันถาด ร่วมต้อนรับ รองศาสตราจารย์ ดร.ก้าน จันทร์พรหมมา และลงพื้นที่ตรวจสอบมาตรฐานโรงงาน GMP ณ กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด
วันที่ 3 ธันวาคม 2567 อาจารย์ปณิดา กันถาด อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชศาสตร์ ร่วมต้อนรับ รองศาสตราจารย์ ดร.ก้าน จันทร์พรหมมา ประธานเครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคใต้ ในการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมศูนย์วิจัยชุมชน  “กล้วยหอมทองเพื่อการส่งออก” โครงการพัฒนาศักยภาพกล้วยหอมทอง เพื่อการส่งออกแบบยั่งยืนพร้อมกันนี้ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบมาตรฐานโรงงาน GMP (Good Manufacturing Practice) ร่วมกับ นักวิชาการเกษตร สำนักวิจัยเเละพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 ณ กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด ตำบลทุ่งคาวัด อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
4 ธันวาคม 2567     |      147
“แม่โจ้หวานเจี๊ยบทีม” คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รายการฟุตบอลสานสัมพันธ์คัพโรงเรียนละแมวิทยา
วันที่ 30 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2567 ชมรมกีฬามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร “แม่โจ้หวานเจี๊ยบทีม” เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลสานสัมพันธ์คัพ จัดโดยสภานักเรียนโรงเรียนละแมวิทยา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสานสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนละแมวิทยากับชุมชน ตลอดจนนำรายได้มาจัดกิจกรรมสันทนาการมอบของรางวัลให้กับนักเรียนโรงเรียนละแมวิทยาและโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โดยมีนายสุนทร จอมเมือง นายอำเภอละแม เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน อย่างไรก็ดี การแข่งขันฟุตบอลของ ”ทีมแม่โจ้หวานเจี๊ยบ”  ดังกล่าว มีอาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น นายสานิตย์ แป้นเหลือ นักวิชาการศึกษา และนายอภินันท์ อุ่นมณีรัตน์ ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 74 นำนักนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขัน ทั้งนี้ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รายการดังกล่าวมาครอง
2 ธันวาคม 2567     |      145
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ประชุมร่วมกับกับสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชน เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน
วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 สาขาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมกับสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชน เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน ทั้ง 8 อำเภอ องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานจังหวัดชุมพร-ระนอง ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนกลไกการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร เพื่อกำหนดแผนยุทธศาสตร์เชิงรุกพร้อมนำส่งผ่านองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ณ สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
2 ธันวาคม 2567     |      123
ผศ.อำนาจ รักษาพล และอาจารย์ ดร.จุฑามาส เพ็งโคนา เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ "คนรุ่นใหม่ สร้างพลังใจ ใส่ความร่วมมือ ถือคุณธรรม นำธุรกิจสู่ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ถึงพร้อมงานพัฒนา สร้างคุณค่าท่องเที่ยวยั่งยืน" ณ โรงแรมนานาบุรี จังหวัดชุมพร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล และอาจารย์ ดร.จุฑามาส เพ็งโคนา  ระหว่างวันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2567 โดยมีนายวิทยา เขียวรอด ปลัดจังหวัดชุมพร เป็นประธานเปิดงาน  พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเข้าร่วม  เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้  แนวคิด  สร้างเครือข่าย  และเรียนรู้กลยุทธ์ธุรกิจท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวรุ่นใหม่  และสอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจท่องเที่ยวของประเทศไทยนายวิทยา  เขียวรอด กล่าวว่า  จังหวัดชุมพรมีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย  ทั้งด้านประวัติศาสตร์  วัฒนธรรม  ชุมชน  ธรรมชาติ  และการผจญภัย  ซึ่งเป็นจุดแข็งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว  แต่ในขณะเดียวกัน  การเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวก็อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น  การปรับตัวของผู้ประกอบการจึงเป็นสิ่งจำเป็น  โดยเฉพาะการตระหนักถึงการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน  ลดการบริโภคเกินความจำเป็น  อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  และส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนอย่างเป็นธรรม  เพื่อให้ธุรกิจท่องเที่ยวเติบโตควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม  มุ่งสู่การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์การประชุมครั้งนี้  มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการ  โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่  มีส่วนร่วมในการพัฒนา  และยกระดับการท่องเที่ยวชุมพร  ให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ  เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  และสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน จัดขึ้นโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานชุมพร ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวชุมพร, หอการค้,า สมาคมโรงแรม, YEC ชุมพรสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวสมาคมท่องเที่ยวโดยชุมชน , องค์การบริหารส่วนจังหวัด และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
2 ธันวาคม 2567     |      124
คณาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ลงพื้นที่เก็บข้อมูลงานวิจัยขยายผลธนาคารปูม้าสู่การเพิ่มทรัพยากรชายฝั่งฯ ภายในจังหวัดชุมพร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุทธนา สว่างอารมย์ หัวหน้าโครงการ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ คณาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เดินทางลงพื้นที่เก็บข้อมูลงานวิจัย ณ อำเภอปะทิว อำเภอเมือง อำเภอสวี และอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ระหว่างวันที่ 27 - 30 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ภายใต้กิจกรรมของโครงการ “การขยายผลธนาคารปูม้าสู่การเพิ่มทรัพยากรชายฝั่ง ทรัพยากรการท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มีมาตรฐาน ตามแนวทางเศรษฐกิจสีน้ำเงินในพื้นที่จังหวัดชุมพร” ซึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
2 ธันวาคม 2567     |      129
ขอแสดงความยินดีกับบุคลากร ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการบริการวิชาการ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ขอแสดงความยินดีกับบุคลากร ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการบริการวิชาการ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ1.ประสิทธิภาพของกระบวนการสกัดสารจากสมุนไพรเสม็ดที่มีมีผลต่อฤทธิ์ทางชีวภาพเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ ผู้รับผิดชอบ อาจารย์พัชรินทร์ วิริยะสุขสวัสดิ์2.อนุรักษ์และพัฒนาโทะอย่างยั่งยืน ผู้รับผิดชอบ ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์3.โครงการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารแทนนินจากใบ และเปลือกของกล้วยหอมทองต่อการลดปริมาณแอมโมเนียจากบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ผู้รับผิดชอบ ผศ.ดร.พรพิมล พิมลรัตน์4.ชันโรงสู่ผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพรและบรรจุภัณฑ์เพื่อการตลาดสมัยใหม่ ผู้รับผิดชอบ อาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี5.หน่วยงานประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร (โครงการฝึกอบรม) ผู้รับผิดชอบ นายสุวินัย เลาวิลาศ
2 ธันวาคม 2567     |      295
กิจกรรมดีๆ จากผ้าอนามัย “โซฟี” ที่ผู้หญิงอย่างเรา ไม่ควรพลาด!!
เนื่องด้วย บริษัทยูนิชาร์ม (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าอนามัย “โซฟี” มอบหมายให้บริษัทโต๊ะกลม จำกัด” เป็นตัวแทนประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ของผ้าอนามัยโซฟี ให้กับนักศึกษา บุคลากรและผู้ที่สนใจโอกาสนี้ จึงขอเชิญชวน นักศึกษาและบุคลากร เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ในวันศุกร์ ที่ 6 ธันวาคม 2567 เวลา 07.00-10.00 น.ใต้อาคารแม่โจ้ 80 ปี โดยพบกับบูธผลิตภัณฑ์ผ้าอนามัย “โซฟี” พร้อมการให้ความรู้และแนะนำผลิตภัณฑ์เกมสนุกลุ้นรางวัล และรับสินค้าตัวอย่างฟรี!!!
28 พฤศจิกายน 2567     |      259
นายสุวินัย เลาวิลาศและนายชาญวิทย์ ขุนทองจันทร์ เข้าร่วมประชุมการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 งานบริการวิชาการและวิจัย โดยนายสุวินัย เลาวิลาศ และนายชาญวิทย์ ขุนทองจันทร์ นักวิชาการศึกษา ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมการประชุมเพื่อดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) และการสมัครสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น ทั้งนี้มีผู้นำท้องถิ่น นำโดย นายสุกิจ แก้วเพ็ชร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลละแม ผู้นำหน่วยงานต่างๆ ปราชญ์ชาวบ้านเข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
28 พฤศจิกายน 2567     |      120
ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางและขั้นตอนการขนส่งทุเรียนชุมพรเพื่อการส่งออกไปยังประเทศจีน
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 เวลา 16.00 น. อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ประธานอาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชาพืชศาสตร์ ร่วมกับผู้ประกอบการด้านการขนส่งผลไม้ส่งออกต่างประเทศ โดยมี นายวศิน ชัชวาลย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บียอนด์ คาร์โก้ จำกัด  ได้ประชุมหารือ เรื่อง แนวทางและขั้นตอนการขนส่งทุเรียนชุมพรที่มีคุณภาพสูง เพื่อการส่งออกไปยังประเทศจีน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ดังนี้ นายสุเชษ  ทองมาก ประธานแปลงใหญ่ทุเรียน หมู่ที่ 18 ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร นางสาวเนตรนภา แดงนิ่ม ฝ่ายการตลาดครอบครัวออร์แกนิค และกรรมการ YSF จังหวัดชุมพร นายธนเดช ณัฐวัฒน์จิระประไพ New Gen และกรรมการสมาคมชาวสวนไม้ผลจังหวัดชุมพร นายชลิตชาติ แสงสุวรรณ สมาชิกสภาเกษตรกรอำเภอละแม เขต 2 จังหวัดชุมพร และนายมาโนช เพ็งโคนา เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนมาตรฐาน GAP เข้าร่วมประชุม ณ บ้านสวนจุฑาวดี ตำบลทุ่งหลวง อำเภอละแม จังหวัดชุมพรทั้งนี้ การประชุมดังกล่าว เพื่อพบปะ หารือร่วมกัน ระหว่างเกษตรกรผู้ผลิต และบริษัทขนส่งผลไม้เพื่อการส่งออก เสริมสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพผลผลิต ให้แก่ผู้บริโภค และตลาดในอนาคตต่อไป
28 พฤศจิกายน 2567     |      137
สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง แต่ละชั้นปีเรียนอะไรบ้าง?
