-
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม ภาษาไทย : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการสำหรับผู้ประกอบการ)
ชื่อย่อ ภาษาไทย : บธ.บ. (การจัดการสำหรับผู้ประกอบการ)
ชื่อเต็ม ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration (Entrepreneurial Management)
ชื่อย่อ ภาษาอังกฤษ : B.B.A. (Entrepreneurial Management)
วิชาเอก ไม่มี
-
การพัฒนาหลักสูตร
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) เพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการหลักสูตรและสอดคล้องกับบริบทพื้นที่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
จากผลกระทบจากสถานการณ์ภายนอก การพัฒนาหลักสูตรจึงจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรเชิงรุกที่มีศักยภาพและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทั้งในประเทศและระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วและซับซ้อนมากขึ้น เพื่อรองรับการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรม การบริการ ธุรกิจค้าส่งค้าปลีก และการเป็นผู้ประกอบการ โดยการผลิตบุคลากรที่มีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้ทันที และมีศักยภาพสูงในการพัฒนาตนเองให้เข้ากับลักษณะงานทั้งด้านวิชาการและบริการสังคม รวมถึงความเข้าใจในผลกระทบของการบริหารและการเป็นผู้ประกอบการ โดยต้องปฏิบัติตนอย่างมืออาชีพ มีคุณธรรมจริยธรรม โดยมีทักษะ (Skill) ด้านการประกอบกิจการธุรกิจ ( Entrepreneur) ด้านจิตวิทยาสังคม (Social Psychology) และด้านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ต่างๆ นอกจากนี้ ได้มีการบริหารหลักสูตรร่วมกับอุตสาหกรรม/ธุรกิจ ภาคเอกชน เพื่อสร้างบัณฑิตให้มีศักยภาพเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ การประกอบธุรกิจเป็นอาชีพอิสระ
การดำเนินการหลักสูตรนี้ เกิดขึ้นพร้อมกับการตื่นตัวในศาสตร์ของความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) มุ่งเน้นการสร้างบัณฑิตให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายต่างๆ ในศตวรรษที่ 21 ด้วยการคิดและทำแบบผู้ประกอบการ มีแรงบันดาลใจในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จะสามารถตอบสนองความต้องการและโอกาสต่างๆ ได้ และมีองค์ความรู้ในศาสตร์ของการจัดการเพื่อเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ ควบคู่กับศาสตร์ทางด้านการบริหารธุรกิจ สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้และนำไปประยุกต์ใช้กับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม เตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจ และเตรียมพร้อมรับกับนโยบาย Thailand 4.0
- ผลสัมฤทธิการเรียนรู้ (PLO)
PLO1 |
บัณฑิตมีองค์ความรู้ด้านการจัดการธุรกิจในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลโดยมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและทักษะภาษาอังกฤษในการพูด อ่าน เขียน และนำเสนอ |
PLO2 |
บัณฑิตสามารถแยกแยะ ชี้เฉพาะ ประยุกต์ใช้หลักการของผู้ประกอบการในการจัดการธุรกิจ ประยุกต์ใช้ผ่านแผนกลยุทธ์ การปรึกษาโครงการและ/หรือการดำเนินการของเจ้าของธุรกิจ สามารถกำหนดนิยาม หลักการของการทำธุรกิจและข้อเสนอของธุรกิจใหม่ |
PLO3 |
บัณฑิตเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการดำเนิธุรกิจใหม่ มีการผลิตสินค้าและบริการ นวัตกรรม รวมถึงกระบวนการดำเนินธุรกิจ การตลาด และการจัดการองค์การด้วยกระบวนการใหม่ๆ มาใช้กับการบริหารธุรกิจ และการจัดการสมัยใหม่ในยุคดิจิทัล |
PLO4 |
บัณฑิตเป็นผู้ประกอบการที่พร้อมเปิดรับข้อมูลที่เกี่ยวข้อง มองหาโอกาสทางธุรกิจและการรับรู้โอกาส มีแนวทางในการดำเนินธุรกิจและจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ของธุรกิจให้มีความเหมาะสม |
PLO5 |
บัณฑิตมีความเข้าใจทิศทางกลยุทธ์และวิธีปฏิบัติ ในด้านมนุษยสัมพันธ์และทักษะทางด้านการสื่อสาร เพื่อให้เป็นผู้ประกอบการที่มีความฉลาดรู้ทางอารมณ์ (Emotional Quotient) |
PLO6 |
บัณฑิตมีทักษะการแก้ปัญหาและตัดสินใจในการประกอบธุรกิจ เช่น การเผชิญกับปัญหาเชิงระบบของตัวธุรกิจ ปัญหารายวันที่เกิดแก่ลูกค้าและสินค้าบริการ เข้าใจตัวปัญหา เทคนิคการวิเคราะห์ปัญหา การกำหนดทางเลือกในการตัดสินใจ ตลอดจนการวิเคราะห์ความคุ้มค่าให้ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ |
PLO7 |
บัณฑิตมีคุณธรรม จริยธรรม มีภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตน และมีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า คู่ค้า และผู้สีส่วนได้ส่วนเสียทางธุรกิจ |
ปีที่ |
รายละเอียด |
1 |
บัณฑิตมีองค์ความรู้ด้านการจัดการธุรกิจในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล บัณฑิตมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและทักษะภาษาอังกฤษในการพูด อ่าน เขียน และนำเสนอ |
2 |
