- บริบทมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดชุมพร เขตภูมิภาคใต้ตอนบน จึงได้เปรียบและความ เหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชา พืชเศรษฐกิจและพืชพลังงาน ที่เน้นการเรียนรู้และทักษะจาก การปฏิบัติ เช่น ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน ยางพารา รวมทั้งพืชสมุนไพร เช่น กระท่อม
- เป็นสาขาทางพืชศาสตร์ที่มีความหลากหลายทางวิชาการในการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ รายวิชาด้าน พืชไร่ พืชสวนประดับ พืชผัก ไม้ผล
- เป็นสาขาที่มีการเรียนการสอนพืชเขตร้อนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ พืชเศรษฐกิจและพืช อุตสาหกรรม ได้แก่ ทุเรียน ปาล์มน้ำมัน ยางพารา รวมถึงพืชทางเลือก
- มีการจัดเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ Smart Farm การจัดการศัตรูพืช ระบบมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์แบบมาตรฐานสากล
- มีความร่วมมือทางวิชาการเกี่ยวกับการศึกษา ค้นคว้า วิจัยในเชิงธุรกิจ เกี่ยวกับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เช่น บริษัท อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ (ประเทศไทย) จำกัด
-คณาจารย์เพิ่มความเชี่ยวชาญด้วยการผลิตงานวิจัยที่มีความหลากหลายโดยเฉพาะด้านการผลิตพืช พร้อม ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติอย่างต่อเนื่อง
-หลักสูตรมีความทันสมัยและเหมาะสมต่อการผลิตบัณฑิตให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ที่มี ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะด้านพืชศาสตร์ ตั้งแต่ต้นน้ำ (ทักษะการผลิตพืชด้วยการใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมได้ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม) กลางน้ำ (ทักษะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร) และปลายน้ำ (ทักษะการเป็นผู้ประกอบการและการตลาดทั้งในและต่างประเทศ) เพื่อใช้ประกอบอาชีพและ ตอบสนองตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศแล้วมีรายได้อย่างมั่นคงยั่งยืนที่มีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นที่ ยอมรับของสังคม
- จัดบรรยากาศการส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียน เช่น มีการจัดทัศนศึกษาเรียนรู้การทำงานจริงในฟาร์ม ผลิตพืชเชิงการค้า และฟาร์มต้นแบบการเกษตร
-มีความร่วมมือและแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ งานวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่สังคมด้านเทคโนโลยีการเกษตร การพัฒนาคุณภาพนักศึกษา และการประกันคุณภาพการศึกษากับ 9 มหาวิทยาลัย ในนามของโครงการการประชุมวิชาการระดับปริญญาบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรแห่งชาติ (NUCA)
- มีการส่งเสริมการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ (สนับสนุนโครงการ อพ.สธ.) รวมถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตเพื่อลดผลกระต่อสิ่งแวดล้อม BCG Model ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ( Bio economy) ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจหมุนเวียน (CircularEconomy) คานึงถึงการนาวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)
|