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร แต่ละชั้นปีเรียนอะไรบ้าง? ปี 1 : สามารถอธิบายการใช้เครื่องมือทางด้านวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ทางทะเลและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเรียนปรับพื้นฐานรายวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ อธิบายความรู้ด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมสุขภาวะ ความเป็นพลเมืองดิจิทัล การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์เรียนรู้หลักการพื้นฐานของการปฎิบัติงานฟาร์มประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งปี 2 :สามารถอธิบายความรู้และเข้าใจทักษะทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเรียนรู้หลักการวิเคราะห์คุณภาพน้ำเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เข้าใจนิเวศวิทยาทางทะเล และสมุทรศาสตร์เพื่อการประมงรู้จักกับปลาและสัตว์น้ำชนิดต่างๆ ผ่านรายวิชามีนวิทยาร่วมด้วยวิชาชีววิทยาของกุ้ง ปู และหอยทะเลเพื่อให้สามารถเข้าใจหลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเบื้องต้นปี 3 : สามารถวิเคราะห์ แก้ปัญหาและถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสัตว์น้ำชายฝั่งอย่างมีประสิทธิภาพเรียนรู้หลักการเพาะเลี้ยงแพลงก์ตอน เพื่อการเพาะเลี้ยงและการอนุบาลลูกสัตว์น้ำชายฝั่งเข้าใจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล การคำนวณสูตรและการผลิตอาหารและโภชนาการสัตว์น้ำหลักและวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคในสัตว์น้ำเข้าใจระเบียบวิธีวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อนำไปสู่การทำวิจัยพื้นฐานปี 4 : สามารถเลือกแนวทางในการเป็นผู้ประกอบการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งยังมีจริยธรรมปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในสถานประกอบการจริงทั้งในและต่างประเทศเรียนรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากทรัพยากรทางทะเลและนวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าทรัพยากรประมงเพื่อเศรษฐกิจ BCGเรียนรู้นวัตกรรมระบบน้ำหมุนเวียนเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำ กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการประมง รวมถึงการจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
27 พฤศจิกายน 2567     |      284
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมขับเคลื่อนกลไกเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดระนอง
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมขับเคลื่อนกลไกเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดระนอง ร่วมกับสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร วิทยาลัยชุมชนจังหวัดระนอง แกนนำชุมชนการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดระนอง และหน่วยงานภาคีเครือข่าย  โดยมุ่งพัฒนาเครือข่ายเชิงรุกจากฐานทุนกลไกเครือข่าย(เดิม) 1) เพื่อพัฒนาองค์กรเครือข่ายฯที่เป็นกลไกกลางในการประสานทุกทิศทาง พร้อมจดแจ้งเป็น "สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดระนอง" ภายใต้แนวคิด พี่ดูแลน้อง เพื่อนดูแลกัน พร้อมคิดเอื้อทำเผื่อ  2) เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลชุมชนสมาชิกประกอบการตัดสินใจพัฒนาสอดคล้องตามระดับศักยภาพชุมชน 3) เพื่อเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวและพัฒนาเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนผนวกแหล่งท่องเที่ยวหลักโดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ณ ห้องประชุมอันดามัน วิทยาลัยชุมชนระนอง ทั้งนี้สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการร่วมจัดกระบวนการประชุมและสังเคราะห์ข้อมูลผ่านระบบออนไลน์
27 พฤศจิกายน 2567     |      131
ม.แม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมหารือการจัดฝึกอบรมการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับผลิตทุเรียนคุณภาพของจังหวัดชุมพร ประจำปีงบประมาณ 2568
      วันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชุมพร อาจารย์วิชชุดา  เอื้ออารี รองคณบดีฯ ฝ่ายกิจการพิเศษ และ อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์  วิชาสวัสดิ์ ประธานอาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชาพืชศาสตร์  ได้รับมอบหมายจาก คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ให้เข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณากำหนดแนวทางการนำแพลตฟอร์มดิจิทัลมาใช้งานเพื่อการผลิตทุเรียนชุมพร ณ ศาลากลางจังหวัดชุมพร อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร โดยมีนายธราพงษ์ มีมุสิทธิ์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดชุมพร เป็นประธานในที่ประชุมดังกล่าว พร้อมด้วยผู้บริหารส่วนงานต่างๆ อาทิ เกษตรจังหวัดชุมพร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชุมพร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดชุมพร ประธานหอการค้าจังหวัดชุมพร ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินชุมพร พาณิชย์จังหวัดชุมพร      ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือการจัดฝึกอบรมแนวทางการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับผลิตทุเรียนคุณภาพ ในโครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตทุเรียนชุมพรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม อบรมให้กับเกษตรกรชาวสวนทุเรียนทั้งทุเรียนแปลงใหญ่ และรายย่อย กลุ่มเป้าหมายจำนวน 440 คน และหลักเกณฑ์การคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ ของสำนักงานสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชุมพร ทั้งนี้ เพื่อให้จังหวัดชุมพร เป็นแหล่งผลิตทุเรียนชุมพรที่มีคุณภาพสูง ตามมาตรฐาน GAP
26 พฤศจิกายน 2567     |      135
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ประชุมออนไลน์ร่วมกับภาคีเครือข่าย มุ่งยกระดับหนุนเสริมผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการเติบโตไปพร้อมกัน
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมประชุมแบบออนไลน์ เพื่อแสวงหาแนวทางบูรณาการในการปฏิบัติการร่วมระหว่างสำนักงานพาณิชย์จังหวัดชุมพร และคณาจารย์ในหลักสูตร รวมถึงเครือข่ายสถาบันการศึกษา ภายใต้การพัฒนาและยกระดับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้อย่างยั่งยืนแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน SEC ทั้งนี้การประชุมดังกล่าว นำไปสู่แนวทางในการปฎิบัติการร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมกันยกระดับ/หนุนเสริมผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการเติบโตไปพร้อมๆกัน (ประโยชน์ร่วม) ดังนี้การมีส่วนร่วมในการสนับสนุนทรัพยากร เช่น บุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ เป็นต้น โดยเฉพาะทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานที่มีบทบาท หน้าที่ และอำนาจในการตัดสินใจ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาองค์กรชุมชนและเครือข่าย การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของผู้ประกอบการทุกระดับ และสอดคล้องตามพันธกิจของหน่วยงานนั้นๆ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนกลไกกลางให้เกิดความยั่งยืนตั้งแต่ระดับพื้นที่ ระดับจังหวัด ระดับระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ จนถึงระดับสากลส่งเสริมการจับคู่ธุรกิจ/เจรจาธุรกิจ ซึ่งโครงการ/กิจกรรมดังกล่าวเป็นหนึ่งในนโยบายและพันธกิจของหน่วยงานภาคีเครือข่าย ดังนั้นหากมีการบูรณาการทรัพยากรในการทำงานร่วมกัน เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด เช่น ขนาด จำนวนครั้ง ฐานข้อมูลคู่ค้า เป็นต้นการพัฒนาด้วยนวัตกรรม วิจัย และเทคโนโลยี สอดคล้องตามความต้องการของผู้ประกอบการโดยดำเนินผ่านกลไกทั้ง 2 ระดับแบบคู่ขนานคือระดับโครงการ SEC และระดับหน่วยงานย่อยภายในมหาวิทยาลัยในเครือข่ายการพัฒนาด้านการจัดจำหน่ายผ่าน PLATFORM ต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศหนุนเสริมกลไกกลางสามารถบริหารจัดการให้เกิดองค์กรภาคีเครือข่ายให้เกิดความเข้มแข็งแบบพี่ดูแลน้อง เพื่อนดูแลกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง จะส่งผลให้เกิดอำนาจและความสามารถในการต่อรอง เสริมสร้างพลังในการหนุนเสริมกันและกัน การส่งต่อ-การบอกต่อสินค้าและผลิตภัณฑ์ซึ่งกันและกันภายใต้ระบบฐานข้อมูลที่เป็นรูปธรรม หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงด้านระเบียบ เกณฑ์มาตรฐาน ที่เอื้อ ส่งเสริม ควบคุม สร้างโอกาส เป็นต้น แก่พี่-น้องภาคีเครือข่ายโดยสรุป การประชุมดังกล่าว นำไปสู่แนวทางในการปฎิบัติการร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมกันยกระดับ/หนุนเสริมผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการเติบโตไปพร้อมๆกัน (ประโยชน์ร่วม)  เช่น การมีส่วนร่วมในการสนับสนุนทรัพยากร เช่น บุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ เป็นต้น โดยเฉพาะทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานที่มีบทบาท หน้าที่ และอำนาจในการตัดสินใจ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาองค์กรชุมชนและเครือข่าย การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของผู้ประกอบการทุกระดับ และสอดคล้องตามพันธกิจของหน่วยงานนั้นๆ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนกลไกกลางให้เกิดความยั่งยืนตั้งแต่ระดับพื้นที่ ระดับจังหวัด ระดับระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ จนถึงระดับสากลต่อไป
26 พฤศจิกายน 2567     |      114
ว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ เป็นวิทยากรบรรยายเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ณ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอละแม
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอละแม จังหวัดชุมพร จัดโครงการการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักศึกษาศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอละแม โดยเชิญว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตร สังกัดงานบริการวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร เป็นวิทยากร บรรยายให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ (แนวทางการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงเกษตรทฤษฎีใหม่) เรื่องการเลี้ยงผึ้งชันโรง และเรื่องการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใบไผ่ด้วยวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ในวันอังคาร ที่ 19 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ณ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
26 พฤศจิกายน 2567     |      241
คณบดี ม.แม่โจ้-ชุมพรและประธานหลักสูตรพืชศาสตร์ ร่วมประชุมปรึกษาหารือการแก้ปัญหาทุเรียนไทยในตลาดจีน
      วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน 2567 อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรพร้อม และอาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ ประธานหลักสูตรพืชศาสตร์ เข้าร่วมประชุมและปรึกษาหารือกับผู้ประกอบการด้านส่งออกทุเรียน ตัวแทนจากสภาหอการค้าไทย-จีน นายเชาว์ชัย เจียมวิจิตร ประธานอนุกรรมการค้าชายแดนและค้าข้ามแดน ด้านจีนตอนใต้ นายธีระศักดิ์ ยมสวัสดิ์ นายสุบรรณ รักษ์ทอง เกษตรจังหวัดชุมพร และตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ และผู้นำกลุ่มเกษตรกร ณ ห้องประชุมมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร      การประชุมหารือในครั้งนี้ เพื่อร่วมกันวางแนวทางการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานทุเรียนไทย ตลอดจนแก้ปัญหาและแก้ไขสวมสิทธิ์ GAP, การสร้างแบรนด์ทุเรียนพรีเมี่ยมเพื่อส่งออกจีน,รวมทั้งการสร้างตลาดที่มั่นคง โดยที่ประชุมขอให้ ศูนย์ทุเรียนชุมพร Durain Academy มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในฐานะสถาบันการศึกษา ช่วยกันผลักดันในเรื่องการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน พัฒนาเกษตรกรและผู้ประกอบการ ร่วมกับสภาเกษตรและภาคีเครือข่าย เพื่อยกระดับการผลิตทุเรียนและการสร้างมาตรฐานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดต่างประเทศ รวมทั้งการยกระดับสินค้าทุเรียนไทยให้กลายเป็นสินค้าพรีเมี่ยมในตลาดต่างประเทศต่อไป
21 พฤศจิกายน 2567     |      135
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ประชุมประสานสถาบันการศึกษา รับสมัครนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2568
      สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ นำโดยอาจารย์ดร.วีระภรณ์ โตคีรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบจมาศ ณ ทองแก้ว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสง อาจารย์ ดร.จุฑามาส เพ็งโคนา และผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล ประสานสถาบันการศึกษาเป้าหลักสำหรับการรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ และสาขาวิชาอื่นๆ ปีการศึกษา 2568 ตามความสนใจ ทั้งนี้ เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุก ร่วมกับวิทยาลัยการอาชีพห้วยยอด, วิทยาลัยเทคนิคตรัง จังหวัดตรัง และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีจังหวัดกระบี่      ในการนี้ ได้หารือร่วมกันเรื่องการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการทั้งในปัจจุบันและอนาคต ควบคู่กับความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนและหนุนเสริมทางวิชาการ ระหว่างคณาจารย์และนักเรียน ผ่านระะออไลน์ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
21 พฤศจิกายน 2567     |      142
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ เข้าร่วมประชุมออนไลน์ ชี้แจงแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมออนไลน์ การประชุมชี้แจงแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 รายแนวทางเพิ่มเติมร่วมกับหน่วยงานเจ้าภาพแนวทางที่ 2 พัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและส่งเสริมความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวร่วมกับกรมการท่องเที่ยว ในวันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 09.30 เป็นต้นไป โดยมีการจัดประชุม ณ ห้องประชุม  1 ชั้น 2 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
20 พฤศจิกายน 2567     |      154
ตรวจสอบความเรียบร้อยชุดครุภัณฑ์ภายในอาคารปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เตรียมความสำหรับการเรียนการสอน งานวิจัย และบริการวิชาการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ฝ่ายวิชาการวิจัยและบริการวิชาการ พร้อมด้วยคณาจารย์ผู้สอนทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม นักวิทยาศาสตร์ และเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ตรวจรับและตรวจสอบความเรียบร้อยของชุดครุภัณฑ์ภายในอาคารปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับใช้สนับสนุนการเรียนการสอน งานวิจัย และบริการวิชาการต่อไป
20 พฤศจิกายน 2567     |      125
ผศ.อำนาจ รักษาพล ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการกับเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอพะโต๊ะ
วันที่ 17 พฤศจิกายน 2567  สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร (กทท.ดชช.ชพ.) ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการกับเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอพะโต๊ะ และสาขาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ณ ริมคลอง รีสอร์ท ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร โดยมีนายกสมาคมฯ พร้อมเลขานุการสมาคมฯ และแกนนำเครือข่ายฯพะโต๊ะ ร่วมกันพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอพะโต๊ะ ภายใต้ วิสัยทัศน์ "พะโต๊ะเมืองท่องเที่ยวสุขภาวะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน" ทั้งนี้ ได้ร่วมกันสังเคราะห์ข้อมูลจากฐานทุนทรัพยากร (บุคคล ธรรมชาติ วิถีวัฒนธรรมสายน้ำพะโต๊ะ และการเกษตรสุขภาวะ) ซึ่งแบ่งเป็น 3 เส้นทางหลัก คือ Theme : ล่องแพ ยลวิถีสัมพันธ์คน น้ำ ป่า และสายธาร        sub-theme 01 : ล่องแพ ยลวิถีคน สายน้ำพะโต๊ะ        sub-theme 02 : นั่่งรถเมล์ไม้ชมเมืองในหมอก         sub-theme 03 : สัมผัสป่า น้ำตก และสายธารTheme : ชมวิ 4 ทะเลเขานมสาว (ทะดาว ทะเลหมอก ทะเลป่า ทะเลอันดามัน)Theme : ค่ายเด็กและเยาวชนคนต้นน้ำพะโต๊ะหมายเหตุ : ตลอดเส้นทางและการประกอบกิจกรรมย่อย มุ่งเน้นการพักภายในเครือข่ายสมาชิกทั้งรูปแบบรีสอร์ท โฮมสเตย์ โฮมลอด์จ ลานกางเต็นท์ และมุ่งเน้นอาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาวะโดยใช้วัตถุดิบภายในท้องถิ่นและวัสดุธรรมชาติ
19 พฤศจิกายน 2567     |      204
ม.แม่โจ้-ชุมพร หารือความร่วมมือกับวิทยาลัยชุมชนระนอง มุ่งสร้างความร่วมมือทางด้านการเรียนการสอน งานวิจัย และพัฒนาชุมชน
วันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วย อาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี รองคณบดีฯฝ่ายกิจการพิเศษ อาจารย์ ดร.จักกฤช ณ นคร ผู้ช่วยคณบดี ว่าที่ร้อยตรี ดร.อนิรุต หนูปลอด ประธานหลักสูตรสาขาวิชารัฐศาสตร์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุมพล อังคณานนท์ และนางพรลภัส พงษ์พานิช หัวหน้างานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา เข้าหารือความร่วมมือทางด้านการเรียนการสอน งานวิจัย การพัฒนาชุมชน ตลอดจนพัฒนาหลักสูตรและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง กับคณะผู้บริหารวิทยาลัยชุมชนระนอง โดยมีว่าที่ร้อยตรีกฤษฎา ฉิมพลีวัฒน์ ให้การต้อนรับ ณ วิทยาลัยชุมชนระนอง จังหวัดระนองอย่างไรก็ตาม การหารือกับคณะผู้บริหารวิทยาลัยชุมชนระนอง ดังกล่าว สืบเนื่องมาจากข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOA) ระหว่าง วิทยาลัยชุมชนระนอง กับ หลักสูตรรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ที่ได้ลงนามไว้ก่อนหน้านี้
18 พฤศจิกายน 2567     |      161
สาขาวิชารัฐศาสตร์ เข้าแนะแนวและรับสมัครนักศึกษา ณ วิทยาลัยชุมชนระนอง จังหวัดระนอง
วันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2567 หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร นำโดย 1) ว่าที่ร้อยตรี ดร.อนิรุต หนูปลอด ประธานหลักสูตรสาขาวิชารัฐศาสตร์ 2)นางพรลภัส พงษ์พานิช หัวหน้างานบริการการศึกษาฯ 3) นางสาวสายทอง สุจริยาพงศ์พร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา 4) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุมพล อังคณานนท์ เลขานุการหลักสูตรรัฐศาสตร์ และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้เข้าแนะแนวและรับสมัครนักศึกษา ณ วิทยาลัยชุมชนระนอง จังหวัดระนองทั้งนี้ ได้ร่วมหารือถึงแนวทางในการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาที่มีชุมชนเป็นฐาน ตามแนวทางข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ(MOA) ระหว่าง วิทยาลัยชุมชนระนอง กับ หลักสูตรรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ที่ได้ลงนามไว้ก่อนหน้านี้โดยรับการต้อนรับจาก 1)ว่าที่ร้อยตรีกฤษฎา ฉิมพลีวัฒน์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนระนองและคณะผู้บริหาร 2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุมพล อังคณานนท์ กรรมการสภา วิทยาลัยชุมชนระนอง
18 พฤศจิกายน 2567     |      147
ผศ.อำนาจ รักษาพล ร่วมประชุม"การพัฒนาและยกระดับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้อย่างยั่งยืนด้วยกลไกการขับเคลื่อนเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน"
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล อาจารย์ประจำสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการด้าน "การพัฒนาและยกระดับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้อย่างยั่งยืนด้วยกลไกการขับเคลื่อนเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน" ระหว่างวันที่ 13-14 พฤศจิกายน 2567 ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ 4 ชั้น 3 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีในการนี้ มีปณิธานร่วมกันว่าจะทุบขอบเขตรั้วมหาวิทยาลัยฯเพื่อปฏิบัติการร่วมกันแบบบูรณาการ จาก 9 มหวิทยาลัย ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยชุมชนระนอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์จังหวัดชุมพร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับ บพท. - หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ โดยมุ่ง 1.พัฒนาระบบฐานข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ควบคู่กับการ วิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ เพื่อประกอบการตัดสินใจหนุนเสริมผลผลิต/ผลิตภัณฑ์จากเกษตรกรและผู้ประกอบการทุกระดับสอดคล้องตามคลัสเตอร์ด้านการเกษตรทั้งประมงและพืช 2.วิเคราะห์ปัญหาด้านการส่งออกสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต 3.ฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์/ผู้ประกอบการทั้งหมดของทุกจังหวัด โดยแบ่งเป็นคลัสเตอร์ต่างๆ ทั้งนี้ ฐานข้อมูลดังกล่าวจะเป็นข้อมูลสำคัญในการประกอบการตัดสินใจในการหนุนเสริมสอดคล้องตามระดับโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และเพื่อส่งต่อข้อมูลกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายให้สามารถหนุนเสริมตามความถนัด/พันธกิจของแต่ละหน่วยงาน ควบคู่กับการหาแนวทางเชื่อมโยงกับ SE หรือ ประสาน key player อื่นๆ 4. พัฒนากลไกกลางเพื่อ4.1) การประสานทุกทิศทางในการเชื่อมโยงข้อมูลหรือแชร์ทรัพยากรร่วมกันในการหนุนเสริม/ยกระดับผลิตภัณฑ์ ทั้งกลไกโครงการ SEC และกลไกระดับมหาวิทยาลัยทั้ง 9 มหาวิทยาลัย พร้อมขยายผลกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ เพิ่มเติม4.2) พัฒนาศูนย์รวมผลิตภัณฑ์และกระจายสินค้า
18 พฤศจิกายน 2567     |      139
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการแกนนำสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับแกนนำสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร และแกนนำเครือข่ายการท่องเที่ยวระดับอำเภอ ซึ่งประกอบด้วย อำเภอละแม อำเภอสวี อำเภอทุ่งตะโก อำเภอหลังสวน อำเภอพะโต๊ะ อำเภอท่าแซะ อำเภอปะทิว และอำเภอเมืมอง เพื่อเตรียมเสนอแผนการขับเคลื่อนเครือข่ายเชิงรุกร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายเพื่อให้เกิดการหนุนเสริมสอดคล้องกับความต้องการของภาคประชาสังคมทั้งในระดับพื้นที่ อำเภอและระดับจังหวัด ณ ชุมชนท้องตมใหญ่ ตำบลด่านสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
16 พฤศจิกายน 2567     |      139
จังหวัดชุมพรเปิดกิจกรรมจัดจุดจำหน่ายสินค้าเกษตรและชุมชน "ตลาดพาณิชย์ฟื้นฟูเศรษฐกิจ"
วันนี้ 15 พฤศจิกายน 2567 ว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตร สังกัดงานบริการวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ร่วมกิจกรรม "ตลาดพาณิชย์ฟื้นฟูเศรษฐกิจ" โดยมีนายอภิชาติ สาราบรรณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เยี่ยมชมและเปิดกิจกรรมจัดจุดจำหน่ายสินค้าเกษตรและชุมชน โดยว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ ได้ร่วมนำเสนอผลิตภัณฑ์ดินปลูกคุณภาพดีจากผู้ประกอบการสินค้า BCG วิสาหกิจชุมชนหลังสวนพัฒนายังยืน ซึ่งนำนวัตกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ไปผลิตปุ๋ยจากเปลือกทุเรียน เป็นการกำจัดขยะอินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจ ทั้งนี้รัฐบาลมีนโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยให้ความสำคัญกับการพัฒนา เศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจชุมชนภายในประเทศ อย่างกไรก็ตามดินปลูกคุณภาพดีที่มีส่วนผสมของปุ๋ยอินทรีย์เปลือกทุเรียนได้รับการตอบรับอย่างดีภาพ : กิตติวินท์ ครุฑไชยันต์และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดชุมพร
15 พฤศจิกายน 2567     |      157