บัณฑิตสามารถประยุกต์ใช้หลักการของผู้ประกอบการในการจัดการธุรกิจ ผ่านแผนกลยุทธ์ การปรึกษาโครงการและ/หรือการดำเนินการของเจ้าของธุรกิจ บัณฑิตสามารถสร้างสรรค์ในการดำเนินธุรกิจใหม่ มีการผลิตสินค้าและบริการ นวัตกรรม รวมถึงกระบวนการดำเนินธุรกิจ การตลาด และการจัดการองค์การด้วยกระบวนการใหม่ๆ มาใช้กับการบริหารธุรกิจ และการจัดการสมัยใหม่ในยุคดิจิทัล |
3 |
บัณฑิตเป็นผู้ประกอบการที่พร้อมเปิดรับข้อมูลที่เกี่ยวข้อง มองหาโอกาสทางธุรกิจและการรับรู้โอกาส มีแนวทางในการดำเนินธุรกิจและจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ของธุรกิจให้มีความเหมาะสม บัณฑิตมีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์และการสื่อสาร เพื่อให้เป็นผู้ประกอบการที่มีความฉลาดรู้ทางอารมณ์ (Emotional Quotient) |
4 |
บัณฑิตมีทักษะการแก้ปัญหาและตัดสินใจในการประกอบธุรกิจ เช่น การเผชิญกับปัญหาเชิงระบบของตัวธุรกิจ ปัญหารายวันที่เกิดแก่ลูกค้าและสินค้าบริการ เข้าใจตัวปัญหา เทคนิคการวิเคราะห์ปัญหา การกำหนดทางเลือกในการตัดสินใจ ตลอดจนการวิเคราะห์ความคุ้มค่าให้ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ บัณฑิตมีคุณธรรม จริยธรรม มีภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตน และมีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า คู่ค้า และผู้สีส่วนได้ส่วนเสียทางธุรกิจ |
ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา (โดยเฉพาะหลักสูตรที่เริ่มดำเนินการในปี 2561 เป็นต้นไป)
- โครงสร้างหลักสูตร
1) จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 126 หน่วยกิต
2) โครงสร้างหลักสูตร
|
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป |
30 |
หน่วยกิต |
|
- กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ |
6 |
หน่วยกิต |
|
- กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ |
6 |
หน่วยกิต |
|
- กลุ่มวิชาภาษา |
12 |
หน่วยกิต |
|
- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ |
6 |
หน่วยกิต |
|
2) หมวดวิชาเฉพาะ |
90 |
หน่วยกิต |
|
- กลุ่มวิชาแกน |
33 |
หน่วยกิต |
|
- กลุ่มวิชาเอกบังคับ |
42 |
หน่วยกิต |
|
- กลุ่มวิชาเอกเลือก |
15 |
หน่วยกิต |
|
3) หมวดวิชาเลือกเสรี |
6 |
หน่วยกิต |
|
รายละเอียดเพิ่มเติม >> |
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาต่าง ๆ และได้รับการเสนอชื่อให้รับปริญญาจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1) ต้องเรียนรายวิชาต่างๆ ให้ครบตามหลักสูตรและเงื่อนไขของสาขาวิชานั้น และต้องไม่มีรายวิชาใดที่ได้รับอักษร I และหรือ Op
2) ต้องใช้เวลาเรียนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
3) ต้องได้รับแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมทั้งหมดทุกรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียน ไม่น้อยกว่า 2.00
4) ต้องผ่านการเข้ากิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนานักศึกษาตามระเบียบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ในกรณีที่ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนานักศึกษาตามระเบียบมหาวิทยาลัยกำหนดได้ให้อยู่ในดุลยพินิจของอธิการบดี
5) นักศึกษาทุกคนต้องเข้าทดสอบวัดความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และผ่านเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
6) นักศึกษาทุกคนต้องเข้าทดสอบวัดสมิทธิภาพทั่วไปทางภาษาอังกฤษ และผ่านเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
7) ไม่มีหนี้สินใดๆ ต่อมหาวิทยาลัย และหรือหนี้สินอื่นๆที่มหาวิทยาลัยรับรู้
ระบบการจัดการศึกษา
1) ระบบ
1.1 การศึกษาในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
1.2 การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน ไม่มีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
1.3 การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาคไม่มีการจัดการศึกษาระบบอื่น นอกเหนือจากระบบทวิภาค
2) การดำเนินการหลักสูตร
2.1 วัน – เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
- ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนกรกฎาคม – เดือนตุลาคม
- ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนพฤศจิกายน – เดือนมีนาคม
หรือเป็นไปตามปฏิทินการศึกษาของมหาวิทยาลัยที่ประกาศใช้ในขณะนั้น
2.2 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1) สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายทุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือเทียบเท่า ผ่านการสอบคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึ กษา (สกอ.) หรือผ่านการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย
2) เป็นผู้มีคุณสมบัติตามข้อบังคับมหาวิทยา ลัยแม่โจ้ ว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรีตามระเบียบและประกาศอื่น ๆ ของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องโดยอนุโลม
ภาพประกอบ สาขาวิชาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ (หลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี)