บทคัดย่อ          

                การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สำรวจ และวิเคราะห์ความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ สำหรับกำหนดรูปแบบ และเนื้อหา สื่อความหมายสำหรับการท่องเที่ยวที่เกาะพิทักษ์  และพัฒนาระบบสื่อความหมาย ให้สามารถรองรับการใช้ประโยชน์ของนักท่องเที่ยว และนำไปใช้ได้จริง ภายใต้หลักการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน  โดยผ่านวิธีการประเมินศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยว  กระบวนการถอดบทเรียนผู้นำชุมชน และวิเคราะห์ผู้ใช้ประโยชน์ โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด

                จากผลการศึกษา พบว่าสถานภาพปัจจุบันของเกาะพิทักษ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติทั่วไป มีศักยภาพโดยรวมอยู่ในระดับสูง (มีค่าคะแนนเท่ากับ 2.67) สำหรับข้อมูลทั่วไป พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เดินทางมาเยือนเป็นกลุ่มครอบครัว และกลุ่มเพื่อน มีวัตถุประสงค์เพื่อพักผ่อน และหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมที่แออัดในสังคมเมือง โดยเน้นประกอบกิจกรรมบริเวณบ้านพัก (Homestay)เป็นหลัก รองลงมาคือกิจกรรมศึกษาวิถีชีวิตชุมชน ศึกษาธรรมชาติรอบเกาะ เล่นน้ำ และดำน้ำดูปะการัง นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ให้ความสำคัญของเนื้อหาสื่อความหมายที่เน้นให้ประสบการณ์ที่เพลิดเพลิน สนุกสนาน กระชับ และเข้าใจง่าย  พร้อมมีภาพประกอบ สำหรับเนื้อหาสื่อความหมายพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ต้องการรับรู้ประวัติความเป็นมาของชุมชน วิถีชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรม เครื่องมือประมงพื้นบ้าน ทรัพยากรใต้ทะเล  พรรณพืช และสัตว์ป่าในเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติรอบเกาะ  สำหรับสื่อความหมายที่เหมาะสมในพื้นที่ควรอยู่ในรูปของคู่มือสื่อความหมาย/ แผ่นพับสื่อความหมายสำหรับการท่องเที่ยว โดยมุ่งเน้นเนื้อหาคุณค่าความผูกพันของ “ วิถีชีวิตผู้คน ท้องทะเล และผืนแผ่นดิน” มีการสื่อความหมายเสมือนหนึ่งผ่านการบอกเล่าจากชาวบ้านในชุมชน และกำหนดพื้นที่สำหรับสื่อความหมาย ออกเป็น 3 ส่วน (zone) ประกอบด้วย รวมทั้งสิ้น จำนวน 15 จุด/ สถานีสื่อความหมาย  ดังนี้  โซนที่ 1 :  บริเวณชุมชนที่มีการอยู่อาศัยของผู้คน  ได้แก่ เรื่องราวโดยรวมของเกาะพิทักษ์  เรื่องราวการตั้งถิ่นฐานของผู้คน  การก่อสร้างบ้านเรือน วิถีชีวิตคนชนบทที่มีการพึ่งพิงทรัพยากร ธรรมชาติ ประเพณีวัฒนธรรม เครื่องมือประมงพื้นบ้าน ระบบนิเวศบนโขดหิน นกทะเล : สัญลักษณ์แห่งความคาดหวัง และความอุดมสมบูรณ์  โซนที่ 2 :  เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ได้แก่ เรื่องราวภาพรวมเส้นทางเดินรอบเกาะ สวนยาง/ สวนมะพร้าว  จุดชมวิว : จุดชมพระอาทิตย์ขึ้น  โซนที่ 3 :  กิจกรรมเชื่อมโยงเกาะคราม ได้แก่ กิจกรรมตกหมึก กิจกรรมดำน้ำชมปะการัง  EM-BALL…มุมเล็กๆ ที่ร่วมด้วยช่วยกันอนุรักษ์น้ำ  ภาวะโลกร้อนกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล 

          งานวิจัยชิ้นนี้ มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยผ่านการจัดเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน และเผยแพร่คู่มือผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต

 

 Abstract

The Objective of the research is to study, survey and analyze an appropriate area for Interpretation system development of a tourism at Koh Phithak, Chumphon province in order to be a benefit and also practical to a tourist under a sustainable community- base- tourism management. Data is collected from an evaluation of nature-based-tourism site potential (ENTSP), in-depth interviews of local leaders and questionnaires to a total of 400 visitor samplers.

            The results revealed that current status of  Koh Phithak is a natural tourism resource with a high level of potential at the evaluation score of 2.67. Most of the tourists are families and friends whose visiting main purposes include taking a rest and escaping from a crowded city environment. Meanwhile, recreation activities are emphasized on relaxing at a homestay, knowing fishery community life around the island, leaning natural trail, swimming and  snorkeling. They value an interpretative contents which are enjoyable, fun, concise, simple and easy- understanding, together with creative text and picture. The tourist also want to know about the stories of the community, the way-of life, cultural heritage, folk fishering tools, natural plants and along – the-trail wildlife story.

            The appropriate interpretation for this area should in forms of guidebook or Brochure in Thai and English for a travel. Besides, it must be emphasized on  the contents with a  themes that connecting to a story of “A Value of Nature Affiliated with Human’s Way of Life, the Sea and the Land ” as it is directly collected from the local people. There are 3 zones of the areas with a total of 15 points/stations as follows;

              Zone I: Community habitation area shows the- way- of- life of local people, story of the island, human’s settlement, house building, natural resoures relying life, tradition, folk fishery tools, rocky–beach ecology and sea bird; a sign of hope and a richness of the sea.

              Zone II: Nature Learning Trail tells the stories of nature learning trail around the island, coconut orchards and rubber plantations, and Sunrise viewpoint.

              Zone III: Adjacenting to Koh Khrarm activities such as squid- fishering, snorkeling activity, EM-Ball…A tiny cooperated  corner of water conservation and Global warming with change of sea  life.

              The technology that  has been developed from the research, the guidebook, has been transferred to the community through a meeting. In addition, the technology also has disseminated via the internet.


ปรับปรุงข้อมูล 3/10/2563 23:18:17
, จำนวนการเข้าดู 7938