ตรวจสอบความพร้อมโรงเรือนต้นแบบฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเศรษฐกิจระบบปิดด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ รองรับการเรียนการสอน งานวิจัย และบริการวิชาการ
คณาจารย์หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ๆเกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจรับ และตรวจสอบความเรียบร้อยของโรงเรือนต้นแบบฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเศรษฐกิจระบบปิดด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับใช้สนับสนุนการเรียนการสอน งานวิจัย และบริการวิชาการ ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2/2567 ต่อไป
13 พฤศจิกายน 2567     |      175
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมจัดเสวนาทางวิชาการ ในงานมหกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ณ เวทีลานไทร สวนสาธารณะอาภากรเกียรติติวงศ์ จังหวัดชุมพร
วันที่ 3 พฤษภาคม 2567  สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมจัดเสวนาทางวิชาการ ในงานมหกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ณ เวทีลานไทร สวนสาธารณะอาภากรเกียรติติวงศ์ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพรหัวข้อเสวนา “ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยสู่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะ" ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสง ผู้ร่วมเสวนา นายไสว  แสงสว่าง  ประธานสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดชุมพรนายนิพนธ์  ฤทธิ์ชัย  เครือข่ายข้าวไร่   จังหวัดชุมพรและ นางสาว วันลี ชื่นเกาะสมุย  ลานธรรมไม้ /ธนาคารต้นไม้   ผลิตผ้าย้อมสีธรรมชาติ  และผ้าพิมพ์สีธรรมชาติ
12 พฤศจิกายน 2567     |      192
ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมกิจกรรมการรวบรวมข้อมูลบริบทของพื้นที่วิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ปัจจุบันของกลุ่มธุรกิจร่วมในพื้นที่ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจชายฝั่งภาคใต้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมกับเครือข่ายสถาบันการศึกษา ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี  วิทยาลัยชุมชนระนอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์จังหวัดชุมพร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ ร่วมกิจกรรมการรวบรวมข้อมูลบริบทของพื้นที่วิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ปัจจุบันของกลุ่มธุรกิจร่วมในพื้นที่ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจชายฝั่งภาคใต้ โครงการวิจัยเรื่อง"การพัฒนาและยกระดับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้อย่างยั่งยืนด้วยกลไกการ ขับเคลื่อนเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน" ระหว่างวันที่ 18 - 19 กันยายน 2567 ณ ศูนย์การศึกษาจังหวัดระนอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และรูปแบบออนไลน์ พร้อมทั้งลงพื้นที่สำรวจ
12 พฤศจิกายน 2567     |      144
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมวางแผนรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่ม Sober Tourism
วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 สาขาวิชาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และแกนนำสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้ เตรียมการวางแผนรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่ม Sober Tourism ซึ่งเป็นเทรนด์การท่องเที่ยว ที่สามารถท่องเที่ยวได้โดยปราศจากการดื่มแอลกอฮอล์และการใช้สารเสพติด ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนียลและ Gen Z ในอเมริกัน ซึ่งดื่มน้อยกว่ารุ่นก่อนๆ ซึ่งการท่องเที่ยวรูปแบบนี้กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นสำหรับผู้ที่ต้องการท่องเที่ยวที่ได้สัมผัสกับวัฒนธรรมและธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ ปราศจากผลข้างเคียงของแอลกอฮอล์  ณ ห้องประชุมโรงแรมมรกต อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
12 พฤศจิกายน 2567     |      136
สาขาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมจัดงานมหกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2567
สาขาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาแม่โจ้-ชุมพร เป็นหนึ่งในองค์กรร่วมจัดงานมหกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 1-4 พฤษภาคม 2567  โดยในวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เวลา 17.00 น. ณ สวนสาธารณะอาภากรเกียรติติวงศ์ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพรนายนพพร อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร เป็นประธานเปิดโครงการฯ พร้อมด้วย นายธราธิป ทองเจิม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงาน คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร สมาชิกสถาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร พ.อ.สิทธิชัย โกศล รองเสธ.มทบ.44 พ.ต.อ.ธงชัย นุ้ยเจริญ รอง ผบก.ภ.จว.ชุมพร หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดชุมพร ว่าที่ร้อยตรี ธีรยุทธ ธีระโสพิศ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ผู้อำนวยการกอง ภาคีเครือข่ายการท่องเที่ยวจังหวัดชุมพรและจังหวัดพังงา เข้าร่วมในครั้งนี้ โดยมี นายอำพล ธานีครุฑ นายกสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ทั้ง 8 อำเภอ ได้นำเสนอสินค้าทางการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน เชื่อมโยงภาคีเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนในจังหวัดชุมพร ภาคใต้ และทั่วประเทศ
12 พฤศจิกายน 2567     |      145
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมจัดเสวนาทางวิชาการ งานมหกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ณ เวทีลานไทร สวนสาธารณะอาภากรเกียรติติวงศ์ จังหวัดชุมพร
สาขาการท่องเที่ยวและบริการร่วมจัดเสวนาทางวิชาการ ระหว่างวันที่วันที่ 1-2 พฤษภาคม 2567 ภายในงานมหกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ณ เวทีลานไทร สวนสาธารณะอาภากรเกียรติติวงศ์ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพรโดยมีนายนพพร อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร พร้อมด้วย นายธราธิป ทองเจิม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงาน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดชุมพร ร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนภายใต้หัวข้อเสวนา : การท่องเที่ยวโดยชุมชน "ทางรอดหรือแค่ทางเลือก หรือ การท่องเที่ยวโดยชุมชน "ทางรอด"ซึ่งผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย ประธานเครือข่าย 8 อำเภอ ขึ้นเสวนา ให้เห็นภาพร่วมกันในการใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ/สิ่งแวดล้อม สังคม-วัฒนธรรม พัฒนาคน-ชุมชน ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก-สร้างสรรค์-หมุนเวียน-พอเพียงผู้ร่วมรับฟังและร่วมแชร์ : นำโดย นายกอบจ. ผอ.ททท. ทกจ. พช. พณ. นายกกทท.ดชช.ชพ และภาคีเครือข่าย (ระดับตัดสินใจ) รวมทั้งผู้สนใจเปิดฟลอ : ไม่ชี้เป้าให้พูดใครก่อนก็ได้ หรือไม่ใช้สิทธ์ ก็ได้ 1) เห็นทางรอดจริงมาร่วมด้วยช่วยกันเรื่อง 2) ไม่เห็นทางรอด แต่ต้อง...วันที่สอง : หรือการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นแค่ทางเลือกหมายเหตุ : กระบวนการดังกล่าวเป็นกลไกในการสร้างพื้นที่ปฏิบัติร่วมระหว่างภาคประชาชนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องโดยการให้ความสำคัญกับประชาชน (ศูนย์กลางจักรวาล) ด้วยการรับฟัง และร่วมแชร์แนวทางการทำงานร่วมกัน
12 พฤศจิกายน 2567     |      134
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมจัดเสวนาทางวิชาการ งานมหกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ณ เวทีลานไทร สวนสาธารณะอาภากรเกียรติติวงศ์ จังหวัดชุมพร
วันที่ 4 พฤษภาคม 2567 สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมจัดเสวนาทางวิชาการ ภายในงานมหกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ณ เวทีลานไทร สวนสาธารณะอาภากรเกียรติติวงศ์ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพรหัวข้อเสวนา :การท่องเที่ยวโดยชุมชนมุ่งสู่การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ดำเนินรายการโดย อาจารย์ ดร.จุฑามาศ เพ็งโคนา ประเด็นการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral Tourism)กรณีศึกษา : เส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์จังหวัดชุมพรกรณีศึกษา : งานอีเว้นท์คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ “ทุ่งตะโกแคมป์ปิ้ง ครั้งที่ 1”มากไปกว่า “คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์” ด้วย “Net Zero” เริ่มต้นด้วยตนเอง
12 พฤศจิกายน 2567     |      144
ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมพิธีทอดกฐินสามัคคี ณ วัดโสมสิริวัฒนาราม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2567 เวลา 18.00 น. อาจารย์ ดร. ฐิระ ทองเหลือ คณบดี พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯ ฝ่ายวิชาการ วิจัย และบริการวิชาการ และอาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี ผู้ช่วยคณบดี ร่วมพิธีทอดกฐินสามัคคี ณ วัดโสมสิริวัฒนาราม ตำบลทุ่งหลวง อำเภอละแม จังหวัดชุมพรโดยมีพระครูวิเชียรปัญญาภรณ์ เจ้าคณะตำบลทุ่งหลวง เจ้าอาวาสวัดโสมสิริวัฒนาราม นายสมบูรณ์ หนูนวลสมาชิกวุฒิสภา เป็นประธานองค์กฐิน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการอำเภอละแม ผู้นำท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษา และประชาชนเข้าร่วมทั้งนี้ วัดโสมสิริวัฒนาราม หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งหลวง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร ได้สร้างอุโบสถเมื่อประมาณปี พ.ศ 2519  ยังไม่ได้ผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต ประกอบกับปัจจุบันอุโบสถมีสภาพหลังคารั่ว ฝ้าเพดานชำรุด จึงต้องบูรณะปรับปรุงเพื่อให้สามารถใช้งานได้ การทอดกฐินในครั้งนี้เพื่อระดมทุน ปัจจัย บูรณะอุโบสถให้แล้วเสร็จ เพื่อจัดงานผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตต่อไป
11 พฤศจิกายน 2567     |      141
ผศ.อำนาจ รักษาพล ร่วมโครงการ “การพัฒนาและยกระดับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้อย่างยั่งยืนด้วยกลไกการขับเคลื่อนเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล ประธานอาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมโครงการ “การพัฒนาและยกระดับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้อย่างยั่งยืนด้วยกลไกการขับเคลื่อนเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน” โดยมี ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หัวหน้าโครงการฯ ด้วยการจัดกิจกรรมการรวบรวมข้อมูลบริบทของพื้นที วิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ปัจจุบัน พร้อมประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจร่วมในพื้นที่ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจชายฝั่งภาคใต้ ระหว่างวันที่ 6 - 7 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ ชั้น 2 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
10 พฤศจิกายน 2567     |      164
ดร.ฉันทรวรรณ เอ้งฉ้วนและอาจารย์ฉัตรนลิน แก้วสม เป็นวิทยากรบรรยาย “รู้จักถิ่น เพื่อบอกต่อ” ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.00 - 16.30 น. ที่ห้องประชุมพระนาง องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ อาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน และอาจารย์ฉัตรนลิน แก้วสม อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ได้รับเชิญจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ให้เป็นวิทยากรในโครงการ “รู้จักถิ่น เพื่อบอกต่อ” กิจกรรม “Soft Power สร้างได้ด้วย Storytelling ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่” โดยมีนายสมศักดิ์ กิตติธรกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ นายโสภณ พานิช รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด รักษาราชการแทนปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ มีหัวหน้าส่วนราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ และกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรม จำนวน 100 คน เข้าร่วมทั้งนี้ โครงการ “รู้จักถิ่น เพื่อบอกต่อ” กิจกรรม “Soft Power สร้างได้ด้วย Storytelling ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่” มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ เพิ่มพูนทักษะ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นของตนเอง และเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดการตระหนักรู้ด้านการบริหารจัดการ ด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเพณี และวัฒนธรรมในท้องถิ่นของตนเอง
8 พฤศจิกายน 2567     |      170
ม.แม่โจ้-ชุมพร เปิดรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2568
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เปิดรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาตรี TCAS68 รอบ 1.2 ประจำปีการศึกษา 2568 TCAS68 รอบ 1.2 ระหว่างวันที่ 5-25 พฤศจิกายน 2567 จำนวน 2 หลักสูตร ดังนี้1.หลักสูตร 4 ปี รับผู้ที่กำลังศึกษาระดับชั้น ม.6 /ปวช./กศน. GED หรือเทียบเท่า รับทุกแผนการเรียน GPAX 4 ภาคเรียน 2.00 สาขาวิชา ดังนี้ สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสาขาวิชาพืชศาสตร์สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการสาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ สาขาวิชารัฐศาสตร์ 2.หลักสูตร 2 ปีเทียบเรียน หรือ 2 ปีต่อเนื่อง รับผู้ที่กำลังศึกษาระดับ ปวส. /อนุปริญญา หรือ เทียบเท่า GPAX 2 ภาคเรียน 2.00 สาขาวิชา ดังนี้ สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ทางด้านการประมง สัตวศาสตร์สาขาวิชาพืชศาสตร์ ทางด้านเกษตรกรรม /พืชศาสตร์สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ทางด้านการโรงแรม การท่องเที่ยวสาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ รับทุกประเภทวิชา (เรียนออนไลน์/ตกลงเวลาเรียนกับผู้สอน)สาขาวิชารัฐศาสตร์ รับทุกประเภทวิชา (เรียนออนไลน์/ตกลงเวลาเรียนกับผู้สอน)สอบถามเพิ่มเติม : 0805359909สมัครออนไลน์ :https://admissions.mju.ac.th/www/เลือกหลักสูตรที่ใช่ เลือกสาขาที่ชอบ!! "ประมง พืช ท่องเที่ยว บริหาร รัฐศาสตร์" ค้นหาใจตัวเองให้เจอ...เรียนรู้และสร้างอนาคตทางการศึกษาที่ดีไปด้วยกัน
6 พฤศจิกายน 2567     |      504
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ทำความร่วมมือทางวิชาการ (MoA) กับสถานกงสุลสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประจำจังหวัดสงขลา
      วันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุมพล อังคณานนท์ หัวหน้าศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมด้วย ดร.อนิรุต หนูปลอด รองหัวหน้าศูนย์ฯ และ นางสาวตรีชฎา สุวรรณโน ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ให้การต้อนรับและลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoA) กับหัวหน้ากงสุลฝ่ายเศรษฐกิจ นางดีน่า มาร์ติน่า (Dina Martina) สถานกงสุลสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประจำจังหวัดสงขลา เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างโครงการแลนด์บริดจ์ (Land Bridge) ชุมพร-ระนอง      โอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯฝ่ายวิชาการวิจัยและบริการวิชาการ และ อาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี ผู้ช่วยคณบดี ได้กล่าวต้อนรับและเป็นพยานในการลงนาม      เวลา 13.00 น. ดร.อนิรุต หนูปลอด รองหัวหน้าศูนย์ฯ พร้อมด้วย ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ และ นางพรลภัส พงษ์พานิช หัวหน้างานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา นำคณะสถานกงสุลสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประจำจังหวัดสงขลา เข้าพบนายสุชาติ ตังสุรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำจืด เพื่อเข้าดูงานพื้นที่โครงการแลนด์บริดจ์ (Land Bridge) ชุมพร-ระนอง ในพื้นที่แหลมริ่ว ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน      พร้อมกันนี้ ได้นำคณะสถานกงสุลสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประจำจังหวัดสงขลา เข้าพบนายสุรินทร์ ทองน้อย ประธานและคณะกรรมการสหกรณ์การเกษตรหลังสวน จำกัด เพื่อเยี่ยมชมและหารือร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากมังคุด บริษัท บ้านธรรมวัฒน์ จำกัด ขยายความร่วมมือในการทำวิจัย พัฒนาผลิตภัณฑ์ และการส่งออก
5 พฤศจิกายน 2567     |      173
คณบดี ม.แม่โจ้-ชุมพร เฝ้าทูลละอองรับเสด็จ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ เสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดพระบรมธาตุสวี จังหวัดชุมพร
      วันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดพระบรมธาตุสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ทรงถวายผ้าพระกฐินสภาภาชาดไทย ประจำปี 2567 โดยมี นายสมบูรณ์ หนูนวล สมาชิกวุฒิสภา, นายวิชัย สุดสวาสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, หัวหน้าส่วนราชการ, ข้าราชการพลเรือน, ทหาร, ตำรวจ, พุทธศาสนิกชน และองค์กรต่าง ๆ ในจังหวัดชุมพร เฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จฯ     ทั้งนี้ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี ทูลเกล้าฯ ถวายกระเช้าผลิตภัณฑ์น้ำมันเสม็ดขาว จากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีอาจารย์พัชรินทร์ วิริยะสุขสวัสดิ์ เป็นหัวหน้าโครงการ และผลิตภัณฑ์โกโก้แมสจากศูนย์เกษตรสุขภาวะ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
5 พฤศจิกายน 2567     |      235
กิจกรรมสัมมนาสหกิจศึกษา ประจำปีการศึกษา 2567 สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
      วันที่ 30 ตุลาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. อาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร ผู้ช่วยคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมสัมมนาสหกิจศึกษา ประจำปีการศึกษา 2567 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ณ ห้อง 308      โดยนักศึกษาได้นำเสนอและรายงานผลการปฎิบัติสหกิจศึกษา ตามลำดับ ดังนี้        1.บริษัท ซายอาคควา สยาม (SyAqua Siam) จำกัด จังหวัดนครศรีธรรมราช        2.บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ศูนย์วิจัยการเลี้ยงกุ้งและเทคโนโลยีชีวภาพ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม        3.บริษัท ศรีสุบรรณฟาร์ม จำกัด ฟาร์มศรีสุบรรณ 6 อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี        4.บริษัทมรกตฟาร์ม จำกัด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร        5.บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด (มหาชน) ฟาร์มละแม      อย่างไรก็ตาม การสัมมนาสหกิจศึกษาในครั้งนี้ มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุทธนา สว่างอารมย์ อาจารย์วีรชัย เพชรสุทธิ์ และอาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น เข้าร่วมรับฟังพร้อมให้ข้อเสนอแนะแก่นักศึกษาต่อไป
3 พฤศจิกายน 2567     |      171
นางสาวนวพร ลิ่มหวี เข้าร่วมโครงการทุนการศึกษาเครือเจริญโภคภัณฑ์ ณ สถาบันผู้นำเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CPU) จังหวัดนครราชสีมา
นางสาวนวพร ลิ่มหวี  นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง  ซึ่งเป็นนักศึกษาทุนเครือเจริญโภคภัณฑ์ เข้าร่วมโครงการทุนการศึกษาเครือเจริญโภคภัณฑ์ ณ สถาบันผู้นำเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CPU) จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 21 ตุลาคม - 25 ตุลาคม 2567 รวมเวลาทั้งสิ้น 5 วัน 4 คืนทั้งนี้ กิจกรรมโครงการทุนการศึกษาเครือเจริญโภคภัณฑ์ ดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับทุนการศึกษา ประจำปี 2567 ตลอดจนสนับสนุนและส่งเสริมให้นักศึกษาทุน มีทักษะที่จำเป็นต่อการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมีทั้งการศึกษาดูงานและอบรมพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆ อาทิ ทักษะการดำเนินชีวิต (Life Skills) ทักษะการทำงาน (Woking Skills) ทักษะดิจิทัล (Dgital Skills) และทักษะภาษาอังกฤษ (English Communication Skils)
1 พฤศจิกายน 2567     |      178
คณบดี ม.แม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมประชุมศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดชุมพร
      วันที่ 30 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี เข้าร่วมประชุมศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดชุมพร โดยมีนายธนนท์ พรรพีภาส รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานการประชุม ที่ปรึกษา คณะกรรมการอำนวยการ คณะอนุกรรมการ ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดชุมพร (ศอ.ปส.จ.ชพ.) ณ ห้องประชุมเกาะเสม็ด ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดชุมพร โดยก่อนการประชุมฯ จังหวัดชุมพร นำโดย นายวิทยา เขียวรอด ปลัดจังหวัดชุมพร เลขานุการ ศอ.ปส.จ.ชพ. ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จังหวัดชุมพร ระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร กับ หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐในระดับจังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นผู้แทนกระทรวงต่างๆ จำนวน 20 หน่วยงาน, กับนายอำเภอ ทั้ง 8 อำเภอ, และผู้บริหารสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่มีสถานที่ตั้งในพื้นที่จังหวัดชุมพร จำนวน 3 สถาบัน      สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด ระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 โดยมีสาระสำคัญ ในการดำเนินการตาม 15 แนวทางหลัก มีตัวชี้วัดในการดำเนินการ 17 ตัวชี้วัด โดยมีมิติในการดำเนินงานและแนวทางที่สำคัญ ได้แก่มิติด้านการป้องกันจะเน้นในเรื่องของพื้นที่เสี่ยง การดำเนินการโครงการมหาดไทยสีขาว Safe Zone No Drugs การจัดระเบียบสังคมและร่วมกับส่วนราชการทุกภาคส่วนในการดำเนินการ Re X-ray ค้นหากลุ่มเสี่ยงเพื่อบำบัดรักษา, มิติด้านการปราบปราม มีการกำหนดเป้าหมายในการจับกุมผู้กระทำผิด พร้อมกับการป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด และการยึดอายัดทรัพย์สิน, มิติด้านการบำบัดรักษา สำนักงานสาธารณสุข ศูนย์คัดกรอง ศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมสาขา และท้องถิ่นจะร่วมกันบำบัดและติดตามผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด และการดำเนินการกับผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตเวช และ มิติด้านการบริหารจัดการ จะให้ความสำคัญในการเร่งรัด ติดตาม การดำเนินการของ ทุกภาคส่วนและการสร้างการรับรู้ให้กับพี่น้องประชาชน ทั้งนี้ เพื่อให้ส่วนราชการทุกภาคส่วน อำเภอทุกอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง ได้ถือปฏิบัติและบูรณาการการทำงานร่วมกันในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ตามที่ได้ นำเสนอแผนงาน โครงการ กิจกรรม บรรจุไว้ในแผนฯซึ่งมีความสอดคล้องกับมาตรการ แนวทาง และตัวชี้วัด ของสำนักงาน ปปส. นอกจากนี้ที่ประชุมได้ติดตาม รายงานสถานการณ์ยาเสพติดในพื้นที่ภาคใต้, และสรุปสถานการณ์ยาเสพติดจังหวัดชุมพร,ผลปฏิบัติการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดข่าว:สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดชุมพร
1 พฤศจิกายน 2567     |      259
ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสิน ประกวดชุมชนอุดมสุขที่ยั่งยืนดีเด่น ระดับภูมิภาค ปี 4 ประจำปี 2567
วันที่ 31 ตุลาคม 2567 อาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน อาจารย์สาขาวิชาบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ได้รับเชิญจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ฝ่ายกิจการสาขาภาคใต้ตอนบน ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดชุมชนอุดมสุขที่ยั่งยืนดีเด่น ระดับภูมิภาค ปี 4 ประจำปี 2567 พบว่าชุมชนอุดมสุขทั้ง 6 จังหวัด ภาคใต้ตอนบนได้แก่จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดพังงา จังหวัดระนอง จังหวัดกระบี่ จังหวัดภูเก็ต เป็นชุมชนที่มีความโดดเด่น ภายใต้สโลแกน “กินอิ่ม นอนอุ่น หุ่นดี ทุนมี หนี้ลด หมดทุกข์”  ณ โรงแรม ฮูลาฮูล่า รีสอร์ท อ่าวนาง ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่
1 พฤศจิกายน 2567     |      155
ดร.จุฑามาส เพ็งโคนา เป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “Low Carbon Destination: A Roadmap for Sustainable Tourism” การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ วิถีแห่งการท่องเที่ยวยั่งยืน
ดร.จุฑามาส เพ็งโคนา อาจารย์สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ เป็นวิทยากรโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “Low Carbon Destination: A Roadmap for Sustainable Tourism” การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ วิถีแห่งการท่องเที่ยวยั่งยืน ให้แก่ผู้ประกอบการ ชุมชนท่องเที่ยว หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ที่สนใจ ในระหว่างวันที่ 28 – 29 ตุลาคม 2567 ณ ขิงแดง รีสอร์ท อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ โดยผู้เข้าร่วมฝึกอบรมได้เรียนรู้และประกอบกิจกรรมภายใต้ 5 หัวข้อย่อย    1.การสร้างเอกสารแสดงเจตนารมณ์ที่จะมีการจัดการก๊าซเรือนกระจก    2.การจัดตั้งและความสำคัญของทีมกรีน    3.การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์    4.การสื่อสารทั้งภายในและนอกองค์กร    5.การจัดการขยะและสิ่งปฏิกูลเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีทั้งนี้ การอบรมเชิงปฏิบัติการ ดังกล่าว  จัดขึ้นโดย กรมการท่องเที่ยว
30 ตุลาคม 2567     |      184
ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมพิธีวางพวงมาลา เพื่อรำลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย
วันที่ 30 ตุลาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการแทนรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.เชษฐ์ ใจเพชร รองประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชาการเมืองและการปกครองท้องถิ่น และนางชไมพร ตันสุวรรณ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป (ศูนย์ประสานงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร) ร่วมพิธีวางพวงมาลา เพื่อรำลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ณ ลานอนุสาวรีย์ หน้าสำนักหอสมุด ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีพร้อมกันนี้ พลตรี ชัช เด่นดวง ประธานชมรมจักรยานศิษย์เก่าแม่โจ้ มอบทุนการศึกษา “ทุนชีวิตจิตใจมอบให้แม่โจ้” ประจำปี 2567 ให้นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร จำนวน 2 ทุนๆละ 5,000 บาท นายกิตติภณ ถึงศรี ประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ ภาคใต้ เป็นผู้แทนรับมอบศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเป็นบุคคลต้นแบบลูกแม่โจ้ ผู้ให้อมตะโอวาท “งานหนักไม่เคยฆ่าคน”
30 ตุลาคม 2567     |      171
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ เข้าร่วมประชุมเชิงปฎิบัติการการขับเคลื่อนการพัฒนาและจัดอันดับมหาวิทยาลัยสู่ความยั่งยืน ในรูปแบบออนไลน์
วันพุธที่ 16 ตุลาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสง รองประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เข้าร่วมประชุมเชิงปฎิบัติการการขับเคลื่อนการพัฒนาและจัดอันดับมหาวิทยาลัยสู่ความยั่งยืน รูปแบบการประชุมออนไลน์การประชุมดังกล่าว จัดขึ้นโดย กองแผนงาน งานยุทธศาสตร์และติดตามประเมินผล มหาวิทยาลัยแม่โจ้
28 ตุลาคม 2567     |      156
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ เข้าร่วมประชุมผ่านระบบออนไลน์ “แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคต”
      วันที่ 10 ตุลาคม 2567 สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ในนามบริษัทนำเที่ยวเชิงนิเวศ (จำลอง) เข้าร่วมประชุมผ่านระบบออนไลน์ เรื่อง “แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคต” เพื่อร่วมผลักดันให้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการนำทริปไปขายโรดโชว์ตามพื้นที่ต่างๆ โดยให้ทางแต่ละพื้นที่บอกแนวทางการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน คำถามดังนี้SUSTAINABLE SOLUTIONS  แนวทางการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนAvoidance Fossil fuel  แนวทางการหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานฟอสซิลReduction แนวทางการลดการใช้พลาสติก / ของเสียRemoval/Sequestration แนวทางการกำจัดหรืองดใช้พลาสติก / ของเสีย  ร่วมกับ TEATA สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย
28 ตุลาคม 2567     |      155
ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมงานทอดกฐินมหาจุลกฐิน จากเมล็ดฝ้ายสู่ไตรจีวร ครั้งที่ 1 ของภาคใต้ ประจำปี 2567 ณ วัดดอนแค
วันที่ 27 ตุลาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯฝ่ายวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการ และอาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี ผู้ช่วยคณบดี ร่วมงานทอดกฐินมหาจุลกฐินวัดดอนแค จากเมล็ดฝ้ายสู่ไตรจีวร ครั้งที่ 1 ของภาคใต้ ประจำปี 2567 ณ วัดดอนแค หมู่ที่ 4 ตำบลสวนแตง อำเภอละแม จังหวัดชุมพรพร้อมกันนี้ อาจารย์ ดร.วีรภรณ์ โตคีรี อาจารย์ประจำสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมเป็นเจ้าภาพใหญ่อุปถัมภ์ มหาจุลกฐิน ดังกล่าวด้วยอย่างไรก็ดี งานทอดกฐินมหาจุลกฐินวัดดอนแค ดังกล่าว เพื่อสร้างศาลากลางน้ำเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหยกขาว องค์หลวงพ่อทวด พ่อท่านคล้ายและหลวงปู่โตและเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน โดยกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 25- 27 ตุลาคม 2567
28 ตุลาคม 2567     |      208
เรียนรู้นอกห้องเรียน ณ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจํากัด (มหาชน) ฟาร์มละแม
      นักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ชั้นปี 1 รายวิชาการปฏิบัติงานฟาร์มประมง 1 เรียนรู้นอกห้องเรียน ณ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจํากัด (มหาชน) ฟาร์มละแม ภายใต้ความร่วมมือการจัดการเรียนการสอนและวิจัยกับ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ อาหาร จำกัด (มหาชน) ศูนย์วิจัยและการพัฒนาการเลี้ยงกุ้ง (ละเเม) เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสเยี่ยมชม เรียนรู้ และฝึกงานมีประสบการณ์จากสถานประกอบการจริง      ขอขอบคุณพี่ๆ เจ้าหน้าที่ ที่ช่วยดูแลและสอนการปฏิบัติงานฟาร์มแก่น้องๆ เป็นอย่างดี
27 ตุลาคม 2567     |      176
ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมพิธีวางพวงมาลา เนื่องในวันปิยมหาราช ประจำปี 2567
วันที่ 23 ตุลาคม 2567 เวลา 08.00 น. บุคลากร นักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร นำโดย อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี อาจารย์ ดร.จักกฤช ณ นคร อาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี ผู้ช่วยคณบดี พร้อมด้วยข้าราชการ และพสกนิกรอำเภอละแม ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันปิยมหาราช ณ ที่ว่าการอำเภอละแม เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีนายสุนทร จอมเมือง นายอำเภอละแม เป็นประธานในพิธี
23 ตุลาคม 2567     |      230
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยพบปะบุคลากร ม.แม่โจ้-ชุมพร พร้อมกับนำเสนอนโยบายและแนวทางการบริหารมหาวิทยาลัย (พ.ศ.2567-2571)
วันที่ 22 ตุลาคม 2567 เวลา09.00 น. ที่ห้องประชุมอาคารแม่โจ้  80 ปี รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดี พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการแทนรองอธิการบดีคณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี พบปะบุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยมีอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี กล่าวต้อนรับและรายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2567 พร้อมกับแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย ในโอกาสได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนรองอธิการบดี กำกับดูแล กำกับการบริหารงาน สั่งและปฎิบัติการแทนอธิการบดี ตามกรอบภาระงาน กำกับดูแลมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร (ตามคำสั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ 1361/2567)ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี ได้นำเสนอนโยบายและแนวทางการบริหารมหาวิทยาลัย (พ.ศ.2567-2571) แลกเปลี่ยนและรับฟังปัญหาการปฎิบัติงานของบุคลากร ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยเน้นย้ำให้บุคลากรมองเป้าหมายเดียวกัน บูรณาการองค์ความรู้แต่ละสาขาวิชา สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก  และร่วมกันผลักดันให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มุ่งปฎิบัติงานตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้คือ การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านการเกษตรสุขภาวะระดับนานาชาติต่อไปพร้อมกันนี้  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการแทนรองอธิการบดี/คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ได้พบปะบุคลากร พร้อมเสนอแนวคิดการปฎิบัติงาน กล่าวคือ ให้บูรณาการองค์ความรู้ต่างๆทั้งภายในและภายนอก เพื่อดึงศักยภาพของแต่ละบุคคล ใช้กลยุทธิ์ในการประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษา ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม ใส่ใจโครงสร้างพื้นฐานของทั้งบุคลากรและนักศึกษา ตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการประชาสัมพันธ์ อันจะนำไปสู่ความเชื่อมั่นในการผลิตบัณฑิตที่พร้อมด้วย “วิชาการ-วิชาชีพ-วิชาชีวิต”อย่างไรก็ดี รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี ได้พบปะและให้กำลังใจบุคลากรในการขับเคลื่อนและพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร คือ “มีทัศนคติที่ดีในการปฎิบัติงาน  ร่วมกันสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในองค์กร ตลอดจนมองเป้าหมายข้างหน้าไปด้วยกัน เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป”
22 ตุลาคม 2567     |      254
ม.แม่โจ้-ชุมพร คว้ารางวัลชนะเลิศเรือพระบก “ประเภทวัสดุท้องถิ่น” ในงานประเพณีแห่พระแข่งเรือ ขึ้นโขนชิงธง มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ แห่งลุ่มน้ำหลังสวน ประจำปี 2567
      วันที่ 18 ตุลาคม 2567 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมสืบสานงานประเพณีแห่พระแข่งเรือ ขึ้นโขนชิงธง มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ แห่งลุ่มน้ำหลังสวน ปีที่ 181 นำโดยอาจารย์นาตาลี อาร์ ใจเย็น ที่ปรึกษาโครงการฯ นายสานิตย์ แป้นเหลือ นักวิชาการศึกษา นางสาวศุจินธร รัตนิพนธ์ นักวิชาการศึกษา และนักศึกษาเข้าร่วมขบวนแห่เรือพระบก ในงานประเพณีแห่พระแข่งเรือขึ้นโขนชิงธง ชิงโล่และถ้วยพระราชทานฯ ประจำปี 2567 ณ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร      ทั้งนี้ เรือพระบกของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ที่นักศึกษาและเจ้าหน้าที่ได้ร่วมกันตกแต่งและส่งเข้าประกวด ดังกล่าว ได้รับรางวัลชนะเลิศ “ประเภทวัสดุท้องถิ่น” โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่      อย่างไรก็ตาม งานประเพณีแห่พระแข่งเรือ ขึ้นโขนชิงธง ชิงโล่และถ้วยพระราชทาน มรดกวัฒนธรรมแห่งลุ่มน้ำหลังสวน ประจำปี 2567 (ปีที่ 181) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 ตุลาคม ถึงวันที่ 22 ตุลาคม 2567 ณ สนามแข่งขันกลางภาคใต้แม่น้ำหลังสวน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
21 ตุลาคม 2567     |      282
ม.โจ้-ชุมพร ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศลและวางพวงมาลา เนื่องในวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม 2567
       วันที่ 13 ตุลาคม 2567 เวลา 07.30 น. อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี และผู้แทนนักศึกษา ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศลและวางพวงมาลาเนื่องในวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม 2567 ณ บริเวณลานอเนกประสงค์ สำนักงานเทศบาลเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร      พร้อมกันนี้ เวลา 07.30 น. ที่ศาลาประชาคมอำเภอละแม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯ ฝ่ายวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการ พร้อมด้วยบุคลากร และนักศึกษา ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศลและวางพวงมาลาเนื่องในวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม 2567 โดยมีนายสุนทร จอมเมือง นายอำเภอละแม เป็นประธานในพิธี      ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กำหนดชื่อวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ว่า "วันนวมินทรมหาราช" ตามที่รัฐบาลได้ขอพระราชทานพระมหากรุณา และคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566
13 ตุลาคม 2567     |      2462
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ จัดประชุมวิชาการภายใต้แนวคิด "มุมมองการเกษตรของของสถานการณ์การท่องเที่ยวยุคใหม่"
วันที่ 11 ตุลาคม 2567 เวลา 08.30 น. สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ จัดประชุมวิชาการ ภายใต้ชื่องาน "มุมมองการเกษตรของของสถานการณ์การท่องเที่ยวยุคใหม่" ณ ห้อง 204 อาคารเรียนรวม 80 ปี โดยมีการนำเสนอบทความวิจัยของนักศึกษา ดังนี้     1.บทความ เรื่อง “ภาพลักษณ์ของสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านน้อยกลางป่าใหญ่ ตำบลวังตะกอ อำเภอ หลังสวน จังหวัดชุมพร” โดย นางสาวกมลวรรณ ภักดี     2.บทความ เรื่อง “แรงจูงใจของสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านน้อยกลางป่าใหญ่ ตำบลวังตะกอ อำเภอ หลังสวน จังหวัดชุมพร” โดย นางสาวนันท์นภัส เต็งทอง     3.บทความ เรื่อง “การพัฒนาการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน” โดยนายภาณุชาติ จันทร์แสงทอง     และการนำเสนอโครงการการพัฒนาเครือข่ายเยาวชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงภูมิกาศ โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตร 4 ปีเทียบเรียน     อย่างไรก็ดี การจัดประชุมวิชาการของสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ดังกล่าว มีคณาจารย์ในหลักสูตรร่วมให้ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นแก่นักศึกษา เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาการเขียนบทความวิชาการต่อไป
11 ตุลาคม 2567     |      2904
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมกิจกรรมการรวบรวมข้อมูลบริบทของพื้นที่วิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ปัจจุบันของกลุ่มธุรกิจร่วมในพื้นที่ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจชายฝั่งภาคใต้
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล และผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจมาศ ณ ทองแก้ว  ร่วมกับเครือข่ายสถาบันการศึกษา ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี  วิทยาลัยชุมชนระนอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์จังหวัดชุมพร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ ร่วมกิจกรรมการรวบรวมข้อมูลบริบทของพื้นที่วิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ปัจจุบันของกลุ่มธุรกิจร่วมในพื้นที่ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจชายฝั่งภาคใต้โครงการวิจัยเรื่อง"การพัฒนาและยกระดับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้อย่างยั่งยืนด้วยกลไกการ ขับเคลื่อนเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน" ระหว่างวันที่ 8 - 9 ตุลาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช  และรูปแบบออนไลน์ พร้อมทั้งลงพื้นที่สำรวจ
11 ตุลาคม 2567     |      159
ม.แม่โจ้-ชุมพร ร่วมกิจกรรมการรวบรวมข้อมูลบริบทของพื้นที่วิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ปัจจุบันของกลุ่มธุรกิจร่วมในพื้นที่ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจชายฝั่งภาคใต้
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ และผู้แทนจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร นำโดยท่านคณบดี อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ อาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาบริหารธุรกิจและการประกอบการ และ ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตร ร่วมกับเครือข่ายสถาบันการศึกษา ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี  วิทยาลัยชุมชนระนอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์จังหวัดชุมพร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ ร่วมกิจกรรมการรวบรวมข้อมูลบริบทของพื้นที่วิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ปัจจุบันของกลุ่มธุรกิจร่วมในพื้นที่ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจชายฝั่งภาคใต้โครงการวิจัยเรื่อง"การพัฒนาและยกระดับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้อย่างยั่งยืนด้วยกลไกการ ขับเคลื่อนเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน" ระหว่างวันที่ 27 - 28 กันยายน 2567ณ บ้านธรรมชาติวรรณภัสสร ตำบลทุ่งตะไคร อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร  และรูปแบบออนไลน์ พร้อมทั้งลงพื้นที่สำรวจ
11 ตุลาคม 2567     |      172
กองกำลัง "เที่ยว" รับใช้สังคม มอบรางวัลเชิดชูเกียรติผลการดำเนินโครงการของเครือข่ายเด็กและเยาวชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
กองกำลัง "เที่ยว" รับใช้สังคม สาขาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ดำเนินโครงการเบญจภาคีขับเคลื่อนเครือข่ายเยาวชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยร่วมเป็นหนึ่งในเครือข่ายเด็กและเยาวชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม  CCE Children & Youth Forum พร้อมรับรางวัลเชิดชูเกียรติ ระดับทอง ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 28-29 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร จัดโดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม พร้อมกับรับมอบรางวัลเชิดชูเกียรติผลการดำเนินโครงการของเครือข่ายเด็กและเยาวชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม? ประจำปี? 2567? ณ โรงแรมทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น
11 ตุลาคม 2567     |      119
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการร่วมรับฟังและออกแบบกระบวนการ ด้วยความเรียบง่าย เสมอภาค
วันที่ 15 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล ร่วมรับฟังและออกแบบกระบวนการ ด้วยความเรียบง่าย เสมอภาค และ มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม จากคำถาม มีMICE  ทำMICE และเชื่อมMICE นำไปสู่ทิศทางเมือง MICE ที่คำนึงถึงคุณภาพทรัพยากร ประสบการณ์ และคุณภาพชีวิต" เวทีระดมความคิดเห็นจัดทำข้อมูลยุทธศาสตร์ของ MICE CITY จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ครั้งที่ 1/2567 ณ ห้องประชุมแก้วมุกดา อาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล
11 ตุลาคม 2567     |      125
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ ร่วมบูรณาการบทปฏิบัติการรายวิชาเรียน
วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมบูรณาการบทปฏิบัติการรายวิชา11303004 จิตวิทยาบริการ 11303016 การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน และ11303001 หลักการท่องเที่ยวและบริการ เพื่อพัฒนาทักษะและฝึกประสบการณ์ด้านการบริการอาหารและเครื่องดื่ม (Reskill/Upskill/Newskill) ภายใต้แนวคิดการสร้างคุณค่าบนฐานทุนทรัพยากรเพื่อการบริโภคนิยมใหม่ใส่ใจสุขภาวะและสิ่งแวดล้อม โดย ใช้พื้นที่ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ณ บ้านสวนภูวิรนทร์ ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
11 ตุลาคม 2567     |      115
กองกำลัง "เที่ยว" รับใช้สังคม ดำเนินโครงการเบญจภาคีขับเคลื่อนเครือข่ายเยาวชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
กองกำลัง "เที่ยว" รับใช้สังคม สาขาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ดำเนินโครงการเบญจภาคีขับเคลื่อนเครือข่ายเยาวชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ระหว่างเดือน ตุลาคม 2566 – มิถุนายน 2567 (โดยไม่ใช้งบประมาณ แต่ใช้การบริการจัดการทรัพยากรบุคคลและกลไกการเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อสร้างคุณค่าใหม่) ประกอบด้วย 1) พัฒนากลไกเครือข่ายเด็กและเยาวชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมระหว่างนักศึกษาและบุคลากรภายในพื้นที่บ้านดินพอเพียงและป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่าง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร 2) พัฒนากลไกเครือข่ายเด็กและเยาวชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรและบุคลากร กับนักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยในเครือข่ายและแกนนำเยาวชนนอกระบบภายในแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร  3) ปฏิบัติการร่วมระหว่างเครือข่ายเด็กและเยาวชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชุมพรพร้อมทั้งยื่นเสนอประเมินโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของเครือข่ายเด็กและเยาวชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ส่งผลให้เข้ารอบกลั่นกรองและผ่านเข้าสู่การประเมินรอบสุดท้าย และเสนอต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิผ่านระบบออนไลน์ Application Zoom ในวันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม 2567
11 ตุลาคม 2567     |      98
ผศ.อำนาจ รักษาพล ร่วมขับเคลื่อนและจัดทำแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเครือข่ายอำเภอพะโต๊ะ
วันที่ 24-25 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมขับเคลื่อนและจัดทำแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเครือข่ายอำเภอพะโต๊ะ และเครือข่ายอำเภอทุ่งตะโก เพื่อเตรียมการรับตรวจประเมินเพื่อรองรับมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน ประจำปี พ.ศ. 2567 โดยกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ณ ที่ทำการเครือข่ายอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
11 ตุลาคม 2567     |      135
ผศ.อำนาจ รักษาพล ร่วมเป็นหนึ่งในนักวิจัย โครงการชุดประสานงานและบริหารจัดการงานวิจัยฯ กรอบการวิจัย “ชุมชนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้”
วันที่ 19 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมเป็นหนึ่งในนักวิจัย โครงการชุดประสานงานและบริหารจัดการงานวิจัยฯ กรอบการวิจัย “ชุมชนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้” แผนงานย่อยรายประเด็น “เพิ่มความเข็มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ให้พึ่งพาตนเองได้และมีการกระจายรายได้สู่ชุมชน/ท้องถิ่นมากขึ้น” ประจําปีงบประมาณ 2567 รวมทั้งแนวทางในการเตรียมความพร้อมรับข้อเสนอทุนวิจัยปี 2568 โดยร่วมประชุมร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิผ่านระบบออนไลน์ ประชุมพิจารณา “แนวทางในการจัดกิจกรรมและการดําเนินงานเพื่อติดตามงานและหนุนเสริมการทํางานของนักวิจัย รวมทั้งแนวทางใน การเตรียมความพร้อมรับข้อเสนอทุนวิจัยปี 2568” ใน ณ ห้องประชุม อโนดาต ชั้น1 โรงแรม อมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร
11 ตุลาคม 2567     |      188
ผศ.อำนาจ รักษาพล เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ ทิศทางการขับเคลื่อนในการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ ทิศทางการขับเคลื่อนในการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาคโดยกลไกเชิงพื้นที่ของระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) จัดโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) วันพฤหัสบดีที่ 25-26 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพมหานคร
11 ตุลาคม 2567     |      128
ผศ.อำนาจ รักษาพล เป็นที่ปรึกษาโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงรับผิดชอบ ร่วมกับสมาชิกเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอท่าแซะ
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมเป็นที่ปรึกษาโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงรับผิดชอบ ร่วมกับสมาชิกเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และวิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโลกคดีศึกษาและการประกอบการสังคม (หลักสูตรนานาชาติ) ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ณ สวนองุ่นทิพย์บัญฑิต อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
11 ตุลาคม 2567     |      151
ผศ.อำนาจ รักษาพล ภายใต้โครงการ พัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก "ตำบลอ่างทอง"
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ปฏิบัติการร่วมกับ วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี  มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี และชุมชนเกาะพะลวย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใต้โครงการ พัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก "ตำบลอ่างทอง" กิจกรรม ยกระดับศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวเกาะพะลวย ณ ชุมชนอ่าว 4 เกาะพะลวย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระหว่างวันที่ 9-11 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา
11 ตุลาคม 2567     |      144
ผศ.อำนาจ รักษาผล ร่วมกิจกรรมถอดบทเรียน “ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการ พัฒนาอย่ำงยั่งยืน” ประจำปีงบประมาณ 2566
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รักษาพล สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมเป็นกระบวนการในการถอดบทเรียน ร่วมกับชุดประสานงานและบริหารจัดการงานวิจัยการใช้ประโยชน์ด้วยการสร้างแพลตฟอร์มที่มีศักยภาพสูง สำหรับขับเคลื่อนโครงการชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยกำหนดจัดกิจกรรมการจัดทำชุดความรู้ KM เพื่อถอดบทเรียนการพัฒนาชุมชนนวัตกรรมอย่ำงยั่งยืนนำไปสู่การวิเคราะห์และสังเคราะห์เชิงนโยบายในการขับเคลื่อนเชิงพื้นที่สำหรับนักวิจัยที่ได้รับงบประมาณภายใต้แผนงาน “ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการ พัฒนาอย่ำงยั่งยืน” ประจำปีงบประมาณ 2566 จำนวน 38 โครงการภายใต้ กรอบการวิจัย “การขยายผลวิจัยเทคโนโลยีที่เหมาะสม” (Appropriate Technology) และ อีก 17 โครงการกรอบการวิจัย “ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ระหว่างวันที่ 15-17 มิถุนายน 2567  ห้องประชุม Vibhavadee Ballroom C โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว  กรุงเทพมหานคร
10 ตุลาคม 2567     |      144
ผศ.อำนาจ รักษาผล ร่วมกิจกรรมถอดบทเรียน “ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ประจำปี 2565
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รักษาพล สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมเป็นกระบวนการในกิจกรรมถอดบทเรียนและจัดการความรู้มิติคุณภาพชีวิตและมิติด้านสิ่งแวดล้อมโครงการการจัดการความรู้ (Knowledge Management)ภายใต้แผนงานริเริ่มสำคัญ (Flagship) “ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ประจำปี 2565 โปรแกรม 13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม วันที่  1 - 2  มิถุนายน  2567 ณ  โรงแรม Centara Grand at Central Plaza Ladprao ห้องประชุม Ladprao Suite ชั้น M กรุงเทพมหานคร โดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ภายใต้ ทุนชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
10 ตุลาคม 2567     |      142
งานนโยบาย แผน และประกันคุณภาพ จัดโครงการทบทวนแผนปฎิบัติการ ประจำปี งปม. 2567 เพื่อเตรียมจัดทำแผนปฎิบัติการ ประจำปี งปม.2568
      วันที่ 8 ตุลาคม 2567 เวลา 09.00-16.30 น. งานนโยบาย แผน และประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดโครงการทบทวนแผนปฎิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2567 2567 ณ ห้องประชุม 204 อาคารแม่โจ้ 80 ปี โดยอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี นำเสนอนโยบายการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2568 พร้อมกันนี้ งานนโยบาย แผน และประกันคุณภาพ รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฎิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2567 บุคลากรร่วมกันทบทวนวิสัยทัศน์ และวิเคราะห์ SWOT รับฟังการชี้แจงประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ กลยุทธิ์ และตัวชี้วัดในแผนปฎิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2568      ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อทบทวนแผนปฎิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2567 และเตรียมจัดทำแผนปฎิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2568 บุคลากรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การปฎิบัติงานต่างๆ อาทิ ด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ การพัฒนาด้านต่างๆของมหาวิทยาลัย ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณของมหาวิทยาลัยต่อไป
9 ตุลาคม 2567     |      2683
ประชาสัมพันธ์หลักสูตรการดำน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
 "อยากดำน้ำแบบมือโปร!! เรามีหลักสูตรที่ใช่สำหรับคุณ " มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเรียนดำน้ำ หลักสูตรระยะสั้น ตอบโจทย์ Lifestyle ที่พร้อมให้คุณสัมผัสโลกใต้น้ำอันสวยงาม กับครูสอนดำน้ำมืออาชีพ เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี  สามารถเลือกหลักสูตรได้ตาม Lifestyle  เปิดสอนตามมาตรฐานของสมาคมดำน้ำสากล (PADI) ดังนี้      1. Discover Scuba Diving     (2 วัน ราคา 5,000 บาท)      2. Open Water Diver           (4 วัน ราคา 14,000 บาท)      3. Advanced Open Water     (2 วัน ราคา 11,000 บาท)      4. Emergency First Responder (1 วัน ราคา 4,500 บาท)      5. Rescue Diver                  (3 วัน ราคา 15,000 บาท)      6. Dive Master (DM)           (8 วัน ราคา 25,000 บาท)      7. Reactivate™                   (1 วัน ราคา 2,500 บาท)      8. Specialties Diver ระยะเวลาในการเรียน ขึ้นอยู่กับหลักสูตร (ราคา 2,500 บาท)สัมผัสประสบการณ์ดำน้ำที่เหนือกว่าไปกับเรา : 0805359909, ครูตั้ม Line ID : redfinรายละเอียดหลักสูตร :https://maejo.link/4kRf
7 ตุลาคม 2567     |      354
กิจกรรม “ดีต่อใจ ดีต่อสิ่งแวดล้อม” “1 Day Trip in Lamae” สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ
วันที่ 27 กันยายน 25ุ67 สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ จัดกิจกรรม ดีต่อใจ ดีต่อสิ่งแวดล้อม”  “1 Day Trip in Lamae” ณ บ้านสวนภูวรินทร์ สวนนางฟ้ากลางป่าไผ่ บ้านสวนแม่พร และคาเฟ่บ้านสวน สวนจุฑาวดี โดยเป็นการจัดกิจกรรมภายใต้แนวคิด "การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์” (carbon neutral tourism) เริ่มต้นสิ่งดีๆ เริ่มต้นที่ตัวเรา ดังนี้วัด ปริมาณคาร์บอนฟุตปริ้นท์ ก่อนการเดินทางลด สิ่งต่างๆ ภายในเส้นทางที่สร้างคาร์บอนฟุตปริ้นท์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ชดเชย พยายามลดคาร์บอนฟุตปริ้นท์แล้ว แต่ยังคงเหลืออยู่ ก็ชดเชย ด้วยการสนับสนุนเงินทุนในการทำดีเพื่อสิ่งแวดล้อมไปกับการซื้อ คาร์บอนเครดิต พร้อมด้วยทำกิจกรรมการขยายพันธุ์ไม้ในการเดินทางครั้งนี้ทั้งนี้ ดูแลและควบคุมการจัดกิจกรรมโดย อาจารย์ ดร.จุฑามาส เพ็งโคนา รายวิชา กบ430 การจัดการธุรกิจนำเที่ยว บูรณาการความรู้จากงานวิจัยสู่การเรียนการสอน สร้างกำลังใจและบริการความรู้แก่ชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
5 ตุลาคม 2567     |      218
ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.ประภากร ธาราฉาย ในโอกาสได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนรองอธิการบดี
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย ในโอกาสได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนรองอธิการบดี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน 2567ทั้งนี้ ตามคำสั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ 1361/2567 เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ รักษาการแทนรองอธิการบดี (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย) กำกับดูแล กำกับการบริหารงาน สั่งและปฎิบัติการแทนอธิการบดี ตามกรอบภาระงาน กำกับดูแลมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร สั่ง ณ วันที่ 27 กันยายน 2567file:///C:/Users/User/Downloads/mju%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%20%E0%B8%A1%E0%B8%881361%20%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%20%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AF%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3pdf.pdf
3 ตุลาคม 2567     |      617
ขอแสดงความยินดีกับพนักงานมหาวิทยาลัยที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี และผู้ช่วยอธิการบดี
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ขอแสดงความยินดีกับพนักงานมหาวิทยาลัยที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี และผู้ช่วยอธิการบดี ดังนี้      1. ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล ดำรงตำแหน่ง รักษาการแทนรองอธิการบดี      2. ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย ดำรงตำแหน่ง รักษาการแทนรองอธิการบดี      3. อาจารย์ ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยอธิการบดี      ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป     ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน 2567ภาพ ข้อมูล : สภาพนักงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้
3 ตุลาคม 2567     |      499
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดพิธีสักการะ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ ครบรอบ 143 ปี
      วันที่19 ธันวาคม 2566 เวลา 09.00 น. ที่อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฯ ฝ่ายวิชาการ วิจัย และบริการวิชาการ พร้อมด้วยดร.จักกฤช ณ นคร ผู้ช่วยคณบดี และบุคลากร ร่วมพิธีสักการะพระรูปปั้น พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ ครบรอบ 143 ปี น้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณพระองค์ ที่ได้พัฒนากิจการทหารเรือให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง มีความเจริญก้าวหน้าเป็นที่ประจักษ์ มาตราบเท่าทุกวันนี้      พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประสูติ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2423 ทรงเป็นต้นราชสกุล "อาภากร" เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาโหมด ทรงเป็นผู้วางรากฐานการบริหารงานของกองทัพเรือ ทรงได้รับการเชิดชูในหมู่ทหารเรือเรียกขานพระองค์ว่า "เสด็จเตี่ย" หรือ "หมอพร" และ "พระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย" ต่อมาในปี 2544 มีประกาศกองทัพเรือขนานพระนามพระองค์ว่า "องค์บิดาของทหารเรือไทย"
19 ธันวาคม 2567     |      539